ป๋าแวะมาอีกรอบ เพื่อมาต่อให้จบ
ไม่ใช่เพราะคนเขียนไม่หืออือ เลยใส่เอาๆ หรอกนะครับ แล้วก็ไม่ใช่พวกอยากดังด้วย อยู่เงียบๆๆมานานตั้งแต่บอร์ดเปิดใหม่ๆๆจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่คิดอยากจะเรียกร้องความสนใจ (ไม่ได้กระทบใครนะจ๊ะ ไม่ต้องร้อนตัว)
หลายคนอาจจะพากันคิดว่า ซวยเนอะ เป็นนักเขียน เขียนให้อ่านฟรียังถูกวิจารณ์ซะและ..... (ไม่และหรอก ในกรณีผมน่ะ) อยากจะบอกว่าคนวิจารณ์นี่แหละซวยกว่า โดยเฉพาะนักวิจารณ์ที่เป็นนักเขียนด้วย จะโดนเป็นสองเท่า เพราะคนอ่านและคนที่ถูกวิจารณ์ก็จะจับตามองงานเขียนของคนๆนั้น ถ้าเขียนดีก็ดีไป ถ้าเขียนไม่ดี ก็ถูกบาทาเหยียบติดติน แถมด้วยถ้อยคำที่ว่า "เขียนก็ห่วยแล้วยังมาสะเออะวิจารณ์เค้าอีก"
คนว่าก็มันปากไป ทั้งๆที่ไม่ทราบเลยว่า การวิจารณ์กับการเขียน มันใช้ทักษะคนละแบบกัน เหมือนแคลคูลัส กับ ตรีโกณมิตินั่นแหละ ....เป็นคณิตศาสตร์เหมือนกัน แต่ใช้หลักการแตกต่างกัน ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น คนวิจารณ์ได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเขียนดี ส่วนคนเขียนดีบางครั้งก็วิจารณ์ไม่เป็น
การเป็นคนวิจารณ์นี่ลำบากพอควร เพราะต้องมีทักษะที่จำเป็น (ไม่ได้อวดว่าป๋าเองมีหรอก....ไม่ต้องมาหมั่นไส้...ป๋าพูดตามเนื้อผ้า) คือ ภาษา และตรรกศาสตร์ ....ซึ่งเหมือนกับคนเขียนนั่นแหละ เพียงแต่ใช้งานต่างกัน
การวิจารณ์มีสองแบบ คือวิจารณ์การเขียน และการวิจารณ์วรรณกรรม .... ที่ผมถนัดคือวิจารณ์การเขียน ....ส่วนการวิจารณ์วรรณกรรมนั้นไม่ชอบทำ เพราะรู้ๆๆอยู่มันเป็นวรรณกรรม ไอ้ที่จะมาวิจารณ์ ทำไมตัวละครคิดอย่างนั้น ทำอย่างนี้ ทำไมพลอตเป็นแบบนั้น ความสมเหตุสมผลของการกระทำของตัวละครคืออะไร.... ทำไม่เป็นง่ะ เพราะของแบบนี้มันขึ้นอยู่กับคนเขียน จะไปคิดแทนคนเขียนได้อย่างไร (ยกเว้นไอ้พวกความคิด non-sense จริงๆๆ ก็ขอหน่อยเถอะ) ...
เหมือนคุณหญิงวิมล (ทมยันตี) เค้าชอบตอกกลับพวกมาวิจารณ์งานเขียนของเค้าว่า เขียนเองก็ไม่ได้ แล้วยังมาวิจารณ์อีก ..... อ่านๆๆดูแล้วเหมือนคุณหญิงเค้าไม่มีเหตุผล แต่ลองไปอ่านพวกที่วิจารณ์งานเขียนเค้าแต่ละคนดิ เล่นเอาพลอตไปวิจารณ์ เอาตัวละครไปว่าเสียๆๆหายๆๆ น้อยคนที่จะกล้ามาวิจารณ์ว่าภาษาคุณหญิงเค้าไม่ดี.... พูดง่ายๆๆคือ พอไม่มีจุดอ่อนที่โจมตีได้ ก็ไปดึงเรื่องอื่นมาโจมตี
แต่สำหรับผม ผมไม่เคยดึงเรื่องอื่นมาพูด เห็นอย่างไรในบันทัดที่พิมพ์มา ก็วิจารณ์ไปแบบตรงไปตรงมา เพราะผมวิจารณ์ "การเขียน" ถ้ามีจุดอ่อนจริงๆๆ ก็เป็นจุดอ่อนที่ make sense และสมควรแก่การแก้ไขในความคิดของผม (ย้ำความคิดของผม) ซึ่งนักเขียนเองก็มีสิทธิ์ในการ defend ได้ .... ผมเองยังทำบ่อยไป อะไรที่แก้ก็สมควรแก้ อะไรที่คงไว้ ก็คงไว้... แล้วแต่วิจารณญาณส่วนบุคคล
ส่วนที่ยากที่สุดของการวิจารณ์ นอกจากจะต้องละเอียดและมีนิสัยรักการอ่านแล้ว ก็คือ การเขียนออกมาอย่างไรไม่ให้คนเขียนจิตตก จนเลิกเขียน .... ซึ่งผมยอมรับว่ายังทำได้ไม่ดีนัก ขนาดว่าใช้ภาษาเพราะๆๆแล้วนา.... กลุ้ม
เห็นหนูเรน จิตไม่ตก .... ก็แวะมาต่อให้จบๆๆ กัน เพราะป๋าจะไม่ว่างแล้ว .... งานป๋าเยอะเหลือเกิน .... อีกอย่างธูปกำลังจะหมดดอกด้วย ต้องกลับไปตำหนัก สางงานต่อ..... (หนูพูห์ยิ่งมาทวงนิยายอยู่ ขึ้นบทนำไว้หกเดือนละ ยังไม่มีเวลาต่อซักที )
ผมบอกไว้ตั้งแต่เมือวานซืนแล้ว ว่ามีสองประเด็นที่จะพูด เรื่องแรกคือ ความสมจริงของนิยาย กับเรื่องที่สอง ลักษณะภาษาที่ใช้ .... ขอเริ่มต้นเลยดีกว่า
(2) ลักษณะภาษาที่ใช้
ก่อนอื่นต้องชมหนูเรนว่า จุดแข็งของงานเขียนของหนูเรนคือ การไม่ใช้คำซ้ำซ้อน (มันมีศัพท์สำหรับคำนี้น่ะ คิดไม่ออกง่า) ซึ่งนักเขียนส่วนน้อยจะทำได้ดีเช่นนี้
แต่จุดที่ต้องปรับปรุงคือ ระดับภาษาและการใช้คำทั้งในส่วนบรรยายโวหาร และ สนทนาโวหาร .... ป๋าขอยกตัวอย่างดังนี้
เสียงระเบิดดังกึงก้องตรงแนวชายเขาสีเขียว เปลวไฟพวยพุ่งเสียงร้องโอดโอย ปนกับเสียงปืนที่ดังเป็นตับก่อนจะหยุดลงในเวลาไม่นาน ลองเปลี่ยนระดับภาษาให้มันกลมกลืน เป็น
เสียงระเบิดดังสนั่นตรงบริเวณแนวชายเขา พร้อมกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า ถัดมาคือเสียงร้องโอดโอย ปนกับเสียงปืนที่รัวขึ้นเป็นชุดก่อนจะหยุดลงในเวลาไม่นาน ... จะสังเกตว่าผมปรับระดับของศัพท์ลงมาให้ทุกๆๆทำอยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแตกแยก .... ผมมองว่าพรรณาโวหารของหนูเรนมันเสียงดนตรี ซึ่งมีการใช้ระดับสูงต่ำ ซึ่งคนข้างจะ odd กับงานเขียนลักษณะ "รบ" แบบนี้
ส่วนที่ผมตัดคำว่า "เปลวไฟ" ออกไปนั้น เพราะคิดว่าระเบิดที่ใช้ในสนามรบไม่น่าจะทำให้เกิดไฟครับ แต่อานุภาพของระเบิดนั้นคือแรงอัด และชิ้นส่วนโลหะที่อัดไว้ในระเบิดนั้นมากกว่าครับ ... อีกอย่าง ถ้าบริเวณรบเป็น "เขาเขียว" จริงๆๆ คงยากที่จะทำให้ติดไฟนะครับ (ลองศึกษาจากลิงค์นี้นะครับ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%94)
"ทางศัตรูถอยไปแล้วครับ พวกมันหนีไปทางทิศเหนือแตกรังไม่เป็นท่าเลยครับ" ลองเปลี่ยนเป็น
"พวกมันถอยหนีแตกรังกันไม่เป็นท่าเลยครับ" จะดูกลมกลืนกับสถานการณ์และบุคลิกของนายทหารห่ามๆๆได้มากกว่า "ศัตรู" ว่ามั้ยครับ
"แล้วคนเจ็บและคนตายล่ะเป็นอย่างไร สิบตรีอิสระ?" ลองเปลี่ยนเป็น
"แล้วพวกเราล่ะ เป็นงัยกันบ้าง" จะกลมกลืนกว่ามั้ยครับ
อีกหนึ่งตัวอย่างที่ผมว่า เหมือนเสียงดนตรี คือประโยคนี้ครับ
ดวงตาแกร่งเหลียวมองลูกน้องที่หลบอยู่ในบังเกอร์ ดวงตามุ่งมั่น ฉายชัดบนสีหน้ากระเหี้ยนกระหือรือเต็มไปด้วยความอยากจะประหัตประหารข้าศึกให้เป็นจุณ มีคำศัพท์หลายคำที่ค่อนข้างจะมีระดับสูงกว่าปกติ เช่น กระเหี้ยนกระหือรือ ประหัตประหาร เป็นจุณ ..... ถ้าเป็นผม (ที่ผ่านการฝึกทหารมาก่อน) จะเขียนแบบนี้ครับ
ดวงตาแกร่งเหลียวมองลูกน้องที่หลบอยู่ในบังเกอร์ สันชาติญาณความเป็นผู้ปกป้องแผ่นดินฉายชัดออกมาในแววตามุ่งมั่น ด้วยพร้อมที่จะกดดันให้ผู้บุกรุกถอยร่นกลับคืนฐานที่มั่นอยากจะบอกให้หนูเรนเข้าใจลักษณะการรบในปัจจุบันว่า (ชายแดนพม่าตามท้องเรื่อง) มันเป็นการรบในลักษณะแย่งชิงพื้นที่ และกดดันการลุกล้ำอำนาจอธิปไตยเสียมากกว่า โดยที่การโต้ตอบนั้นจะกระทำภายใต้กฏระเบียบที่แน่ชัด .... แต่ถ้าเป็นการรบที่ภาคใต้ละก๊อ..... ตาต่อตาฟันต่อฟันครับ ไม่ต้องนึกกฏระเบียบให้ตายตัว เพราะมันคือปัญหาความมั่นคง มิใช่การลุกล้ำอำนาจอธิปไตย ..... แต่ถ้าหนูเรนจินตนาการการรบสมัยเมื่อห้าสิบปีที่แล้วล่ะก๊อ.... กระป๋มต้องขออภัยด้วย เพราะมันใช้วิธีการอย่างที่หนูว่ามาจริงๆๆ
ต่อไปลองสังเกตคำเหล่านี้นะครับ
ทหารชาญชัย = ทหาร
หัวหน้าใหญ่ = หัวหน้า
ปล้นสะดม กับ ยึดทรัพย์สิน นี่น่าจะเหมือนกันนะครับ น่าจะเลือกใช้คำใดคำหนึ่ง
อาวุธยุทโธปกรณ์ นั้นเป็นศัพท์ที่ถูกต้อง และสมควรปรับคำว่า "
หยูกยา" ให้สัมพันธ์กัน .... ซึ่งหยูกยาก็คือ เวชภัณฑ์
เฝ้าเวรยามอย่างเข้มแข็ง = เฝ้าเวรยามอย่างหนาแน่น
ยึดอำนาจ น่าจะเปลี่ยนเป็น ยึดพื้นที่ นะครับ
ลองเปลี่ยนบางคำของ
ค่ายใหญ่ เป็น กองบัญชาการ หรือ กองกำกับการ น่าจะทำให้การเขียนดูมีน้ำหนักมากกว่านะครับ
พ่อหนุ่ม = ไอ้หนุ่ม (เพราะมันน่าจะเข้ากับระดับความสนิทสนมและความเป็นนายทหารมากกว่า พ่อหนุ่ม ซึ่งผมว่ามันดูพลเรือนมากไปหน่อยครับ)
ดังจ๋อมแจ๋ม = ลองปรับให้มันไม่จ๋อมแจ๋มได้มั้ยครับ
ผมคงยกตัวอย่างได้เท่านี้ครับ เพราะคิดว่าหนูเรนคงพอจะเข้าใจในสิ่งที่ผมเสนอแนะแล้ว คราวนี้ก็ขึ้นอยู่กับหนูเรนแหละครับว่าจะจัดการกับข้อแนะนำของผมอย่างไร
ก่อนจะจากกัน ผมอยากจะแนะนำให้หนูเรนอ่านงานเขียนของ พลตำรวจเอก วสิษฐ์ เดชกุญชร ดูนะครับ ...รับรองว่าจะได้ในสิ่งที่ผมเขียนไปทั้งหมดข้างต้นครับ...
สวัสดีครับ
Andreas
ปล. อยากบอกให้ทราบว่าบทแรกของนิยายนั้นสำคัญที่สุด ภาษาต้องมีการพิถีพิถัน และใส่ใจกับรายละเอียด เนื่องจากมันจะกำหนดภาษาของบทต่อๆๆมาจนกระทั่งจบเรื่อง ถ้าบทแรกภาษาไม่เข้าจังหวะ บทต่อๆๆไปก็จะแย่.... ยิ่งกว่านั้น บทแรกก็เหมือนกับการโฆษณาขายสินค้านั่นแหละครับ ถ้าดี คนก็อ่านต่อครับ