ภาวะโลหิตจาง อันตรายกว่าที่คิด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะโลหิตจาง อันตรายกว่าที่คิด  (อ่าน 120 ครั้ง)

ออฟไลน์ airrii

  • เป็ดประถม
  • *
  • กระทู้: 23
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +0/-0
สุขภาพร่างกายของคนเราถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังคำกล่าวที่ว่า "การไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ" ในปัจจุบันหลายคนหักโหมทำงาน ใช้ร่างกายหนัก ละเลยการดูแลสุขภาพ จึงนำพามาซึ่งอาการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หน้ามืด เวียนศีรษะ หรือใจสั่น แน่นอนว่าร่างกายอาจจะกำลังส่งสัญญาณบอกถึงความผิดปกติ หากคุณมีอาการเหล่านี้ อาจจะเป็นไปได้ว่าคุณกำลังเผชิญกับภาวะโลหิตจางซื้อประกันสุขภาพ



ภาวะโลหิตจางเกิดจากอะไร? (มีกี่สาเหตุ ทำให้เกิดโรคอะไรบ้าง)
การที่ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง แล้วตรวจสอบอาการเบื้องต้นว่ามีอาการเข้าข่าย ด้วยสาเหตุบางประการบางครั้งอาการนำเหล่านี้อาจนำไปสู่โรคร้ายแรง ดังนั้นการเจอภาวะโลหิตจางทุกครั้ง จำเป็นต้องหาสาเหตุเพื่อที่จะได้วางแผนการรักษาที่เหมาะสม โดยสาเหตุของภาวะโลหิตจางแบ่งตามกลไกการเกิดได้เป็น 3 สาเหตุใหญ่ๆ ได้แก่

1. การสร้างเม็ดเลือดแดงลดลง  ซึ่งเป็นได้จากหลายสาเหตุ 
ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งที่สำคัญ ได้แก่ ธาตุเหล็ก, วิตามินบี 12, กรดโฟลิก

โรคเรื้อรังหรือโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบ รูมาตอยด์ โรคไตวายเรื้อรัง, โรค HIV โรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคของไขกระดูก เช่น ไขกระดูกฝ่อ มะเร็งในไขกระดูก การติดเชื้อในไขกระดูก โรคไตวายเรื้อรัง ทำให้ขาดปัจจัยในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง การตั้งครรภ์ ควรเฝ้าระวังภาวะโลหิตจาง ที่มักจะเกิดช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรก เนื่องจากการขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิก รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเลือด

2. การทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติในร่างกาย
เป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือโรคในกลุ่มที่ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ผู้ป่วยมักมีอาการตัวและตาเหลือง(ดีซ่าน) สาเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย เช่น

โรคธาลัสซีเมีย  เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ที่พบบ่อย อาการของโรคมีหลากหลาย ที่สามารรถพบได้ เช่น บางรายอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือมีโลหิตจางรวดเร็วเมื่อเวลามีไข้  บางรายอาจมีภาวะโลหิตจางร่วมกับเหลือง ตับม้ามโต เป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ การติดเชื้อบางชนิด  เช่น มาลาเรีย, คลอสติเดียม, มัยโคพลาสมา เป็นต้น

โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจากการขาดเอนไซม์ G-6PD  เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เป็นโรคที่พบมากในเพศชาย หากมีการติดเชื้อหรือได้รับยาบางชนิด จะเกิดการกระตุ้นให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายขึ้นจนเกิดอาการโลหิตจางรวดเร็ว ดีซ่าน ปัสสาวะสีน้ำปลา โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่ายจากภูมิคุ้มกันของตนเองทำลายเม็ดเลือดแดง  เป็นโรคที่พบมากในเพศหญิงวัยเจริญพันธุ์  อาจพบร่วมกับโรคของระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ



3. การเสียเลือด
ไม่ว่าจะเป็นการเสียเลือดแบบฉับพลัน เช่น อุบัติเหตุ การผ่าตัด การตกเลือด การคลอดบุตร หรืออาจเสียเลือดเรื้อรัง เช่น เสียเลือดจากการมีประจำเดือน โรคริดสีดวงทวาร เสียเลือดในทางเดินอาหารในผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งผู้เรื้อรังมักจะขาดธาตุเหล็กด้วย

เช็กด่วน คุณเสี่ยงเป็นภาวะ โลหิตจางหรือไม่?
เราสามารถสังเกตอาการด้วยการตรวจสอบเบื้องต้นได้ หากมีอาการเบื่ออาหาร เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ตัวซีดเหลืองอย่างเห็นได้ชัด หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน หายใจลำบากขณะออกแรง มึนงง วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น รวมถึงมีอาการเรื้อรัง อาจพบอาการมุมปากเปื่อย เล็บมีลักษณะอ่อนแอและแบนหรือเล็บเงยขึ้นมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์เพื่อที่จะได้รับการวินิจฉัยจากอาการดังกล่าวว่ามีภาวะของโลหิตจางหรือไม่ และสาเหตุเกิดมาจากอะไร แต่ถ้าหากมีอาการรุนแรงถึงขั้นอาจทำให้หัวใจล้มเหลว ควรอยู่ใกล้ชิดแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป

ควรปรับพฤติกรรมอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็นเป็นภาวะโลหิตจาง
ด้วยปัจจัยหลายอย่างทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งมีทั้งที่ควบคุมได้และไม่ได้ ในเบื้องต้น การป้องกันภาวะโลหิตจางจากสาเหตุที่พบได้ทั่วไปสามารถทำได้ตามนี้
เลือกรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็ก วิตามิน และสารอาหาร เช่น เนื้อสัตว์ ตับหมู นม ไข่ เลือดหมู ธัญพืช โดยเฉพาะผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทารกและวัยรุ่น
รับประทานวิตามินเสริมโดยขอคำปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ สำหรับผู้ที่ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน

ผู้สูงอายุหรือผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ ควรพบแแพทย์เป็นระยะ เพื่อตรวจสอบภาวะโลหิตจาง เนื่องจากอาจจะขาดสารอาหารกลุ่มโปรตีนและวิตามิน

ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์อาจป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจางด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยโฟลิก และธาตุเหล็ก เช่น ปลา เนื้อแดงไร้ไขมัน ไข่ ถั่ว และผักใบเขียว รวมถึงการรับประทานวิตามินเตรียมตั้งครรภ์ โฟลิก และธาตุเหล็ก เพื่อช่วยรักษาระดับเซลล์เม็ดเลือดแดงให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ทั้งนี้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการใช้วิตามิน หรืออาหารเสริมใดๆ เสมอผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นภาวะโลหิตจางควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการส่งผ่านภาวะโลหิตจางทางพันธุกรรม ซื้อประกันให้พ่อแม่



บอกได้เลยว่าภาวะโลหิตจางเป็นสิ่งที่อันตรายกว่าที่คิด จะดีกว่าไหมถ้าเรามีการวางแผนดูแลรักษาสุขภาพร่างกาย เพื่อให้ได้รับผลกระทบที่ตามมาน้อยที่สุด โรคร้ายแรง ไม่ใช่เรื่องไกลตัว เมื่อเป็นแล้ว จำเป็นต้องมีแผนสำรองในการใช้ชีวิต ประกันคุ้มครองโรคร้ายแรง จากไทยประกันชีวิต เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายระหว่างการรักษา ไม่ให้กระทบกับการเงินและไม่ลำบากคนในครอบครัว ดังนั้นการรับมือล่วงหน้าเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่ง ที่สำคัญยังสามารถซื้อประกันโรคร้ายแรงออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง อุ่นใจได้ว่าจะมีเจ้าหน้าที่คอยให้บริการอย่างอบอุ่น

ทั้งนี้ควรไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเช็กความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดง รวมถึงการดูแลเอาใจใส่ตนเองพร้อมปรับพฤติกรรมเพื่อไม่ให้เกิดการเสี่ยงที่จะเป็นภาวะโลหิตจาง แต่ถ้าใครพบเจออาการข้างต้น สามารถเข้าไปพบแพทย์เพื่อขอรับการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา รู้เร็วรักษาได้เร็ว เพื่อร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ซื้อประกันชีวิต แบบไหนดี


ชมวีดีโอ คลิปสอนทำอาหาร เมนูข้าวยำ สุขล้น จากเชฟพฤกษ์ เชฟกระทะเหล็ก ประเทศไทย
คลิก
youtu.be/q93pv-iJDXg



Share This Topic To FaceBook

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด