****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า  (อ่าน 431733 ครั้ง)

สาวบ้านนอก

  • บุคคลทั่วไป
ภาษาไทยนี่อย่างยากเลยนะ :z3:
เพราะไปเอาภาษาบาลี สันสกฤต อะไรมาใช้ด้วย
แล้วก็ยังดิ้นได้ ดิ้นไปดิ้นมา วันก่อนยังเถียงกันเรื่อง วันอื่น นี่หมายถึง วันหน้าหรือวันหลัง
แล้วก็สรุปกันว่า น่าจะใช้ได้ทั้งสองอย่างคือหมายถึงวันในอนาคต หรือ คราวหน้าหรือครั้งต่อไป

imageriz

  • บุคคลทั่วไป
ยิ่งเข้ามาอ่านยิ่งอนาถ ตัวเอง  :z3:
แต่ก็ได้เข้าใจภาษาไทยมากขึ้น (เข้าใจว่ามันยากจัง  :sad4:)

 :pig4: คุณฟางกับน้องนิว

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
วันนี้แอบเอาคำง่ายๆมาฝากนะจ๊ะ คือ
“ทาน”
ความหมายของคำว่า ทาน ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ทาน ๑, ทาน- [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
           วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
           เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).(ป.,ส.).

ทาน ๒ ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทาน ๓ ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

ทุกวันนี้หลายๆครั้งเราใช้คำว่าทานแทนคำว่า"รับประทาน"ซึ่งเป็นการใช้คำผิดความหมาย
จริงๆแล้วคำว่า"กิน"ไม่ได้เป็นคำที่ไม่สุภาพอะไรนะอาจจะฟังห้วนๆไปหน่อย(แต่สุภาพ)
คือเราต้องอาศัยบริบทรอบข้างด้วยเวลาใช้คำ  
แต่ถ้าใช้เป็น “ยัด” “แดก” “ซัด” แลดูจะไม่สุภาพของจริง
หากเราไม่อยากจะใช้คำว่า "รับประทาน" ก็หันมาใช้คำว่า "กิน" กันดีกว่าครับ
อย่าใช้คำว่า ทานหรือยังครับ ทานแล้วถูกปากไหมครับ เป็นการใช้คำที่ผิด

รสชาติ “ไม่อร่อย”
พอพูดถึงเรื่องกิน นิว เลยขอแถมอีกคำนึงที่เห็นใช้กันผิดตลอด
เวลาเรากินอาหารแล้วรู้สึกอาหารไม่อร่อย (กระเดือกไม่ลง)
คำว่า “ไม่อร่อย” ใช้คำว่า ไม่เป็นสรรพรส  ไม่ใช่เขียนผิดกันเป็น ไม่เป็นสับปะรด

ไอติม ไอศครีม ไอศกรีม
เห็นมีนิยายเรื่องใหม่ลงแล้วตัวเอกของเรื่อง ชื่อ ไอติม เลยเอามาเขียนอ่านเล่นๆครับ
ทั้งหมดหมายถึงสิ่งเดียวกันครับ แต่
ไอติม เป็นภาษาพูด เขียนเล่นๆได้ แต่ไม่ใช้ในงานเขียนที่เป็นทางการ

ไอศครีม เป็นการกึ่งทางการ เขียนตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา จริงๆแล้วไม่ถูกต้องตามหลัก แต่ได้ใช้กันมากจนเป็นที่ยอมรับไปในที่สุด(นิวก็ใช้อยู่ 555+)  

ไอศกรีม เป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการที่ถูกต้องที่สุดในการแกะคำศัพท์ Ice-cream มาทับศัพท์เป็นภาษาไทยตามหลักราชบัณฑิตยสถาน(ตอนเด็กๆคิดว่าในหนังสือเลขกระทรวงฯประมาณตอน ป.6 ได้มั้ง เห็ยใช้ว่า ไอศกรีม เราก็ขำกับเพื่อน ว่า ขนาดป้าที่ร้านไอติมข้างล่างยังเขียนว่า ไอศครีม เลย 555+ทำไมในหนังสือถึงเขียนผิดนะ ก็เอาไปบอกคุณครู ก็เลยโดนด่าแล้วจำมาจนโตนี่ล่ะครับ)

และมีหามาเพิ่มเติมให้อีกคำครับ
ที่มา: http://www.navy.mi.th/navy_admin/saranaru3.htm
(การใช้ราชาศัพท์ กรมสารบรรณทหารเรือ)
คำว่า หมายกำหนดการ กำหนดการ
คำ ๒ คำนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ แต่เป็นคำที่เกี่ยวกับประเพณี ในราชสำนัก มักมีผู้นำไปใช้ปะปนกัน โดยเข้าใจว่า หมายกำหนดการ ใช้สำหรับงาน หรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานของพิธี หรือมาทรงร่วมงาน ถ้าเป็นงานของบุคคลธรรมดาให้ใช้คำว่า "กำหนดการ" นับว่าเป็น ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน

คำว่า "หมายกำหนดการ"หมายถึง เอกสารกำหนด ขั้นตอนของงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ซึ่งสำนัก พระราชวังจัดทำขึ้นตามพระบรมราชโองการ ในต้นหมายจะระบุไว้แน่ชัดว่า "นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการ เหนือเกล้าฯ สั่งว่า ..." เสมอไป และสำนักพระราชวังจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา เป็นต้น

ส่วน "กำหนดการ" ใช้สำหรับพระราชวงศ์และบุคคลสามัญทั่วไป เป็นเพียงเอกสารกำหนดขั้นตอนของงานทั่วไปที่ ส่วนราชการหรือเอกชนได้จัดขึ้น โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา ให้ผู้ที่ไปร่วมงานหรือร่วมพิธีได้ทราบว่า มีรายการใด วันเวลาใด สถานที่ใด แม้ว่างานนั้นๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเบื้องพระยุคลบาท เช่น เป็นงานที่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน แต่ถ้างานดังกล่าวนั้นมิใช่งาน พระราชพิธี งานพระราชกุศล หรือรัฐพิธี ซึ่งมีพระบรมราชโองการให้กำหนดขึ้นแล้ว จะเรียกว่าหมายกำหนดการไม่ได้ ต้องเรียกว่า "กำหนดการ" ทั้งสิ้น เช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นองค์ประธานในพิธี แต่งานนี้มิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรม-ราชโองการให้จัดขึ้น หากแต่เป็นงานที่ทางราชการทหารจัดขึ้นเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ท่าน จึงใช้ว่า "กำหนดการ"

นิว(LOVEis)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2009 04:23:49 โดย [N]€ẃÿ{k}uñĢ »

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
 :pig4: ขอบคุณน้องนิวค่ะที่หมั่นหาความรู้ หรือคำที่น่าสนใจมาให้อ่านกันค่ะ
แล้วก็ +ให้ในความขยัน :3123:
สารภาพว่าชอบใช้คำว่า'ทาน' แทนคำว่า 'กิน' สงสัยต้องสร้างนิสัยในการเขียนใหม่แล้ว  :laugh:
************************************************
วันนี้ก็มีคำที่วัยรุ่นนิยมใช้มาฝากกัน  สามารถใช้คำใหม่เหล่านี้ได้ทั้งการพูดและการเขียน  โดยเฉพาะในงานเขียน
ราชบัณฑิตยสถานได้รวบรวมและจัดทำเป็นพจนานุกรมแล้ว   ลองดูนะคะ..เลือกคำโดนๆ มาฝากค่ะ  ล้วนคุ้นหูคุ้นตาทั้งนั้น

รากแก้ว น. คนที่เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ   เช่น  รัฐบาลมีนโยบายปลดหนี้ให้กลุ่มรากแก้ว.

                   (ใช้แทนคำว่ารากหญ้า  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙)

รากหญ้า น. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมักมีฐานะยากจนและด้อยโอกาสทางสังคม

                    เช่น ข้าวของแพงขึ้นทุกวันๆแบบนี้ รากหญ้ามีแต่ตายกับตาย.(แปลจาก อ. grass root.)


ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)

กวนโอ๊ย  ก. ชวนให้หมั่นไส้ (โอ๊ย มาจาก จ. ว่า รองเท้า).

เด็กปั้น  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง

                   เช่น  นางเอกละครเรื่องนี้เป็นเด็กปั้นของค่ายละครยักษ์ใหญ่,  คมม. เด็กสร้าง.

เด็กสร้าง  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง 

                      เช่น เขาเป็นเด็กสร้างของผู้กำกับชื่อดัง,  คมม. เด็กปั้น.

เหรตติ้ง  น. อัตราความนิยมที่บุคคลหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ได้จากประชาชนจากการสำรวจและสรุป

                   ออกมาในรูปสถิติ (อ. Rating).

แฟกซ์, แฝ็กซ์  น.   ๑. เครื่องที่ส่งหรือรับเอกสารด้วยอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โดยผู้ส่งต้อง

                                    ระบุหมายเลขปลายทาง. 

                                ๒. เอกสารที่ส่งหรือรับด้วยเครื่องตามข้อ ๑  (อ. fax).

เอ๊สเอ็มเอ๊ส  น. ๑. ข้อความสั้นๆ ที่ส่งทางโทรศัพท์มือถือ เช่น เขาส่งเอ๊สเอ็มเอ๊สไปหาเธอทุกวัน.     

                         ๒. ระบบส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์มือถือ เช่น หากท่านผู้ชมมีความเห็นเพิ่มเติมก็

                             เอ๊สเอ็มเอ๊สมาคุยกับทางรายการได้. (อ. SMS ย่อมาจาก short message service).

                                 

กูรู  น. ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้รู้, เช่น เขาเป็นกูรูด้านเสริมสวย. (อ. guru).

ฟันธง  ก. พูดให้ชัดเจน, ตัดสินด้วยความเชื่อมั่น.

ชนะบาย  ก. ชนะโดยไม่ต้องแข่งขัน, คมม. ได้บาย. (บาย มาจาก อ. Bye).

กระโปรงบานขาสั้น  น. เด็กในวัยเรียนชั้นมัธยม.

กริ๊ดสลบ  ก. ตื่นเต้นและชื่นชมมาก.

กวนตีน  ก. ชวนให้หมั่นไส้จนอยากทำร้าย (เป็นคำไม่สุภาพ)  คมม.  กวนบาทา.

กอดเก้าอี้  ก.ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง.

ก๊อป  ก. ลอกเลียนแบบ (ตัดมาจาก อ. copy).

ก๊อปปี้  น. ๑. กระดาษที่ใช้สำหรับทำสำเนา. (พจน.)  ๒.ลักษณะนามเรียกสำเนาหนังสือ

ก.     ลอกเลียนแบบ, พูดสั้นๆ ว่า ก๊อป. (อ. copy).

กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.

กิ๊บเก๋  ว. ๑. น่ารัก, เท่, เช่น ชุดของเธอกิ๊บเก๋น่าดู.  ๒. แปลกและน่าสนใจ  คมม. กิ๊บเก๋ยูเรก้า.

กิ๊บเก๋ยูเรกา.  ว. แปลกและน่าสนใจ  เช่น ไอเดียของเธอกิ๊บเก๋ยูเรก้าน่าดู.  คมม. กิ๊บเก๋.

เกาะอก  น. เสื้อสตรีไม่มีแขน ขอบบนรัดอยู่ระดับเหนืออก.

โก๊ะ  ก. ๑. ผลุบผลับและขี้หลงขี้ลืม  เช่น แม่คนนี้โก๊ะจริงๆ ตกบันไดได้ทุกวัน.

            ๒. เซ่อๆ, ไม่ทันคำพูดคน เช่น เพื่อนปล่อยมุกตลก เขาหัวเราะกันไปหมดแล้ว เธอยังนั่งไม่รู้

                เรื่องอยู่ได้โก๊ะจริงๆ.


ขำกลิ้ง  ก. ขำมาก.

ขิงแก่  น. ผู้อาวุโสที่มีความสามารถ มีประสบการณ์.(คำนี้เป็นสมญาที่สื่อมวลชนตั้งให้คณะรัฐมนตรี

               ในพ.ศ.๒๕๔๙).

คนพันธุ์อา   น. นักเรียนอาชีวศึกษา. (อา ตัดมาจาก อาชีวศึกษา).

คนมีสี  น.กลุ่มบุคคลที่แต่งเครื่องแบบ  มักหมายถึงทหารหรือตำรวจ.

คาราโอเกะ   น.  ๑. แผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องเพื่อให้ร้องตามได้. คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๒. สถานที่ร้านอาหารที่มีบริการให้ลูกค้าร้องเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                               คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๓. ชุดอุปกรณ์ที่มีทำนองเพลงและมีเนื้อร้องให้ร้องตาม. คมม. เกะ, โอเกะ.

                      ก.  ร้องเพลงตามแผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                          คมม. เกะ, โอเกะ. (อ. Karaoke).

แค็ตว้อล์ก  น. เวทียาวๆ มันยกพื้นระดับสายตา สำหรับให้นายแบบหรือนางแบบเดินแสดงแบบเสื้อผ้า

                       หรือเครื่องประดับเป็นต้น (อ. catwalk).

คิกขุ, คิกขุอาโนเนะ  ก. ๑.ทำเป็นเด็กใสซื่อบริสุทธิ์น่าเอ็นดู เช่น แก่แล้วยังชอบทำตัวคิกขุอาโนเนะ

                                         อีก, คมม. อาโนเนะ   

                                      ๒. น่ารัก, น่าเอ็นดู, เช่น เด็กสาวคนนี้แต่งตัวคิกขุน่ารักจัง, คมม. อาโนเนะ.


พอเห็นคำว่าคิกขุ  จึงอยากทราบความหมายของแอ๊บแบ๊วว่าคล้ายกันหรือไม่..

แอ๊บแบ๊ว  ก.  ๑. แสร้งทำให้ดูเป็นเด็กไร้เดียงสาทั้งหน้าตา  ท่าทาง และคำพูด

                         เช่น แม่คนนี้อายุสามสิบแล้วแต่ชอบทำแอ๊บแบ๊ว,  คมม.  แอ๊บ,  แบ๊ว.

                     ๒. แสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่อง, แกล้งทำโง่, แกล้งทำเป็นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                         เช่น พอถูกถามเรื่องทุจริตการประมูลที่ดิน นักการเมืองคนนี้ก็ทำเป็นแอ๊บแบ๊ว.

                         (คำนี้สันนิษฐานว่ามาจาก ๑. abnormal กับบ้องแบ๊ว   ๒.แอบ กับ บ้องแบ๊ว

                           ๓. act  กับ บ้องแบ๊ว).


โคโยตี้   น.  ๑. ผู้หญิงที่เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

                   ๒. การเต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

               ก. เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์. (อ. Coyote).

จ๊าบ    ก ๑. สีฉูดฉาดสดใส     ๒. สวยและทันสมัย    ๓. เข้าท่า, น่าสนใจ.

เจ๊ดัน  น. ผู้หญิงที่ส่งเสริมผลักดันให้ผู้อ่อนประสบการณ์ประสบความสำเร็จ.

เจ๊าะแจ๊ะ  ก. ชอบพูดคุยไปทั่ว เช่น วันๆ เอาแต่เจ๊าะแจ๊ะไม่ทำการทำงาน.

แจ๋น  ก. เสนอหน้าเข้าไปวุ่นวายและจุ้นจ้าน.

แจม. ก. ร่วมด้วย.

โจ๋  น. วัยรุ่น.

วัยจ๊าบ  น. วัยรุ่นที่ทำตัวเปรี้ยว  เช่น ลูกๆของเรากำลังอยู่ในวัยจ๊าบ พ่อแม่จึงต้องตามลูกให้ทัน.

วัยโจ๋   น. วัยรุ่น เช่น ร้านอาหารร้านนี้ พวกวัยโจ๋ชอบไปนั่งฟังเพลง, คมม. ขาโจ๋.

วัยสะรุ่น  น. ผู้มีพฤติกรรมแบบวัยรุ่น.

ก.     มีลักษณะหรือพฤติกรรมแบบวัยรุ่น  อย่างแต่งตัวตามแฟชั่น  ชอบความสนุกสนาน 

     ชอบอยู่กับเพื่อน คลั่งไคล้ดารานักร้อง เช่น คุณป้ายังวัยสะรุ่นอยู่ อยากไปปาร์ตี้กับหลานๆ.

 

วกมาแถวๆเศรษฐกิจและการเมืองก็มีคำใหม่ๆใช้เช่นกัน บางคำก็ใช้ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ


นอมินี่  น. บุคคลหรือองค์กรที่ถูกใช้ชื่อดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเจ้าของตัวจริง 

                 เช่น ต่างชาติเปิดบริษัทนอมินี่ในประเทศไทยเต็มไปหมด. (อ. Nominee).

อริยะขัดขืน, อารยะขัดขืน  ก. ขัดขืนหรือต่อต้านอย่างคนมีอารยธรรม  เช่น การออกเสียงไม่เลือกใครเป็นผู้แทนราษฎรถือเป็นการต่อต้านแบบอริยะขัดขืน (แปลจาก อ. civil dis0bedience: คำนี้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์  เป็นผู้บัญญัติใช้เป็นคนแรกใน พ.ศ.๒๕๔๘)


 เอ๊สเอ็มแอล  น. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชนที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณโดยตรงเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนนำไปบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเอง  มีทั้งขนาดเล็ก  กลาง และ ใหญ่  (อ. SML ย่อมาจาก small,  middle, large).

เม็กกะโปรเจ็ก  น. โครงการที่ใช้งบประมาณลงทุนสูงมาก  มักเป็นโครงการสร้างระบบสาธารณูปโภค.(อ.megaproject).

ดีเบต  ก. แสดงคารมโต้ตอบกัน, ถกเถียงกันด้วยเหตุผล. (อ.debate)

ที่มา http://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/288810

****************************
เราจะได้ใช้คำพวกนี้ได้อย่างสบายใจนะคะ :really2:


ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)
คำนี้แต่เดิมใช้ว่า ชิวชิว มานาน จนอ่านนิยายบางเรื่องเห็นมีการใช้คำว่า ชิลชิล
ซึ่งสับสนมานานวันนี้กระจ่างเลย ฮ่าๆ

แฟกซ์, แฝ็กซ์
พึ่งรู้ว่า เขียนได้สองแบบ

กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.
แสดงว่่าเพื่อนสนิทเพศเดียวกันก็ไม่สามารถใช้คำว่า กิ๊กได้สินะ  :laugh:

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
คำพ้องเสียงที่มักใช้ผิด
          คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่การเขียนและความหมายต่างกัน ดังนั้น ในการใช้จึงต้องนำไปใช้ให้ถูกต้องตามความหมายของคำ
ตัวอย่าง
    * จัน หมายถึง ชื่อผลไม้ที่สุกเหลือง หอมรับประทานได้ เช่น ลูกจัน
    * จันทน์ หมายถึง ชื่อต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ ดอกและผลหอม เช่น ต้นจันทร์
    * จันทร์ หมายถึง ดวงเดือน , ชื่อผลไม้ที่มีเนื้อไม้ เช่น ดวงจันทร์ วันจันทร์
    * จรร หมายถึง ความประพฤติ

    * โจษ หมายถึง เล่าลือ , กล่าวขาน เช่น โจษจัน
    * โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้อง , ผู้กล่าวหา เช่น โจทก์ และ จำเลย
    * โจทย์ หมายถึง คำถามในวิชาเลข เช่น โจทย์เลข

    * พัน หมายถึง จำนวน 10 ร้อย , มัดโดยรอบ , เกี่ยวข้องกัน เช่น พันบาท พันเชือก ผูกพัน
    * พันธ์ หมายถึง ผูกมัด , ชื่อเดือนที่ 2 ใน 1 ปี เช่น สัมพันธ์ กุมภาพันธ์
    * พันธุ์ หมายถึง เชื่อสาย , เหล่ากอ เช่น เผ่าพันธุ์ สืบพันธุ์
    * พรรณ หมายถึง สี , ผิว , ชนิด เช่น ผิวพรรณ พรรณไม้
    * ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เช่น พัสดุภัณฑ์

    * การ หมายถึง กิจธุระ , งาน เช่น การบ้าน การเมือง
    * กาล หมายถึง เวลา , สถานที่ เช่น กาลครั้งหนึ่ง กาลเทศะ
    * การณ์ หมายถึง มูลเหตุ เช่น เหตุการณ์
    * กาญจน์ หมายถึง ทอง เช่น กาญจนา

นอกจากคำพ้องเสียงข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างคำพ้องเสียงที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ 
อาจจะมีคำไ่ม่สุภาพหรือเนื้อหาสองแง่สองง่ามบ้าง 
แต่เรามีเจตนาเพื่อการศึกษาให้เข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่เพื่อการอื่น
ฉะนั้นในการลงเนื้อความ พิจารณาจากเจตนาเป็นหลัก ดังนี้

1. สำ
    หลายๆ คนคงเคยใช้คำนี้บ่อยแล้ัว คำว่า "สำ" ส่วนใหญ่ใช้นำหน้าพยางค์หลังที่แผลงมาจากภาษาเขมร เช่น สำแดง-แสดง, สำเร็จ - เสร็จ  ฯลฯ 
    แต่รู้หรือไม่ครับ ในคำภาษาเหนือหรือคำเืมืองนั้น คำว่า"สำ" มีความหมายสองแง่สองง่าม แปลว่าการร่วมเพศครับ(เช่นเดีียวกับคำว่าว่าสี่ในภาษาอีสาน) ดังนั้นอย่าพูดคำว่า "สำ" คำเดียวโดดๆ  และอย่าไปพูดคำนี้ต่อหน้าคนเหนือนะครับ  เดี๋ยวเขาจะคิดว่าคุณคิดมิดีมิร้ายกับเขา

2.  เห ี้ย
    คำ นี้ในภาษาไทยของเรา เป็นคำด่า แปลว่า ไม่ดี เลว ชั่ว ฯลฯ และได้ถูกตั้งเป็นชื่อให้สัตว์เลื้อยคลานพวกเดียวกับตะกวด เคยได้ยินมาว่าที่ตั้งชื่อมันว่า"ตัวเห ี้ย"นั้น เพราะมันชอบลากไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ลงไปกินในน้ำ เลยโดนชาวบ้านรุมด่ามันว่า"เห ี้ย" ปัจจุบันเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "ตัวเงินตัวทอง "
    ในภาษาเหนือ คำว่า "เฮี่ย" ซึ่งออกเสียงเหมือน"เห ี้ย" ก็คือคำว่า"เรี่ย"หรือ "เรี่ยราด" ในภาษาไทย เพียงแต่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะจาก "ร" เป็น "ฮ"  แปลว่า กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ รก สกปรก
    เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า "บ่ากวาดบ้านกวาดจองเลย  ปล่อยหื้อเห ี้ยจะอั้นนะ"(ไม่กวาดบ้านกวาดเรือนเลย ปล่อยให้สกปรกอย่างนั้นล่ะ)
    อย่าไปพูดคำว่า "เห ี้ย" ต่อหน้าคนเหนือนะครับ เพราะเขาอาจไม่เข้าใจว่าคุณไปด่าเขา  เขาจะเข้าใจว่ามีอะไรสกปรกที่ไหนแทน

3.ว่าว
    คำ นี้โดยปกติความหมายคือของเล่นชนิดหนึ่งที่ทำด้วยกระดาษและไม้  มีสายไว้สำหรับชัก  แต่ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้ในความหมายสองแง่สองง่าม  โดยใส่คำว่า "ชัก" ไว้ข้างหน้า  แปลว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของเพศชาย  ในภาษาเหนือใช้คำว่า "จั๊กว้อง"  คำนี้ทำผมงงครับ  เพราะแปลว่าชักยางรัด(เหมือนมากเลยนะ  ว่าวกับยางรัด)  "ว้อง"  แปลว่าโค้ง  เป็นวงโค้ง  ใส่ "หนัง" ข้างหน้า แปลว่ายางรัด
    แต่ในภาษาอีสานนั้น คำว่า "เว่า" ซึ่งออกเสียงคล้าย "ว่าว"  แปลว่า พูด ไม่ได้มีความสองแง่สองง่ามแ่ต่อย่างใด

4.อู้
    แน่นอนว่าหลายๆ คนใช้คำนี้ในความหมายว่า ขี้เกียจ แต่ในภาษาเหนือนั้น คำนี้มีความหมายเหมือนคำว่า "เว่า" ในภาษาอีสาน แปลว่า พูด
    ตอน ประถม ผมได้ยินเพื่อนคนหนึ่งโดนครูว่าว่า "อย่าอู้"  มันก็ตอบครูไปว่า "ครูครับผมอยู่บ่าดาย  บ่าได้อู้เลยหนา"(ครูครับผมอยู่เฉยๆ ไม่ได้พูดเลยนะ) กวนจริงๆ ครับ ทั้งๆ ที่มันก็รู้ว่าความหมายภาษาไทยว่าคำว่า "อู้้" แปลว่าอะไร
    ใครมีลูกจ้างเป็นคนเหนือนี่คงลำบากหน่อยครับ  เพราะเขาอาจเข้าใจคำว่า "อู้งาน" ของคุณ เป็น "พูดเรื่องงาน" ก็ได้ครับ

5.เสี่ยว
    คำนี้ในภาษาเหนือและภาษาอีสานแปลว่า เพื่อนสนิท เพื่อนรัก เพื่อนตาย แต่วัยรุ่นเอาคำนี้มาใช้ในความหมายว่า บ้านนอก ตกยุค ล้าสมัย เช่น แต่งตัวเสี่ยว มุกเสี่ยว เล่นเอาคำดีๆ อย่างนี้เสียหมดเลยครับ

6.ป ี้
    คำนี้ในความหมายภาษาไทยแปลว่า ร่วมเพศ  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  ในภาษาลาวแปลว่า ตั๋ว  แต่ในภาษาเหนือคำนี้เป็นคำสุภาพครับ  แปลว่า พี่สาว  เป็นคำเรียกพี่สาวของเราและใช้เพื่อให้เกียรติหญิงที่อายุมากกว่า  เช่นเดียวกับว่า "อี่"  ซึ่งก็คือคำว่า "อี" ในภาษาไทย  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  แต่คำว่า "อี่" นี้  ยังใช้ในอีกความหมาย  เป็นการให้เกียรติคนที่ถูกเรียก เช่น อี่ป้อ(คุณพ่อ) อี่แม่(คุณแม่) ลักษณะการใช้เช่นนี้ก็ยังเหมือนคำว่า "ห ำ" ในภาษาอีสาน ซึ่ีงตามปกติแปลว่าลูกอัณฑะของเพศชาย(ในภาษาเหนือใช้คำว่า"ขะหลำ") แต่ในอีกความหมาย ใช้เรียกเด็กที่มีอายุน้อยกว่า เช่น บักห ำน้อย(เด็กน้อย)

7. ไอ้
    คำ นี้เป็นคำหยาบ ใช้เป็นคำเรียกเพื่อดูถูก แต่คำว่า "อ้าย" ที่หลายคนชอบใช้แทนคำ่ว่า
"ไอ้"นั้น ไม่ได้มีความหมายเดียวกัน ในความหมายเดิมแปลว่า หนึ่ง(อ้าย = หนึ่ง, ยี่ = สอง)
หรือ ลูกคนโต ในภาษาเหนือแปลว่า พี่ชาย ใช้เป็นคำเรียกพี่ชายของเราและใช้เรียกเพื่อให้เกียรติผู้ชายที่อายุมากกว่า ไม่ได้เป็นคำหยาบแต่อย่างใด
    คำว่า "ไอ้" ในภาษาเหนือใช้คำว่า "ไอ่" ครับ

8. ฮา
    คำนี้หลายคนคงใช้บ่อยในความหมายตลก ขบขัน แต่รู้หรือเปล่าครับในภาษาเหนือ คำว่า "ฮา" แปลว่า "กู" ครับ เป็นคำแทนตัวที่ปัจจุบันถือกันว่าไม่สุภาพ

นอกจากนั้นแล้วยังมีคำพ้องเสียงภาษา ต่างประเทศที่เราคุ้นหูกันกันดี อย่างคำว่า here ที่แปลว่า ที่นี่ หรือ yet ที่แปลว่า ยัง ยังคง เมื่อพูดในความหมายภาษาไทยแล้ว ความหมายจะเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างที่หลายคนคงรู้ดี
คงจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าคำพ้องที่ผมหยิบยกมานั้นถ้าใช้ไ่ม่ถูกสถานที่ถูกสถานการณ์แล้วจะเกิดปัญหามากแค่ไหน
ใครมีคำพ้องเสียงภาษาือีสาน  ภาษาใต้  หรือภาษาอื่นๆืื อีกก็โพสต์ไว้ได้นะครับ
ที่มา:http://dek-d.com/board/view.php?id=1390822

นิว(LOVEis)

ออฟไลน์ oaw_eang

  • Global Moderator
  • เป็ดHades
  • *
  • กระทู้: 8418
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +2122/-586

ปลาปักเป้า อ่านว่า "ปลา-ปัก-กะ-เป้า"

ว่าวปักเป้า อ่านว่า "ว่าว-ปัก-เป้า"

ปล. ปกติจะไม่ค่อยใช่คำว่า "ทานข้าว" แทน "รับประทานข้าว"

จะพูดว่า "กินข้าว" ไปเลย  หรืออาจจะพูดในกรณ๊ที่กระแดะขึ้นมาอีกนิดว่า "รับข้าว" อยู่เป็นประจำ

คำพูดทำนองนี้มักพูดกับคนที่บ้านว่า รับ(กิน)ข้าวไหม = กินข้าวไหม?, เลื่อนเครื่องเลยหรือเปล่า = รับของหวานเลยไหม, เก็บสำรับเลยไหม? = อิ่มยัง  อะไรเทือกนี้ อิอิ

กระแดะได้อีกตู

ออฟไลน์ ppangg

  • Σ(・□・;)
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดเด็กช่าง
  • *
  • กระทู้: 372
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +36/-2
ไม่ได้ตั้งใจผิดอ่ะ
ผิดแบบไม่ได้ตั้งใจ
55555555++
คิดว่าตัวเองเขียนถูกมาตั้งนาน
เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นความรู้เก่า ที่เอามาปรับปรุงใหม่ได้ดีจริงๆ
+1 ให้เลยค่ะ ^-^

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
ขอบคุณน้องนิวคะ :pig4: มีความรู้มาฝากกันอีกแล้ว  o13
อยากให้คนเข้ามาอ่านกันเยอะๆจัง
เพื่อความสบายตาของเราเวลาอ่านนิยาย :laugh:

tonsai_2520

  • บุคคลทั่วไป


ใช้ผิดตรึมเลยกรู . . .


. . .  สงสัยลงเรียนหลักภาษาใหม่

CoMMuNiTY Of ThAiBoYsLoVE

ประกาศที่สำคัญ


ตั้งบอร์ดเรื่องสั้น ขึ้นมาใครจะโพสเรื่องสั้นให้มาโพสที่บอร์ดนี้ ถ้าเรื่องไหนไม่จบนานเกิน 3 เดือน จะทำการลบทิ้งทันที
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=2160.msg2894432#msg2894432



รวบรวมปรับปรุงกฏของเล้าและการลงนิยาย กรุณาเข้ามาอ่านก่อนลงนิยายนะครับ
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=459.0



สิ่งที่ "นักเขียน" ควรตรวจสอบเมื่อรวมเล่มกับสำนักพิมพ์
https://thaiboyslove.com/webboard/index.php?topic=37631.0






ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
 :กอด1: ทุกคนที่เข้ามาอ่านนะ ไม่เป็นไรพี่ฟางนิวแอบมีเวลาว่างมาศึกษาเรื่องคำผิดทำให้รู้อะไรเยอะขึ้นด้วย

คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด
รุ่งกานต์ มูสโกภาส กล่าวนำไว้ในบทความ  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Internet Magazine ไว้ว่า
"...โลกของวิทยาการและเทคโนโลยีมี การพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีเข้ามาใหม่ตลอดเวลา  ด้วยเหตุนี้จึงมีคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ออกมามากมาย ขนาดคนอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์เองบางทีก็ยังตามกันไม่ทัน
     มีการพบว่า มีการเขียนคำศัพท์เหล่านี้ผิดอยู่จำนวนมาก เรา จะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ที่เผยแพร่โดยสื่อมวลชน บทความ ผลงานวิชาการตามสถาบันการศึกษาอันเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความเข้าใจผิด และใช้คำผิด ๆ นั้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นสิ่งที่เคยชินไปแล้วในชีวิตประจำวัน..."

ยกตัวอย่างเช่น ร้านให้บริการ Internet มักจะติดป้ายคัทเอาท์ใหญ่ ๆ ไว้หน้าร้านว่า
"อินเตอร์เน็ต" ซึ่งใช้ ต.เต่า แทนตัวที
แต่คำที่ถูกต้องแล้วต้องใช้ ท.ทหาร คือ "อินเทอร์เน็ต"
ตัวอย่างที่ยกมาดังกล่าวเห็นกันเป็นประจำ จนไม่ทราบว่าจะให้ความรู้เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะผิดกันจนเคยชิน หรือ เวลาตรวจงานนักศึกษา ผมก็มักจะพบคำเหล่านี้ผิดเป็นประจำ จะละเลยไม่บอกนักศึกษาให้ทราบ ก็ใช่ที่ ในฐานะเป็นครูของเขา เมื่อพบข้อผิดพลาดก็ต้องแจ้งให้ทราบ และทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ครับ
หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงกับการบัญญัติคำศัพท์เหล่านี้ ได้แก่ ราชบัณฑิตยสถาน (http://www.royin.go.th)

ตัวอย่าง ... คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด เช่น



ตัวอย่าง ... ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิด เช่น


และในตอนนี้นี้แอบให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความน่าสงสัยจากในบทความข้างต้น
คำที่เขียนขัดแย้งกัน (คอมพิวเตอร์ vs อินเทอร์เน็ต)
จากหัวข้อ "คำที่เขียนขัดแย้งกัน"
ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับความสงสัย
จากคำว่า Computer และ Internet ... ตรงจุด ter ของทั้งสองคำ
Computer มีคำทับศัพท์ว่า คอมพิวเตอร์ ... ter = เตอร์
Internet    มีคำทับศัพท์ว่า อินเทอร์เน็ต ... ter = เทอร์
ทำไม ราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกใช้คำทับศัพท์คำแรกเป็น ต.เต่า อีกคำเป็น ท.ทหาร ?



วันนี้ขอนำเสนอ คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด และ ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิดนี้ก่อนนะ
หากเราเป็นคนไทย และ เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะเหล่านี้
ท่านอย่าละเลย เลยนะครับ เรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้อาจจะทำให้ประเทศของเราเสื่อมก็เป็นได้

ที่มา และ แหล่งอ้างอิง
- รุ่งกานต์ มูสโกภาส.  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" , วารสาร Internet Magazine. 8, 86 (กันยายน 2546) : หน้า 77 - 82.
- เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน เว็บไซต์ราชบัณฑิตสถาน.  http://www.royin.go.th

นิว(LOVEis)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2009 04:27:14 โดย [N]€ẃÿ{k}uñĢ »

imageriz

  • บุคคลทั่วไป
^
^
^
 :z13: แล้ว :กอด1: คนน่ารัก ที่เอาเรื่องดี ๆ ที่ควรรู้มาให้

 :pig4:

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
มาช่วยน้องนิวทำงาน :m23:

ปัจจัยที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้อง


๑. รู้ความหมายคำ  คำในภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงตรงกันแต่เขียนสะกดต่างกัน  จึงทำให้มีความหมายไม่เหมือนกันเรียกว่า คำพ้องเสียง   ถ้ารู้ความหมายของคำ จะทำให้เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง  เช่น  

พัน(ผูก)   พันธ์(เกี่ยวข้อง)   พันธุ์(สืบทอด)   ภัณฑ์(สิ่งของ)   พรรณ(ชนิด, ผิว, สี)

โจทก์(ผู้ฟ้อง, ผู้กล่าวหา)   โจทย์(คำถามในวิชาเลข)   โจท(โพนทะนาความผิด)

โจษ(เล่าลือ, พูดเซ็งแซ่)

สรร(เลือก, คัด)   สรรค์(สร้างให้มีให้เป็นขึ้น)

รมย์(น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น รื่นรมย์, เริงรมย์)

๒. ไม่ใช้แนวเทียบผิด   คำบางคำแม้จะมีเสียงเหมือนกันแต่ความหมายหรือรูปศัพท์  ตลอดจนที่มาต่างกัน  จะใช้แนวเทียบเดียวกันไม่ได้  เช่น

    อานิสงส์ มักเขียนผิดเป็น อานิสงฆ์   เพราะไปเทียบกับคำ   พระสงฆ์
 
    ผาสุก มักเขียนผิดเป็น ผาสุข เพราะไปเทียบกับคำ  ความสุข
 
    แกงบวด มักเขียนผิดเป็น แกงบวช เพราะไปเทียบกับคำ    บวชพระ
 


๓. ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง   การออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจนทำให้เขียนผิด เช่น


ผมหยักศก มักเขียนผิดเป็น ผมหยักโศก
  
พรรณนา มักเขียนผิดเป็น พรรณา
 
บังสุกุล มักเขียนผิดเป็น บังสกุล
 
ล่ำลา  มักเขียนผิดเป็น ร่ำลา
 
กรวดน้ำ มักเขียนผิดเป็น  ตรวจน้ำ
 
ประณีต มักเขียนผิดเป็น  ปราณีต
 


๔. แก้ไขประสบการณ์ที่ผิดๆ ให้ถูกต้อง   การเห็นคำที่เขียนผิดบ่อย ๆ เช่น เห็นจากสิ่งพิมพ์  ป้ายโฆษณา  เป็นต้น  ถ้าเห็นบ่อยๆ อาจทำให้เขียนผิดตามไปด้วย  ก่อนจะเขียนคำจึงต้องศึกษาให้ได้คำที่ถูกต้องเสียก่อน เช่น


ทีฆายุโก  มักเขียนผิดเป็น  ฑีฆายุโก
 
อนุญาต มักเขียนผิดเป็น  อนุญาติ
 
โอกาส  มักเขียนผิดเป็น  โอกาศ
 
เกร็ดความรู้ มักเขียนผิดเป็น เกล็ดความรู้
 
เกสร มักเขียนผิดเป็น  เกษร
 
รสชาติ  มักเขียนผิดเป็น  รสชาด
 
กระทะ  มักเขียนผิดเป็น  กะทะ
 


         ..คำสุดท้ายนี่เห็นบ่อยมากนะคะ..ป้ายหน้าร้าน   “หมูกะทะ”  ผิดๆ.. ค่ะ

         ..ยังมีอีกแถวๆเชียงใหม่ “ใส้อั่วป้าอ้วน” ผิดอีกค่ะ ต้อง “ไส้อั่วป้าอ้วน” ค่ะ


๕. ต้องมีความรู้เรื่องหลักภาษา   การเขียนหนังสือได้ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้หลักภาษาเพื่อเป็นหลักและแนวทางในการใช้ภาษา  หลักภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง

๖. ต้องศึกษาและติดตามเรื่องการเขียนสะกดคำที่เป็นประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี  เช่น ศึกษาหนังสือและเอกสารต่างๆของราชบัณฑิตยสถาน อันได้แก่  พจนานุกรม  สารานุกรม  การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  การกำหนดชื่อเมือง จังหวัด  ประเทศ ทวีป  ตลอดจนติดตามประกาศการเขียนและอ่านคำของทางราชการอยู่เสมอ  


ข้อมูลจากhttp://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/257465


เอามาลงเรื่อยๆ เวลาเขียนเองนี่คงจะเกร็งน่าดูเลยเรา :z3:


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-09-2009 16:03:02 โดย M@nfaNG »

imageriz

  • บุคคลทั่วไป
^
^
^ :z13: คุณฟาง ขยันกันทั้งพี่ทั้งน้อง เอาความรู้มาให้ได้อ่านกันที่เล้า กด + ให้ค่ะ
ตอนนี้ก็เริ่มเกร็งเหมือนคุณฟาง เหมือนกัน ส่วนมากจะผิดกับคำพ้องเสียง บางครั้งพิมพ์ไปก็สับสน

คำว่า เกษร นี่มีความหมายรึเปล่าค่ะ เคยเห็นแต่ไม่รู้ความหมายค่ะ   :really2:

 :pig4:

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-09-2009 10:38:56 โดย imageriz »

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
ขอบคุณค่ะคุณ  imageriz ที่ช่วยบอก แก้แล้วค่ะ  :pig4:
 คำว่าเกษร ลองเข้าเวบราชบัณฑิตยสถาน หาแล้วไม่มีค่ะ เจอแต่คำว่า เกสร

เกสร [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว,
 เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี
 ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้;
 (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล.
 (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).  :pig4:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15-09-2009 16:04:49 โดย M@nfaNG »

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
 :z13:
จิ้มพี่ฟางแล้ว กด +1 ให้อิๆ
ชอบวิธีการจัดปัจจัยต่างๆทำใำห้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ยังอยากเข้ามาย้ำอีกว่า คำที่เขียนผิดบ่อยที่สุดในเล้า คือ "โิอกาส" ผิดกันตลอด
เมื่อวานอ่านไปหลายเรื่องเจอมันเกือบทุกเรื่อง เขียนกันเป็น โอกาศ
สำหรับวันนี้นิวเอาคำมาเพิ่มเติมให้อีก ส่วนใหญ่จะคัดแต่คำที่ไม่มีในนี้มาเพื่อไม่ให้ซ้ำ

"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" คำไทยที่... เหมือนจะถูก (แต่ผิด)
เพิ่งได้มาวันก่อน หนังสือที่มองหามานาน
นั่นคือ "อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราคา 20 บาทเท่านั้น ทำไมถูกอย่างนี้ล่ะครับ
มูลค่ารวมกันสองเล่มถึงจะขึ้น (ไปรถติดบน) ทางด่วนได้คราวหนึ่ง
อยากจะฝากเงินเกินไว้ให้อีกซัก 20 บาท ด้วยความ appreciate จัด
มีหลายคำดูแล้วรู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมคำที่ผิดมันดูเหมือนถูก และคำที่ถูก มันดูเหมือนผิด

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กระสัน
(ดูตัวอย่างคำแรกซะก่อน -_-')
อันนี้ลองยืนยันได้ครับเนื่องจากพอพิมพ์คำว่า กระสันต์ ลงไป หาไม่เจอครับ
แต่เมื่อพิมพ์ใหม่โดยสะกดให้ถูก (ทั้งที่หน้าตาไม่คุ้นเลย) ว่า กระสัน
ก็ได้คำแปลออกมาดังต่อไปนี้
lust, See also: feel a sexual desire; crave; hunger for
Example: ความรู้สึกกระสันเกิดขึ้นทันทีเมื่อเขานึกถึงสาวคนรัก,
Thai definition: กระวนกระวายในกาม
ดังนั้น คราวหน้าที่จะเขียนเล่าว่าคุณเกิด "กระวนกระวายในกาม" ขึ้นมานะ
สะกดให้ถูกๆ นะครับพี่น้องเหอะๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระทันหัน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กะทันหัน (นิวก็ใช้ กระ- มาตลอดเลยล่ะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กาละเทศะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กาลเทศะ
(นี่ก็สับสนบ่อยมาก เพราะผมคิด (ไปเองมั่วๆ) ว่า
เมื่อ เทศะ มันก็ต้อง กาละ ให้มัน balance กันสิ -_-')

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กิจลักษณะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กิจจะลักษณะ
(เอาเข้าไป อันนี้ดันกลับกันกับอันข้างบน
กล่าวคือ ที่ถูกต้อง จะต้อง "-ะ หน้า -ะ หลัง" ครับ)
(ระวัง !อย่าสับสนระหว่าง กาลเทศะ กับ กิจจะลักษณะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คึ่นช่าย"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ขึ้นฉ่าย อันนี้คนโดยมากเขียนผิดเพราะไปเขียนตามเสียงพูด
เคยคิด (เอาเองอีกแล้ว) ว่า มันไม่น่าจะสะกดว่า "ขึ้น"เพราะมันดูเป็นคำไทยเกินไป

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คฤหาสถ์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า คฤหาสน์ (อันนี้ผิดเพราะมีตัวอย่างผิดๆ ให้เห็นเยอะเกินไปครับ
ใครๆ ก็เขียนผิดเป็น คฤหาสถ์ ทั้งนั้น เราเลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ดุลย์การค้า"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ดุลการค้า (คำนี้ตามสื่อทั้งหลายก็ผิดให้เห็นเป็นระยะนะครับ)

*** เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตกร่องปล่องชิ้น"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตกล่องปล่องชิ้น
(อันนี้ได้ยินคนอ่าน ตก "ร่อง" ปล่อง ชิ้น มาโดยตลอดเพราะคงคิดว่าเหมือน
 'แผ่นเสียงตกร่อง' นั่นเองก็เลยเอามาเขียนผิดๆ ตามไปด้วย)
จะบอกว่าคำนี้เห็นเขียนผิดในเล้าเป็ดของเราบ่อยมากอิๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตะกละตะกราม"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตะกละตะกลาม
(ตะกรุมตะกราม แต่ ตะกละตะกลาม ครับจะ ร.เรือ ก็ต้อง ร.เรือ กันไปทั้งหน้าหลัง
จะ ล.ลิง ก็ต้อง ล.ลิง กันไปทั้งหน้าหลังเหมือนกัน ไม่ต้องมา mix and match)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ทรมานทรกรรม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ทรมาทรกรรม(มันคือ ทอ-ระ-มา-... ครับ ไม่ใช่ ทอ-ระ-มาน-...)
คำนี้ยอมรับเลยว่าไม่เคยอ่านและเขียนถูกมาตลอดชีวิต ฮ่าๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ไนท์คลับ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ไนต์คลับ(อันนี้แม้ไม่คุ้นอย่างแรง ก็ต้องเชื่อตามราชบัณฑิตฯ ล่ะครับต้องโทษพวกป้ายทั้งหลายที่ชอบสะกดผิดๆทำให้เราเห็นแล้วจำผิดๆ มาด้วย )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แบหรา / แผ่หรา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แบหลา / แผ่หลา (อ้าว เหรอ -_- อันนี้ผมก็ผิดประจำ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พาลจะเป็นลม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พานจะเป็นลม (อ้าว ผิดอีกแล้วเหรอ เป็นลมดีกว่า)
หมายเหตุ : พาน แปลว่า เกือบ ครับ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พิธีรีตรอง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พิธีรีตอง
(ผมว่าผมสะกดผิดเพราะดันไปจำสลับกับ ซีตรอง แหงๆ เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เพชรฆาต"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เพชฌฆาต

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "มะล่อกมะแล่ก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ม่อลอกม่อแลก
(เอ่อ คือ ... -_-' ลองอ่านเวอร์ชันที่ถูกออกมาดังๆ แล้วหลอนมากเลยครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ร้างลา / เลิกลา"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ร้างรา / เลิกรา (อันนี้เคยได้ยินแบบที่ผิดบ่อยๆ ในเพลงฮิตๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือนลาง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือนราง (ผิดเพราะออกเสียงกันไม่ชัดเองครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ฤกษ์ผานาที"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ฤกษ์พานาที (อันนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่เขียนผิด
เพราะอ่านผิดครับผมเองยังได้ยินคนอ่าน เริก-ผา อยู่เยอะมาก เลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ลาสิกขาบท"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลาสิกขา (แล้ว -บท มาจากไหน? )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ริดรอน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลิดรอน(คำนี้ผมก็ผิดมาตลอดชีวิตครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือดกลบปาก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือดกบปาก
กบ ๖ ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ เลือดกบปาก

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "วาทยากร"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า วาทยกร (เนื่องจากลากเสียงยาวเกินไป เป็น วาทยา~กร
ก็เลยนึกว่าสะกดแบบนี้ไงครับที่จริง -ทะ-ยะ- ออกเพียงครึ่งเสียงเท่านั้น)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สับปรับ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สับปลับ (เป็นเพราะผมเอาไปปนกับคำว่า "จับ-ปรับ" แน่เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สัมนา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สัมมนา (อย่าไปจำว่า seminar มี m ตัวเดียว สัมนา ก็ต้องมี ม.ม้า ตัวเดียว อย่างนี้ล่ะครับ )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สูญญากาศ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สุญญากาศ
(สระ อุ เสียงสั้นนะครับ ไม่ใช่สระอูเสียงยาว
คนจะเอาไปปนกับ สูญ ในคำว่า สูญสิ้น กระมังผมว่า เลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แสบสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แสบสัน
(เพราะถ้า สันต์ มันต้อง สุขสันต์ แล้ว กระมัง)

ความจริงยังมีอีกเยอะเลยล่ะครับแต่เลือกมาเฉพาะที่ เข้าพวกตามชื่อ Entry นั่นล่ะ คือ
"ไอ้ที่ผิด นะดันหน้าตาเหมือนถูก" นั่นเอง
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับอ้างอิงที่ดีเยี่ยมเปี่ยมคุณภาพและสุดคุ้มสตางค์นะครับ
"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถานนั่นเอง
โฆษณาให้ฟรีๆ เลย เล่มละ 20 เท่านั้นครับเขาว่าหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปนะ
ไปด้อมๆ มองๆ หาเองอาจหายากหน่อยลองถามพนักงานดูจะดีกว่าครับ                        
ที่มา http://bickboon.exteen.com/20060506/entry

นิวก็มีซื้อไว้เหมือนกัน มีคำอื่นๆทีน่าสนใจอีกหลายคำ เช่น
ตะราง ที่แปลว่า น. ที่คุมขังนักโทษ. ใช้กันจนติดว่า ตารางซึ่งผิด
ตาราง            น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน,
                       ตาตาราง ก็ว่า;ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน
                       หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยม  
                       จัตุรัส.
แล้วจะหามาให้อ่านอีกน๊า
นิว(LOVEis)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2009 04:29:22 โดย [N]€ẃÿ{k}uñĢ »

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
 :z3: ใช้ผิดเพียบเลย ทำไมยิ่งอ่านยิ่งเจอผิดๆ กรรมจริงๆ
วันก่อนเขียน สูญญากาศ ในเวิร์ดมันก็ขึ้นเส้นแดง
เราก็สงสัยมันผิดตรงไหน แก้เป็นสูญญากาส ก็ยังแดงอยู่
แล้วก็ไม่รู้ว่าจริงๆมันผิดยังไง (แอบขี้เกียจไม่หา ไม่ตรวจ :m23:)
ในที่สุดก็ได้น้องนิวมาช่วย o13
ไอ้ที่ว่าน่าจะถูกแต่ผิดนี่....เป็นประจำเลย :m29:

ตอนนี้กลัวอย่างเดียว อ่านไปแล้วก็ลืมจะเผลอกลับมาใช้ผิดอีกนะซิ :jul3:

GajonG

  • บุคคลทั่วไป
 o13
อ่านรีแรกยังไม่จบเลยค่ะ โหะๆ จะค่อยๆดู ถ้าอ่านให้จบวันนี้ก็จำไม่ได้อยู่ดี
เข้าใจผิดหลายคำเหมือนกัน วันก่อนอ่านนิยายเห็นนักเขียนใช้คำว่า'นัยน์ตา' ซึ่งเขาใช้ถูกแล้ว เราดันคิดว่า แหงะเขียนผิดนี่ฝ่า :laugh:(ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย)

ขี้เกียจ บางคนใช้ ขี้เกียด,ขี้เกลียด,ขี้เกรียด,ขี้เกลียจ
รังเกียจ บางคนใช้ รังเกลียด,..(เหมือนข้างบน)
เกลียด บางคนใช้ เกรียด,เกรียจ
เจอบ่อยเข้าทำให้เราสับสนว่าเราใช้ผิดหรือเปล่า
ได้อ่านนิยายที่ใช้ภาษาถูกต้องก็สบายตากว่าจริงๆ

ออฟไลน์ krappom

  • 人は誰でもそれぞれに悩みを抱えて生きる
  • เป็ดนักโพสมือดี
  • เป็ดApollo
  • *
  • กระทู้: 7395
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +1182/-23
โอ้
ขนาดระวังตลอดแล้วนะเนี่ย
ยังมีบางคำที่เข้าใจผิดและใช้ผิดอีกตั้งหลายคำ
ขอบคุณพี่ฟางค้าบ

ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
me/ขยันหามาลงจริงๆถ้าขยันทำงานแบบนี้แม่ดีใจตาย  :laugh:

วันนี้เอากลอนมาฝากค่ะ เอาไว้ตรวจคำกัน

คำที่ใช้ตัว "ครอ"
กินครองแครง ครามครัน ไม่ครั่นคร้าม
ครูท่านห้าม ครูดตัว แม่ครัวหนี
เคราะห์นงคราญ คร่ำครวญ ครุ่นฤดี
ครั้นจะดี ครุฑคร่า พาครึกโครม

ใครครอบครอง อย่าคร้าม ครุยจะคราก
ครึกครื้นมาก คราวใคร่ ดังไฟโหม
ครางฮือฮือ ครือครืน ครื้นเครงโครม
ครึ้มพโยม ครึมเครือ เหลือประมาณ

ครีบเป็นคราม ครึจริง ยิ่งกว่าครึ่ง
เอาครึนขึง ตึงเครียด เรียดขนาน
ดึงครุครืด แคร่พัง นั่งนอกชาน
คร่อมสะพาน ครบครั้ง นั่งครู่ครก

เอาไม้คราด เคร่งครัด ปัดคร่าวคร่าว
เสือโคร่งก้าว เท้าไป ใครพลัดตก
ดังโครกคราก คร่ำคร่ำ เครื่องสาธก
ไม้คร่าวตก เคราหล่น ปนน้ำครำ

เห็นหอยแครง ตัวครั่ง ปลาชักครอก
ตะไคร้ออก ดอกชุก ทุกฉนำ
ตะไคร่น้ำ เคร่าท่า คราประจำ
ทุกทุกคำ นี้ไซร้ ใช้ตัว "ครอ"ฯ

ที่มักใช้ผิดมากๆก็เห็นจะมีคำว่า ครอก (ฝูงลูกสัตว์ที่เกิดร่วมกันในคราวเดียว) และ คลอก (ถูกไฟล้อมเผา)
ครอบคลุม ต้องมี ล
คริสตกาล ไม่มีการันต์ด้วยหลักทางภาษาไทย
คริสต์ศตวรรษ คริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนิกชน ล้วนต้องมีการันต์
คฤหาสน์ ไม่ใช่ ถ์
คลาคล่ำ ไม่ใช้ ร

คำที่ต้องอ่านออกเสียงตัวสะกด

จักจั่นจักแหล่นแล่นไป ตั๊กแตนตาไว ตุ๊กต่ำตุ๊กตุ่นจุนสี
สมุลแว้งอุตลุดราวี อัตคัดชุกชี สกปรกสัปหงกงงงวย
ลักเพศทักทินสิ้นสวย พิศดูสำรวย อุตพิดพิศวงสัตวา
ลักปิดลักเปิดตุ๊กตา ลักจันจำลา โสกโดกสัปดนฤาดี
สักหลาดสักวาพาที สัปเหร่อเจอผี ดุจดังสัพยอกสัปทน
อลหม่านอลเวงอลวน รอมร่อเลิศล้น จุกผามจุกชีชันโรง
ชันสูตรสักเท้าเฝ้าโยง ทุนทรัพย์ส่อโกง กลเม็ดจุกโรหินี
พัลวันอึกทึกธานี จักเดียมจักจี้ ชันกาดชักเย่อชุลมุนฯ

คำที่ใช้ไม้ม้วน ๒๐ คำ (มีหลายบทท่องจำ)
บ้าใบ้ หลงใหลใหญ่ ให้สะใภ้ ใช้น้ำใส
มิใช่ อยู่ใกล้ใคร ในจิตใจ ใฝ่แต่ดี
ผู้ใด ใส่เสื้อใหม่ ใยบัวใต้ ใบดีปลี
จะใคร่ เรียนเขียนดี ยี่สิบม้วน ควรจดจำฯ

เสียง "ชะ" ที่ไม่ประวิสรรชนีย์ (เขียนไม่มีสระอะ)

ชนวน ชวนชนาง ชนะข้าง เคียงชบา
ชมดชม้อยตา มองชม้าย ชไมเหมือน
ชนิดชิดชนัก ชอุ่มหนัก ชอ่ำเตือน
ชอื้อ ชวาเยือน ชโลงใจ ให้ชโลมฯ

โดย อาจารย์พลเรือโทสุธน หิญชีระนันทน์ ส.ก.2486 และทรงวุฒิ อภิรักษ์ขิต ส.ก.2529 (OSK110-4=106, skfanclub)

ที่มาจาก http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=print&sid=375






CoMMuNiTY Of ThAiBoYsLoVE






ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
:กอด1:พี่ฟาง ขยันมาลงพอกัน 555+
วันนี้นิวก็หาคำมาให้อ่านเพื่อสะสมคำกัน
และทำความเข้าใจกับความหมายเวลาใช้จะได้ใช้ถูก
แต่อย่าไปซีเรียสมากครับมันเป็นเรื่องที่ดิ้นได้ (จริงหรือ?) เป็นบางคำ
ก่อนลงขอพล่ามอะไรที่มันดูเป็นการเป็นงานเสียหน่อย
วันก่อนไปอ่านและศึกษาถึงคำว่า รสชาติ ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง
เถียงกันจะเป็นจะตายยกอ้างพจนานุกรมหลายๆปีมาสู้กัน ทั้งที่เป็นคำง่ายๆ
คือ รสชาติ//รสชาด ,ลคร//ละคอน//ละคร , ...
ซึ่งล้วนแล้วแต่จะเห็นว่าในพจนานุกรมมีความต่างกันทั้งที่เป็นพจนานุกรม ฉบับฯ ทั้งสิ้น
แม้มันจะเป็นคนละฉบับกัน (แต่ในความเห็นส่วนตัวฉบับ พ.ศ.2542 มีบางคำที่ใช้เปลี่ยนไปด้วยเหตุผลที่ว่าตามสมัยนิยม ทำให้เวลาใช้คนที่ใช้แบบเดิมจะรู้สึกแปลกๆ นั้นหมายความว่าถ้าต้องการจะศึกษาภาษาไทยให้ชัดเจนนิวแนะนำว่าควรใช้ฉบับ พ.ศ.2525 หรือจะเอาโบราณไปเลยก็ได้คือฉบับ พ.ศ. 2493 ฮ่าๆ) หมายความว่าบางครั้งเราใช้ๆกันไปอาจจะรู้สึกว่ามันไม่น่าจะเป็นอย่างนี้นะคำนี้ผิดหรือเปล่าอะไรประมาณนั้น ก็ด้วยเหตุว่า ในฉบับปัจจุบันไม่ได้เน้นความถูกต้องของที่มา และลักษณะการใช้ หรือ การออกเสียงเช่นสมัยก่อน แต่เน้นเอาว่าข้าถูกเสมอ หรือ คิดเองว่าคนใช้ผิดกันมาจะทั้งประเทศก็จับมันผิดตามไปด้วยโดยไม่มีการแจ้งแถลงต่อที่ใดทั้งสิ้นว่ามันเป็นอย่างไร อย่างคำว่า มุก เป็นคำที่รู้สึกแปลกๆเช่นกัน เพราะตั้งแต่เด็กเคยชินกับการใช้ มุข แทนในหลายๆอย่าง ทั้งไข่มุข มุขตลก ประมุข ... เท่าที่รู้มาคือประมาณว่าฉบับปีไหนไม่แน่ใจนะครับ อยู่ๆก็เปลี่ยนให้มาใช้เป็น ไข่มุก มุกตลก ... แทนซึ่งไปถามมามีคนที่รู้ก็บอกว่า มีคนเคยพูดให้ว่ามันผิดกันเยอะ คนไทยมักง่าย เลยทำให้ภาษามันดิ้นไป จริงๆแล้วมันเริ่มมีพจนานุกรมฉบับหนึ่งที่สร้างความแตกตื่นมาก เพราะเขียนคำผิดแล้วนำออกมาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน คือ ฉบับพิเศษรู้สึกจะฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ทำให้หลังจากนั้นภาษาก็เริ่มมีการใช้ผิดตามกันมา... ทำให้ที่มาของคำที่นำมาลงในพจนานุกรมไม่ได้มาจากภูมิหลังของคำ หรือลักษณะของการออกเสียง แต่มาจาก คำที่เป็นที่นิยมของตลาด อย่างฉบับล่าสุดที่ออกมาเพิ่มศัพท์ใหม่ลงไปกว่าพันคำซึ่งล้วนแต่เป็นศัพท์ที่มัน ไม่ใช่ศัพท์ออกจะเป็นคำพูดติดปากของวัยรุ่น ชาวบ้าน คนทำงานเสียมากกว่า ฉะนั้นตั้งใจจะบอกว่าพจนานุกรมทำให้เราสับสนครับ ด้วยหลายๆอย่างอย่างที่บอกไปด้วยและรวมถึงบางคำที่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำ และไม่ได้มีการแจ้งผ่านทางใดถึงการแก้ไข
รสชาติ//รสชาด ,ลคร//ละคอน//ละคร เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมบางคนยังใช้ไม่เหมือนกัน
พล่ามมามากความแล้ววันนี้ขอแทรกคำที่น่าสนใจไว้คำเดียวพอแล้วกันเพื่อไม่ให้จุดประสงค์ของกระทู้เปลี่ยนไป จริงๆคำนี้เป็นคำที่ไม่ได้ใช้ผิดกันหรอกครับแต่ส่วนมากใช้กันจนเคยปากทั้งๆที่ไม่รู้ความหมาย ต้องบอกว่าเกิดสนใจคำนี้ขึ้นมาเพราะ เมื่อวานอ่านโน้ตเล็คเชอร์ของรุ่นพี่แล้วเจอข้อความที่มันทำให้ชวนฉงนน่ะ

(นิยม)นิยาย
อีกหนึ่งความหมายของคำว่านิยาย
ทุกคนน่าจะเคยอ่านหนังสือ นิยาย หรืออื่นใดแล้วเจอข้อความประมาณว่า
"อย่าไปเอานิยายอะไรกับเขาเลย"
"เธอเป็นของเธอแบบนั้นเอง เอานิยายอะไรกับเธอไม่ได้"
คำว่านิยายที่ปรากฏให้เห็นนั้นคนละความหมายกับที่เราๆใช้กันโดยทั่วไป
มันมีรูปเต็มจากคำว่า “นิยมนิยาย”
นิยมนิยาย  (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยายไม่ได้ แปลว่า หาความแน่
                         นอนจริงจังอะไรไม่ได้(จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542)
แต่ถ้าเอาเข้าจริงแล้ว คำว่านิยายที่ว่าน่าจะ มีที่มาจากคำว่า
เอาเรื่องเอาราว “เรื่อง” หมายถึง นิยาย
ทำให้เกิดเป็น นิยมนิยาย เป็นคำสร้อยหลังใช้นิยายแล้ว

นิว(LOVEis)
  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2009 04:30:54 โดย [N]€ẃÿ{k}uñĢ »

imageriz

  • บุคคลทั่วไป
ใจคนว่าอ่านยากแล้ว แต่ภาษาไทยยากกว่าอีก  :z3:
 :really2: เมา ๆ มึน ๆ งง ๆ  :bye2:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16-09-2009 18:42:11 โดย imageriz »

wisper

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณจริงๆ

สำหรับกระทู้ดีๆแบบนี้

อยากให้การเขียนอย่างถูกต้อง

กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของเลาเป็ดนะ

เพราะวอนก็ใช้ภาษาอย่างถูกต้องที่สุดในนิยายทุกเรื่อง

และมันก็ทำให้วอนได้ดี  จนเป็นนักเขียนกับเขาได้แบบตอนนี้

แต่ก็ได้ทุกคนแนะนำ ให้ข้อมูลป้อนกลับด้วยแหละ

/ วอน

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
 :z13:
จิ้มพี่วอน อิๆ
คำที่มักสะกดผิด กร้าม, กล้าม   
คำที่ถูกต้อง คือ ก้าม สำหรับแทนความหมายอวัยวะที่ใช้ในการหนีบของกุ้ง

กุ้ง Bright  Orange และ กุ้ง Snow
ถ้าหาก ต้องการใช้แทนคำในภาษาไทย ควรสะกดว่า ไบร์ท และ สโนว์ ตามลำดับ
ซึ่งจะใกล้เคียงคำภาษาอังกฤษมากที่สุด ส่วนใหญ่ที่พบสะกดผิด จะเป็นคำว่า ไบ ,ไบร ,ไบร์,
ไบรท์ ซึ่งตามรูปไวยากรณ์แล้วอ่าน ออกเสียงเป็นคำว่า bi ( ไบ ) ที่แปลว่า สอง เช่น bi-sexual

คาบ, คลาบ
เป็นอีกคำหนึ่งที่พบบ่อย คือ ลอกคราบ
คำที่มักสะกดไม่ถูกต้องจะเป็น คาบ( คาบเรียน , ปากคาบสิ่งของ ฯลฯ )
คลาบ( ไม่มีความหมายที่ถูกต้อง )

คอก ที่ถูกต้อง คือ ครอก
คอก     - น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง
                เช่นนั้น เช่น คอกพยาน;(ถิ่น-พายัพ) คุก,
เรือนจํา    ว. ลักษณะ ของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
ครอก    - น. ลูกสัตว์หลายตัวที่เกิดพร้อมกันคราวเดียว เช่น ลูกครอกปลาช่อน,
                ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราวหนึ่ง ๆ เช่น
                ปีนี้แมวออกลูก ๒ ครอก; (โบ) ลูกของทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย เรียกว่า ลูกครอก.

รานเร่ สะกดให้ถูกว่า ลานเร่
ลาน      - น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว
เร่           ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่
                 (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ,เตร่,
                 เดินไปเดินมาอย่างไม่มีจุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง,
                 อาการที่หันเห และเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น
                 เดินกลับบ้านเห็นคนด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่,
                 เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่,
                 เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่,
                 เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า
                 พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
ส่วนคำว่า ราน
ราน         ก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคําว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้นๆทั่วไปบนพื้นผิว
                 ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงา ก็ว่า.

ที่มา: http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=45403.0;wap2
นิว(LOVEis)

ltahset

  • บุคคลทั่วไป
ขอบคุณมากนะคะ
รู้สึกว่าบางคำพายยังใช้ผิดอยู่เลย :m17:

^^
ขอบคุณมากค่ะ

(แอบ +1 ให้)

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
วันนี้มีประมวลเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ คำวิสรรชนีย์  และ อีกนิดหน่อย มาให้อ่านกัน

ขึ้นด้วย ช
ชนวนชวนชนาง      ชนะข้างเคียงชบา
ชมดชม้อยตา         มองชม้ายชไมเหมือน
ชนิดชิดชนัก          ชอุ่มหนักชอ่ำเตือน
ชอื้อชวาเยือน        ชโลงใจให้ชโลม      (กลอนที่ขึ้นด้วย ช จะซ้ำกับที่พี่ฟางเคยนำมาลงไปแล้ว)

ขึ้นด้วย ท
ทโมนทมอทแยง     ทเมินแย้งทยอยทนาย
ทบวงห่วงทลาย      พวกทวายร้องทวอย

ขึ้นด้วย ส
สบงแลสไบ           สราญใจสบายสดับ
สบู่สกัดจับ            สกาวหลับสกาสดำ

ขึ้นด้วย พ

พม่าพนายทัก         อิงพนักกับพยาน
พเยียพยุงหลาน      ทำพยักพเยิดยอม
พยับกับพบู           พนมคู่กับพนอม
พนันพญาตอม        พนังคร่อมข้างพาชี

 ศ                               ส                                 ษ
พิศดู                          พิสดาร                           พิษร้าย
พิศวง                         พิสมัย                            พิษงู
พิศวาส                       พิสมร                             พิษฐาน
พัศดี                          พัสดุ                              พิษณุ
                               พัสถาน
                               ภัสดา
นิว(งามอย่างผู้ดี)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20-09-2009 04:32:24 โดย [N]€ẃÿ{k}uñĢ »

ออฟไลน์ [N]€ẃÿ{k}uñĢ

  • ~ῲเจ้าแม่Dramaῴ~
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดArtemis
  • *
  • กระทู้: 5186
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +740/-5
มาอีกรอบวันนี้อ่านๆไปเจอป้ายรณรงค์การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนของบล็อก
เลยอยากนำมาลงแปะไว้ในเล้าเพื่อรณรงค์ให้ใช้คำถูกในการเขียนนิยาย เรื่องเล่า
หรือ ใครจะนำไปใช้ก็ได้นะครับเอาไปแปะเวลาที่มีคำที่ผิดเกิดขึ้น


ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=113795


ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
เข้ามาจัด+ให้น้องนิวไปในฐานะคนขยันช่างสรรหาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาฝากชาวเราและชาวเล้า  o13
กลับไปอ่านนิยายของตัวเองผิดตรึม..ยังไม่มีเวลาไปแก้เลย :z3:

อยากให้คนมาอ่านทู้นี้เยอะๆจังเนอะ :call:

imageriz

  • บุคคลทั่วไป
อยากให้หลาย ๆ คนเข้ามาอ่านให้รู้จักคุณค่าของภาษาไทย
ว่าภาษาไทยมีคุณค่าในเองอย่างไร ช่วยกันรักและรักษ์ภาษาไทยกันนะคะ  :L2:
เอาบทกลอนมาฝากค่ะ

                         โปรดคำนึง ถึงคุณค่า ภาษาไทย
คือวิญญาณ งดงาม ความเป็นชาติ       คือเอกราช เสรีสิทธิ์ ความคิดฝัน
คือสายใย ร้อยรวมใจ ไว้ด้วยกัน         ความสำคัญ และคุณค่า ภาษาไทย
หากภาษา โทรมทรุด ถึงจุดอับ          ย่อยยับกับ มือเรา น่าเศร้าไหม
ศิลปะ ศิลปิน คงสิ้นไป                    อยู่อย่างไร้ ศักดิ์ศรี ในชีวิต
เราเข่นฆ่า ภาษา มานานนัก              แม้ไม่รัก ก็อย่าชัง โปรดชั่งจิต
เพียงพลาดหน่อย บ่อยครั้ง ไม่ยั้งคิด    คือยาพิษ ปลิดวิญญาณ ความเป็นไทย

  ...อ.ญาดา อรุณเวช 



ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/thaitip/thaivalue.htm :pig4:



ออฟไลน์ M@nfaNG

  • ชีวิตคือการตรวจสอบ...
  • เป็ดแสนดี
  • เป็ดAphrodite
  • *
  • กระทู้: 4453
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +847/-18
เข้ามาดันกระทู้อยากให้คนมาอ่าน จริงๆ :L2:

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด