ไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกภัยร้ายใกล้ตัว ป้องกันก่อนจะสาย
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด

สนใจโฆษณาติดต่อ laopedcenter[at]hotmail.com คลิ๊กรายละเอียดที่ตำแหน่งว่างเลยครับ

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด

ผู้เขียน หัวข้อ: ไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกภัยร้ายใกล้ตัว ป้องกันก่อนจะสาย  (อ่าน 2319 ครั้ง)

ออฟไลน์ motherhood

  • เป็ดประถม
  • *
  • กระทู้: 1
  • ให้คะแนนชื่นชมคนนี้: +0/-0
ไข้เลือดออก อาการไข้เลือดออกภัยร้ายใกล้ตัว ป้องกันก่อนจะสาย
[/size]


“ไข้เลือดออก” เป็นโรคที่เกิดการระบาดในไทยเกือบตลอดทั้งปี แต่จะกระจายตัวมากในช่วงหน้าฝนซึ่งเป็นช่วงที่ยุงเริ่มวางไข่ หากลูกรักเกิดป่วยเป็นไข้เลือดออกขึ้นมา คุณพ่อคุณแม่คงวิตกกังวลอยู่ไม่น้อย เพราะเคยได้ยินมาว่าไข้เลือดออกทำให้เสียชีวิตได้ ฟังดูน่าเครียดน่ากลัว แต่การได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกที่มีอาการ ก็จะสามารถบรรเทาให้พ้นระยะอันตรายได้
ทำความรู้จักโรคไข้เลือดออก
ไข้เลือดออก (Dengue Hemorrahgic Fever หรือ Dengue Shock Syndrome) เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี่ (Dengue virus) ซึ่งมีอยู่ 4 สายพันธุ์ ได้แก่ เดงกี่-1, เดงกี่-2, เดงกี่-3 และ เดงกี่-4 สามารถแพร่พันธุ์ได้โดยมียุงลายเป็นพาหะ ซี่งในภาวะโลกร้อนเช่นนี้ยุงแต่ละชนิดยิ่งสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วขึ้น

ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ
เราสามารถแบ่งระยะของโรคไข้เลือดออกได้ตามอาการของโรค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
- ระยะไข้สูง เมื่อเริ่มเป็นจะมีไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส อยู่ 2-7 วัน หน้าจะแดง มีอาการซึม ปวดเมื่อยเนื้อตัว คลื่นไส้ และเบื่ออาหาร บางคนอาจมีจุดเลือดสีแดงๆขึ้นตามลำตัว แขน และขา
- ระยะวิกฤต จะเกิดขึ้นประมาณวันที่ 3-6 เนื่องจากป่วยมาแล้วหลายวัน จะมีอาการอ่อนเพลียมากขึ้น มีอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวมากกว่าเดิม บางรายอาจจะปวดท้อง ท้องอืด ยังคงเบื่ออาหาร บางรายมือและเท้าอาจเริ่มเย็นลง ร่วมกับไข้ที่ลดลง คุณพ่อคุณแม่อาจจะเข้าใจผิดคิดว่าลูกหายไข้แล้ว ทั้งที่จริงกำลังเข้าสู่ระยะช็อกที่รุนแรง และอาจเกิดตามมาในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง
- ระยะฟื้นตัว เป็นระยะหลังไข้ลดโดยไม่มีอาการช็อก เกล็ดเลือดจะเริ่มสูงขึ้น ชีพจรและความดันโลหิตกลับเข้าสู่ระดับปกติ อาการปวดท้อง ท้องอืดจะดีขึ้น และความอยากอาหารเริ่มกลับมา

หากลูกมีอาการเหล่านี้ … รีบพาไปพบแพทย์
- มีอาการแย่แม้ไข้จะลดลง หรือไข้ลดลงแต่ยังมีอาการเพลีย
- เลือดออกผิดปกติ
- อาเจียนมาก
- ปวดท้องมาก
- ซึม ไม่ดื่มน้ำ
- เด็กเล็กจะร้องกวนมาก กระสับกระส่าย โวยวาย อยู่ไม่นิ่ง
- มีอาการเพ้อ ตัวเย็น เหงื่อออก ตัวลาย

ช่วยกันป้องกันไข้เลือดออก
โดยทั่วไปเราเริ่มต้นด้วยการป้องกันไม่ให้ยุงมากัดลูก หาผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงมาใช้กับทุกคนในครอบครัวในเวลาที่ต้องออกไปยังบริเวณสุ่มเสี่ยงหรือมียุงชุม สำหรับลูกน้อยที่ยังไม่แน่ใจว่าจะสามารถใช้ผลิตภัณฑ์กันยุงประเภททาได้หรือไม่ ก็สามารถใช้สติกเกอร์กันยุงได้เช่นกัน แต่ที่สำคัญไม่แพ้กัน เราต้องกำจัดการเพาะพันธุ์ยุงลายจากต้นตอเพื่อป้องกันไม่ให้บ้านหรือชุมชนมียุง การกำจัดยุงลายมีวิธีง่ายๆ ดังนี้
- กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
- ทำลายภาชนะที่มีน้ำขังหรือไม่ใช้แล้วหรือใส่ทรายอะเบท
- ส่วนที่ยังใช้อยู่ก็ต้องปิดฝาให้ดี อย่าให้ยุงลงไปวางไข่
- ใส่น้ำส้มสายชู น้ำเกลือ ผงซักฟอก ลงในชามที่เอาไว้รองขาตู้กับข้าว เพื่อกันไม่ให้ยุงมาวางไข่

วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกมีมั้ย?
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออกนั้นสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีอายุ 9 ปีขึ้นไป ถึงไม่เกิน 45 ปี และสามารถป้องได้กับไวรัสเดงกี่สายพันธุ์ 1-4 เท่านั้น โดยฉีดทั้งหมด 3 เข็ม แต่ยังไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อยเปอร์เซนต์ ทำได้แค่ลดความรุนแรงของโรคลงบ้าง
ในช่วงฤดูฝนที่ยุงลายกำลังระบาดแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจหากพบว่าลูกมีอาการไข้ ควรพาเขามาพบหมอตั้งแต่เนิ่นๆที่มีอาการ เพื่อรับการตรวจอย่างถูกต้อง หากพบว่าเป็นไข้เลือดออกก็จะได้รีบรักษา เชื้อจะได้ไม่พัฒนาจนเข้าสู่ระยะวิกฤต

อ่านบทความสำหรับแม่และเด็กอื่นๆที่น่าสนใจได้ที่นี่ >> story.motherhood.co.th
อาทิ โรคมือเท้าปากเปื่อย และ Bully การกลั่นแกล้งที่ผู้ใหญ่ควรตระหนัก เป็นต้น
Share This Topic To FaceBook

 

สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด สนใจลงโฆษณา คลิกดูรายละเอียด


สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด
สนใจ คลิกดูรายละเอียด สนใจ คลิกดูรายละเอียด