จิ้มพี่ฟางแล้ว กด +1 ให้อิๆ
ชอบวิธีการจัดปัจจัยต่างๆทำใำห้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ยังอยากเข้ามาย้ำอีกว่า คำที่เขียนผิดบ่อยที่สุดในเล้า คือ
"โิอกาส" ผิดกันตลอด
เมื่อวานอ่านไปหลายเรื่องเจอมันเกือบทุกเรื่อง เขียนกันเป็น
โอกาศ สำหรับวันนี้นิวเอาคำมาเพิ่มเติมให้อีก ส่วนใหญ่จะคัดแต่คำที่ไม่มีในนี้มาเพื่อไม่ให้ซ้ำ
"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" คำไทยที่... เหมือนจะถูก (แต่ผิด) เพิ่งได้มาวันก่อน หนังสือที่มองหามานาน
นั่นคือ "อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราคา 20 บาทเท่านั้น ทำไมถูกอย่างนี้ล่ะครับ
มูลค่ารวมกันสองเล่มถึงจะขึ้น (ไปรถติดบน) ทางด่วนได้คราวหนึ่ง
อยากจะฝากเงินเกินไว้ให้อีกซัก 20 บาท ด้วยความ appreciate จัด
มีหลายคำดูแล้วรู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมคำที่ผิดมันดูเหมือนถูก และคำที่ถูก มันดูเหมือนผิด
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระสันต์"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กระสัน
(ดูตัวอย่างคำแรกซะก่อน -_-')
อันนี้ลองยืนยันได้ครับเนื่องจากพอพิมพ์คำว่า กระสันต์ ลงไป หาไม่เจอครับ
แต่เมื่อพิมพ์ใหม่โดยสะกดให้ถูก (ทั้งที่หน้าตาไม่คุ้นเลย) ว่า กระสัน
ก็ได้คำแปลออกมาดังต่อไปนี้
lust, See also: feel a sexual desire; crave; hunger for
Example: ความรู้สึกกระสันเกิดขึ้นทันทีเมื่อเขานึกถึงสาวคนรัก,
Thai definition: กระวนกระวายในกาม
ดังนั้น คราวหน้าที่จะเขียนเล่าว่าคุณเกิด "กระวนกระวายในกาม" ขึ้นมานะ
สะกดให้ถูกๆ นะครับพี่น้องเหอะๆ
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระทันหัน"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กะทันหัน (นิวก็ใช้ กระ- มาตลอดเลยล่ะ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กาละเทศะ"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กาลเทศะ
(นี่ก็สับสนบ่อยมาก เพราะผมคิด (ไปเองมั่วๆ) ว่า
เมื่อ เทศะ มันก็ต้อง กาละ ให้มัน balance กันสิ -_-')
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กิจลักษณะ"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กิจจะลักษณะ
(เอาเข้าไป อันนี้ดันกลับกันกับอันข้างบน
กล่าวคือ ที่ถูกต้อง จะต้อง "-ะ หน้า -ะ หลัง" ครับ)
(ระวัง !อย่าสับสนระหว่าง กาลเทศะ กับ กิจจะลักษณะ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คึ่นช่าย"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ขึ้นฉ่าย อันนี้คนโดยมากเขียนผิดเพราะไปเขียนตามเสียงพูด
เคยคิด (เอาเองอีกแล้ว) ว่า มันไม่น่าจะสะกดว่า "ขึ้น"เพราะมันดูเป็นคำไทยเกินไป
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คฤหาสถ์"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า คฤหาสน์ (อันนี้ผิดเพราะมีตัวอย่างผิดๆ ให้เห็นเยอะเกินไปครับ
ใครๆ ก็เขียนผิดเป็น คฤหาสถ์ ทั้งนั้น เราเลยจำกันผิดๆ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ดุลย์การค้า"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ดุลการค้า (คำนี้ตามสื่อทั้งหลายก็ผิดให้เห็นเป็นระยะนะครับ)
*** เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตกร่องปล่องชิ้น"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตกล่องปล่องชิ้น
(อันนี้ได้ยินคนอ่าน ตก "ร่อง" ปล่อง ชิ้น มาโดยตลอดเพราะคงคิดว่าเหมือน
'แผ่นเสียงตกร่อง' นั่นเองก็เลยเอามาเขียนผิดๆ ตามไปด้วย)
จะบอกว่าคำนี้เห็นเขียนผิดในเล้าเป็ดของเราบ่อยมากอิๆ
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตะกละตะกราม"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตะกละตะกลาม
(ตะกรุมตะกราม แต่ ตะกละตะกลาม ครับจะ ร.เรือ ก็ต้อง ร.เรือ กันไปทั้งหน้าหลัง
จะ ล.ลิง ก็ต้อง ล.ลิง กันไปทั้งหน้าหลังเหมือนกัน ไม่ต้องมา mix and match)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ทรมานทรกรรม"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ทรมาทรกรรม(มันคือ ทอ-ระ-มา-... ครับ ไม่ใช่ ทอ-ระ-มาน-...)
คำนี้ยอมรับเลยว่าไม่เคยอ่านและเขียนถูกมาตลอดชีวิต ฮ่าๆ
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ไนท์คลับ"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ไนต์คลับ(อันนี้แม้ไม่คุ้นอย่างแรง ก็ต้องเชื่อตามราชบัณฑิตฯ ล่ะครับต้องโทษพวกป้ายทั้งหลายที่ชอบสะกดผิดๆทำให้เราเห็นแล้วจำผิดๆ มาด้วย )
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แบหรา / แผ่หรา"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แบหลา / แผ่หลา (อ้าว เหรอ -_- อันนี้ผมก็ผิดประจำ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พาลจะเป็นลม"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พานจะเป็นลม (อ้าว ผิดอีกแล้วเหรอ เป็นลมดีกว่า)
หมายเหตุ : พาน แปลว่า เกือบ ครับ
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พิธีรีตรอง"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พิธีรีตอง
(ผมว่าผมสะกดผิดเพราะดันไปจำสลับกับ ซีตรอง แหงๆ เลย)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เพชรฆาต"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เพชฌฆาต
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "มะล่อกมะแล่ก"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ม่อลอกม่อแลก
(เอ่อ คือ ... -_-' ลองอ่านเวอร์ชันที่ถูกออกมาดังๆ แล้วหลอนมากเลยครับ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ร้างลา / เลิกลา"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ร้างรา / เลิกรา (อันนี้เคยได้ยินแบบที่ผิดบ่อยๆ ในเพลงฮิตๆ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือนลาง"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือนราง (ผิดเพราะออกเสียงกันไม่ชัดเองครับ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ฤกษ์ผานาที"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ฤกษ์พานาที (อันนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่เขียนผิด
เพราะอ่านผิดครับผมเองยังได้ยินคนอ่าน เริก-ผา อยู่เยอะมาก เลยจำกันผิดๆ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ลาสิกขาบท"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลาสิกขา (แล้ว -บท มาจากไหน? )
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ริดรอน"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลิดรอน(คำนี้ผมก็ผิดมาตลอดชีวิตครับ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือดกลบปาก"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือดกบปาก
กบ ๖ ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ เลือดกบปาก
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "วาทยากร"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า วาทยกร (เนื่องจากลากเสียงยาวเกินไป เป็น วาทยา~กร
ก็เลยนึกว่าสะกดแบบนี้ไงครับที่จริง -ทะ-ยะ- ออกเพียงครึ่งเสียงเท่านั้น)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สับปรับ"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สับปลับ (เป็นเพราะผมเอาไปปนกับคำว่า "จับ-ปรับ" แน่เลย)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สัมนา"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สัมมนา (อย่าไปจำว่า seminar มี m ตัวเดียว สัมนา ก็ต้องมี ม.ม้า ตัวเดียว อย่างนี้ล่ะครับ )
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สูญญากาศ"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สุญญากาศ
(สระ อุ เสียงสั้นนะครับ ไม่ใช่สระอูเสียงยาว
คนจะเอาไปปนกับ สูญ ในคำว่า สูญสิ้น กระมังผมว่า เลยจำกันผิดๆ)
เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แสบสันต์"ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แสบสัน
(เพราะถ้า สันต์ มันต้อง สุขสันต์ แล้ว กระมัง)
ความจริงยังมีอีกเยอะเลยล่ะครับแต่เลือกมาเฉพาะที่ เข้าพวกตามชื่อ Entry นั่นล่ะ คือ
"ไอ้ที่ผิด นะดันหน้าตาเหมือนถูก" นั่นเอง
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับอ้างอิงที่ดีเยี่ยมเปี่ยมคุณภาพและสุดคุ้มสตางค์นะครับ
"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถานนั่นเอง
โฆษณาให้ฟรีๆ เลย เล่มละ 20 เท่านั้นครับเขาว่าหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปนะ
ไปด้อมๆ มองๆ หาเองอาจหายากหน่อยลองถามพนักงานดูจะดีกว่าครับ
ที่มา
http://bickboon.exteen.com/20060506/entryนิวก็มีซื้อไว้เหมือนกัน มีคำอื่นๆทีน่าสนใจอีกหลายคำ เช่น
ตะราง ที่แปลว่า น. ที่คุมขังนักโทษ. ใช้กันจนติดว่า ตารางซึ่งผิด
ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน,
ตาตาราง ก็ว่า;ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน
หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยม
จัตุรัส.
แล้วจะหามาให้อ่านอีกน๊า
นิว(LOVEis)