10 ขั้นตอนการวางพล็อตนิยายอย่างมืออาชีพ (สำหรับคนที่อยากลองเขียนนิยาย)
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: 10 ขั้นตอนการวางพล็อตนิยายอย่างมืออาชีพ (สำหรับคนที่อยากลองเขียนนิยาย)  (อ่าน 52763 ครั้ง)

ออฟไลน์ HuskyLover

  • นิยาย "วาย" ละมุน
  • เป็ดประถม
  • *
  • กระทู้: 95
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +80/-3
การวางพล็อตนิยายใช้เวลาและมักไม่จบในครั้งแรก (อาจต้องกลับมาแก้ไขในตอนหลัง) ในบรรดาการวางแผนการเขียนทั้งหมด การเขียนพล็อตใช้เวลามากที่สุด และไม่ควรเร่งรีบ โดยทั่วไปการวางพล็อตจะแบ่งเป็น 3 ช่วง

1) ต้น - ตัวละครหลักเผชิญเหตุการณ์ที่นำไปสู่การตัดสินใจ (แอ๊ค 1)
2) กลาง - ตัวละครหลักลงมือกระทำสิ่งที่ตัดสินใจ (แอ๊ค 2)
3) ท้าย - ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (แอ๊ค 3)

ทั้งนี้ แต่ละช่วงหรือแอ๊คสามารถมีได้หลายบท

การเปิดเรื่อง (ภาพใหญ่)

มีสองวิธีที่ทำได้ ดังนี้

1) แนะนำให้คนอ่านรู้จักกับตัวละครที่น่าสนใจ
2) ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่าจะมีเรื่องราวน่าสนใจรออยู่ข้างหน้า

ตัวละครที่น่าสนใจเป็นอย่างไร ผมจะแปลมาให้อ่านคราวหลังนะครับ :)

โดยทั่วไป เราต้องทำให้คนอ่านเกิดความสนใจหรือแคร์ตัวละครซึ่งจะเดินทางไปพบเจอสิ่งที่รออยู่ข้างหน้า แต่แค่ตัวละครนำที่ดีอย่างเดียวยังไม่พอจะทำให้คนอ่านติด ต้องมีบางอย่างเกิดขึ้นด้วย หรือใกล้จะเกิดขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่ปั่นป่วนชีวิตปกติของตัวละครและบังคับให้ต้องทำอะไรบางอย่าง

หัวใจของการวางพล็อตช่วงเริ่มต้นคือแนะนำให้รู้จักตัวละครที่น่าสนใจ เป็นตัวละครที่มีเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม ซึ่งอาจทำได้ดังนี้

1) เปิดเรื่องให้เรียบง่าย โดยเฉพาะในช่วงสองสามหน้าแรก ไม่ควรใส่ตัวละครเยอะเกินไป (ถ้าจะให้ดีแค่ 1-2 ตัวละครพอ) และไม่ต้องอธิบายมากโดยไม่จำเป็น
2) ควรเริ่มด้วยสถานการณ์ที่ชัดเจนโดยไม่ต้องใช้การอธิบายมาก ไม่จำเป็นต้องอธิบายให้รู้ทุกอย่างว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
3) แม้จะไม่ชัดเจนในตอนต้น แต่ยังมีเวลามากมายที่จะอธิบายว่าตัวละครตัวนี้คือใคร หรือมีความสัมพันธ์กับตัวละครอีกคนยังไงในภายหลัง
4) ใช้การพูดและแอคชั่น หลีกเลี่ยงการบรรยายน้ำท่วมทุ่งในช่วงต้นเรื่อง
5) ต้องทำให้คนอ่านคาดหวังความเป็นจริงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เช่น ถ้าเขียนนิยายรักดราม่า ไม่ควรเริ่มต้นด้วยฉากโรงงานพลุระเบิด (เพราะคนอ่านอาจเข้าใจผิดว่าเป็นนิยายแนวอื่น)
6) อย่าเริ่มเรื่องด้วยสถานการณ์ที่ไม่ใช่หัวใจสำคัญของเรื่อง
7) ให้ความสำคัญกับบทแรก หน้าแรก ย่อหน้าแรกและประโยคแรกเป็นพิเศษ เพราะจะบอกได้ว่านิยายจะ "ปัง" หรือ "แป๊ก"

สามขั้นตอนในการเริ่มต้นนิยาย

1) เริ่มต้นด้วยชีวิตปกติของตัวละคร (หรือไม่ใช่คนก็ได้)
2) จากนั้นบางอย่างก็เกิดขึ้น
3) ตัวละครตัดสินใจที่จะทำบางอย่าง

10 ขั้นตอนในการวางพล็อตนิยาย

ขั้นที่ 1: เริ่มต้นต้วยชีวิตปกติ - แนะนำตัวละครหลักในชีวิตปกติ ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลง ช่วงนี้จะยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น เป็นวันธรรมดาๆ ของตัวละคร เริ่มเรื่องจากจุดซึ่งยังไม่มีการกระทำสำคัญ พอเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น ผู้อ่านจะได้เปรียบเทียบ

- ชีวิตปกติและชีวิตที่ไม่ค่อยปกติ
- ตอนนั้นและตอนนี้
- ก่อนและหลัง

ซึ่งจะช่วยให้เข้าใจปัญหาที่ตัวละครเผชิญตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

ขั้นที่ 2: และแล้วบางอย่างก็เกิดขึ้น - เช่น นักสืบกลับบ้านไปกินข้าวกับภรรยา (ชีวิตปกติ) จากนั้นก็มีโทรศัพท์แจ้งว่ามีการฆาตกรรมเกิดขึ้น เป็นต้น

เหตุการณ์เหล่านี้จะจุดชนวนให้เกิดการกระทำ ผลจากการเกิดบางอย่างขึ้น จะทำให้ตัวละครมีเป้าหมายซึ่งคนอ่านรับรู้ได้

แต่ในขั้นนี้ ตัวละครไม่จำเป็นต้องมีเป้าหมายทันทีก็ได้ หรือบางทีตัวละครก็ไม่รู้ตัวว่าตัวเองมีเป้าหมายแล้ว เพียงแต่มีบางอย่างเกิดขึ้นและทำให้ชีวิตปกติปั่นป่วน แต่อย่างไรก็ตาม สุดท้ายตัวละครก็ต้องมีเป้าหมาย

ขั้นที่ 3: ตัวละครตัดสินใจที่จะทำบางอย่าง - หลังจากเกิดบางอย่างขึ้น ตัวละครเริ่มตัดสินใจทำบางอย่าง แต่อาจยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาก แต่คนอ่านควรรู้ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญอื่นๆ ตามมา

เมื่อตัวละครรู้เป้าหมายตัวเอง ซึ่งอาจเกิดตอนที่มีบางอย่างเกิดขึ้นหรือภายหลัง แต่ตัวละครอาจลังเลที่จะตัดสินใจทำ ขึ้นอยู่กับนักเขียนด้วยว่าจะใส่ช่วงเวลาแห่งความลังเลด้วยหรือเปล่า หรือตัวละครจะตัดสินใจทันทีเลยก็ได้ กระนั้น เรื่องอาจน่าสนใจมากขึ้นถ้าตัวละครมีความลังเลบ้าง ซึ่งเป็นเพราะต้องการเวลาหรือสิ่งที่จะมากระตุ้นมากขึ้น จนกระทั่งรู้สึกได้ว่าต้องตัดสินใจแล้ว

เมื่อตัวละครมีเป้าหมายก็จะมีสิ่งที่ต้องทำไปตลอดเรื่อง ไม่ว่าการตัดสินใจจะเกิดขึ้นช้าหรือเร็วก็ตาม การตัดสินใจนี้จะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจาก "จุดเริ่มต้น" ไปสู่ "ตอนกลาง" ของนิยาย (แอ๊ค 1 ไปสู่แอ๊ค 2) หรือเรียกว่าเป็นตอนจบของแอ๊ค 1

การวางพล็อตช่วงกลางของเรื่อง

การวางพล็อตช่วงเริ่มต้นเป็นการแนะนำตัวละครสำคัญในชีวิตปกติ จากนั้นมีเป้าหมายและตัดสินใจที่จะทำบางอย่าง หน้าที่ของคนเขียนคือทำให้ผู้อ่านอยากรู้ว่าตัวละครจะทำอะไรต่อไป

แอ๊ค 2 คือการเริ่มต้นเดินทางของตัวละคร เช่น ในแอ๊ค 1 ตัวละครอาจอยู่บ้านหรือใช้ชีวิตปกติ แต่ในแอ๊ค 2 ตัดสินใจออกจากบ้านหรือทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ปลอดภัย ซึ่งอาจะเป็น

- การออกเดินทางจริงๆ
- เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่มีปัญหา
- หรือทั้งสองอย่างข้างต้นรวมกัน

แต่ในขั้นนี้ตัวละครยังไม่จำเป็นต้องบรรลุเป้าหมายทันที แต่ผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น

- เรียนรู้กฎเกณฑ์ของสถานการณ์ที่มีปัญหา
- สร้างมิตรและศัตรู
- ค้นพบตัวเองในมุมใหม่ เช่น พบว่าตัวเองมีความกล้าหาญมากกว่าที่คิด

การเดินทางนี้ไม่ง่าย อาจเป็นการเดินหน้าหนึ่งก้าว ถอยหลังสองก้าว แต่ท้ายที่สุดก็จะค่อยๆ เข้าใกล้เป้าหมาย

ขั้นที่ 4: เริ่มใช้มินิพล็อต - พล็อตรองหรือมินิพล็อตคือการแตกเป้าหมายหลักเป็นขั้นตอนย่อยๆ เช่น สมมติจะไปซื้อกระดาษ จะต้องทำอะไรบ้าง เช่น หาเงิน เดินข้ามถนนไปที่ร้านโดยไม่ถูกรถชน หาร้านที่พอใจ ฯลฯ นั่นคือแตกเป้าหมายหลักเป็นเป้าหมายย่อยๆ ที่ต่อเนื่องกันไป หนึ่งเป้าหมายย่อยถือเป็นหนึ่งองค์ประกอบของมินิพล็อต ในหนึ่งมินิพล็อตจะมี 5 องค์ประกอบ ดังนี้

1) ตัวละครตัดสินใจทำตามเป้าหมาย เริ่มต้นลงมือกระทำ
2) ตัวละครเจอความขัดแย้ง สิ่งที่ต้องการใช่ว่าจะได้มาง่ายๆ
3) เดินทางมาถึงจุดที่ต้องหาทางแก้ปัญหา เพราะไม่สามารถทำได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้
4) ตัวละครตอบสนองโดยใช้อารมณ์ เนื่องจากเจอความล้มเหลว
5) ตัวละครมีเป้าหมายใหม่ ตัวละครหลักจะต้องไม่ล้มเลิกในครั้งแรกที่เจอปัญหา

ที่จริงมินิพล็อตน่าจะมีเพียง 4 องค์ประกอบ เพราะข้อสุดท้ายคือการตั้งเป้าหมายใหม่ สิ่งที่นักเขียนต้องทำคือให้ตัวละครมีเป้าหมายย่อยแรกที่จะต้องทำให้สำเร็จ เพื่อไปสู่เป้าหมายย่อยต่อไป

ขั้นที่ 5: เพิ่มมินิพล็อต - หลังจากมีมินิพล็อตแรกสะสมไว้แล้ว เพื่อป้องกันไม่ให้ช่วงกลางของเรื่องยืดยาด ควรเพิ่มมินิพล็อตอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

- เมื่อจบหนึ่งมินิพล็อต ตัวละครตั้งเป้าหมายย่อยใหม่ ค่อยๆ เข้าใกล้ความจริงไปเรื่อยๆ
- แต่สุดท้ายก็มักคว้าน้ำเหลว
- ตัวละครหลบเลียแผลตัวเอง แต่สุดท้ายก็ลุกขึ้นสู้และมีแผนหรือเป้าหมายย่อยใหม่เสมอ

แต่ละมินิพล็อตควรเป็นเหตุเป็นผลสำหรับมินิพล็อตต่อไป

ขั้นที่ 6: จุดต่ำสุด - การพัฒนาพล็อตเรื่องคือการใจร้ายกับตัวละครหลัก ในจุดนี้ตัวละครจะเจอปัญหาหนักสุดกว่าที่พบมา แม้จะพยายามมามากแค่ไหน รู้สึกเหมือนว่าสิ่งที่ต้องการอยู่ใกล้แค่เอื้อม แต่ก็เกิดเหตุการณ์บางอย่างที่ทำให้พลาดหวัง ตัวละครมาถึงจุดต่ำสุด รู้สึกสิ้นหวังที่จะบรรลุเป้าหมายสูงสุด อย่างไรก็ตาม ในขั้นต่อไป เหตุการณ์จะพลิกผันและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง

การวางพล็อตช่วงท้ายเรื่อง

ช่วงท้ายเรื่องจะเป็นการรับมือกับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำต่างๆ ในช่วงที่ผ่านมา การจบเรื่องที่ดีควรทำให้ผู้อ่านพอใจหรือให้รางวัล การจบเรื่องที่น่าพอใจจะเกิดขึ้นเมื่อ

1. การจบเรื่องเหมาะสม ตัวละครได้รับสิ่งที่ควรได้รับ คนทำดีได้ดี คนทำชั่วได้ชั่ว
2. การจบเรื่องชัดเจน หมายถึงว่าคำถามที่เราตั้งไว้ในช่วงเริ่มเรื่องมีคำตอบแล้ว

การจบเรื่องที่ดีต้องเหมาะสมและชัดเจน แต่ไม่ได้หมายความจะต้องอธิบายทุกอย่างชัดเจนเสมอไป อาจทิ้งบางอย่างให้คนอ่านคิดหรือจินตนาการต่อไปได้

ขั้นที่ 7: ปฏิกิริยาตอบสนอง - ในตอนกลางเรื่อง ตัวละครได้เดินทางมาสู่จุดต่ำสุด เพราะพลาดเป้าหมายสำคัญ (หลังจากที่พลาดเป้าหมายย่อยๆ มาก่อนหน้านี้) คราวนี้ก็จะต้องตอบสนอง เช่น ร้องไห้ กระทำรุนแรง หรืออะไรทำนองนั้น เป็นจุดที่ตัวละครไม่มีอะไรเหลือแล้ว ไม่มีแม้แต่พลังจะคร่ำครวญกับชะตาชีวิตของตัวเอง

ขั้นที่ 8: การเกิดใหม่ - หลังจากตกไปสู่จุดต่ำสุด ปาฏิหาริย์ก็บังเกิด ตัวละครตระหนักในความผิดพลาดที่ผ่านมาของตัวเอง

สิ่งสำคัญในจุดนี้คือการทำให้ตัวละครตระหนักและมองเห็นหนทางที่จะเปลี่ยนแปลงทันทีหลังจากช่วงที่มืดมน เช่น เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น คนเขียนต้องแนะเป็นนัยๆ ให้คนอ่านรู้ว่าตัวละครเห็นหนทางแก้ปัญหาแล้ว

ขั้นที่ 9: ได้สิ่งที่ต้องการ (หรือไม่) - ในแอ๊ค 1 ตัวละครหลักตั้งใจแน่วแน่ที่จะบรรลุเป้าหมาย ในที่สุดก็สามารถจับฉวยมาจนได้ แล้วมันเกิดขึ้นได้ยังไง? เพราะตัวละครได้เห็นความผิดพลาดที่ผ่านมาและรู้ว่าจะต้องทำอะไรเพื่อให้ชนะ จากนั้นจึงลงมือทำและแก้ปัญหาได้สำเร็จ (สามารถจบเรื่องในขั้นตอนนี้ได้)

แต่ยังมีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับจบเรื่อง ถ้าจะอธิบายให้เห็นภาพอีกครั้ง

- ตอนต้นเรื่อง ตัวละครค้นพบเป้าหมาย
- ตอนกลางเรื่อง ตัวละครพยายามทำสิ่งต่างๆ แต่ล้มเหลว
- ตอนท้ายเรื่อง ตัวละครตระหนัก เช่น ค้นพบว่าไม่ได้ต้องการสิ่งที่เคยคิดว่าต้องการ หรือเคยอยากได้แต่ไม่อยากได้แล้ว เพราะได้เจอบางอย่างที่ดีกว่า

พล็อตแบบนี้มักจบแบบไม่มีความสุข เช่น อาจจบด้วยความเศร้า เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การจบแบบนี้อาจเหมาะสมในแง่ของการเป็นงานศิลปะ

ขั้นที่ 10: ชีวิตใหม่ - ขั้นตอนนี้อาจไม่จำเป็นสำหรับนิยายทุกเรื่อง เพราะจากขั้นที่แล้ว ผู้อ่านพอมองเห็นชีวิตใหม่ของตัวละครมาบ้าง เพราะฉะนั้น จะจบเรื่องตั้งแต่ในขั้นตอนที่ 9 ก็ได้ กระนั้น ถ้าจะเขียนบทจบส่งท้ายก็ไม่ถือว่าผิด (หากเหมาะสม) เพื่อให้รายละเอียดชีวิตใหม่ของตัวละครหลักมากขึ้น

ว่างๆ แล้วจะแปลมาฝากเรื่อยๆ นะครับ
ที่มา: http://www.novel-writing-help.com/plotting-a-novel.html
แปลโดย HuskyLover

Share This Topic To FaceBook
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-04-2017 22:36:46 โดย HuskyLover »

ออฟไลน์ JUST_M

  • เป็ดมหาวิทยาลัย
  • *
  • กระทู้: 495
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +6/-0

ออฟไลน์ คนอ่าน

  • เป็ดHephaestus
  • *
  • กระทู้: 1438
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +67/-13

ออฟไลน์ mizu

  • เป็ดประถม
  • *
  • กระทู้: 1
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +0/-0

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด