ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 11] 22 ก.ย. 58 หน้า 6
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 11] 22 ก.ย. 58 หน้า 6  (อ่าน 47831 ครั้ง)

ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3
ข้อตกลงในการเข้ามาในเล้าเป็ดนะครับ กรุณาอ่านทุกคนนะครับ
เล้าแห่งนี้เป็นที่ที่คนชื่นชอบนิยาย boy's love หรือชายรักชาย หากใครหลงมาแล้วไม่ชอบ
กรุณากดกากบาทสีแดงมุมด้านขวาบนออกไปด้วยนะครับ


ติดตามกฏเพิ่มเติมที่กระทู้นี้บ่อยๆ เมื่อมีการแก้ไขกฏจะแก้ไขที่กระทู้นี้นะครับ
http://www.thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=459.0

ประกาศทั่วไปติดตามอัพเดทกันที่นี่
http://www.thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=2160.0

ประกาศ กฎที่อื่นมีไว้แหก แต่ห้ามมาแหกที่นี่

1.ห้ามมิให้ละเมิดสิทธิส่วนตัวของคนแต่งและบุคคลในเรื่องทั้งหมด
การสนใจและชื่นชอบนิยายและเรื่องเล่าของคนในเรื่องควรมีขอบเขตที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้เจ้าของเรื่อง เช่นเดียวกับเป็ดที่ตอนนี้ถูกรังควานตามหาตัวจากคนด้านต่างๆ จนตัดสินใจไม่เล่าเรื่องต่อ.........เนื่องจากบางเรื่องเป็นเรื่องเล่า.....................บางคนไม่ได้เปิดเผยตัวตน  เขาพอใจจะมีความสุขในที่เล็กๆแห่งนี้โดยไม่ได้ตั้งใจให้คนภายนอกได้รับรู้เรื่องราวแล้วนำไปพูดต่อ   เพราะปฎิเสธไม่ได้ว่าสังคมไม่ได้ยอมรับพวกเราสักเท่าไหร่

2.ห้ามมิให้โพสต์ข้อความ รูปภาพ ใช้ลายเซ็นหรือรุปส่วนตัวหรือสื่อใดๆที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่แสดงความเคารพ, หมิ่นประมาท,
หยาบคาย, เป็นที่รังเกียจ, ไม่เหมาะสม,ติดเรท x,ทำให้กระทู้กลายพันธ์,ไม่เกี่ยวพันกับนิยายที่ลง
หรืออื่นๆที่ขัดต่อกฎหมาย,ห้ามโพสกระทู้ที่จะสร้างประเด็นความขัดแย้ง  ในเรื่อง การเมือง ศาสนา พระมหากษัตริย์
และสถาบันต่าง ๆ  รวมถึงกระทู้ที่จะสร้างความแตกแยก  ชวนวิวาท ของสมาชิกภายในเวปบอร์ด
การกระทำเช่นนั้นอาจทำให้คุณแบนทันที และถาวร . หมายเลข IP ของทุกโพสต์จะถูกบันทึกเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
ในความเป็นจริงเป็นไปได้ยากมากที่จะให้แต่ละคนมีความคิดเห็นตรงกันทั้งหมด   คนเรามากมายต่างความคิดต่างความเห็น เติบโตมาภายใต้ภาวะแวดล้อมต่างกันการแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง   จึงควรทำเพื่อให้เกิดความเข้าใจกัน แบ่งปันประสบการณ์และมิตรภาพเพื่ออาจเป็นประโยชน์ในการใช้ชีวิต  และไม่ว่าจะอย่างไรก็ควรเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างของบุคคลอื่นช่วยกันสร้างให้บอร์ดนี้มีแต่ความรักนะครับ   

เรื่องบางเรื่องอาจจะเป็นทั้งเรื่องแต่งหรือเรื่องเล่าใดๆก็ขอให้ระลึกเสมอว่า  อ่านเพื่อความบันเทิงและเก็บประสบการณ์ชีวิตที่คุณไม่ต้องไปเจอความเจ็บปวดเล่านั้นเองเพื่อเป็นข้อเตือนใจ สอนใจในการตัดสินใจใช้ชีวิต   จึงไม่ต้องพยายามสืบหาว่าเรื่องจริงหรือเรื่องแต่งส่วนการพูดคุยนั้น   ก็ประมาณอย่าทำให้กระทุ้กลายพันธุ์ห้ามเอาเรื่องส่วนตัวมาปรึกษาพูดคุยกันโดยที่ไม่เกี่ยวพันกับเรื่องในกระทู้นิยาย  ถ้าจะวิจารณ์หรือแสดงความคิดเห็นทุกคนมีสิทธิแต่ขอให้ไปตั้งกระทู้ที่บอร์ดอื่นที่ไม่ใช่ที่นี่นะครับ

3.การนำเรื่อง ข้อความ รูปภาพมาโพส หรือนำข้อความใดๆไปโพสที่อื่นๆ กรุณาพยายามติดต่อเจ้าของเรื่องเท่าที่จะทำได้หรือแจ้งมายังบอร์ดนี้ก่อนนะครับ  เนื่องจากเจ้าของเรื่องบางครั้งไม่ต้องการให้คนที่ไม่ได้ชื่นชอบนิยายชายรักชายเข้ามารับรู้  ลิขสิทธิ์ทั้งหมดเป็นของเจ้าของคนที่ทำขึ้นและเวปแห่งนี้นะครับ

4.ห้ามแจกเบอร์ แลกเมล บอกเมล แลก msn บนบอร์ด โดยเฉพาะการบอกเบอร์ หรือเมลของคนอื่นโดยที่เจ้าของไม่ยินยอมให้ส่งหรือติดต่อกันทางพีเอ็มจะปลอดภัยกว่าแล้วเมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันให้พึงระวังถึงความปลอดภัย ความไม่น่าไว้ใจของผุ้คนทุกคนแม้จะมีชื่อเสียงในบอร์ดเป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคนไป เพื่อลดความขัดแย้งภายในเล้า จึงไม่สนับสนุนให้มีการจีบกันในบอร์ดนะครับ

5.ห้ามจั่วหัวกระทู้ว่าเป็น “เรื่องเล่า” นักเขียนทุกคนอย่าโกหกคนอ่านว่าเป็นเรื่องจริงในกรณีแต่งเติมเพิ่มแม้แต่นิดเดียวให้ชี้แจงว่าเป็นเรื่องแต่งแม้จะแต่งเพิ่มขึ้นแค่ไม่ถึง 10 % ก็ตาม
เพราะแม้จะเป็นเรื่องที่เขียนจากเรื่องจริง เมื่อนำมาพิมพ์เป็นเรื่องผ่านตัวอักษร ย่อมเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดสีสันในเนื้อเรื่อง ทางเล้าถือว่านั่นคือการเพิ่มเติมเนื้อเรื่อง จึงไม่อนุญาตให้จั่วหัวกระทู้ว่าเป็น “เรื่องเล่า” แต่สามารถแจ้งว่าเป็น “นิยายที่อ้างอิงมาจากชีวิตจริง” ได้  มีคนมากกมายทะเลาะเสียความรู้สึกเพราะเรื่องนี้มามากแล้ว

6.การพูดคุยโต้ตอบระหว่างคนเขียนและคนอ่านนอกเรื่องนิยาย  ทำได้  แต่อย่าให้มากนัก เช่น คนเขียนโพสนิยายหนึ่งตอน ก็ควรตอบเพียงคอมเม้นต์เดียวก็พอแล้ว  โดยสามารถใช้ปุ่ม Insearch qoute  ได้    ถ้าจะพูดคุยกันมากขึ้นแนะนำให้ไปตั้งกระทู้ใหม่ที่ห้องพูดคุยทั่วไป และลงลิงค์จากนิยายไปยังกระทู้พูดคุยกับแฟนคลับนิยายในรีพลายแรกด้วยนะครับ เพราะการที่คนเขียนและแฟนคลับพูดคุยกันมากทำให้หานิยายที่จะอ่านยาก ไม่เจอ ลำบากกับคนที่ไม่ได้เข้ามาตามอ่านทุกวัน

7. การกดบวกให้เป็ดเหลือง
      7.1 นิยาย 1 ตอน  จะให้ขึ้น Top list แค่ 1 Reply เท่านั้น ถ้าขึ้นเกิน จะลบคะแนนออก เหลือเฉพาะ Reply ที่มีคะแนนสูงสุด
      7.2 นิยาย 1 เรื่อง จะให้ขึ้น Top list ไม่เกิน 3 Reply ถ้าเกิน จะลบคะแนนออก ให้เหลือ เฉพาะ Reply ที่มีคะแนนสูงสุด ลงมาตามลำดับ
      7.3 Post ในห้องอื่น ๆ ก็จะใช้ หลักการเดียวกันนี้ เช่นกัน ยกเว้น
            - 1 Reply ที่เกินมานั้น โมทั้งหลาย พิจารณาดูแล้วว่า ไม่เป็นการปั่นโหวต และเป็น Reply ที่น่าสนใจและเป็นที่ชื่นชอบจริง ๆ

8.Administrator และ moderator ของ forum นี้ มีสิทธิ์อ่าน, ลบ หรือแก้ไขทุกข้อความ. และ administrator, moderator หรือ webmaster ไม่สามารถรับผิดชอบต่อข้อความที่คุณได้แสดงความคิดเห็น (ยกเว้นว่าพวกเขาจะเป็นผู้โพสต์เอง).

9.คุณยินยอมให้ข้อมูลทุกอย่างของคุณถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล. ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะไม่ถูกเปิดเผยต่อผู้อื่นโดยไม่ได้รับการยินยอมจากคุณ .Webmaster, administrator และ moderator ไม่สามารถรับผิดชอบต่อการถูกเจาะข้อมูล แล้วนำไปสร้างความเดือดร้อนต่างๆ

10.ห้ามลงประกาศลิงค์โปรโมทเวป  โฆษณา หรือโปรโมทในเชิงธุรกิจใดๆ ทุกชนิด ลงได้เฉพาะในห้องซื้อขาย ในเมื่อแนะนำเวปอื่นที่บอร์ดเรา ก็ช่วยแนะนำบอร์ดเราโดยลงลิงค์บอร์ดเรา เวป http://www.thaiboyslove.com  ในบอร์ดที่ท่านแนะนำมาให้เราด้วย  เมื่อจำเป็นต้องแนะนำลิงค์ให้ส่งลิงค์กันทาง personal message หรือพีเอ็มแทนนะครับจะสะดวกกว่า ส่วนในกรณีอยากแนะนำสิ่งดีๆให้เพื่อนๆได้อ่านจริงๆนั้นพยายามลงให้ห้องซื้อขายซะ หรือถ้าม๊อดเดอเรเตอร์จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป ถ้ารู้สึกว่าไม่ได้โปรโมทเวป แต่อยากแนะนำสิ่งดีๆให้เพื่อนด้วยใจจริงจะให้กระทู้นั้นคงอยู่ต่อไป

11.บอร์ดนิยายที่โพสจนจบแล้วมีไว้สำหรับนิยายที่โพสในบอร์ด boy's love จนจบแล้วเท่านั้น จึงจะถูกย้ายมาเก็บไว้ที่นี่ หาอ่านนิยายที่จบแล้ว หรือคนเขียนไม่ได้เขียนต่อ แต่โดยนัยแล้วถือว่าพล็อตเรื่องโดยรวมสมควรแก่การจบแล้ว หากนักเขียนท่านใดได้พิมพ์เล่มกับสำนักพิมพ์ ต้องการลบเรือ่งบางส่วนออก โดยเฉพาะไคลแม๊ก หรือตอนจบที่สำคัญ ให้แจ้ง moderator ย้ายนิยายของท่านสู่ห้องนิยายไม่จบ เพื่อที่หากระยะเวลาเกินหกเดือนแล้ว เราจะได้ทำการลบทิ้ง หรือท่านจะลบนิยายดังกล่าวทิ้งเสียก็ได้ เนื่องจากบอร์ดนี้เก็บเฉพาะนิยายที่จบแล้ว

บอร์ดนิยายที่ยังไม่มาต่อจนจบไว้สำหรับ
นิยายที่คนเขียนไม่ได้มาต่อนาน หายไปโดยไม่มีเหตุผลสมควร ไม่ได้แจ้งไว้หรือแจ้งแล้วก็ไม่มาต่อ 3 เดือน จะย้ายมาเก็บในนี้เมื่อครบหกเดือนจะทำการลบทิ้ง ส่วนเรื่องไหนที่จะต่อก็ต่อในนี้จนกว่าจะจบ แล้วถึงจะทำการย้ายไปสู่บอร์ดนิยายจบแล้วต่อไป

12.ห้ามนำเรื่องพิพาทต่างๆมาเคลียร์กันในบอร์ด

13.ผู้โพสนิยาย และเขียนนิยายกรุณาโพสให้จบ ตรวจสอบคำผิดก่อนนำมาลงด้วยครับ

14.ส่วนคนอ่านทุกท่าน เวลาอ่านนิยาย เรื่องที่คนเขียนเขียน  ก็ไม่ต้องไปอินมากนะครับ ให้เก็บเอาสิ่งดีๆ ประสบการณ์ ข้อคิดดีๆไปนะครับ

15. การนำรูปภาพ บทความ ฯลฯ มาลงในเวปบอร์ด  ควรจะให้เครดิตกับ... 
(1) ผู้ที่เป็นต้นตอเจ้าของบทความหรือรูปภาพนั้นๆ
(2) เวปไซต์ต้นตอที่อ้างอิงถึง
....ในกรณีที่เป็นบทความที่ถูกอ้างอิงต่อมาจากเวปไซต์อื่นๆ
- ถ้ามีแหล่งต้นตอของเจ้าของบทความ  ให้โพสชื่อเจ้าของต้นตอของบทความหรือรูปภาพนั้นๆ  พร้อมทั้งเวปไซต์ที่อ้างอิง 
  (กรณีนี้จะโพสอ้างอิงชื่อผู้โพสหรือเวปไซต์ที่เรานำมาหรือไม่ก็ได้ แต่ควรมั่นใจว่าชื่อต้นตอของที่มาถูกต้อง)
- ถ้าไม่สามารถหาชื่อต้นตอของรูปภาพหรือเวปไซต์ที่นำมาได้ ควรอ้างอิงชื่อผู้โพสและเวปไซต์จากแหล่งที่เรานำมาเสมอ
- ควรขออนุญาติเจ้าของภาพหรือเจ้าของบทความก่อนนำมาโพสค่ะ(ถ้าเป็นไปได้) ยกเว้นพวกเวปไซต์สาธารณะ เช่น  หนังสือพิมพ์ออนไลน์ ฯลฯ ที่เปิดให้คนทั่วไปได้อ่านเป็นสาธารณะ ก็นำมาโพสได้ แต่ให้อ้างอิงเจ้าของชื่อและแหล่งที่มาค่ะ
- ไม่ควรดัดแปลงหรือแก้ไขเครดิตที่ติดมากับรูปหรือบทความก่อนนำมาโพส
- ถ้าเป็น FW mail  ก็บอกไปเลยว่าเอามาจาก FW mail

16.นิยายเรื่องไหนที่คิดว่าเมื่อมีการรวมเล่มขายแล้วจะลบเนื้อเรื่องไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดออก กรุณาอย่าเอามาลงที่นี่ หรือสำหรับผู้ที่ขอนิยายจากนักเขียนอื่นมาลง ต้องมั่นใจว่าเรื่องนั้นจะไม่มีการลบเนื้อเรื่องไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมดออกเมื่อมีการรวมเล่มขาย อนึ่ง เล้าไม่ได้ห้ามให้มีการรวมเล่มแต่อย่างใด สามารถรวมเล่มขายกันได้ แต่อยากให้เคารพกฎของเล้าด้วย เล้าเปิดโอกาสให้ทุกคน จะทำมาหากิน หรืออะไรก็ตามแต่ขอความร่วมมือด้วย เผื่อที่ทุกคนจะได้อยู่อย่างมีความสุข

17.ห้ามแจ้งที่หัวกระทู้เกี่ยวกับการจองหรือจัดพิมพ์หนังสือ แต่อนุโลมให้ขึ้นหัวกระทู้ว่า “แจ้งข่าวหน้า...” และลงลิงค์ที่ได้ตั้งเอาไว้ในแล้วในห้องซื้อขายลงในกระทู้นิยายแทน  ถ้านักเขียนต้องการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการจอง หรือจัดพิมพ์หนังสือของตนเองผ่านกระทู้นิยายของตนเอง  นิยายเรื่องดังกล่าวจะต้องลงเนื้อหาจนจบก่อน (ไม่รวมตอนพิเศษ) จึงจะทำการประชาสัมพันธ์ในกระทู้นิยายได้ (ศึกษากฏการซื้อขายของเล้่าก่อน ด้วยนะคะ)

เอาข้อสำคัญก่อนนะครับเด่วอื่นๆจะทำมาเพิ่มครับเอิ้กๆหุหุ
admin
thaiboyslove.com.......................................                                                           

วันที่ 3 ธ.ค. 2551วันที่ 16 ก.ย. 2554 ได้เพิ่มกฏ ข้อที่ 7
วันที่ 21 ต.ค.2556 ได้ปรับปรุงกฏทั้งหมดเพื่อให้แก้ไข และติดตามได้ง่าย

เวปไซต์แห่งนี้เป็นเวปไซต์ส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองจากกฏหมายภายในและระหว่างประเทศ การเข้าถึงข้อมูลใดๆบนเวปไซต์แห่งนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้บริการ ถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

ข้อความใดๆก็ตามบนเวปไซต์แห่งนี้ เกิดจาการเขียนโดยสมาชิก และตีพิมพ์แบบอัตโนมัติ ผู้ดูแลเวปไซต์แห่งนี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ  โปรดใช้วิจารณญาณของท่านที่เข้าชม และ/หรือ ท่านผู้ปกครองในการให้ลูกหลานเข้าชม
Share This Topic To FaceBook
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22-09-2015 03:56:57 โดย เดหลี »

ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3
บทที่ 1

โต๊ะไม้ใต้ต้นหูกวางต้นหนึ่งในคณะแพทยศาสตร์กลายเป็นสถานที่นัดพบอย่างปัจจุบันทันด่วนของกลุ่มเพื่อนที่แทบเรียกได้ว่าแตกฉานซ่านเซ็นหลังวิชาเวชศาสตร์ชุมชน เนื่องจากแยกย้ายขึ้นวอร์ดหลักคนละวอร์ด ถึงจะเริ่มชีวิตการเป็นนักศึกษาแพทย์ปีสี่ได้ไม่นาน แต่ในความรู้สึกของคนที่ต้องปรับตัวกับการเรียนที่ต่างออกไปและความรับผิดชอบที่เพิ่มมากขึ้น ก็เหมือนเวลาเลยผ่านเป็นกัปกัลป์ทีเดียวหลังการปฐมนิเทศขึ้นปีแรกของชั้นคลินิก

แต่เย็นนี้ทุกคนต่างปลอดเวรกันโดยมิได้นัดหมาย ถือเป็นฤกษ์งามยามดี นัดกินข้าวพร้อมหน้าพร้อมตาเสียที

คนมาถึงเป็นคนแรกถอดเสื้อตัวยาวชั้นนอกออกพับใส่ในกระเป๋าแล้วจึงนั่งลง เคาะนิ้วกับโต๊ะ มองไปรอบๆ จำแนกเพื่อนร่วมรุ่นได้ว่าคนใดไม่มีเวร พวกเขาเหล่านั้นจะมีเวลาเดินเอื่อยช้า หยุดพูดหยุดคุยได้บ้าง ต่างจากพวกที่รีบไปขึ้นเวร สาวเท้าเร็ว สีหน้าเคร่งเครียด เพราะไม่รู้ว่าจะเจอเข้ากับอะไรในช่วงเวลาอีกหลายชั่วโมงข้างหน้า

ปีนี้ จะว่าไปก็เป็นปีสุดท้ายของนักศึกษาหลายๆ คนที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัย เพื่อนสมัยมัธยมของเขาก็เริ่มคุยเรื่องมองหางานกันแล้ว แต่สำหรับนักศึกษาแพทย์ปีสี่ ถือว่าเพิ่งมาได้ครึ่งทางเท่านั้นเอง

แต่คนเราย่อมมีเวลาของทางเดินชีวิตที่แตกต่างกัน และรักษิตคิดว่า... เขาเลือกเดินมาทางนี้แล้ว

หวนนึกไปถึงโอวาทของคณบดีขณะปฐมนิเทศเมื่อเขาเพิ่งขึ้นปีสอง มีถ้อยคำที่ยังจำได้ขึ้นใจ

‘ขอให้พวกคุณพยายามกันจนเต็มความสามารถ พวกผมก็จะสอนกันสุดความสามารถ ทำอะไรคิดเสมอว่า... มีคนเขาฝากชีวิตไว้ในมือพวกคุณ’

... ห้องประชุมครื้นเครงขึ้นเมื่ออาจารย์เปรยต่อว่า พอแก่ตัวลงก็ต้องฝากผีฝากไข้กับ ‘หมอเด็ก’ น้องๆ เหล่านี้เหมือนกัน อย่างน้อยก็ยังดีที่ได้มีโอกาสอบรมบ่มเพาะหมอที่จะมารักษาตัวเองในอนาคตไปก่อน

เขาเก็บโอวาทของอาจารย์ไว้เตือนตัวเอง ในบางวันที่เหนื่อยและท้อ เหนื่อยกับการสอบที่เหมือนจะมีไม่หยุดหย่อนและความรู้สึกที่ต้องแข่งขันตลอดเวลา อย่างน้อยก็กับตัวเอง... ท้อกับหนังสือตั้งโตที่ต้องเตรียมตัวอ่านในขณะเพื่อนๆ ที่เข้าเรียนคณะอื่นดูจะได้ปิดเทอมนานกว่า

เวลานี้... สิ่งเหล่านั้นไม่บั่นทอนจิตใจอีกต่อไป อาจจะเคยมี เพียงช่วงระยะสั้นๆ 

แต่รักษิตเรียนรู้นานแล้วว่า... การเปรียบเทียบย่อมทำให้ทุกข์ของตัวเองดูหนักหนากว่าที่เป็นเสมอ

เขาเงยหน้าขึ้นเห็นเพื่อนที่นัดกันไว้โบกมือมาจากระยะไกลพอดี ศิวัชเดินถึงโต๊ะ กวาดตามองยังไม่เห็นที่เหลืออีกสองคนก็ว่า “พวกผู้หญิงยังไม่มาอีก ช้า”

รักษิตกลั้นยิ้มเมื่อคนพูดถูกสมุดม้วนฟาดเข้าให้ที่กลางหลังอย่างถนัดถนี่โดยผู้ถูกพาดพิงซึ่งเดินตามมาอย่างกระชั้นชิดพร้อมเสียงเอ็ดไม่จริงจังนัก “ตี๋ ว่าใครช้า”

ศิวัชหุบปากสนิท เพราะรู้กันดีว่าการลงจากวอร์ด แม้กระทั่งวันที่ไม่ต้องขึ้นเวรนั้นจะช้าเร็วขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายประการไม่ว่าจะเป็นพี่แพทย์ประจำบ้านที่รู้จักกันในนามพี่เดนท์ ย่อมาจากเรสิเดนท์ พี่ปีหกหรือเอ็กซ์เทิร์น อาจารย์ งานวอร์ดยิบย่อยอื่นๆ หรือแม้กระทั่งเพื่อนร่วมวอร์ดก็มีส่วนทั้งสิ้น
 
... อย่าว่าแต่ศิวัชไม่กล้า ‘หือ’ กับญาดาแต่ไหนแต่ไร เมื่อเห็นเพื่อนได้แต่ยิ้มเรี่ยราด รักษิตจึงตัดสินใจยื่นมือเข้าช่วยเหลือโดยเปลี่ยนเรื่องไปเสีย

“สูติฯ วันนี้เป็นไงมั่งนิ้ง”

“เพิ่งเชียร์คลอดมาอีก... ยิ่งกว่าเชียร์วอลเลย์บอลหญิง เหงื่อนี้ไหลเป็นน้ำเลยจ้า แต่ก็ดีนิ้งเก็บเกือบครบแล้ว ที่เหลือถือว่าเป็นโบนัส” ญาดาหัวเราะ

... ทั้งศิวัชและรักษิตถามรายละเอียดต่อไปกันอย่างสนใจอยู่อีกครู่หนึ่ง เพราะกับสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยานั้นทั้งคู่ก็ยังไม่เคยขึ้น แถมเป็นเรื่องที่ออกจะไม่คุ้นเสียด้วย จนญาดาเอ่ยขึ้นมาว่า

“เอ้อ้วนไปไหนตี๋... ไม่ได้ลงมาพร้อมกันหรือ”

ผู้ถูกเอ่ยถึงคือรูมเมตของศิวัช และตอนนี้ยังอยู่วอร์ดศัลยกรรมสายเดียวกันเสียอีก ปะเหมาะเคราะห์ดีถ้าเจอ ก็มักจะได้รับคำชักชวนให้กินข้าวด้วยกัน

เอ้อ้วนย่อมไม่ได้ชื่อเอ้อ้วนมาตั้งแต่เกิด ชื่อเอ้เฉยๆ ได้รับคำขยายเมื่อเจ้าตัวสอบเข้าเป็นนักศึกษาปีหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์ และพบว่า ในจำนวนเพื่อนร่วมรุ่นทั้งสองร้อยกว่าคนนั้น มีเอ้ซ้ำกันขึ้นมาอีกคน

เมื่อมีสองเอ้ เอ้ผู้มีมวลร่างกายมากกว่าจึงกลายเป็น 'เอ้อ้วน' แม้เอ้แรกจะขอซิ่วตัวเองออกไปอยู่วิศวกรรมศาสตร์ ทำให้เหลือเพียงเอ้เดียวในคณะ แต่เอ้อ้วน (นามจริงนศพ. อนันต์) ก็ยังเป็นเอ้อ้วนจนถึงทุกวันนี้ เนื่องด้วยเพื่อนเรียกจนชินปาก และเพราะขนาดตัวมิได้เล็กลงกว่าเดิมแต่อย่างใด

“แยกกันเมื่อกี้ รีบไปหาข้าวกินเพราะวันนี้ต้องขึ้นเวร” ศิวัชตอบ “พูดถึงก็สงสารมันเหมือนกันนะเนี่ย เมื่อเช้าเพิ่งโดนพี่ดุ เย็นมายังมีเวรอีก”

เรื่อง ‘พี่ดุ’ เป็นเรื่องต้องขยาย เพราะทักษะการดำรงชีวิตให้อยู่รอดบนวอร์ดรวมความรู้รอบเกี่ยวกับผู้อาจมีอิทธิพลต่อการผ่านวอร์ดนั้นไปให้ได้เช่นพี่และอาจารย์... จึงช่วยไม่ได้ที่ต้องถือความพลาดของเพื่อนเป็นครู 

ศิวัชขยายความต่อว่า ขึ้นไปทำแผลตอนเช้าตามปกติของวอร์ดศัลยกรรม แต่นักศึกษาแพทย์อนันต์เกิดความยุ่งยากกับคนไข้หญิงที่เพิ่งเข้ามาใหม่ ปัญหาคือ ป้ามีแผลที่นิ้วเท้าอันเป็นภาวะแทรกซ้อนเนื่องมาจากเบาหวาน แต่กลับไม่ยอมให้นักศึกษาแพทย์แตะ ต่อต้านท่าเดียว

พยาบาลเวรไม่สามารถช่วยเหลืออะไรได้มาก ขณะนั้นเป็นเวลาตีห้าครึ่ง แพทย์ประจำบ้านทั้งหลายคงมาถึงประมาณหกโมงเพื่อดูความเรียบร้อยให้เสร็จทันก่อนอาจารย์จะขึ้นมาสักเจ็ดโมงกว่าๆ เอ็กซ์เทิร์นก็ยุ่งกับงานอยู่อีกฟากหนึ่ง นักศึกษาแพทย์อนันต์เริ่มจนปัญญา และจึงพยายามอธิบายผลเสียของการไม่ยอมทำแผลให้ป้าฟัง

ศิวัชผู้วุ่นวายกับแผลกดทับจำนวนมากอยู่ที่เตียงข้างๆ ได้ยินเพื่อนโน้มน้าวว่า หากแผลติดเชื้อลุกลามก็มีโอกาสสูงที่จะต้องตัดนิ้ว เท้า หรือแม้แต่ขาได้ การที่ป้าต้องอยู่โรงพยาบาลก็เพราะแผลกว้างตั้งเกือบสี่เซนติเมตรและลึกไม่น้อย ไม่สามารถจะรักษาแบบผู้ป่วยนอก ศิวัชฟังไปฟังมา รู้สึกว่าเป็นความจริงทั้งสิ้น ไม่น่าคัดค้านแต่อย่างใด

พอทำแผลกดทับเตียงข้างๆ เสร็จ กะว่าจะมาช่วย ก็ได้ยินเสียงเพื่อนข้างหลังกระซิบกระซาบกันขึ้นว่า ‘พี่มา’

“ดูนาฬิกา ก็คิดว่ามาเร็ว... แต่ไม่ใช่พี่สายเรานะ ไม่เคยเห็นแถววอร์ด” คนเล่าพูดต่อ “พี่มาที่เตียงปุ๊บ บอกเอ้อ้วนว่า เดี๋ยวขอคุยด้วย แต่ที่สำคัญคือ พอเห็นหน้าพี่เขา ป้ายอมให้ทำแผลเฉย...”

“อ้าว” ญาดาร้องอย่างผิดคาด “ลงนะหน้าทอง คาถาเมตตามหานิยมวัดไหน ป้าหลงเสน่ห์เลยเรอะ”

“ถ้ามีจริงก็ดี คนไข้จะได้ไม่งอแงใส่” ศิวัชว่าพลางหัวเราะ “ไม่ใช่อะไรหรอก คนไข้เก่าพี่เขานั่นแหละ”

ถึงจะเป็นคนไข้เก่า เคยคุ้นหน้าคุ้นตาจนไว้ใจหมอมาแล้วถึงได้ยอม แต่รักษิตคิดว่า ย้อนกลับไปคราวแรก กว่าคนไข้ที่แสดงฤทธิ์เดชดื้อเสียขนาดนี้จะยอมวางใจ ก็ต้องให้เครดิตหมอสักหน่อยเหมือนกัน

“คราวนี้พี่เขาก็ทำแผลไป คือทุกอย่างโคตรสมาร์ท" คราวนี้ศิวัชชมจริงใจ “คนอื่นมามุงดูกันหมด”

ความ ‘สมาร์ท’ เป็นสิ่งที่นักศึกษาแพทย์ย่อมอยากบรรลุถึง แม้จะหาคำจำกัดความยากว่าคืออะไรแน่ แต่ถ้าเห็นก็มักจะบอกออกมาได้เอง ทั้งเหล่าอาจารย์แพทย์หรือรุ่นพี่ที่ได้รับเสียงชื่นชมว่า ‘สมาร์ท’ และคำตักเตือนว่า โน่นไม่สมาร์ท นี่ไม่สมาร์ท

... หมออย่ายืนตัวงอคุยกับคนไข้ อย่าก้มหน้าก้มตาจดงุดๆ เอ้า ถามแล้วก็รายงานดีๆ อย่ายุกยิกสิหมอ... ซึ่งถ้าไม่นับเรื่องแต่งตัวให้เรียบร้อยหรืออะไรทำนองนั้น ก็คงรวมลักษณาการฉะฉานมั่นใจในองค์ความรู้เอาไว้ด้วย ส่วนด้านฝีมือหัตถการอย่างทำแผลที่ศิวัชเอ่ยถึง คนฟังก็เข้าใจตรงกันว่าน่าจะรวดเร็วเรียบร้อยอย่างชำนาญดี ไม่มีเงอะงะให้เห็น

“พอคนไข้ไม่อยากมองหมอเลยบอกว่า... คุณป้าเลือกมองหน้านศพ. คนไหนก็ได้ครับที่คิดว่าตลกที่สุด"

ศิวัชชี้ตัวเอง รักษิตหัวเราะ หน้าตี๋ๆ ขาวๆ กลมแป้นของเพื่อนมองไปแล้วก็คล้ายแป๊ะยิ้ม ได้อุทิศให้คนไข้มองคลายเครียดระหว่างทำแผลก็ดีไปอย่าง

“... พี่เขาก็บอกป้าว่า ตอนนี้ป้าอยู่ในศัลย์มีแต่หมอเก่งๆ เดี๋ยวถ้าหมอคนอื่นมา หรือน้องๆ นักศึกษาแพทย์พวกนี้เขาอยากจะดูแล ป้าให้ทำนะ... แต่ป้าว่า ป้าไว้ใจหมอ อยากให้หมอพิธานดู”

“... พิธาน...” รักษิตพึมพำ พลางนึกว่าเคยได้ยินชื่อนี้จากที่ไหนหรือเปล่า

คนไข้บางคน เวลาเจอหมอแล้วรู้จักคุ้นเคยในฐานะ ‘หมอของเรา’ บางทีก็อยากจะเจอแต่คนนั้น ซึ่งก็ว่าไม่ได้ เป็นเรื่องของจิตใจด้วยส่วนหนึ่ง

“พี่เขาเลยว่า หมอน่ะทำงานเป็นทีม... คราวที่แล้วก่อนเจอหมอ ป้าก็เจออาจารย์ของหมอมาก่อนเหมือนกันนี่นา ถ้าป้าให้รุ่นพี่รุ่นน้องของหมอช่วยกันดู หมอก็สัญญาว่าจะขออาจารย์มาดูป้าด้วยจนกว่าจะดีขึ้น”

“ก็ไม่เห็นดุอะไรนี่” ญาดาผู้รอฟังอยู่นานว่า “หรือแกหน้าดุ? คนหน้าดุพูดเฉยๆ บางทีเรายังรู้สึกเหมือนโดนด่า”

รักษิตคิดว่าเพื่อนคงอิงเอาจากในวอร์ดของตัวเองนั่นแหละ ศิวัชโบกไม้โบกมือเอ่ยต่อ

“ยัง เดี๋ยวก่อนสิ... ส่วนเรื่องหน้าตา ก็... หน้าตานิ่งๆ นะ ไม่ถึงกับบึ้ง แต่ก็ทำหน้าเฉยๆ ตลอด ไม่รู้ป้าติดใจตรงไหน”

คนไข้มักจะชอบหมอที่ยิ้มแย้มและรับฟัง ถ้าให้ความรู้สึกว่าตามใจ (ทั้งๆ ที่จริงๆ อาจจะใช่หรือไม่ก็ได้) ยิ่งชอบใหญ่

“ทำแผลเสร็จ พี่สอนจับชีพจรหลังเท้ากับที่หลังข้อเท้าอีกที พอพวกที่มุงๆ ไปแล้ว พี่ก็บอกเอ้อ้วน...” คราวนี้คนเล่ายืดหลังตรง ตีหน้าเคร่งเป็นการเลียนแบบรุ่นพี่ “’เราอยากให้คนไข้ดีขึ้น คนไข้ก็อยากดีขึ้นเหมือนกัน ต้องบอกว่าถ้าทำแล้วดียังไง ไม่ใช่ไม่ทำ แล้วแย่ยังไง คนไข้เขามีความกังวลมากอยู่แล้ว ยิ่งไปเพิ่มความกังวล... ก็ยิ่งไม่อยากร่วมมือ’”   

“มันก็...” รักษิตกำลังจะเห็นด้วยกับญาดาว่าไม่เชิงใช่ดุ เรียกว่าอบรมอาจจะได้ แต่พอมาคิดดูแล้วในความรู้สึกของคนฟังในเวลานั้น คำพูดของรุ่นพี่คงไม่สามารถให้อารมณ์อื่นนอกจาก ‘ถูกดุ’ อยู่ดี

"ไม่ได้ขึ้นเสียงอะไรมากมายหรอก พูดเฉยๆ เฉยเหมือนหน้าเขานี่แหละ แต่ไอ้เอ้อ้วนนี้ ซีดแล้วซีดอีก ใครไม่โดนกับตัวไม่รู้... ไม่อยากจะนึกตอนไม่พอใจอะไรมากกว่านั้น เสร็จแล้วเขาก็ไป พี่เดนท์หนึ่งเรายังไม่ขึ้นมาเลย" ศิวัชหมายถึงแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์ปีหนึ่งซึ่งปกติดูแลงานน้องให้เรียบร้อยและสั่งการรักษาเบื้องต้นก่อนอาจารย์จะมา “เอ้อ้วนมันก็เช็ดเหงื่อสิ แตกพลั่ก... แต่ป้าแกฟังพี่จริงๆ นั่นละ”

“ดีแล้วไง จะได้หาย” ญาดาว่า “บางทีคนไข้เหมือนรู้เรื่องแต่เจอกันอีกทีบอกหมอไม่เคยพูดนี้มึนเลย ไม่ได้มีปัญหาความจำด้วยนะ”

เพื่อนคนสุดท้ายในกลุ่มเดินมาถึงในตอนนั้น เป็นอันครบองค์สี่ที่เริ่มกลมเกลียวตั้งแต่อยู่โต๊ะอาจารย์ใหญ่เดียวกันในแล็บกรอสของมหกายวิภาคปีสอง ขึ้นไปทวนมืดๆ บรรยากาศวังเวงจนสนิทไปเอง กระทั่งลงเวชศาสตร์ชุมชนพื้นที่เดียวกันอีกเมื่อไม่นานมานี้

ต่อเมื่อเข้ามาใกล้จึงได้เห็นว่าที่มือยังพันผ้าพันแผลสีขาวเอาไว้ด้วย สามคนที่นั่งอยู่ก่อนต่างถามไถ่ว่าเกิดอะไรขึ้น ก่อนได้คำตอบสั้น “โดนกัด”

เกตุวดีนั้นประจำวอร์ดกุมารเวชศาสตร์ที่ได้ชื่อว่าละเอียดจัดและจึงไม่มีทางปล่อยเร็วอยู่แล้ว แต่เพื่อนๆ ก็ไม่คิดว่าที่ช้าสุดนี่ไม่ใช่เนื่องมาจากมหกรรมราวนด์เย็นตามธรรมดา เพราะอุบัติเหตุวิชาชีพต่างหาก

"เลือดปรี๊ด... เราร้องเด็กร้อง พ่อแม่เด็กก็ร้อง..." คนเล่าส่ายหน้าอย่างเหนื่อยใจ “กัดแล้วสะบัดด้วยนะ อาจารย์ต้องมาช่วยแยก คุยกับพ่อแม่เรื่องพฤติกรรม แต่พ่อแม่ก็ยืนยันว่าลูกไม่เคยกัดใครเพิ่งจะมากัด ‘พี่หมอ’ คนนี้แหละ เฮ้อ”

... หลังจากนั้นนักศึกษาแพทย์เกตุวดีต้องไปฉีดยากันบาดทะยัก ยาปฏิชีวนะ ล้างทำแผลตามระเบียบ ให้รุ่นพี่และนางพยาบาลรู้จักทักจนทั่วว่า 'อ้อ คนนี้เองที่โดนกัด' 

เพื่อนๆ ยังซักต่อไปอีกด้วยความเป็นห่วง จนเจ้าตัวต้องพูด “ไม่เป็นไรแล้วล่ะน่า เล่ามาดีกว่าเมื่อกี้คุยอะไรกันอยู่”

เรื่อง ‘พี่ดุ’ จึงถูกถ่ายทอดอีกครั้ง เกตุวดีฟังแล้วก็ว่า

“เดี๋ยว... หมอพิธานนี่อยู่ออร์โธนะไม่ใช่ศัลย์ เคยได้ยินพี่เกี้ยวพูดถึงอยู่ เป็นรุ่นน้องพี่เกี้ยว”

ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ที่เกี่ยวข้องกับกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เอ็น เส้นประสาทนั้นนักศึกษาแพทย์ปีสี่ยังไม่ได้เข้าไปสัมผัสโดยตรง แม้จะเรียนรู้เบื้องต้นกันมาบ้าง กรองพรหรือ ‘พี่เกี้ยว’ พี่สาวของเกตุวดีตอนนี้ก็กลับมาเรียนต่อเป็นแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์อยู่เหมือนกัน

“อ้าว แล้วมาทำอะไรตรงศัลย์” ศิวัชโพล่งขึ้น พลางนึกไปว่าเพื่อนเอ้นั้นจะถึงคราวซวยฟรีหรือไม่

“ไม่แปลก ปีแรกเดนท์ออร์โธไปเวียนอยู่ที่ศัลย์ ตี๋ก็เล่าว่าป้าเป็นคนไข้เก่าพี่เขาไม่ใช่เหรอ แสดงว่าพี่เขาคงขออาจารย์กลับไปดูบ้างได้แหละ” เกตุวดีผู้เป็นประหนึ่งสารานุกรมของกลุ่มยังคงมีคำตอบให้กับทุกเรื่องเหมือนเคย “แต่คงไม่ไปบ่อยหรอก ขึ้นปีสองแล้วออร์โธยุ่งจะตาย ตอนพี่เกี้ยวอยู่ปีสองบ่นทุกวัน”

“พี่เกี้ยวปีสามแล้วไม่บ่นเหรอ” ญาดาเย้า

“บ่นหนักกว่าเดิมสิไม่ว่า” เกตุวดีตอบพลางหัวเราะ 

กรองพรยังเคยพาเพื่อนๆ ที่สนิทของน้องไปเลี้ยงเมื่อสอบใหญ่ครั้งจบปีสามผ่านไป ศิวัชผู้เชื่อฝังหัวว่าแพทย์หญิงที่เลือกต่อเฉพาะทางออร์โธปิดิกส์จะต้องมีลักษณะอันอนุมานเอาได้ว่า ‘แรงเยอะ’ อยู่ในตัวถึงกับนั่งนิ่งอย่างอัศจรรย์ใจ เพราะพี่เกี้ยวที่เจอก็ไม่ได้สูงใหญ่ล่ำ กล้ามเป็นมัดๆ อะไรทำนองนั้น ออกจะเป็นผู้หญิงตัวเล็กกว่ามาตรฐาน ดูเด็กกว่าอายุ ซ้ำยังคุยเรื่อง ‘สาวๆ’ กับญาดาระหว่างรออาหารอย่างออกรสออกชาติ ด้วยเหตุว่าน้องตัวเองไม่ค่อยสนใจเรื่องที่ซื้อของหรือว่าเครื่องสำอางเสื้อผ้าสักเท่าไร


ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3

บทที่ 1 (ต่อ)

เมื่อเกตุวดีขอตัวไปเข้าห้องน้ำ กรองพรจึงได้หันมาถามยิ้มๆ

'มีอะไรหรือเปล่าจ๊ะน้องตี๋'

ศิวัชอึกอักอยู่ครู่ จนญาดาที่นั่งข้างกันถองเบาๆ ค่อยโพล่งออกไป 

'... คือผมคิดว่าพี่เกี้ยวไม่เหมือนอยู่ออร์โธเลยครับ'

'แล้วหมอออร์โธต้องเป็นไง' รุ่นพี่ถามกลับพลางหัวเราะ ‘เห็นยังงี้พี่ทำได้หมดนะ ตั้งแต่ยกขาคนไข้ยันผ่าดามเหล็กยึดสกรู ความถึกมันอยู่ในอินเนอร์จ้ะ'

แต่กรองพรก็เล่าให้ฟังต่อว่า ยังมีคนไข้ประเภทลุงหัวเก่าบางคนที่มีปัญหา เพราะ ‘หมอเป็นผู้หญิง’ หรือ ‘หมอยังเด็ก’ หลายกรณีต้องพิสูจน์กัน หลายครั้งที่กรองพรต้องย้ำ ‘หมอนี่แหละค่ะที่ผ่าขาลุง’ รักษิตที่นั่งฟังอยู่ยังคิด แล้วจริงๆ หมอต้องเป็นยังไง? ก่อนเรียนต่อเฉพาะทาง ตามความรับรู้ทั่วไปของคน หมอก็ควรจะดูคงแก่เรียน มาพร้อมกับแว่นและจมูกจมอยู่ในหนังสือตลอดเวลา แต่ที่เขาเห็นอยู่ปีแล้วปีเล่าก็ไม่ได้เป็นอย่างนั้น ยังบอกไม่ได้ว่าคนเรียนแพทย์ควรต้องมีหน้าตาท่าทางเฉพาะอย่างไร พอมาเป็นแพทย์ประจำบ้านแล้ว ก็ไม่วายถูกจัดเข้าประเภทอีก

อย่างกรองพร อาจจะมีคนทายว่าเรียนผิวหนังหรือตา อย่างที่หมอสาวๆ จำนวนมากเลือก เธออาจจะไม่มีปัญหากับคนไข้ในแผนกโรคผิวหนังหรือจักษุเพราะเป็นผู้หญิงก็ได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่างานในแผนกใดหนักเบากว่ากัน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ลักษณะภายนอกเป็นสิ่งที่คนเราเห็นกันก่อน และหลายครั้ง ใช้ตัดสินกันก่อน

เขาหยุดห้วงความคิดไว้เพียงนั้นเมื่อศิวัชเอ่ยขึ้นว่าในเมื่อสมาชิกมากันครบพร้อมแล้ว ก็ควรยกขบวนไปกินข้าวได้เสียที รักษิตเดินตีคู่ไปกับญาดา ผู้อยากจะรู้ว่าวันแรกๆ ในการขึ้นวอร์ดอายุกรรมของเขาเป็นอย่างไร ซึ่งเขาก็ตอบว่า

"ดีแหละ... ดีทั้งสาย เอ็กซ์เทิร์นก็ดี พี่เดนท์ก็เก่ง เพื่อนในวอร์ดก็...”   
   
แต่เพื่อนย่นจมูกแล้วขัด “มันไม่มีน่ะษิต ดีหมดยังงั้น... ไหนเล่าวันนี้ซิ”

รักษิตอดขำความระแวงระวังของเพื่อนไม่ได้ ในเมื่อก็เจอพี่ เจออาจารย์ตามปกติ จนถึงได้เคสในความรับผิดชอบที่เพื่อนในวอร์ดจัดสรรกันก่อนไปรับคนไข้ใหม่ ซึ่งเขาละไว้ว่าประวัติที่ได้แบ่งมานั้นหนาปึก คนไข้นอนโรงพยาบาลนานเชียว อ่านกันอุตลุดแน่ แต่ญาดาร้องขึ้นเสียก่อน

"เดี๋ยว... ปกติมันควรจะไปพร้อมกันแล้วค่อยแบ่งไม่ใช่หรือ ษิตก็ไม่ได้ไปสายนี่"

บางทีอาจารย์หรือแพทย์ประจำบ้านอาจจะมาช่วยแบ่งให้ แต่บางทีอีกเหมือนกันที่นักศึกษาแพทย์แบ่งกันเองก่อนคนไข้ใหม่จะเข้ามาโดยพี่ดูแลอีกที เพราะเดี๋ยวก็ต้องไปรับคนไข้มากระจายกันอยู่แล้ว

"ก็ไปตรงเวลา” เขาตอบ “... หมายถึงก่อนพี่นัด แต่นีน่าเขาบอกว่าดูกันเสร็จไปแล้ว ก็ไม่เป็น..."

"ใครนะ" เพื่อนขัดขึ้นอีก "ไม่เห็นคุ้น คณะเรามีคนชื่อนี้ด้วยเหรอ จำไม่ได้ว่ามีลูกครึ่งเข้ามา"

"ไม่ใช่ลูกครึ่ง... ที่ขาวๆ ผมยาวๆ เป็นคนถือป้ายคณะตอนกีฬาเฟรชชี่ด้วยไง แล้วก็เป็นนางนพมาศของมหาวิทยาลัย"

"อ๋อ" คนฟังเพิ่งถึงบางอ้อ "ยายเง็ก ทัศนีย์"

"... เขาให้เรียกนีน่า"

"นีน่าอะไรกั๊น!" ญาดาหัวเราะลั่น "ยายเง็กนี่เห็นกันมาตั้งแต่อนุบาล ย้ายโรงเรียนไปเสียได้ตอนมอสี่ มาเจอที่คณะเดียวกันอีก ปีหนึ่งยังชื่อเง็ก ขึ้นชั้นคลินิก จะเป็นหมอนีน่า! โอยตาย"

รักษิตเพียงแต่ยิ้ม เพราะไม่เห็นเป็นเรื่องใหญ่ในการเปลี่ยนชื่อเรียกอย่างที่เพื่อนในวอร์ดต้องการ ญาดากับทัศนีย์อาจจะเคยมีประเด็นอะไรตามประสาเพื่อนสมัยเด็กที่รู้จักกันมาก่อน แต่เขาคิดว่ามันน่าจะผ่านไปนานแล้ว

"ษิตอย่าไปยอมพวกยายเง็ก" เพื่อนยังว่า "แหม เสียดายนิ้งไม่ได้ขึ้นด้วย ไม่งั้น..."

คราวนี้รักษิตหลุดหัวเราะ ส่ายศีรษะน้อยๆ กับท่าทางหมายมั่นปั้นมือของเพื่อน ตั้งแต่รู้จักกันเมื่อตอนปีหนึ่งก็ยังไม่เปลี่ยน เป็นญาดาขาลุยแต่ไหนแต่ไร ก่อนตอบอย่างไม่ต้องการให้เรื่องยาวมากไปกว่านี้

"ไม่เป็นไรหรอกนิ้ง เห็นเขาแบ่งกันแล้ว เราไงก็ได้"

"โถ่... เดี๋ยวพอมีเคสใหม่มานะ ก็ดันให้ษิตรับอีกเพราะจะบอกว่าของตัวน่ะเพิ่งขึ้นวอร์ด ไม่เหมือนของษิตที่มีแผนการรักษาอยู่แล้ว" ญาดาว่าเป็นฉาก "คอยดูสิ ชีวิตในวอร์ดมันจะดีไปได้ยังไง้ถ้าเพื่อนร่วมวอร์ดไม่ดี”

“ไม่ใช่ไม่ดี” รักษิตแก้ แต่ญาดาจะฟังเขาก็หาไม่ เอ่ยต่อไปทันที

“ไอ้แบบแย่งรับเคสจะตรวจทุกอย่างในโลกนี้นี่ยังพอทน เข้าใจว่าถือคะแนนเป็นสรณะ ยังไงคนไข้ก็เข้าเรื่อยๆ อยู่แล้วไม่เดือดร้อนจนคนอื่นไม่ได้ทำเท่าไหร่ แต่พวกเกี่ยงงาน ถือเผด็จการพวกมากเข้าไว้นะบอกเลย สะเทือนอารมณ์ทางแพทย์มาก”

ในเมื่อคนฟังยังหัวเราะเฉยไม่ต่อความด้วย ญาดาจึงได้แต่ว่า “นิ้งเตือนแล้วนะษิต ตอนนี้ยังไม่มีเรื่องอะไรก็ดีแล้ว แต่นิ้งเห็นลางตั้งแต่เอาเคสไปแบ่งกันกับพวกเพื่อนตัวเองก่อนละ”

ศิวัชกับเกตุวดีที่เดินล่วงหน้าไปก่อนหันมากวักมือเรียก ทั้งคู่จึงเร่งฝีเท้าตามไป เมื่อทันก็คุยกันเรื่องอื่นโดยไม่วกมาวอร์ดอายุรกรรมอีก


... การขึ้นชั้นคลินิกทำให้ต้องปฏิบัติงานในวอร์ดแต่เช้าตรู่ก็จริง แต่รักษิตยังพยายามจะกลับไปค้างที่บ้านหากมีโอกาส เนื่องเพราะเหลือมารดาเพียงคนเดียว

ถึงมีคนช่วยงานแวดล้อม แต่เขารู้ดีว่าไม่เหมือนลูกชาย

ด้วยภาระบริหารที่มีมากมาย บางทีก็ติดงานสังคม ทำให้แม่มักจะกลับถึงบ้านเมื่อเวลามื้อเย็นล่วงไปนานแล้ว รักษิตนึกถึงครั้งสุดท้ายที่ได้กินข้าวกับแม่

... เมื่อไรกันนะ

เขาเดินเข้าบ้านช้าๆ ผ่านห้องทำงาน คิดว่าแม่อาจจะยังอยู่ในนั้น เพราะบ่อยครั้งที่คุณตรีรัตน์ทำงานจนดึกดื่นค่อนคืน แต่กลับได้ยินเสียงคุยกันเบาๆ บ่งบอกว่า มีคนสองคนในห้องทำงาน

บทสนทนาแผ่วเบาจนจับใจความไม่ได้ แต่บางครั้งกลับดังขึ้นเหมือนมีข้อคิดเห็นที่ขัดแย้ง แล้วกลับเบาลงอีก

รักษิตถอยออกมาเมื่อจำเสียงอีกเสียงที่ไม่ใช่ของแม่ได้ ตัดสินใจออกไปที่โถงหน้าบ้าน รอจนกว่าทั้งสองคนจะเสร็จธุระ

ร่างสูงที่โผล่พ้นประตูบานใหญ่ออกมานั้นคุ้นตาเขาเป็นอย่างดี รักษิตลุกขึ้นยืน เห็นอีกฝ่ายยกมือลูบหน้าอย่างเหนื่อยล้า แต่เมื่อเห็นเขา กลับปรากฎรอยยิ้มขึ้นบางเบา ทักว่า

“นอนบ้านหรือวันนี้”

รักษิตพยักหน้า นึกรู้ว่าคงเพิ่งคุยงานกับคุณตรีรัตน์เสร็จ เรื่องงานต่างๆ ที่เขาไม่อาจเข้าไปยุ่งเกี่ยวหรือแบ่งเบาได้ในเวลานี้ เพราะทั้งคนตรงหน้าและผู้เป็นมารดาเองบอกตรงกัน ‘ษิตต้องเรียนให้จบก่อน’

รอยยิ้มน้อยๆ ยังไม่จางเมื่อคนพูดเอ่ย “วันนี้เป็นไงบ้าง เล่าให้พี่ฟังหน่อย” 

พี่ลภมีเวลาให้เขา เสมอ...

รักษิตพูดเรื่องวอร์ดตัวเองแต่เพียงย่อๆ ในความเห็นของเขาเรื่องที่ญาดาห่วงเผื่อแผ่มาให้นั้นไม่ใช่เรื่องใหญ่ เขายังคิดว่าเพื่อนในวอร์ดอย่างไรต่อไปต้องเป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพ หนักนิดเบาหน่อยควรจะคุยกันได้ ดังนั้นที่เหลือเล่าจึงเป็นเรื่องเพื่อนโดน ‘ดุ’ ในวอร์ดศัลยกรรมล้วนๆ   

คนฟังกลับนิ่งไปนาน ก่อนถาม

"หมอคนนั้น... ชื่ออะไรนะ"

"... พิธาน ถิรบรรณ" รักษิตว่าตามเพื่อนตี๋ที่จำมาแม่นทั้งชื่อนามสกุล ตอนกินข้าวกันยังพูด บอกให้เพื่อนอีกสามคนจำด้วยไว้ภาวนาไม่ให้ต้องเจอตอนเป็นเอ็กซ์เทิร์น เพราะขณะนี้ศิวัชมีความเชื่อฝังหัวอย่างใหม่นั่นคือ หมอพิธานต้องประเมินนักศึกษาแพทย์ได้โหดอย่างที่สุด

“เจอแป๊บๆ แค่นี้ยังโหดแล้วเลย” เขาว่าพลางหัวเราะ

ความเงียบเกิดขึ้นอีก จนรักษิตขยับจะถาม แต่คนที่นิ่งไปกลับพูดขึ้น

"ธานเขาไม่โหดหรอก... แค่เป็นคนเอาจริงเอาจัง"

"พี่ลภพูดเหมือนรู้จัก"

ประโยคนั้นจุดรอยยิ้มบางขึ้นได้อีกครั้ง สายตาคนนั่งตรงข้ามทอดไปไกล คำนึงถึงบางอย่าง... ที่นายแพทย์ลภคงรู้เพียงคนเดียว

"เขาเคยเป็นรุ่นน้องพี่"     

“แต่เห็นเกดบอกว่าพี่เกี้ยวก็ชม” รักษิตเล่าต่อ เพราะในโต๊ะกินข้าว ญาดาเกิดอยากรู้ขึ้นมาว่าที่กรองพรเคยพูดถึงหมอพิธานผู้ทำให้ชีวิตนักศึกษาแพทย์อนันต์ลำบากนั้นเป็นไปในทางใด “... ตั้งใจทำงาน คงจริงจังอย่างพี่ลภว่า”

“เกี้ยวก็อยู่ด้วยหรือ”

“พี่เกี้ยวเป็นพี่สาวเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มน่ะครับ เป็นเดนท์ออร์โธปีสามแล้ว พี่ลภรู้จักเหรอ”

“รุ่นน้องพี่เหมือนกัน” คือคำตอบ แต่รักษิตคิดว่า ‘รุ่นน้องเหมือนกัน’ คราวนี้กลับไม่เหมือน ‘รุ่นน้องพี่’ คราวพูดถึงหมอพิธาน แต่จะไม่เหมือนอย่างไรเขาก็อธิบายลงไปไม่ได้แน่

อีกฝ่ายลุกขึ้นยืน ลูบศีรษะเขาเบาๆ บอก “พี่ไปก่อนนะ”

รักษิตเดินตามมาส่ง เอ่ยก่อนจะทันถึงตัวรถ “พี่ลภ ขอบคุณครับ”

คนได้รับคำขอบคุณหันกลับมา เลิกคิ้วน้อยๆ “เรื่องอะไร”

"ทุกอย่าง... ทุกเรื่อง... เรื่องพี่ริน..."

"พูดบ่อยจัง" รักษิตได้คำตอบมาแบบนั้น เหมือนทุกครั้ง "... พี่รู้แล้ว"

“ทุกเรื่องจริงๆ อย่างเรื่องงานนี่ ก็ต้องฝากไว้กับพี่ลภหมด”

ลภกอดอก บอกเขาว่า “ไม่เอาละ ขี้เกียจพูดเรื่องนั้น... ว่าแต่สเตท ยังอยู่ดีหรือเปล่า ไม่ใช่ทำหายไปแล้วนะ”

สเตทโธสโคปหรือหูฟัง อุปกรณ์คู่ชีพที่นักศึกษาแพทย์ต้องมีทุกคน รักษิตตบกระเป๋าสะพายอย่างภูมิใจ “หายได้ไง พี่ลภซื้อให้”
 
ตาเหลือบเห็นโทรศัพท์เครื่องเก่าแสนเก่าที่กระเป๋าเสื้อเชิ้ตคนยืนพิงรถ ไวเท่าความคิด รักษิตรีบพูด “ษิตจะซื้ออะไรตอบแทนพี่ลภดี โทรศัพท์เครื่องใหม่ดีไหม ผ่อนศูนย์เปอร์เซ็นต์...”

คราวนี้คนฟังหัวเราะ “ไม่ต้องหรอก สเตทมันจำเป็น แต่โทรศัพท์ใหม่ไม่จำเป็นนี่นา เครื่องนี้ยังใช้ได้ดีอยู่”

“จะซื้ออะไรให้ก็ไม่รับสักอย่าง...”

“พี่อยากได้ของที่ไม่ต้องซื้อ เอาเอมาฝากพี่อีกสิเทอมนี้”

“เอ้า จะพยายาม” รักษิตว่า “ให้พี่ลภตัวหนึ่ง คุณแม่ตัวหนึ่ง...”

“ได้กันคนละตัวเท่านั้นน่ะ?” ลภว่า ประกายขันเต้นระยิบอยู่ในแววตา

“อย่างน้อยดีไหม อย่างน้อยคนละตัว” รักษิตบอกทั้งที่ไม่รู้ว่าจะได้แค่ไหนกับการผ่านชั้นคลินิกปีแรก ก่อนผูกมัดตัวเองมากกว่านี้เลยรีบเปลี่ยนเรื่อง "เจ้ารถนี่ก็เหมือนกัน อยู่ยง ทนจริงๆ ยังไม่เข้าพิพิธภัณฑ์อีก เข้าไปพร้อมโทรศัพท์พี่ลภเลย"

“มันก็ยัง...”

“... ใช้ได้” คนกระเซ้าต่อเสียเองอย่างรู้ทัน “รู้ไหม... คนที่ไม่ยอมทิ้งของเก่าสักทีน่ะที่จริงแล้วเป็นคนยังไง”

“ประหยัดมัธยัสถ์?”

“ไม่ใช่” รักษิตว่า “เป็นพวกยึดติดต่างหาก”

“อาจจะจริงก็ได้” ลภกลับรับเสียง่ายๆ ไขประตูรถขึ้นนั่ง “พี่ต้องไปล่ะ... พรุ่งนี้ไปเรียนดีๆ วันอื่นจะกลับบ้านมาก็บอก เผื่อพี่ไม่มีเวรจะได้ไปส่ง”

"คืนนี้ยังกลับไปโรงพยาบาลอีกหรือ" รักษิตโน้มตัวลงถาม ทั้งที่ออกจะรู้คำตอบอยู่แล้ว

“พี่รับเวรไว้นี่”

“ความจริง...”

เขากลืนถ้อยคำต่อมาลงไป ไม่ว่าจะเป็น ‘ไม่ต้องทำก็ได้’ หรือ ‘น่าจะกลับไปพักผ่อน’

งานบริษัทเครื่องมือแพทย์ที่แม่ทำต่อมาจากพ่อนั้นดึงเวลาหมอลภไปอาทิตย์ละห้าวัน แต่ข้อตกลงที่ศัลยแพทย์บอกไว้กับแม่ของเขาอย่างหนักแน่นตั้งแต่แรกเริ่มเข้ามารับงาน คือยังต้องการ “แพรคทิซ”... รักษาคนไข้ ดังนั้นลภจึงทำงานที่โรงพยาบาลด้วยแบบไม่เต็มเวลาหรือที่เรียกว่ารับพาร์ทไทม์ ส่วนใหญ่เป็นเวรดึกอาทิตย์ละสามถึงสี่คืน ไม่เคยมีฝั่งไหนบกพร่อง

แล้วทำไมเขาถึงจะยับยั้งหมอไม่ให้ทำงานหมอ? ทั้งๆ ที่รู้ว่าที่อีกฝ่ายต้องทำงานที่บริษัท ก็เพราะพันธะ และความจำเป็น...

รักษิตจึงพูดเพียงว่า

“เปล่าครับ เห็นทำงานเยอะกลัวจะเหนื่อย”

ลภยิ้มให้เขา แต่คนพูดก็รู้อีกนั่นแหละ ถ้างานที่รักจริงๆ แล้ว ไม่มีคำว่าเหนื่อย

รักษิตถอยออกมา มองคนสตาร์ทรถแล้วแต่ยังมีสีหน้าครุ่นคิด บอกในที่สุด "... พี่อาจได้กลับไปเรียนต่อเร็วกว่าที่ตั้งใจไว้”

"ถ้างั้นก็ดีสิ” คนได้ยินยิ้มกว้าง ช่วยไม่ได้ที่เขาคิดว่าลภน่าจะมีความสุขอยู่ในโรงเรียนแพทย์มากกว่าบริษัท ที่ตอนนี้งานทรงตัวไปได้ดีจนแม่น่าจะไม่ค้านการเรียนต่อซับบอร์ดหรือบอร์ดย่อยต่อยอดจากศัลยศาสตร์ที่ลภจบมาแล้ว หรือไม่ แม่ก็อาจจะเห็นว่าการเรียนต่อยอดจนเชี่ยวชาญเฉพาะขึ้นไปอีกนั้นส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของบริษัทและเครื่องไม้เครื่องมืออื่นๆ ก็เป็นได้ “ตัดสินใจหรือยังครับว่าจะสมัครที่ไหน”

“ที่เดียวกับษิตก็น่าจะดี...” ลภยิ้มน้อยๆ ก่อนต่อ “ถ้าเขารับพี่”

“โห... ทำไมจะไม่รับ” รักษิตออกมั่นใจ “พี่ลภเก่ง จบเฉพาะทางศัลย์ไปแล้วยังได้ยินอาจารย์พูดถึงอยู่จนทุกวันนี้ ดีเลย ษิตจะได้มีพี่ลภเป็นเฟลโลว์”

“กว่าจะได้เข้าไปเรียนก็ปีหน้านะ... ต้องจัดการ... หลายเรื่องให้เรียบร้อย”

รักษิตพยักหน้าอย่างกระตือรือร้น ในใจคิดว่า ถ้าแม่มีข้อคัดค้าน เขานี่แหละจะช่วยพูดอีกแรง

เขาโบกมือส่ง ยิ้มรับรอยยิ้มจากคนที่ไขกระจกขึ้นก่อนเคลื่อนรถออกไป "ขับดีๆ ครับ"

จวบจนรถเก่าคันนั้นลับตาแล้ว รักษิตจึงเดินกลับเข้าไปภายในบ้านหลังใหญ่ที่ยังเปิดไฟสว่างอยู่เพียงลำพัง


++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

สวัสดีคนอ่านอีกครั้งค่ะ หายไปพักหนึ่งคือว่าไปทำพล็อต (อ้างกันอย่างนี้เลย 55) บวกงานการยังแยะเหมือนเดิมตอนแรกคิดว่าจะนานกว่านี้กว่าจะได้กลับมาลงเรื่องใหม่ซะแล้ว แต่ก็คิดถึงทุกคนน้า

เรื่องนี้ก็... บอกได้ว่าเรื่องหมอก็เป็นเรื่องที่อยากเขียนอยู่ ยังไงก็ขอฝากด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ


ป.ล. ขอบคุณคนอ่านทุกท่าน ทั้งที่กลับไปอ่านเรื่องเก่าๆ ด้วยนะคะ ทั้งนี้ เรามิได้เพิกเฉยต่อเสียงเรียกร้องอยากให้มีตอนพิเศษของท่าน :) ขอบคุณด้วยซ้ำนะที่ยังคิดถึงตัวละครอยู่ แต่คนเขียนเป็นแบบที่ว่าเวลาเขียนคิดพล็อตไป พอสุดแล้วก็จะจบ 55 คือรู้สึกว่าส่งตัวละครถึงฝั่งละ เขาได้ตอนจบอย่างที่ควรจะเป็นแล้วอะไรอย่างนี้ สรุปว่าตอนพิเศษเนี่ยถ้าคิดออก (คือมีเรื่องหรือพล็อตขึ้นมาในใจ) ก็จะค่อยมาเขียนเนอะ ขอบคุณมากๆๆๆ อีกครั้งนะคะ  :กอด1:

ออฟไลน์ pedchara

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 179
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +57/-0
อ่านง่ายน่ารักดีค่ะ   :กอด1:

ออฟไลน์ =นีรนาคา=

  • เป็ดAres
  • *
  • กระทู้: 2546
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +296/-6
มาต้อนรับเรื่องใหม่ :mc4:

เหมือนจะมีปมอดีตนะเนี่ย หมอลภ หมอพิธาน
รอติดตามจ้า

ออฟไลน์ ลำนำบุหลันครวญ

  • mgKapleGD
  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 225
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +377/-1
เข้ามาเจอนิยายพี่เดหลีโดยบังเอิญ

ยังใช้ภาษาละเมียดละไมแบบที่อ่านปุ๊บไม่ต้องรูดไปดูนามปากกาก็รู้ว่าใคร
อย่าว่าแต่พี่เดหลีชอบนิยายแนวหมอ ผมเองก็ชอบนิยายแนวหมอด้วยภาษาทำนองนี้แหละครับ

เคยพยายามจะเขียน แต่สุดท้ายก็พยายามใส่เท่าที่จำเป็นในนิยายเรื่องหนึ่งของผม
เพราะดีเทลของการเขียนนิยายหมอนี่มันยุ่บยั่บน่ากลัวว่าจะเขียนได้ไม่ถูกต้องตามที่ควร

สำหรับเรื่องนี้ นอกจากภาษาที่ละเมียด แอบบ่นนิดว่าในตอนแรกว่าตัวละครเยอะจนรู้สึกว่าเกินไปบ้าง
แต่พอมาอ่านถึงย่อหน้าท้ายๆจึงรู้สึกว่า นิยายกำลังจะพยายามสื่อหรือจูงเราไปในทางใด ทำให้รู้สึกไม่เคว้งไปนัก

และคิดว่าคงไม่ยากที่นิยายเรื่องน้จะครองใจใครหลายๆคนเหมือนอย่างเรื่องก่อนๆ ของพี่เดหลี

จิ้มเป็ดไว้เป็นกำลังใจให้นะครับ
 :L2:

ออฟไลน์ malula

  • เป็ดApollo
  • *
  • กระทู้: 7208
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +622/-7
ภาษาสวยงามเช่นเคย ตัวเอกก็รักษิตสินะ ส่วนอีกคนจะเป็นใคร
หมอพิธานที่มาแต่ชื่อ หรือหมอลภที่ยังไม่รู้ว่ามีความสัมพันธ์กันยังไง

ออฟไลน์ AGALIGO

  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 310
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +47/-4

ชอบเรื่องนี้จัง

อ่านนิยายแล้วได้ความรู้ด้วย

เป็นกำลังใจให้คนแต่ง---สู้ๆนะ

ออฟไลน์ lizzii

  • เป็ดAthena
  • *
  • กระทู้: 6283
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +271/-2
ดีจังได้อ่านนิยายเรื่องใหม่แล้ว

ออฟไลน์ piggyfree

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 191
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +22/-1
อยากบอกว่า ในแง่ของคนไข้ เราต้องการหมอของเราเท่านั้น มันเป็นความรู้สึก ไว้ใจ เชื่อใจ วางใจ
ตอนต้องเข้าผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก พี่สาวที่เป็นพยาบาลกังวลใจมาก เพราะพยาธิสภาพของเรา
แต่เราบอกว่าจะผ่า เพราะเรารักษาทางยา มาหลายปี เราเชื่อมั่นในคุณหมอของเรามาก และทุกอย่าง
ผ่านมาเรียบร้อยดี นอนอยู่ 15 วัน คุณหมอของเรา คุณหมอเฟลโลว์ คุณหมอเรสิเดนท์ น่ารักมาก
แต่แปลกใจจังคุณพยาบาลชอบบ่นว่า คุณหมอจู้จี้ เอาแต่ใจ ความจริงคุณหมออยากดูแลให้คนไข้
ของตัวเองให้ดีที่สุด ไม่ใช่เหรอ
ขอบคุณมากนะคะ แค่เริ่มต้นก้อสนุกแล้ว เพราะต้องจำตัวละครกันงงเลย <3

CoMMuNiTY Of ThAiBoYsLoVE

Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
« ตอบ #9 เมื่อ: 16-04-2014 15:22:54 »
ประกาศที่สำคัญ


ตั้งบอร์ดเรื่องสั้น ขึ้นมาใครจะโพสเรื่องสั้นให้มาโพสที่บอร์ดนี้ ถ้าเรื่องไหนไม่จบนานเกิน 3 เดือน จะทำการลบทิ้งทันที
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=2160.msg2894432#msg2894432



รวบรวมปรับปรุงกฏของเล้าและการลงนิยาย กรุณาเข้ามาอ่านก่อนลงนิยายนะครับ
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=459.0



สิ่งที่ "นักเขียน" ควรตรวจสอบเมื่อรวมเล่มกับสำนักพิมพ์
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=37631.0






ออฟไลน์ ゚゚ღ✿ศิลินส์✿ღ゚゚

  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 247
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +23/-4
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #10 เมื่อ17-04-2014 14:21:51 »

หมอลภ กับ รักษิต ตอนนี้เป็นอะไรกันหรอ แค่พี่น้องหรือมากกว่านั้น แล้วยังกับหมอพิธานอีก ยังไงกัน?

สมาร์ท โก้  ฯลฯ คำพวกนี้จะเจอแต่ในนิยายสมัยก่อน เพิ่งเคยเห็นนิยายสมัยใหม่ใช้คำนี้ครั้งแรกเลยมั้ง 555

ชอบเรื่องหมอ ๆ นะ แล้วจะรอตอนต่อไปค่ะ

ออฟไลน์ Wordslinger

  • แป้งจี่รีรีข้าวสาร
  • เป็ดHermes
  • *
  • กระทู้: 2383
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +1180/-5
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #11 เมื่อ17-04-2014 15:21:20 »

ทำไมเพิ่งเห็น! ดีใจมากๆ ค่ะที่มีโอกาสได้อ่านเรื่องของคุณเดหลีอีกครั้ง รับรองว่าจะติดตามจนถึงตอนจบเลยทีเดียว  :mew1:

ออฟไลน์ Nemasis

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 158
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +43/-1
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #12 เมื่อ17-04-2014 17:31:59 »

ดีใจมากคุณเดหลีกลับมาแล้ว คราวนี้เป็นเรื่องของคุณหมอซะด้วย ภาษายังละเมียดละไมเหมืิอนเดิมเลยค่ะ

ชอบชื่อเรื่องจังอบอุ่นดี

ยังมึนๆกับตัวละครอยู่5555  รอตอนต่อไปนะคะ :L1:

ออฟไลน์ Sillyfoolstupid

  • เป็ดมหาวิทยาลัย
  • *
  • กระทู้: 488
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +59/-0
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #13 เมื่อ17-04-2014 18:48:11 »

ว้าว มีเรื่องใหม่แล้ว
ทีแรกยังไม่ทันเห็น
พอดีแวะไปดูในกระทู้นักเขียนแนะนำนิยาย
รีบตามลิ้งค์มาอย่างรวดเร็ว
เรื่องใหม่มาเร็วกว่าที่คิด ดีจริงๆเลย
อ่านแล้ว โห รายละเอียดยิบ ทำการบ้านมาดีจริงๆ

//กระซิบ// [เพิ่งอ่านบริษัทบำบัดโสดจบเป็นรอบที่สองเมื่อช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา]  :hao3:

ออฟไลน์ sang som

  • เจ็บจิต!!
  • เป็ดDemeter
  • *
  • กระทู้: 1609
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +108/-6
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #14 เมื่อ18-04-2014 00:03:21 »

ใครคู่ใครเนี่ย ลุ้นๆ

ออฟไลน์ liza sarin

  • เป็ดนักขาย
  • เป็ดAres
  • *
  • กระทู้: 2538
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +91/-14
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #15 เมื่อ19-04-2014 21:47:28 »

ภาษาอบอุ่นดีค่ะ

ออฟไลน์ BeeRY

  • ❤。◕‿◕。ยิ้มเข้าไว้นะ。◕‿◕。❤
  • เป็ดHades
  • *
  • กระทู้: 9404
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +897/-8
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #16 เมื่อ19-04-2014 22:34:07 »

เย่ๆ เรื่องใหม่ของคุณเดหลี :mc4:
ยังงงกับความสัมพันธ์ของเหล่าคุณหมออยู่ ต้องรอดูกันต่อไปสินะ :katai2-1:
รออ่านตอนต่อไปค่า :L2:

ออฟไลน์ twenty8

  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 285
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +7/-0
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #17 เมื่อ19-04-2014 23:08:28 »

ชอบพล็อตเกี่ยวกับแพทย์มากๆเลยค่ะ
น่าติดตามมาก สำนวนการเขียนนิยายของพี่ยังน่าทึ่งเช่นเคย
รอตอนต่อไปค่ะ อยากอ่านต่อมากๆๆๆ

ออฟไลน์ SenzaAmore

  • Where troubles melt like lemon drops....
  • เป็ดHestia
  • *
  • กระทู้: 713
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +79/-0
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #18 เมื่อ24-04-2014 08:37:56 »

พอเห็นชื่อคนแต่งปั๊บ ก็กดเข้ามาดูปุ๊บเลย

ต้อนรับเรื่องใหม่นะคะะ :L2:

ท่าทางน่าสนุก รอตอนต่อไปค่า :mew1:

ออฟไลน์ Nemasis

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 158
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +43/-1
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
«ตอบ #19 เมื่อ11-05-2014 00:46:01 »

คิดถึงแกงค์คุณหมอแล้ววว

CoMMuNiTY Of ThAiBoYsLoVE

Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 1] 16 เม.ย. 57
« ตอบ #19 เมื่อ: 11-05-2014 00:46:01 »





ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #20 เมื่อ17-05-2014 00:55:46 »

บทที่ 2

โรงอาหารคณะแพทยศาสตร์ตอนเช้าคนแน่น แต่ผู้เพิ่งเดินเข้ามายังเห็นเป้าหมายที่มักมองหาอยู่เป็นประจำได้ถนัด ร่างในเสื้อกาวน์ขาวแขนสั้นก้มหน้าต่ำ ไม่ต้องเดาก็รู้ว่า... หนังสือวางเยื้องอยู่ทางขวา ถึงจะวางเคียงกับจานข้าว แต่ก็เป็นภาพที่แตกต่างจากคนส่วนใหญ่ทั้งที่อยู่ในชุดคล้ายคลึงกันหรือไม่ก็ตาม ซึ่งเลือกจะใช้ช่วงเวลาระหว่างรับประทานอาหารพูดคุยเพื่อสังสรรค์มากกว่า

ธีรพัทธ์เดินตรงเข้าไป รุ่นน้องแพทย์ประจำบ้านปีหนึ่งจากวอร์ดเดียวกันที่ใช้โต๊ะยาวตัวนั้นร่วมอยู่ด้วยรีบเขยิบที่ให้ ก้มศีรษะทักทายเรียบร้อยก็หันไปสนใจบทสนทนาในกลุ่มต่อ ส่วนคนอ่านหนังสือยังไม่มีท่าทางรับรู้ว่าเพื่อนมานั่งอยู่ฝั่งตรงข้าม แต่สิ่งที่ทำให้พิธานเงยหน้าขึ้นมาสนใจได้ทันทีอาจจะมีอยู่ไม่กี่อย่างในโลกนี้ และธีรพัทธ์ก็ทำใจนานแล้วว่าคงไม่ได้รวมเขาอยู่ด้วย

ซึ่งก็ไม่ได้ขัดขวางไม่ให้ลองดู... เขาไล่นิ้วไปตามขอบกระดาษ นึกรู้ว่าแค่นี้คงดึงสมาธิมายาก ก่อนเปรยขึ้นลอยๆ

“กินอะไรไม่น่าอร่อย”

พิธานพลิกหน้าหนังสือ แต่คิ้วข้างหนึ่งเลิกขึ้นเหมือนจะบ่งบอกว่าไม่เห็นด้วยและถามเหตุผลเขาไปในขณะเดียวกัน

ตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว ไอ้พูดโดยที่ไม่ต้องพูดนี่...

“กินมันก็ต้องเห็นทั้งรูป รู้ทั้งรส ถึงจะคุ้ม” ธีรพัทธ์ว่า ถือหลักแม้อาชีพจะเอื้อให้เห็นแง่มุมไม่น่าอภิรมย์ของชีวิตอยู่บ่อยๆ ก็ไม่จำเป็นต้องเลิกแสวงหาความสุนทรีย์ในด้านอื่น ถึงจะเป็นเพียงการกินข้าวในโรงอาหารไม่ใช่เหลาก็ตามที “นี่กินไป ตาดู...”

ธีรพัทธ์ชะโงกข้ามโต๊ะ เห็นหนังสือเปิดค้างอยู่ที่ภาพการผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์แบบโคลสอัพ สี่สี ชัดเจนโดยไม่ต้องจินตนาการเพิ่ม

พิธานไม่ว่าอะไร เพียงแต่โบกมือซ้ายเหมือนจะบอกให้ลุกไปซื้อข้าวได้แล้ว สอดคล้องกับเสียงร้องของท้องเขาพอดี เมื่อนึกถึงภาระงานในวอร์ดอายุรกรรมที่คงจะต้องตามเรสิเดนท์ปีหนึ่งขึ้นไปช่วยดูน้องในไม่ช้ารวมทั้งรายงานกับอาจารย์ ธีรพัทธ์ก็เลือกจะหยุดตอแยเพื่อนแล้วไปหาข้าวใส่ท้องเพื่อเตรียมรับชั่วโมงทำงานอันยาวนานดีกว่า

“อย่าเพิ่งรีบไปล่ะ” เขาหันมาบอก แต่อันที่จริงอีกฝ่ายจะยังอยู่หรือไม่ธีรพัทธ์ไม่คิดถือ รู้ดีว่า ในช่วงปฏิบัติงานหมอยิ่งกว่าชีพจรลงเท้า

สมัยใช้ทุนต่างจังหวัด กินข้าวอยู่หน้าโรงพยาบาลแท้ๆ มีโทรศัพท์ตามตัว ฟังแล้วคนไข้มาด้วยอาการหนักพอควร ในโรงพยาบาลเล็กๆ การอยู่เวรเพียงคนสองคนหรือแม้แต่คนเดียวเป็นเรื่องปกติ เขาทิ้งจานวิ่งข้ามถนน สั่งการในโทรศัพท์ไป พยาบาลก็รายงานอาการไป ถึงห้องฉุกเฉินหมอแทบจะหอบแข่งกับคนไข้ แก้ไขจนเรียบร้อย เพิ่งสำเหนียกว่ายังไม่ได้จ่ายเงินค่าข้าว ต้องวานคนงานออกมาอีก ดีว่าลุงเจ้าของร้านมักคุ้นกับเขาอยู่แล้วเลยไม่ถึงกับโดนข้อหากินฟรี

ส่วนตอนนี้... ป้าๆ ขายกับข้าวส่งเสียงทักกันเกรียวเมื่อธีรพัทธ์โผล่เข้าไปให้เห็น ที่จริงก็รู้จักหน้าค่าตากันตั้งแต่ตอนเขายังเรียน พอขึ้นเป็นเอ็กซ์เทิร์นธีรพัทธ์รับพวกเธอคนหนึ่งเป็นคนไข้ ตอนนั้นถึงจะเขียนคำสั่งการรักษาได้ก็ต้องรอให้แพทย์ประจำบ้านหรืออาจารย์มาเซ็นรับรองก่อน

เขาพยายามเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า บางครั้ง กุญแจสำคัญในการวินิจฉัยก็อยู่ในสิ่งที่อาจารย์เคยบอกและนักศึกษาแพทย์ต่างคิดว่าช่างง่ายดาย แต่แท้ที่จริงทำได้ยากยิ่งในทางปฏิบัติ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีคนเจ็บคนป่วยคลาคล่ำอยู่ตลอดและแพทย์งานล้นมือ นั่นคือ ‘ฟังคนไข้ให้ดี’

... จะเป็นหมอรักษาคนให้ได้ ซักประวัติเป็นแล้ว ต้องฟังให้เป็นด้วย บ่อยครั้งคนไข้พูดจาวกวน หลงลืม หรือแม้แต่ไม่พูดถึงเพราะคิดว่าไม่สำคัญ อาการแรกเริ่มมาอย่าง กลับกลายไปเป็นอีกอย่างก็มี เขายังเคยเจอคนไข้ถูกรับเข้าที่วอร์ดจิตเวชด้วยอาการเหม่อลอยและพูดคนเดียว พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากปกติ รักษาแล้วไม่ดีขึ้นจนปรึกษาอายุรกรรม ลงท้ายว่าเป็นสมองอักเสบจากภูมิคุ้มกันผิดปกติ ไม่ได้เกี่ยวกับโรคจิตเภทสักหน่อย

เพราะฉะนั้นนอกจากผลแล็บกับเอ็กซเรย์ ยังต้องอาศัยการปะติดปะต่อคำบอกเล่า ชิ้นส่วนเรื่องราวต่างๆ ทั้งของคนไข้ ของญาติ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเข้าด้วยกันจนได้คำตอบ

อายุรศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาที่เอื้อให้ทำเช่นนั้น และไม่ต้องใช้เวลาไปกับการอยู่ในห้องผ่าตัดเป็นชั่วโมงๆ

“หมอไม่เห็นค่อยลงมาเลย” อดีตคนไข้พูดยิ้มๆ ตักข้าวให้เขาจนพูนจาน แถมไข่อีกสองฟองแม้ลูกค้าจะทักท้วงด้วยกลัวขาดกำไร “ป้าต้องหาเรื่องป่วยไปนอนอีกแล้วมั้งถึงจะได้เจอ”

อันที่จริงธีรพัทธ์เพิ่งเผชิญมรสุมสัมมนาเฉพาะทางขนานใหญ่ ซึ่งจบลงไปได้เมื่อไม่นานมานี้พร้อมความโล่งใจอย่างเหลือล้นของแพทย์ประจำบ้านอายุรศาสตร์ (และอาจจะรวมอาจารย์อีกหลายท่านด้วย) ช่วงก่อนหน้า นอกจากเวลาไปดูคนไข้แล้วเขาก็แทบจะกินนอนอยู่ในห้องพักแพทย์ที่มักมีของกินมาทิ้งไว้จากรุ่นพี่หรืออาจารย์ที่มีน้ำใจบ้าง จากผู้แทนที่หวังจะให้หมอจำบริษัทได้และช่วยสั่งยาบ้างเลยไม่ถึงกับอด แค่เจอผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกันวนไปเวียนมา กลับจากวอร์ดก็เตรียมนำเสนอ บ้างก็เขียนรายงาน ตำรากองกระจัดกระจายเต็มห้องจนเบื่อทั้งหน้าคนและหน้าหนังสือเต็มที

พอมีโอกาสลงมาเจอเพื่อนเก่าที่ไม่ค่อยได้เจอ กลับสนใจหนังสือที่เขาขออนุญาตเบื่อหนึ่งวันมากกว่าเสียนี่

ธีรพัทธ์ยิ้มกับป้า บอกจากใจ “อย่าเลยครับ สัปดาห์ที่แล้วผมยุ่งมาก...” เขาลากเสียงเพื่อเน้นว่า มาก... จริงๆ “ป้าอย่าป่วยเลยครับ ข้างบนไม่มีผัดกระเพรา ยังไงก็ต้องลง”

ยิ่งทำงานแบบนี้ ยิ่งเหมือนถูกย้ำเตือนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ...

กลับมาถึงโต๊ะ รุ่นน้องแพทย์ประจำบ้านปีหนึ่งกลุ่มนั้นลุกไปแล้ว แต่ตำราออร์โธปิดิกส์เล่มเดิมยังเปิดอยู่ และคนอ่านก็ยังไม่ได้ไปไหนแม้รวบช้อนส้อมไว้อย่างเรียบร้อย ธีรพัทธ์ดูนาฬิกา เพิ่งจะหกโมงครึ่ง... เขาลงนั่ง กินข้าวพลางเล่าหัวข้อน่าสนใจในงานสัมมนาของตัวเองให้เพื่อนฟัง

พิธานไม่ได้อยู่วอร์ดเดียวกับเขาก็จริง แต่การ ‘คอนซัลต์’ หรือปรึกษาข้ามวอร์ดกันเกิดขึ้นอยู่เสมอ เช่นหากคนไข้ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด แต่ความดันยังสูงอย่างน่าเป็นห่วง อายุรกรรมคงต้องหาวิธีแก้เพื่อให้การผ่าตัดดำเนินไปอย่างราบรื่นและลดทอนอาการแทรกซ้อนภายหลัง หัวข้อสัมมนาของธีรพัทธ์เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเหมือนกัน ถือว่านำเสนอผ่านไปด้วยดีเป็นที่น่าพอใจ

แต่ถึงได้รับคำชมคราวนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าอาจารย์จะไม่ด่าในโอกาสถัดไป ตอนเพิ่งมาเรียนต่อ เป็นแพทย์ประจำบ้านปีหนึ่งสองสามเดือนแรก ยอมรับว่ามีกลวงและเอ๋อบ้างเมื่อพี่หรืออาจารย์ถาม พอผ่านไตรมาสนรกนั่นจนขึ้นปีสอง ธีรพัทธ์ก็รู้สึกว่าตัวเองน่าจะมีความรู้อยู่พอควร มาเย็นวานนี้เองอาจารย์ได้โอกาสซอยสับเขาค่อนข้างละเอียด... ด้วยการยิงคำถามรัว

'คิดถึงอะไรได้บ้าง'

'คิดถึงอะไรอีก'

'หมอ ตอบผมมานี่หมอคิดแล้วเหรอ'

การต่อความยาวกับอาจารย์ว่า 'คิดแล้วสิครับ' ไม่ช่วยอะไร ธีรพัทธ์จึงก้มหน้าก้มตารับคำสั่งสอนโดยดี แต่บางครั้งเมื่อกลับมาใคร่ครวญ ลองถามหัวหน้าแพทย์ประจำบ้านหรือที่เรียกว่าชิฟเรสิเดนท์ รวมทั้งเปิดตำราดูแล้ว เขาก็ไม่คิดว่าเขาพลาดไปไกลจนอาจารย์ต้องทำหน้าประหนึ่งสิ้นหวังกับอนาคตวงการแพทย์ไทยขนาดนั้น

เหมือนทุกครั้ง เขาก็อดระบายกับเพื่อนที่เจอหน้ากันตั้งแต่สมัยเรียนไม่ได้

“... คราวนี้ไม่ถูกตรงไหน” ธีรพัทธ์ถามลอยๆ กับอากาศ และพิธานก็ตอบทั้งๆ ที่ตายังไม่ละจากหนังสือ

“ไม่ถูกใจอาจารย์”

อาจจะจริง... แต่ธีรพัทธ์ก็พยายามคิดเสียว่าอาจารย์หวังดี และในบางครั้งอาจอยากให้ลูกศิษย์กลับมาหาคำตอบเองเพิ่มเติม หรือแม้แต่ไปถามอาจารย์ท่านอื่นดูบ้างก็ได้ คนไข้ยังมีสิทธิ์ปรึกษาหมออีกหลายคนหากไม่แน่ใจในการวินิจฉัย หมอก็มีสิทธิ์ถามหมอเวลาไม่แน่ใจเหมือนกัน

ถึงอย่างนั้น เขาก็ยังคิดว่าการพยายามทำให้ ‘ถูกใจ’ ใครๆ... หากใครคนนั้นเป็นคนที่เอื้อประโยชน์ได้ หรือนับถือกันมาด้วยวัยวุฒิ คุณวุฒิ อาจเป็นนิสัยธรรมชาติอย่างหนึ่งของมนุษย์ ไม่เช่นนั้น การลุกขึ้นมาตั้งคำถาม ทดลองเทคนิควิธีอะไรใหม่ๆ คงยากกว่าทำตามกันไป โดยเฉพาะในสังคมที่ค่อนข้างอนุรักษ์และถือระบบอาวุโสอย่างโรงเรียนแพทย์

แต่คงไม่เป็นกันทุกคน อย่างน้อยก็คนตรงหน้าเขานี่แหละคนหนึ่ง

ตอนแรกๆ นั้นธีรพัทธ์แทบไม่รู้ว่าพิธานอยู่ในคณะเดียวกันด้วย คนมีเพื่อนกลุ่มใหญ่ห้อมล้อมอย่างเขาย่อมไม่สังเกตคนที่มักจะปลีกตัวอยู่ตามลำพังและปฏิเสธคำชวนไปสังสรรค์ หาที่กินดื่มกันข้างนอกคณะบ้าง เมื่อชวนแล้วไม่ไปก็ไม่ชวนอีก ธีรพัทธ์จัดคนเหล่านี้ไว้ในพวกกลัวไม่คุ้มค่าเทอมถึงได้เอาแต่หมกอยู่ในห้องสมุด... การเรียนอย่างเอาเป็นเอาตายไม่อยู่ในนิสัยเขา ก่อนขึ้นปีสี่มาเจอคนไข้จริงๆ ธีรพัทธ์คิดว่าชีวิตในมหาวิทยาลัยยังมีเรื่องสนุกสนานให้ไปรู้ไปเห็นอีกมาก และชีวิตนั้นไม่จำกัดอยู่แต่ในคณะของตัวเองแน่ๆ

เรียกได้ว่า... พิธานอยู่นอกวงสังคมของเขา

พอขึ้นชั้นคลินิก เพื่อนกลุ่มใหญ่ของเขาต่างกระจัดกระจายกันไปหมด หลายคนออกไปเข้าคณะอื่นตั้งแต่ปีสองปีสาม ธีรพัทธ์พบว่าต้องอยู่วอร์ดศัลยกรรมเป็นวอร์ดแรก พร้อมด้วยพิธานเป็นหนึ่งในเพื่อนร่วมวอร์ด

เขาสู้ทน เพราะไม่ชอบสาขานี้... ไม่ชอบจนหาเหตุผลได้ล้านแปดประการ ตั้งแต่ไฟห้องผ่าตัดร้อนจ้าแต่แอร์เย็นเฉียบ วิธีล้างมือแบบย้ำคิดย้ำทำ การยืนขาแข็งเป็นวอลเปเปอร์หลายชั่วโมง รอว่าอาจารย์หรือพี่จะเมตตาเรียกให้เข้าไปดูใกล้ๆ ช่วยหยิบจับถืออะไรบ้างหรือเปล่า จวบจนผู้คน เพราะศัลยแพทย์ที่เขาเจอ ทั้งอาจารย์ ทั้งเรสิเดนท์ประจำสายช่างใจร้อน และคงเหลือที่ไว้อภัยให้มือใหม่น้อยมาก โดนเอ็ดโดนด่าจนเพื่อนผู้หญิงร้องไห้ไปหลายคน (และแน่นอน โดนเอ็ดซ้ำ)

ธีรพัทธ์กำลังนั่งนับวันให้ลงวอร์ดศัลยกรรมไปเสียทีเมื่อจู่ๆ ก็มีแผ่นกระดาษตีตารางเรียบร้อยยื่นมาให้ เขาเงยหน้าขึ้น พบพิธานยืนอยู่ด้วยสีหน้าเรียบเฉย เขากวาดตามองหัวข้อ แล้วต้องอ่านซ้ำ

พักหลังธีรพัทธ์ชาชินกับดราม่าในห้องผ่าตัด พยายามสนใจแต่อวัยวะคนไข้ส่วนที่เป็นปัญหาเก็บเกี่ยวความรู้ไป แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันเริ่มเป็นอุปสรรคในการเรียน ไม่ใช่สำหรับเขาคนเดียวแต่เพื่อนคนอื่นๆ ในห้องก็เหมือนกัน กับการโยน กระแทก หรือแม้แต่ขว้างเครื่องมือในการผ่าตัดบางชิ้นลงพื้นเพียงเพราะมีอะไรไม่ถูกใจศัลยแพทย์

คนที่หนักข้อที่สุดคืออาจารย์อายุยังไม่มากนักคนหนึ่ง ธีรพัทธ์กล้าพูดว่าถ้าไม่ได้เข้าด้วยกัน ไม่มีใครรู้ว่าในห้องจะเกิดอะไรขึ้น เพราะฉะนั้นเขาเชื่อว่าอาจารย์อาวุโสท่านอื่นๆ ยังไม่ระแคะระคาย หรือหากมีบ้าง ก็ดูเหมือนหลุดมือ การวางเครื่องมือลงแรงหน่อยย่อมเกิดขึ้นได้ แพทย์ประจำบ้านศัลยกรรมก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป และเลือกจะไม่รายงาน ทุกคนปิดปากเงียบด้วยกลัวแรงสะท้อนจากการประเมินผล รวมทั้งคิดว่า ‘เป็นเรื่องธรรมดา... เกิดขึ้นได้’

แต่พิธานไม่คิดอย่างนั้น กลับเขียนรายงานอย่างละเอียด ระบุกระทั่งว่าการขว้างปาฟอร์เซ็ปเกิดขึ้นกี่หน บางครั้งไม่มีสาเหตุแน่นอน แต่แม้จะด้วยเหตุใดก็ตาม ศัลยแพทย์ควรมีความสามารถในการควบคุมอารมณ์มากกว่านี้ ถ้าเพิ่มเติมได้ ธีรพัทธ์คงจะเสริมว่า ควรยกยอตัวเองให้น้อยลงกว่านี้สักหน่อยด้วย

รายงานพร้อม ขาดแต่พยาน... แม้นักศึกษาแพทย์ที่ถูกจัดให้เข้ากับอาจารย์คนนี้จะเห็นเหตุการณ์กันทุกคน รวมทั้งพี่ปีห้าและเอ็กซ์เทิร์นด้วย แต่กลับมีลายเซ็นอยู่บนกระดาษแผ่นนั้นไม่ถึงห้าชื่อด้วยซ้ำ ธีรพัทธ์จรดปากกาลงไป เซ็นชื่ออย่างไม่ลังเล

พิธานไปหาอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยส่งรายงานพร้อมรายชื่อพยานอันน้อยนิดนั้นให้ถึงมือหัวหน้าภาค และคณบดีในที่สุด... กระบวนการสืบสาวราวเรื่องดำเนินไปเร็วขึ้นเมื่ออาจารย์คนนั้นแสดงอาการก้าวร้าวจนเกินควรในที่ประชุมภาค ทั้งๆ ที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องที่นักศึกษาแพทย์พิธานรายงานไป เมื่อเริ่มมีมูลจึงเกิดการสอบสวนขึ้น

... ลงท้ายว่าแท้จริงแล้วอาจารย์ป่วยด้วยโรคอารมณ์สองขั้วหรือไบโพลาร์ เป็นมานานโดยไม่มีใครรู้ แม้มีสัญญาณต่างๆ ไม่ว่าชื่นชมความเก่งกาจของตัวเอง อารมณ์ร้อนโมโหกับเรื่องที่ไม่ควรจะต้องโมโห ทำลายข้าวข้าวถึงจะเล็กๆ น้อยๆ... แต่ไม่มีใครฉุกใจเพราะคิดว่าก็อาจจะเป็นนิสัยปกติของผู้ที่ทำงานเคร่งเครียดกดดันและต้องแข่งกับเวลาอย่างศัลยแพทย์... ละมัง

เหตุการณ์นี้ทำให้ภาควิชาศัลยศาสตร์เข้มงวดกับการประเมินสุขภาพจิตบุคลากรประจำปีมากขึ้น เพราะมีผลกระทบกับการตัดสินใจโดยตรง อย่างกรณีไบโพลาร์นี่ก็ทำให้หุนหันพลันแล่น เชื่อมั่นในตัวเองเกินเหตุ ปล่อยนานไปคงมีโอกาสที่การผ่าตัดจะผิดพลาด

อาจารย์รับการรักษาตัว ต้องได้รับยาสม่ำเสมอ ได้ข่าวว่าตั้งใจจะกลับไปทำงานต่อที่จังหวัดบ้านเกิด

พอเรื่องแดงออกมา เพื่อนร่วมรุ่นก็ได้แต่พูด ถึงว่า... แม้ตอนแรกไม่มีใครคิดริเริ่มอะไรขึ้นเหมือนพิธาน

แล้วศัลยแพทย์คนอื่นที่มีพฤติกรรมคล้ายคลึงแต่ไม่เกี่ยวอะไรกับสุขภาพจิตล่ะ? ธีรพัทธ์ก็ได้แต่สรุปว่า... มาจากอีโก้จัดนั่นแหละ และรอวันที่จะได้ลงวอร์ดศัลยกรรมต่อไป

แต่คราวนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะเขานับวันจะได้ขึ้นวอร์ดใหม่พร้อมพิธาน

อีกฝ่ายทำให้เขาทึ่ง เมื่อทึ่งแล้ว ก็เริ่มสนใจ... คนที่ดูจะมุเรียนราวมีแรงผลักดันอะไรบางอย่างที่มองไม่เห็นแบบนั้น ความจริงก็ไม่ได้ ‘บ้า’ เรียนอย่างเดียว หากมีเพื่อนต้องการความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นงานในวอร์ดหรือเป็นข้อสงสัยเรื่องวิชาใดๆ พิธานไม่เคยเกี่ยงงอน ทั้งยังรับผิดชอบงานกิจกรรมอื่นๆ ของคณะ

เมื่อสนใจ... ก็ตามมาด้วยการสังเกต

ธีรพัทธ์ได้พบว่า วงหน้าที่มักวางเฉยอยู่เป็นนิตย์อ่อนโยนลงมากเพียงใดเมื่อซักถามอาการหรือให้คำอธิบายกับคนไข้ ภายใต้ท่าทีเรียบๆ นั้นไม่ใช่ความแข็งกระด้างอย่างไร้น้ำใจ จนเมื่อใกล้จบปีสี่เพื่อนในวอร์ดวางแผนเหมารถกันไปปล่อยสมองต่างจังหวัดสักสองสามวัน พิธานปฏิเสธคำชวนเช่นเคย

ยังมีเรื่องหนึ่งที่ธีรพัทธ์เก็บความสงสัยไว้ในใจ... ทุกพักกลางวัน พิธานจะหายไปจากคณะ หายไปไหน ไปทำอะไรก็ไม่รู้ แม้จะเป็นเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงกว่าๆ เพราะยังมีคาบเรียน สัมมนา หรืองานวอร์ดในตอนบ่ายให้ต้องทำ แต่ถ้าจะกินข้าว โรงอาหารประจำคณะแพทยศาสตร์เองก็มี วันหนึ่ง ธีรพัทธ์จึงทำสิ่งที่ตัวเองไม่เคยคิดว่าจะทำ นั่นคือ... ลองเดินตามไปดู

เขาเห็นเพื่อนเดินข้ามถนน เดินตรงไป เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา จนกระทั่งถึงอาคารที่เป็นหน่วยหนึ่งในส่วนบริหารของมหาวิทยาลัย มีลานเล็กๆ หลังคาคลุมอยู่ข้างหน้า

พิธานเข้าไปช่วยตักอาหารให้นักศึกษาซึ่งธีรพัทธ์ดูจากการแต่งกายแล้วคงเป็นเด็กปีหนึ่ง แล้วจึงได้ลงนั่งทานเอง

เขายืนอยู่อย่างงงๆ นิดๆ ก่อนตัดสินใจถามนักศึกษาคณะอื่นที่เพิ่งเดินออกมาจากลานนั้น ได้คำตอบว่า... มหาวิทยาลัยจัดเลี้ยงอาหารกลางวันนักศึกษาทุนชนบท ด้วยเข้าใจว่าเงินค่าใช้จ่ายรายเดือนต่างหากจากค่าเทอมนั้นคงน้อยนิดเหลือเกิน

ธีรพัทธ์จึงเพิ่งรู้ว่า พิธานเดินมาอย่างนี้ ทุกวัน ตั้งแต่ปีหนึ่ง นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้อีกฝ่ายมักปฏิเสธคำชวนให้ไปเที่ยว ไปหาอะไรกิน บางทีอาจมื้อละเป็นร้อยข้างนอกคณะบ้าง เพราะไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้จ่ายฟุ่มเฟือยได้

ตอนนั้นเองที่พิธานเงยหน้าขึ้น มองตรงมา และไม่มีท่าทีแปลกไปอย่างใดเมื่อเห็นเขา ธีรพัทธ์เสียอีกที่ยืนอ้ำอึ้งอยู่ด้วยความกระดาก ทั้งที่อยากรู้อยากเห็นจนเดินตามมาถึงนี่ ทั้งไม่แน่ใจว่า พิธานต้องการเก็บเรื่องนี้ไว้เป็นเรื่องส่วนตัวหรือเปล่า

เพราะเขาไม่อยากให้พิธานโกรธ หรือแม้แต่ไม่พอใจเขา

แต่พิธานก็ปฏิบัติกับเขาเหมือนเดิม เสมอต้น เสมอปลาย... ก่อนธีรพัทธ์จะทันมีเวลาคิดหรือได้ ‘ริเริ่ม’ ทำอย่างใจ ปีห้าก็มาถึงแล้ว และเมื่อขึ้นปีห้า ในวอร์ดศัลยกรรมที่ธีรพัทธ์หวังเหลือเกินให้ได้รุ่นพี่กับอาจารย์ในสายอารมณ์ปกติเป็นผู้เป็นคนกว่าในตอนปีสี่ เขาก็สมหวัง

ยกเว้นเพียง... ในปีห้านั้นเอง ที่พิธานพบกับแพทย์ประจำบ้านศัลยศาสตร์เพิ่งเข้ามาใหม่ที่ชื่อลภ

ธีรพัทธ์รู้สึกว่าตัวเองอาจจะช้าไปแล้ว ช้าไปในอะไรหลายๆ อย่าง แต่เขาก็เก็บความรู้สึกที่ยังไม่ได้พัฒนานั้นไว้ ยั้งให้อยู่ในความเป็นเพื่อน อย่างที่เขารู้ว่าพิธานต้องการ

เมื่อเรียนจบแล้วพวกเขาแทบไม่ได้ติดต่อกัน ธีรพัทธ์คิดว่านี่อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดก่อน... เขาพยายามจดจ่ออยู่กับการใช้ทุน และนึกถึงพิธานในฐานะเพื่อนที่ดี จนกลับมาเจอกันอีกครั้งโดยไม่ได้นัดหมายเมื่อเลือกเรียนต่อทีเดียวกันอีก เห็นความโทรมเยินของกันและกันมาตลอดชีวิตการเป็นแพทย์ประจำบ้านปีหนึ่ง ปรับทุกข์บ้าง ปรึกษาการงานกันบ้าง (ส่วนใหญ่จากทางเขา พิธานเป็นผู้ฟัง) ธีรพัทธ์ก็รู้สึกว่าได้เพื่อนเก่ากลับคืนมา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง... เมื่ออีกฝ่ายไม่เคยมีท่าทีอะไรให้เขาหวังได้

ธีรพัทธ์ดึงตัวเองกลับ ยิ้มแล้วเปลี่ยนเรื่อง

“อาจารย์ให้ไปช่วยดูคอมเมดด้วย” เขาหมายถึงวิชาเวชศาสตร์ชุมชนของนักศึกษาแพทย์ปีสี่ คอมเมดก็ย่อมาจากคอมมิวนิตี้ เมดิซินนั่นเอง วิชานี้โยงอยู่กับโรงพยาบาลร่วมสอนของมหาวิทยาลัยที่ธีรพัทธ์เคยเพิ่มพูนทักษะอยู่ปีแรก “ยังมีปัญหาคนไข้ที่อยู่คนเดียวหรือลูกหลานไปทำงานลืมกินยา ทำให้ได้ยาไม่ครบเลย มาทีไรน้ำตาลสูงปรี๊ดทุกที”

พิธานพยักหน้า ปัญหานี้พบได้ทั่วไปในต่างจังหวัดที่คนไข้สูงอายุรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก แต่ไม่มีคนดูแลคอยเตือนให้กินยาตรงเวลา รวมทั้งมีอุปสรรคในการเดินทางอยู่บ้าง ต้องรอจนกว่าลูกหลานจะว่าง ทำให้เลยเวลานัด ธีรพัทธ์เล่าต่อ

“แต่มีน้องปีสี่คนหนึ่ง บอกว่าขอลองทำอะไรดู เผื่อปัญหานี้มันจะลดลงไปได้บ้าง เพื่อนเขาก็ช่วยกัน... เป็นปฏิทินติดซองยาแน่ะ ฉีกมากินเหมือนฉีกปฏิทินนั่นละ ความจริงเยี่ยมบ้านก็มีส่วน... แต่ขอให้ได้รับยาเข้าไปทุกวันเถอะ ไอเดียดีนะ อาจารย์ให้เอเลยกลุ่มนั้น”

ธีรพัทธ์กำลังคิดถึงชื่อน้องปีสี่คนนั้น รัก... รักอะไรสักอย่างนี่ละ เขาช่วยอาจารย์ดูอยู่หลายกลุ่ม วิ่งรอกกลับมามหาวิทยาลัยอีก... บางทีก็เลือนๆ ไปบ้าง แต่จำเรื่องนี้แม่นแน่นอน

พอดีกับพิธานปิดหนังสือลุกขึ้น หกโมงจะห้าสิบแล้ว ธีรพัทธ์เองก็เตรียมขึ้นวอร์ดเหมือนกัน พิธานทำท่าจะเดินล่วงหน้าไปก่อน แต่กลับหันมามองเขา มองโต๊ะ แล้วก็มองเขาอีก

“เออ ฝากเก็บจานด้วย” แล้วเจ้าตัวก็ไปเลย ทิ้งเพื่อนร่วมวิชาชีพยิ้มสั่นศีรษะกับตัวเองอยู่คนเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29-06-2014 00:35:15 โดย เดหลี »

ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #21 เมื่อ17-05-2014 01:02:32 »

บทที่ 2 (ต่อ)

วอร์ดอายุรกรรมวันนี้ออกจะเรื่อยๆ... นั่นคืองานเยอะแบบเรื่อยๆ แต่ตราบใดที่คนไข้ไม่ทำท่าจะวิกฤตพร้อมกันรวดเดียวสักห้าเตียงธีรพัทธ์ก็ถือว่าเรื่อยแล้ว เขาโน้มตัวอยู่เหนือเคาน์เตอร์กำลังเซ็นชื่อ คุยกับพยาบาลหลังเคาน์เตอร์เล็กๆ น้อยๆ ตอนที่พยาบาลอาวุโสกลุ่มหนึ่งเดินขึ้นมา และส่งเสียงกระเซ้า

“อ้าว... หมอพัทธ์จีบนางพยาบาลอีกแล้ว”

ธีรพัทธ์หัวเราะไม่ตอบ แพทย์ประจำบ้านอย่างเขาย่อมตระหนัก... น้องๆ ขึ้นมาแล้วก็ลงไป แต่พยาบาลนั้นไซร้อยู่ยั้งยืนยง! ดังนั้นควรพยายามสอนน้องให้ได้มากที่สุดในเวลาจำกัดควบคู่ไปกับการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเหล่าพยาบาลไว้ หากพยาบาลช่วยงานในสิ่งที่ควรทำเรียบร้อย (รวมถึง ขอให้ช่วยอะไรแล้วช่วย) เขาจะได้ไปดูน้องทำหัตถการที่จำเป็นต้องกวนคนไข้ในระดับมากกว่าฉีดยาหรือเจาะเลือดและจึงเป็นหน้าที่หมอ เช่นดูดน้ำไขสันหลังเป็นต้น

เขาทักทายพยาบาลกลุ่มนั้น หันไปหยิบชาร์ตที่วางกองอยู่ใกล้กัน เย้ากลับ

“โอยนี่โต๊ะผีสิงแน่ๆ หยิบชาร์ตเท่าไรไม่หมดเสียที”

ท่าทางง่ายๆ อารมณ์ดีทำให้ธีรพัทธ์ผูกใจคนได้ทั่วไป... พยาบาลหัวเราะกันครืน และเขาก็รอดจากการต้องถูกแหย่เรื่องที่กล้าสาบานว่าไม่ได้ ‘จีบ’ แต่การพูดจาดีๆ กับโคนันทวิศาล เอ้ย พยาบาล ก็มีแต่จะให้ผลดีตอบกลับมา         

ในวอร์ดศัลยกรรม ถ้าแพทย์ประจำบ้านสงสัยน้องทำแผลไม่เรียบร้อย อาจจะให้แกะออกมาทำใหม่ แต่ในวอร์ดอายุรกรรม ธีรพัทธ์คิดว่ามีน้อยอย่างมากที่เอากลับคืนมาได้ เพราะฉะนั้นเขาจึงต้องดูแล้วดูอีก ดูคำสั่งให้ยาของเอ็กซ์เทิร์น ดูการให้ยาของพยาบาล บอกใหม่เมื่อพยาบาลอ่านลายมือหวัดสุดยอดของเอ็กซ์เทิร์นไม่ออกโดยไม่ทำให้พยาบาลรู้สึกว่ากำลังถูกตำหนิ

ถ้ามีสายสัมพันธ์อันราบรื่นกันอยู่ก่อนแล้ว แทนที่จะเป็นการ ‘บ่น’ ก็กลายเป็นการ ‘ขอร้อง’ และพยาบาลจะไม่เห็นว่าเขาจู้จี้จุกจิกจนเกินพอดี เพียงแต่ละเอียดถี่ถ้วน ‘หน่อย’ เท่านั้น

เขาขมวดคิ้วเมื่อสังเกตเห็นว่าแฟ้มคนไข้ที่อยู่ในความดูแลของปีสี่เหมือนความสมดุลจะเอียงกะเท่เร่พิกล... โดยเฉพาะของนักศึกษาแพทย์คนหนึ่งที่ได้แต่คนไข้นอนนานๆ ธีรพัทธ์พลิกกลับไปดูของปีสี่คนอื่นในวอร์ดเดียวกัน แล้วจึงเขียนชื่อวานรุ่นน้องเรสิเดนท์ไปตามมาหา

แต่... ก็ทำให้เขารู้ชื่อน้องปีสี่ในวิชาเวชศาสตร์ชุมชนที่แอบเรียกอยู่ในใจว่าน้องปฏิทินตั้งหลายอาทิตย์... รักษิต พิพิธนันท์ ที่แท้เราก็อยู่สายเดียวกันนี่ ตอนแรกๆ ธีรพัทธ์ทั้งยุ่งกับสัมมนาทั้งวิ่งวุ่นอยู่กับคนไข้อีกตึก ตึกนี้แพทย์ประจำบ้านปีหนึ่งจึงดูแลน้องบวกรับหน้าอาจารย์ไปก่อน เขาเพิ่งจะได้กลับมานี่แหละ

ธีรพัทธ์เงยหน้าขึ้นเห็นกลุ่มเด็กปีสี่พอดี รักษิตเดินรั้งหลังท่าทางไม่แน่ใจ เขากวักมือเรียกทั้งกลุ่มออกไปที่ทางเดิน บอก

“พี่เห็นคนไข้ที่น้องแบ่งกันดูแล้วรู้สึกว่ามันน่าจะเฉลี่ยกันได้ดีกว่านี้ เลยจะย้ายบางคนสลับกัน” เขาดูแฟ้ม “น้อง... ทัศนีย์”

“นีน่าค่ะ” เจ้าหล่อนบอกเขาอย่างมั่นใจ ธีรพัทธ์พยักหน้า โอเค... น้องหน้าหมวยชื่อฝรั่ง

“น้องดูคนนี้กับคนนี้แทนนะ สลับกับเพื่อน”

“พี่คะ” ทัศนีย์ยังฉะฉานกับเขาเหมือนเดิม “เราแบ่งกันไปแล้วค่ะตั้งแต่แรกตอนที่พี่ยังไม่มา หนูกับเพื่อนคนอื่นๆ...” เธอพยักพเยิดไปทางเพื่อนผู้หญิงสองคนที่ยืนเกาะกลุ่มกันอยู่ “เห็นว่าแบ่งแบบนี้ดีแล้ว เราเริ่มเขียนรายงานกันไปแล้วด้วย รักษิตเขาก็ไม่มีปัญหา”

ธีรพัทธ์มองน้องปฏิทินของเขา ซึ่งเจ้าตัวก็ตอบเรียบๆ “ครับ ผมดูได้”

ทัศนีย์ยิ้มให้ธีรพัทธ์เหมือนจะถามว่าเห็นไหมล่ะ? แต่รอยยิ้มนั้นคลายลงเมื่อรุ่นพี่บอก “อาจารย์กำชับให้น้องๆ ได้ทั้งเคสใหม่เคสเก่า พี่ก็เห็นด้วย” เขาสลับแฟ้มรวมทั้งของน้องผู้หญิงอีกสองคนโดยไม่สนใจอาการอ้าปากค้างเตรียมจะทักท้วงอีก ก่อนยื่นส่งให้ “เอ้า”

พี่แพทย์ประจำบ้านนั้นมีบทบาทในการประเมินให้ลงวอร์ดด้วย เพราะฉะนั้นการดื้อดึงโต้เถียงอยู่ย่อมไม่ใช่ความฉลาด เขามองทัศนีย์หน้าง้ำ รับแฟ้มไปอย่างไม่เต็มใจแต่ไม่กล้าพูดอะไรมากไปกว่านั้น ก่อนจะหันหลังเดินไปพร้อมเพื่อน ธีรพัทธ์พูดลอยๆ พลางหัวเราะ

“พี่จะคอยดูตอนรับคนไข้ใหม่ด้วยนะ”

รุ่นน้องกลุ่มนั้นรีบจากไปโดยไม่เหลียวหลัง ธีรพัทธ์หัวเราะหึๆ หันกลับมา พบรักษิตยังยืนอยู่ด้วยสีหน้าคล้ายยุ่งยากใจ

“... พี่ธีรพัทธ์ครับ”

“เรียกพี่พัทธ์ก็ได้” เขาบอก “เราเคยเจอกันแล้วนะตอนคอมเมด พี่ได้ฟังตอนกลุ่มเรารายงานด้วย”

“ครับ ผมจำได้” คนตรงหน้าเขาตอบ นิ่งไปนิด ก่อนเอ่ย “ที่จริง ไม่ต้องย้ายสลับกันก็ได้ ผมไม่มีปัญหาจริงๆ”

ธีรพัทธ์มองรุ่นน้องอย่างพิจารณา ตอบว่า “ไม่เกี่ยงคนไข้น่ะ ดีแล้ว แต่ถ้าเขายังไม่ออกจากโรงพยาบาล น้องจะไม่ได้เจอโรคใหม่ๆ เลย เพื่อนน้องเขาก็จะไม่ได้มีประสบการณ์ดูแลคนไข้ที่นอนนาน ความซับซ้อนมาก”

รักษิตนิ่งไปอีก ก่อนสบตาเขาแล้วบอกว่า “พี่พัทธ์พูดถูก”

ธีรพัทธ์เกือบขำ ได้แต่บอกให้ไปทำงานต่อ

... เริ่มรู้สึกว่าปีสี่สายนี้น่าสนใจเสียแล้ว


รักษิตกำลังก้มหน้าก้มตาเขียนรายงานตอนที่มีเงาทาบมาเหนือกระดาษ เงยหน้าขึ้นก็พบเพื่อนร่วมวอร์ด ทัศนีย์เจ้าเก่า กำลังยืนค้ำเขาอยู่ เปิดฉากขึ้นก่อน

“เมื่อวานเธอลงจากวอร์ดหลังสุด หลังเที่ยงคืนแล้วมั้ง”

รักษิตไม่นึกอยากถามว่าอีกฝ่ายรู้ได้อย่างไร เพียงแต่พยักหน้า

“ลงจากวอร์ดหลังสุด... รอฟ้องพี่เดนท์”

ประโยคนั้นบอกออกมาอย่างคนพูดเชื่อว่าความคิดตัวเองเป็นเรื่องจริง

รักษิตไม่ชอบแก้ตัว ไม่ทำเองและไม่นิยมคนที่ทำ เขาไม่มีอารมณ์จะมาแจงสี่เบี้ยตอนนี้ บอกสั้นๆ “ไม่ใช่อย่างที่คิด”

ทัศนีย์เอียงคอ กลอกตามองเพดาน แล้วจึงว่า “ไหนๆ ก็ไหนๆ ได้อย่างที่ต้องการแล้ว เอานี่ไปย้อมให้ด้วยละกัน”

พูดจบก็ลอยชายจากไป งานในวอร์ดหรือที่เรียกว่าวอร์ดเวิร์กนั้นยังไงก็ควรจะเสร็จ ยิ่งช้า ยิ่งหมายความว่าจะได้ผลที่ใช้ช่วยในการวินิจฉัยหรือรักษาช้าตามไปด้วย รักษิตกวาดตาไปรอบๆ ปีสี่เหลือเขาคนเดียว

... มองแล็บที่เพื่อนร่วมวอร์ดกระแทกกระทั้นลงมาแล้วก็ได้แต่ถอนใจ


ใกล้เที่ยงคืน ธีรพัทธ์นึกขอบคุณที่วันนี้วอร์ดอายุรกรรมไม่เยินมาก เขาเดินดูไปรอบหนึ่งหลังอาจารย์กับพี่เฟลโลว์กลับไปแล้ว รอบนี้พวกปีหกหรือเอ็กซ์เทิร์นค่อนข้างเป็นงาน เรสิเดนท์เลยสบายขึ้นมานิด มีต้องแซะนักศึกษาแพทย์บ้าพลังบางคนที่ยังเกาะติดเตียงให้ลงไปได้แล้ว คนไข้จะได้พักผ่อน

เขาเดินจนถึงเตียงสุดท้ายมุมห้อง เห็นเงาตะคุ่ม เสื้อกาวน์ขาวยาวน่าจะเป็นนักศึกษาแพทย์อีก เวลาเยี่ยมหมดนานแล้ว... เมื่อเข้าไปใกล้ร่างนั้นก็รีบลุกขึ้น วางมือคนไข้ลง

ธีรพัทธ์ขมวดคิ้วน้อยๆ เมื่อเห็นเสี้ยวหน้าที่ปรากฎชัด รักษิตมีท่าทางเก้อๆ เล็กน้อย เหมือนกลัวเขาจะว่า

“ญาติน้องหรือ”

“ไม่ใช่หรอกครับ... คนไข้ผม เอ้อ... หมายถึง ที่ผมช่วยดูอยู่ตอนนี้” อีกฝ่ายตอบกลับมาเบาๆ แต่ออกจะพูดเร็วกว่าปกติ อาจจะเป็นนิสัยที่ทำตอนประหม่าก็ได้ “คือ... ผมมาดูก่อนลง แล้วคุณยายก็เอามือผมไปจับ แล้วก็ไม่ปล่อย จนหลับ... เพิ่งหลับไปเมื่อกี้”

เขาไม่ได้บอกว่า เมื่อคืนก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน ถึงได้ลงหลังสุด และไม่บอกว่า... คุณยายที่นอนอยู่นี้ทำให้คิดถึงคุณย่าของตัวเองที่เสียไปแล้ว แม้ท่านจะเสียไปเมื่อรักษิตอายุเพียงสิบหรือสิบเอ็ดขวบเท่านั้น แต่ความทรงจำหนึ่งที่ยังแจ่มชัด ก็คือมือเหี่ยวย่นอันอบอุ่นที่มักจะลูบศีรษะเขาอย่างปรานี หรือกุมมือเขาไว้เมื่อหลานเล่าอะไรให้ฟังตามประสาเด็ก

สัมผัสนั้นคล้ายคลึงกับในตอนนี้...

ธีรพัทธ์ไม่รู้จะพูดอะไร ความจริงวอร์ดอายุรกรรมก็ไม่เหมือนจิตเวชที่มีกฎแนะนำไม่ให้นักศึกษาแพทย์สนิทสนมหรือเอ่ยทักคนไข้ในลักษณะเป็นส่วนตัวนอกเวลาทำงาน เขามองรุ่นน้องที่ยังคงมองร่างบนเตียงอยู่ เอ่ยได้แค่ว่า

“... เที่ยงคืนกว่าแล้ว”

“อ้อ” รักษิตพึมพำโดยไม่หันมามองเขา “... ผมไปแล้วครับ”

ธีรพัทธ์ก้มศีรษะรับรุ่นน้องที่ถึงจะดูใจลอยเมื่อกี้ก็ยังอุตส่าห์ทำความเคารพเขา แล้วจึงเดินกลับไปห้องพักแพทย์

คิดว่า... ปีนี้น่าสนใจจริงๆ เสียด้วย


วันต่อมาหลังเสร็จสิ้นการราวนด์จากอาจารย์แล้ว พิธานกำลังเขียนดิสชาร์จซัมมารี่หรือรายงานการจำหน่ายผู้ป่วยออก อีกนัยหนึ่งก็คือคนไข้ที่กลับบ้านได้แล้วเพื่อให้อาจารย์ตรวจก่อนส่งคืนเวชระเบียนตอนที่ได้ยินเสียงคล้ายๆ ร้องไห้ดังมาจากหอผู้ป่วย

เขาตัดสินใจวางดิสชาร์จซัมมารี่ไว้ก่อน ความจริงถ้าคิดถึงบริบทแวดล้อมหมอก็ไม่ควรจะแปลกใจที่ในโรงพยาบาลจะมีเสียงร่ำไห้บ้าง... การเสียน้ำตาเป็นการระบายความเครียด ความเศร้า... ซึ่งคงมีอยู่ทั่วไปในโรงพยาบาลอันเป็นศูนย์รวมความทุกข์ของคนมีโรคภัย แต่พิธานก็ยังไม่คิดว่าคือเรื่องธรรมดา เขาเดินออกไปหาต้นเสียง ถ้าเจ็บถ้าปวด กังวลอะไรตรงไหนจะได้แก้ไขกันไป

เพราะเขาไม่อยากให้ใจชาชินกับความทุกข์ทรมานของคน

พิธานเจอเตียงนั้นในเวลาไม่นาน คนไข้พยายามหันหน้าซุกหมอนไว้กลั้นเสียงสะอื้น เขาดูคนไข้ก่อนดูชาร์ต เป็นเด็กผู้หญิง อายุไม่น่าจะเกินสิบห้า เพิ่งผ่าตัดรักษากระดูกหักด้วยการดามโลหะ จำได้ว่ามักจะมีแม่มาคอยเฝ้าอยู่ ทั่วไปไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

แต่ ‘ไม่น่าเป็นห่วง’ ในสายตาแพทย์กับคนไข้ไม่เหมือนกัน เขาเดินไปจนคนไข้เห็น เด็กหญิงสะดุ้งน้อยๆ รีบปาดเช็ดน้ำตา

พิธานเอ่ยถามอย่างปกติที่สุด “แม่ไปไหนแล้วล่ะ”

“แม่... ลงไปข้างล่าง ซื้อของ... ค่ะ” คำตอบกระท่อนกระแท่นด้วยยังสะอื้นอยู่

โดยปกติพิธานไม่เชื่อในคำปลอบลมๆ แล้งๆ ถ้าหมอไม่เชื่อในสิ่งที่พูดออกมาเองก็ไม่ต้องหวังว่าคนไข้จะเชื่อ แต่การบรรเทาทุกข์ให้คนไข้ไม่ว่าทางใดคือสิ่งที่หมอควรทำ   

คนอื่นจะแย้งเขาก็ไม่เป็นไร... แต่พิธานคิดว่า เด็กอายุยังไม่ถึงสิบห้า ผู้ใหญ่วัยกลางคนหรือวัยเกษียณ ก็คงอยากได้ความชัดเจนและคำตอบที่ตรงไปตรงมาไม่ต่างกัน

“เจ็บตรงไหนเป็นพิเศษหรือเปล่า” เขาถามทั้งๆ ที่ดูแล้วทุกอย่างก็ยัง... เรียบร้อยดีอย่างว่า ยาแก้ปวดก็ได้แล้ว

เด็กหญิงส่ายหน้า ถ้าไม่ใช่ทางร่างกายก็จิตใจ พิธานรออยู่อีกครู่ จึงได้ถาม “กังวลอะไรบอกหมอได้ไหม”

“หนูกลัวเดินไม่ได้เหมือนเดิม” คราวนี้น้ำตาร่วงพรู

อันที่จริง แพทย์ผู้รักษาย่อมต้องชี้แจงหมดสิ้นไม่ว่าจะเป็นระยะเวลาที่กระดูกจะติด การกายภาพ มาตัดไหม ดูแลตัวเองหลังออกจากโรงพยาบาล ติดตามผลจนถึงเวลาเอาเหล็กออก พิธานแน่ใจว่าอาจารย์คงอธิบายไปแล้ว ซึ่งก็จริงตามนั้น

แต่ร่องรอยกังวลยังไม่จางหายไป ถ้ากลับไปเขียนดิสชาร์จซัมมารี่ต่อ ไม่วายได้ยินเสียงร้องไห้อีกระลอกแน่ เขารอจนการสะอื้นเริ่มทิ้งช่วง ค่อยบอก

“หมอก็เคยขาหักเหมือนกัน”

คนไข้ชะงัก มองอย่างไม่แน่ใจ “... จริงเหรอ”

“จริง” พิธานตอบ “หักข้างเดียวกันเลย”

เขาก้มลงม้วนขากางเกงขึ้น โดยทั่วไปก็ไม่มีอะไรผิดสังเกต แต่ถ้าดูดีๆ จะเห็นร่องรอยแผลเป็นแนวยาวจางๆ บนหน้าแข้งตั้งแต่เหนือข้อเท้าเรื่อยไปจนเกือบถึงหัวเข่า

คนไข้เพ่งมองรอยนั้นอย่างสนใจ น้ำตาเริ่มแห้งเหือด

“กระดูกเป็นอวัยวะที่แปลกนะ” เขาว่าเรื่อยๆ “เป็นไม่กี่อย่างที่ถ้าจัดให้เข้าที่ ได้อยู่นิ่งๆ แล้วจะหายเอง”

“แล้วทำไมหนูต้องใส่เหล็กด้วย”

อันนี้พิธานก็ค่อนข้างแน่ใจว่าอาจารย์เจ้าของไข้คงพูดไปแล้วอีก แต่คนไข้อาจจะอยากรวนหรือลืมก็ไม่แน่ใจ เขาพยายามตอบให้ง่ายที่สุด

“บางทีใส่เฝือกเฉยๆ ไม่ได้ผลดีพอ ก็ต้องใช้ผ่าตัดช่วย เข้าไปดามยึดเอาไว้ แต่อายุยังน้อยกระดูกติดเร็ว ขยันกายภาพหน่อยก็แล้วกัน”

คนไข้กลับมาสนใจขาเขาอีกแล้ว บอก “ตอนหมอเดินมาดูไม่ออกเลย”

“เพราะว่าหมอขยันกายภาพไง” เขาว่า “ต้องทำตั้งแต่แรกๆ นี่แหละ”

เห็นแม่ของเด็กเดินมาแล้วแต่ไกล พิธานรีบพูด “แม่มาแน่ะ... ไม่ต้องร้องหรอก เดี๋ยวแม่จะไม่สบายใจ”

เด็กหญิงพยักหน้า ท่าทางคลายกังวลจากเคสตัวอย่างที่เคยผ่าตัดแบบเดียวกันและเดินมาให้ดูถึงที่ พิธานจึงกลับไป แว่วเสียงเด็กหญิงบอกแม่ว่ามีหมอมาดู

“คนนั้นเหรอ” แม่ตอบ คงชะเง้อมองเขา “ไม่ใช่หมอที่ผ่าหนูนี่”

“หมอดีนะแม่ ปลอบหนูด้วย” เด็กหญิงตอบ ได้ยินเสียงรื้อถุงกรอบแกรบ “แม่ซื้ออะไรมาฝากหนูมั่ง”

พิธานเดินยังไม่พ้นวอร์ด เด็กๆ ก็ดีอย่างนี้ ความทุกข์สลายไปเร็ว อาจจะเพราะลืมได้ง่ายกว่า

ในทางออร์โธปิดิกส์ ถ้าจะใส่เฝือกยังต้องเผื่อเลยไปถึงข้อที่ไม่ได้หัก ถ้าจะยึดแล้วต้องยึดให้ทุกอย่างอยู่กับที่ ยึดไว้อย่างแน่นหนา หวังว่าสักวันจะสมานกันดี

อาจยังเสียวแปลบปลาบบ้างเมื่อลงน้ำหนักในระยะแรกๆ แต่แล้วก็หาย กระดูกที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นเป็นอย่างนั้น

แล้วหัวใจล่ะ... หัวใจไม่มีกระดูก ดังนั้นแผลจึงประสานสนิทยากเย็น และยังเจ็บปวด...


ตกค่ำ รักษิตเดินลากเท้าอย่างอ่อนระโหยโรยแรงเข้าบ้าน วอร์ดอายุรกรรมวันนี้จะว่ายุ่งก็ยุ่งเหมือนเดิม ดีหน่อยที่ไม่มีเวร ยกเว้นแต่เพื่อนร่วมวอร์ดที่ยังคงผูกใจเรื่องพี่เดนท์ย้ายเคส จึงได้สรรหาวอร์ดเวิร์กมาสุมให้เขาเมื่อตัวเองลงบันทึกในสมุดไปเรียบร้อยแล้ว

ส่วนตัวพี่เดนท์ผู้หวังดีสลับคนไข้ให้... ก็ไม่เห็นหน้าทั้งวัน แว่วว่าไปอยู่โอพีดีหรือแผนกผู้ป่วยนอก ส่วนตอนที่เขาออกไปช่วยที่โอพีดี ก็เจอพี่แพทย์ประจำบ้านอีกคน

รักษิตชะงักเมื่อเห็นรถคันคุ้นเคยแล่นออกจากบ้าน เขาโบกมือ ลภลดกระจกลงยิ้มให้เขา แม้จะยังมีร่องรอยความเคร่งเครียดกังวลอยู่ลึกๆ รักษิตรีบถาม

“พี่ลภไปไหน ไม่อยู่กินข้าวเย็นด้วยกันหรือ”

“คุณแม่ษิต...” คนในรถหยุดถอนใจ “ให้พี่ไปคุยเรื่อง... ช่างเถอะ เอาเป็นว่าพี่ต้องไปพยายามขายของในระหว่างที่ลูกค้าพยายามจะกินมื้อเย็น”

รักษิตสะดุดกับความขมกลายๆ เมื่ออีกฝ่ายพูดคำว่า ‘ขายของ’ แต่พยายามจะไม่คิดมาก ถามไถ่ถึงร้านที่ลภต้องไป เมื่อได้คำตอบก็เอ่ย

“ไม่ไกล... เสร็จแล้วกลับมาค้างเสียที่นี่ก็ได้”

ห้องของหมอลภในบ้านหลังนี้ แม้สมควรแก่สิทธิ์ทุกประการ แต่ก็เป็นห้องที่แทบไม่เคยถูกใช้เลย จริงดังคาดเมื่อลภตอบเขา

“พี่กลับบ้านพี่ดีกว่า”

“ที่นี่ก็บ้านพี่เหมือนกัน” รักษิตหวังว่าประโยคนี้จะไม่ฟังดูเหมือนเขาดื้อดึง เพียงแต่อยากให้รู้ว่าอะไรที่เขามีสิทธิ์ ลภก็มี ยิ่งกว่ามีอีก

ลภมองเขานิ่งๆ ยิ้มอยู่น้อยๆ อันเป็นวิธีที่อีกฝ่ายใช้เมื่อไม่อยากโต้เถียงกับเขา จนรักษิตต้องเปลี่ยนเรื่องไปเอง

“คุณแม่อารมณ์ดีหรือเปล่าครับ”

“พักนี้ยุ่งๆ” ลภตอบ “แต่พอเห็นษิตเข้าไปหา คงหายเหนื่อย...”

รักษิตถอยออกมา พูดเหมือนทุกครั้ง “ขับรถดีๆ ครับ”

เขามองรถคันนั้นลับไปจากบ้านแล้วจึงเดินเข้าไปข้างใน ชะงักเป็นคำรบสองเมื่อพบมารดาแต่งกายงามพริ้งเดินลงมาจากบันได

“คุณแม่จะออกไปข้างนอก” ลูกชายพึมพำ ไม่เป็นประโยคคำถาม เพราะความจริงนั้นเห็นอยู่ต่อหน้า คุณตรีรัตน์กรายเข้ามาใกล้ จูบแก้มเขาเบาๆ ทีหนึ่ง

“แม่มีงานเลี้ยง ษิตกินอะไรมาหรือยังลูก ให้แม่บ้านทำให้นะ”

รักษิตกลับไม่รู้สึกหิวด้วยสนใจเรื่องอื่นมากกว่า “คุณแม่... พี่ลภบอกเรื่องจะกลับไปเรียนต่อแล้วใช่ไหม”

มารดาพยักหน้า “แม่ว่าก็ดี กว่าเขาจะได้เรียนยังมีเวลาจัดการเรื่องที่บริษัทให้เรียบร้อยก่อน แล้วถ้าได้เข้าไป พวกอาจารย์ในภาคศัลย์ชมพี่ลภของลูกจะตาย ไปงานไหนต่องานไหนแม่ได้ยินตลอดเขายังจำกันได้ เคยอยากให้เป็นสตาฟตอนเรียนจบด้วยไม่ใช่หรือ แบบนี้จะพูดจะจาอะไรเรื่องผลิตภัณฑ์หรือเครื่องมือเรามันก็สะดวก ต่อไปน่ะ”

รักษิตเข้าใจสีหน้ายุ่งยากของคนที่เพิ่งขับรถออกไปจากบ้านตอนนี้เอง เขาพูดเสียงอ่อน

“คุณแม่... อย่าบังคับพี่เขานักเลย เท่านี้ เขาก็ช่วยทุกอย่าง ทำทุกอย่างที่ทำได้อยู่แล้ว คุณแม่ก็ทราบเพราะอะไร”

“ษิตอย่าเพิ่งคิดเลยลูก เรื่องของผู้ใหญ่” คุณตรีรัตน์กลับตัดบทเพียงเท่านั้น “แม่ต้องไปแล้ว”

รักษิตถอนใจ แม้แม่บ้านเข้ามาถามเรื่องมื้อเย็นก็พยักหน้าตอบอย่างเนือยๆ

โต๊ะกินข้าวขนาดสิบแปดที่ดูกว้างเกินไปจริงๆ เมื่อเขาต้องนั่งอยู่คนเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31-05-2014 03:21:28 โดย เดหลี »

ออฟไลน์ เดหลี

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 164
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +254/-3
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #22 เมื่อ17-05-2014 01:05:41 »

คุณ pedchara ขอบคุณค่ะ ฝากอ่านต่อด้วยน้า

คุณ =นีรนาคา= ขอบคุณมากสำหรับการต้อนรับค่ะ ก็น่าจะมีนะ ปมอดีตเนี่ย ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

คุณลำนำบุหลันครวญ ขอบคุณน้าที่มาทักทายกัน จริงๆ พอมาเขียนเรื่องเองนี่ทำให้ไม่ได้อ่านของคนอื่นไปเลย เรื่องหมอเป็นเรื่องที่อยากลองเขียนดูจ้ะ แต่รายละเอียดเยอะมาก เยอะจริงๆ แต่ถ้าจะเป็นนิยายแนวหมอ ที่คนเกินครึ่งก็เป็นหมอนี่มันก็คงต้องใส่ ก็พยายามเช็คให้ถูกที่สุดละนะ ตัวละครเยอะอาจจะเพราะเปิดมามากในบทแรกมั้ง แต่น่าจะมีประมาณเท่านี้แล้วแหละ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจอีกครั้งนะคะ

คุณ malula สวัสดีอีกครั้งค่ะ ตัวเอกจริงๆ มีสี่ค่ะ 55 ชีวิตยุ่งเกี่ยวกันไปมา เดี๋ยวความสัมพันธ์ก็จะค่อยๆ เปิดเผยไปแหละนะ ขอบคุณมากๆ สำหรับการอ่านค่า

คุณ AGALIGO ขอบคุณที่แวะอ่านค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจ เพราะเขียนยากอยู่ทีเดียว

คุณ lizzii ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

คุณ piggyfree จริงๆ ด้วยเนอะ อย่างพ่อแม่เราก็จะคุ้นเคยกับหมออยู่แค่ไม่กี่คน โดยเฉพาะทางออร์โธต้องเชื่อใจหมอจริงๆ ค่ะเพราะหมอคนผ่าจะรู้ดีสุดว่าทำอะไรแน่นหนาแค่ไหน ควรขยับตอนไหนอะไรอย่างนี้ พยาบาลรู้สึกอย่างนั้นก็ไม่แปลก เพราะหมอกลัวจะพลาดเลยดับเบิ้ลเช็คบ่อยๆ นี่แหละ (ต้องทำอย่างพี่พัทธ์ เอาใจพยาบาลเข้าไว้ 55) เดี๋ยวตัวละครที่เปิดมาแล้วก็จะมีบทของตัวเองไปเรื่อยๆ หวังว่าจะไม่งงนะคะ

คุณ ゚゚ღ✿ศิลินส์✿ღ゚゚ 55 ต้องรอดูกันต่อไปค่ะ แต่ก็ดูพี่น้องอยู่นะ ไม่รู้พี่น้องยังไงสิ สมาร์ทนี่ในวงการหมอก็ยังพูดกันอยู่นะคะ แต่อาจจะเพราะสังคมหมออนุรักษ์เลยเปลี่ยนช้าก็ได้ 55 ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

คุณ Wordslinger ขอบคุณมากกกที่ยังตามอ่านกันอยู่ เป็นกำลังใจให้กับการเขียนเหมือนกันนะคะ ขอบคุณมากๆๆ สำหรับการติดตามค่ะ

คุณ Nemasis ขอบคุณสำหรับการอ่านมากค่ะ ขอบคุณที่รอด้วยน้า แหะๆ ตัวละครเยอะสุดเท่าที่เคยเขียนมาค่ะ แต่ก็คงไม่เยอะไปกว่านี้แล้วแหละ

คุณ Sillyfoolstupid ขอบคุณมากที่อ่านค่าคือรายละเอียดมันเยอะจริงๆ แต่จะเยอะหน่อยช่วงแรกๆ เนอะ มาช้าหน่อยนะช่วงแรกๆ เพราะเหตุนี้แหละ ขอบคุณมากค่ะปลื้มใจจริงเวลาคนอ่านบอกว่าอ่านนิยายเราอีกรอบ :)

คุณ sang som 55 ไม่รู้ว่าที่เคยคู่กันจะได้คู่กันอีกไหมค่ะ ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

คุณ liza sarin ขอบคุณมากค่ะ ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

คุณ BeeRY ดีใจที่ได้เจอกันอีกครั้งค่ะ ความสัมพันธ์ตอนนี้ทุกคนยังคลุมเครืออยู่นะจริงๆ แล้ว ต้องรอดูกันต่อไปจริงๆ ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

คุณ afewn ขอบคุณมากสำหรับการอ่านค่า ถ้าชอบเรื่องหมอก็ฝากอ่านต่อด้วยน้า โทษทีที่ช่วงแรกๆ จะช้าหน่อยน้า

คุณ SenzaAmore สวัสดีอีกครั้งค่า ขอบคุณสำหรับการต้อนรับ ฝากอ่านต่อด้วยนะคะ

++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

มาแล้วค่ะ ช้าเนอะ ขออภัย แต่ก็สัญญาเหมือนเดิมว่าจะมาเรื่อยๆ พยายามจะไม่สั้น 55 และจะเขียนจนจบค่ะ เรื่องนี้ก็ตัวละครเยอะสุดเท่าที่เขียนมาจริงด้วย แต่ว่าถ้าโผล่มาแล้วนี่เดี๋ยวก็จะโผล่มาอีกให้ได้ทำความรู้จักมักคุ้นกันไปนะคะ :) แล้วก็มีประมาณเท่านี้แหละ ยิ่งสี่คนหลักของเราชีวิตพัวพันกันตลอด แบ่งกันเด่น (นี่ฝากถึงพี่ลภซึ่งยังแวบไปแวบมาอยู่ 55 เดี๋ยวก่อนเถอะ เดี๋ยวจัดให้ ยังไม่ได้เข้าไปเรียนและเจอหมอกระดูกผู้เคยกระดูกหักของเราเลยนะ) แรกๆ ปูเยอะเรื่องจะไปช้าๆ กันนิดนึง แต่ไม่นานหรอกค่ะ :)

ป.ล. ก็ยังรู้สึกว่าเขียนยากอยู่นะ (นี่ก็เขียนมาสั้นสี่ยาวสองละ - ถึงเรื่องยาวจะไม่ยาวมากก็เหอะ) อยากเป็นแบบว่ายิ่งเขียนยิ่งง่ายลื่นปรื๊ด แต่รายละเอียดเรื่องนี้มันเยอะจริงๆ น้า ทั้งตัวอาชีพที่เป็นแบคกราวนด์ แล้วก็ปมกะภูมิหลังแต่ละคนนี่ไม่ใช่น้อย - -" แต่จะพยายามให้ดีที่สุดค่ะ :) ขอบคุณมากๆๆ อีกครั้งสำหรับการอ่านนะคะ  :กอด1:

ออฟไลน์ malula

  • เป็ดApollo
  • *
  • กระทู้: 7208
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +622/-7
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #23 เมื่อ17-05-2014 01:34:21 »

ยังไม่รู้ความเป็นมาของหมอลภ เลยไม่รู้ว่าทำไมต้องคอยเป็นลูกไล่คุณนายแม่ของรักษิตด้วย
แต่อย่างน้อยก็รู้ว่าเคยมีอดีตกับหมอพิธาน
ส่วนหมอพัทธ์คนนี้ออกทีหลังแต่แววพระเอกมาล่ะ (เดาล้วน ๆ)

ออฟไลน์ ゚゚ღ✿ศิลินส์✿ღ゚゚

  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 247
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +23/-4
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #24 เมื่อ17-05-2014 07:47:46 »

ทัศนีย์เหมือนเธอเป็นคนเห็นแก่ตัวจริงนะ นิสัยแย่จัง  :เฮ้อ:

หมอลภและหมอพิธาน? อะไร? ยังไง? ส่วนหมอพัทธ์ชอบนิสัยหมอจังค่ะ  :L2: :กอด1:

ออฟไลน์ warin

  • รถไฟขบวนนั้น ได้แล่นผ่านไปแล้ว
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดDemeter
  • *
  • กระทู้: 1937
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +60/-1
    • -
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #25 เมื่อ18-05-2014 20:25:54 »

สนุกจัง

ออฟไลน์ B52

  • เป็ดZeus
  • *
  • กระทู้: 13215
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +420/-26
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #26 เมื่อ18-05-2014 20:54:53 »

แวะเข้ามาอ่านดูเพราะเห็นชื่อคุณเดหลี ยิ่งเห็นเป็นเรื่องที่เกี่ยวหมอกับพยาบาลยิ่งชอบเลย แต่ตอนนี้ยังยุ่งรุงรังอยู่ไม่รู้ใครคู่ใครอย่างไร ติดตามอ่านต่อไปค่ะ

ออฟไลน์ Nemasis

  • เป็ดมัธยม
  • *
  • กระทู้: 158
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +43/-1
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #27 เมื่อ18-05-2014 21:17:58 »

ตัวละครหลักสี่คน น่าสนใจมาก หมอลภยังเป็นปริศนาที่สุด รอเฉลยไปเรื่อยๆนะคะ ยาวอ่านเพลินเลยค่ะ

ออฟไลน์ iforgive

  • เป็ดApollo
  • *
  • กระทู้: 6805
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +844/-80
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #28 เมื่อ18-05-2014 22:45:09 »

เหมือนมีสองคู่ พัลลภกับพิธาน  ธีรพัฒน์กับรักษิต

ออฟไลน์ twenty8

  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 285
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +7/-0
Re: ฝากไว้ในมือเธอ [บทที่ 2] 17 พ.ค. 57
«ตอบ #29 เมื่อ19-05-2014 00:24:35 »

มาต่อแล้วดีใจมากเลยยย
เรื่องนี้ยังคงต้องใช้สมาธิในการอ่านระดับสิบอีกเช่นเคย บางประโยคต้องอ่านสี่รอบ ฮาาา
ภาษาหมอศัพท์เทคนิคค่อนข้างจะเยอะเนาะ ยาวจุใจดีจังเลย มาต่อบ่อยๆนะคะ คิดถึงทุกวันเลย

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด