ทำประกันแบบไหน ช่วยลดหย่อนภาษีได้
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำประกันแบบไหน ช่วยลดหย่อนภาษีได้  (อ่าน 78 ครั้ง)

ออฟไลน์ airrii

  • เป็ดประถม
  • *
  • กระทู้: 39
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +0/-0
ทำประกันทั้งทีถ้าสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ด้วย ก็เหมือนยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะได้ทั้งความคุ้มครอง และยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายได้ไม่น้อย โดยเฉพาะในช่วงนี้ที่หลายๆ คนคงกำลังจัดระเบียบการใช้จ่ายของตัวเองและเตรียมเอกสารต่างๆ สำหรับเทศกาลลดหย่อนภาษีปลายปีที่ใกล้เข้ามา แต่หากคุณยังไม่แน่ใจว่าจะต้องซื้อประกันประเภทไหนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ มีเงื่อนไขเพิ่มเติมอะไรอีกหรือไม่ และจะสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดเท่าไหร่ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาไว้ให้แล้ว



ประเภทของประกันที่ลดหย่อนภาษีได้
1. ประกันชีวิต
ประกันชีวิตทั่วไป ลดหย่อนภาษีได้
ประกันที่เน้นให้ความคุ้มครองแก่ผู้ทำประกัน ในกรณีที่เสียชีวิตจากเหตุไม่คาดคิดก็จะได้รับเงินชดเชยตามวงเงินคุ้มครอง มีหลายรูปแบบ เช่น ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ, ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา, ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ และ ประกันชีวิตควบการลงทุน
โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาทตามจำนวนที่จ่ายจริง หรือหากจะนับรวมเงินฝากแบบมีประกันด้วยก็ต้องไม่เกิน 100,000 บาท และใครที่มีคู่สมรสที่ไม่มีรายได้ ซึ่งไม่ได้เพิ่งสมรสภายในปีนี้ ก็สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท เช่นเดียวกัน
เงื่อนไขการนำประกันชีวิตทั่วไปมาลดหย่อนภาษี
-         ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
-         จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย
-         หากมีการจ่ายเงินปันผลหรือเงินชดเชย จะต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยประกันชีวิตรายปี
-         ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี

ประกันชีวิตแบบบำนาญ ลดหย่อนภาษีได้
ประกันที่ให้ความคุ้มครองรายได้หลังเกษียณ จะเน้นที่ผลตอบแทนเป็นหลัก เพื่อเป็นหลักประกันรายได้ในยามที่คุณเลิกประกอบอาชีพแล้วนั่นเอง
โดยประกันในรูปแบบนี้จะสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 15% ของรายได้ (เงินได้ที่ต้องเสียภาษี) สูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท หรืออาจลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท เมื่อยังไม่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, RMF, กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน, กบข. และ กองทุนการออมแห่งชาติ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
นั่นหมายความว่าหากคุณยังใช้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป ไม่ถึงเพดานสูงสุด 100,000 บาท คุณสามารถนำเบี้ยประกันบำนาญบางส่วนไปหักลบจนครบ 100,000 บาท ก่อนจะนำมาคำนวณหักลบกับ 15% ของรายได้ เป็นส่วนที่สอง
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันชีวิตแบบบำนาญคือ
-         ต้องเป็นกรมธรรม์ที่มีระยะคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
-         จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย
-         จ่ายผลประโยชน์เป็นงวดจำนวนเงินเท่ากัน หรือในสัดส่วนที่มากขึ้น เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
-         ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันครบถ้วนก่อนที่จะได้รับผลประโยชน์
-         กำหนดช่วงอายุการจ่ายผลประโยชน์ตั้งแต่ 55 - 85 ปี
-         ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี



2. ประกันสุขภาพ
ประกันสุขภาพตนเอง ลดหย่อนภาษีได้
รูปแบบประกันที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ คือประกันที่คุ้มครองอาการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ มีการชดเชยการทุพพลภาพและการสูญเสียอวัยวะเนื่องจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บ, ประกันอุบัติเหตุเฉพาะ ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล การทุพพลภาพ การสูญเสียอวัยวะและการแตกหักของกระดูก, ประกันโรคร้าย และ ประกันการดูแลระยะยาว
โดยสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท เมื่อรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป และเงินฝากแบบมีประกันชีวิตต้องไม่เกิน 100,000 บาท
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพตนเองคือ
-         จัดทำกับบริษัทประกันในประเทศไทย
-         ต้องแจ้งต่อบริษัทว่าต้องการนำไปลดหย่อนภาษี
ประกันสุขภาพของพ่อแม่ ลดหย่อนภาษีได้
ในกรณีที่คุณจ่ายเบี้ยประกันให้กับพ่อแม่ สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ในกรณีที่คู่สมรสไม่มีเงินได้ สามารถนำเบี้ยประกันสุขภาพของพ่อแม่ของคู่สมรสมาลดหย่อนในจำนวนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ได้เช่นกัน หรือหากมีการร่วมกันจ่ายกับพี่น้อง ก็สามารถนำมาหารเฉลี่ยตามจำนวนพี่น้องได้เช่นกัน
เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีของประกันสุขภาพของพ่อแม่คือ
-         ต้องมีความสัมพันธ์เป็นลูกแท้ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น
-         ในกรณีลูกบุญธรรมจะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้
-         พ่อแม่มีรายได้ต่อปีภาษีไม่เกิน 30,000 บาท
-         ตัวผู้ลดหย่อนหรือพ่อแม่ต้องอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันภายในปีภาษี
การมีประกันชีวิตที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้จะช่วยให้คุณสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายลงได้ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะกับมนุษย์เงินเดือนและผู้ที่มีรายได้ประจำ ก็ควรมองหาตัวเลือกที่สามารถทำให้คุณมีทั้งความคุ้มครองด้านสุขภาพ และสิทธิในการลดหย่อนภาษี


Share This Topic To FaceBook

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด