****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

Boy's love > คลังกระทู้เก่า

****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

<< < (7/20) > >>

สาวบ้านนอก:
ภาษาไทยนี่อย่างยากเลยนะ :z3:
เพราะไปเอาภาษาบาลี สันสกฤต อะไรมาใช้ด้วย
แล้วก็ยังดิ้นได้ ดิ้นไปดิ้นมา วันก่อนยังเถียงกันเรื่อง วันอื่น นี่หมายถึง วันหน้าหรือวันหลัง
แล้วก็สรุปกันว่า น่าจะใช้ได้ทั้งสองอย่างคือหมายถึงวันในอนาคต หรือ คราวหน้าหรือครั้งต่อไป

imageriz:
ยิ่งเข้ามาอ่านยิ่งอนาถ ตัวเอง  :z3:
แต่ก็ได้เข้าใจภาษาไทยมากขึ้น (เข้าใจว่ามันยากจัง  :sad4:)

 :pig4: คุณฟางกับน้องนิว

[N]€ẃÿ{k}uñĢ:
วันนี้แอบเอาคำง่ายๆมาฝากนะจ๊ะ คือ
“ทาน”
ความหมายของคำว่า ทาน ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ทาน ๑, ทาน- [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
           วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
           เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).(ป.,ส.).

ทาน ๒ ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทาน ๓ ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

ทุกวันนี้หลายๆครั้งเราใช้คำว่าทานแทนคำว่า"รับประทาน"ซึ่งเป็นการใช้คำผิดความหมาย
จริงๆแล้วคำว่า"กิน"ไม่ได้เป็นคำที่ไม่สุภาพอะไรนะอาจจะฟังห้วนๆไปหน่อย(แต่สุภาพ)
คือเราต้องอาศัยบริบทรอบข้างด้วยเวลาใช้คำ  
แต่ถ้าใช้เป็น “ยัด” “แดก” “ซัด” แลดูจะไม่สุภาพของจริง
หากเราไม่อยากจะใช้คำว่า "รับประทาน" ก็หันมาใช้คำว่า "กิน" กันดีกว่าครับ
อย่าใช้คำว่า ทานหรือยังครับ ทานแล้วถูกปากไหมครับ เป็นการใช้คำที่ผิด

รสชาติ “ไม่อร่อย”
พอพูดถึงเรื่องกิน นิว เลยขอแถมอีกคำนึงที่เห็นใช้กันผิดตลอด
เวลาเรากินอาหารแล้วรู้สึกอาหารไม่อร่อย (กระเดือกไม่ลง)
คำว่า “ไม่อร่อย” ใช้คำว่า ไม่เป็นสรรพรส  ไม่ใช่เขียนผิดกันเป็น ไม่เป็นสับปะรด

ไอติม ไอศครีม ไอศกรีม
เห็นมีนิยายเรื่องใหม่ลงแล้วตัวเอกของเรื่อง ชื่อ ไอติม เลยเอามาเขียนอ่านเล่นๆครับ
ทั้งหมดหมายถึงสิ่งเดียวกันครับ แต่
ไอติม เป็นภาษาพูด เขียนเล่นๆได้ แต่ไม่ใช้ในงานเขียนที่เป็นทางการ

ไอศครีม เป็นการกึ่งทางการ เขียนตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา จริงๆแล้วไม่ถูกต้องตามหลัก แต่ได้ใช้กันมากจนเป็นที่ยอมรับไปในที่สุด(นิวก็ใช้อยู่ 555+)  

ไอศกรีม เป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการที่ถูกต้องที่สุดในการแกะคำศัพท์ Ice-cream มาทับศัพท์เป็นภาษาไทยตามหลักราชบัณฑิตยสถาน(ตอนเด็กๆคิดว่าในหนังสือเลขกระทรวงฯประมาณตอน ป.6 ได้มั้ง เห็ยใช้ว่า ไอศกรีม เราก็ขำกับเพื่อน ว่า ขนาดป้าที่ร้านไอติมข้างล่างยังเขียนว่า ไอศครีม เลย 555+ทำไมในหนังสือถึงเขียนผิดนะ ก็เอาไปบอกคุณครู ก็เลยโดนด่าแล้วจำมาจนโตนี่ล่ะครับ)

และมีหามาเพิ่มเติมให้อีกคำครับ
ที่มา: http://www.navy.mi.th/navy_admin/saranaru3.htm
(การใช้ราชาศัพท์ กรมสารบรรณทหารเรือ)
คำว่า หมายกำหนดการ กำหนดการ
คำ ๒ คำนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ แต่เป็นคำที่เกี่ยวกับประเพณี ในราชสำนัก มักมีผู้นำไปใช้ปะปนกัน โดยเข้าใจว่า หมายกำหนดการ ใช้สำหรับงาน หรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานของพิธี หรือมาทรงร่วมงาน ถ้าเป็นงานของบุคคลธรรมดาให้ใช้คำว่า "กำหนดการ" นับว่าเป็น ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน

คำว่า "หมายกำหนดการ"หมายถึง เอกสารกำหนด ขั้นตอนของงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ซึ่งสำนัก พระราชวังจัดทำขึ้นตามพระบรมราชโองการ ในต้นหมายจะระบุไว้แน่ชัดว่า "นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการ เหนือเกล้าฯ สั่งว่า ..." เสมอไป และสำนักพระราชวังจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา เป็นต้น

ส่วน "กำหนดการ" ใช้สำหรับพระราชวงศ์และบุคคลสามัญทั่วไป เป็นเพียงเอกสารกำหนดขั้นตอนของงานทั่วไปที่ ส่วนราชการหรือเอกชนได้จัดขึ้น โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา ให้ผู้ที่ไปร่วมงานหรือร่วมพิธีได้ทราบว่า มีรายการใด วันเวลาใด สถานที่ใด แม้ว่างานนั้นๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเบื้องพระยุคลบาท เช่น เป็นงานที่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน แต่ถ้างานดังกล่าวนั้นมิใช่งาน พระราชพิธี งานพระราชกุศล หรือรัฐพิธี ซึ่งมีพระบรมราชโองการให้กำหนดขึ้นแล้ว จะเรียกว่าหมายกำหนดการไม่ได้ ต้องเรียกว่า "กำหนดการ" ทั้งสิ้น เช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นองค์ประธานในพิธี แต่งานนี้มิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรม-ราชโองการให้จัดขึ้น หากแต่เป็นงานที่ทางราชการทหารจัดขึ้นเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ท่าน จึงใช้ว่า "กำหนดการ"

นิว(LOVEis)

M@nfaNG:
 :pig4: ขอบคุณน้องนิวค่ะที่หมั่นหาความรู้ หรือคำที่น่าสนใจมาให้อ่านกันค่ะ
แล้วก็ +ให้ในความขยัน :3123:
สารภาพว่าชอบใช้คำว่า'ทาน' แทนคำว่า 'กิน' สงสัยต้องสร้างนิสัยในการเขียนใหม่แล้ว  :laugh:
************************************************
วันนี้ก็มีคำที่วัยรุ่นนิยมใช้มาฝากกัน  สามารถใช้คำใหม่เหล่านี้ได้ทั้งการพูดและการเขียน  โดยเฉพาะในงานเขียน
ราชบัณฑิตยสถานได้รวบรวมและจัดทำเป็นพจนานุกรมแล้ว   ลองดูนะคะ..เลือกคำโดนๆ มาฝากค่ะ  ล้วนคุ้นหูคุ้นตาทั้งนั้น

รากแก้ว น. คนที่เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ   เช่น  รัฐบาลมีนโยบายปลดหนี้ให้กลุ่มรากแก้ว.

                   (ใช้แทนคำว่ารากหญ้า  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙)

รากหญ้า น. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมักมีฐานะยากจนและด้อยโอกาสทางสังคม

                    เช่น ข้าวของแพงขึ้นทุกวันๆแบบนี้ รากหญ้ามีแต่ตายกับตาย.(แปลจาก อ. grass root.)


ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)

กวนโอ๊ย  ก. ชวนให้หมั่นไส้ (โอ๊ย มาจาก จ. ว่า รองเท้า).

เด็กปั้น  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง

                   เช่น  นางเอกละครเรื่องนี้เป็นเด็กปั้นของค่ายละครยักษ์ใหญ่,  คมม. เด็กสร้าง.

เด็กสร้าง  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง 

                      เช่น เขาเป็นเด็กสร้างของผู้กำกับชื่อดัง,  คมม. เด็กปั้น.

เหรตติ้ง  น. อัตราความนิยมที่บุคคลหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ได้จากประชาชนจากการสำรวจและสรุป

                   ออกมาในรูปสถิติ (อ. Rating).

แฟกซ์, แฝ็กซ์  น.   ๑. เครื่องที่ส่งหรือรับเอกสารด้วยอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โดยผู้ส่งต้อง

                                    ระบุหมายเลขปลายทาง. 

                                ๒. เอกสารที่ส่งหรือรับด้วยเครื่องตามข้อ ๑  (อ. fax).

เอ๊สเอ็มเอ๊ส  น. ๑. ข้อความสั้นๆ ที่ส่งทางโทรศัพท์มือถือ เช่น เขาส่งเอ๊สเอ็มเอ๊สไปหาเธอทุกวัน.     

                         ๒. ระบบส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์มือถือ เช่น หากท่านผู้ชมมีความเห็นเพิ่มเติมก็

                             เอ๊สเอ็มเอ๊สมาคุยกับทางรายการได้. (อ. SMS ย่อมาจาก short message service).

                                 

กูรู  น. ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้รู้, เช่น เขาเป็นกูรูด้านเสริมสวย. (อ. guru).

ฟันธง  ก. พูดให้ชัดเจน, ตัดสินด้วยความเชื่อมั่น.

ชนะบาย  ก. ชนะโดยไม่ต้องแข่งขัน, คมม. ได้บาย. (บาย มาจาก อ. Bye).

กระโปรงบานขาสั้น  น. เด็กในวัยเรียนชั้นมัธยม.

กริ๊ดสลบ  ก. ตื่นเต้นและชื่นชมมาก.

กวนตีน  ก. ชวนให้หมั่นไส้จนอยากทำร้าย (เป็นคำไม่สุภาพ)  คมม.  กวนบาทา.

กอดเก้าอี้  ก.ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง.

ก๊อป  ก. ลอกเลียนแบบ (ตัดมาจาก อ. copy).

ก๊อปปี้  น. ๑. กระดาษที่ใช้สำหรับทำสำเนา. (พจน.)  ๒.ลักษณะนามเรียกสำเนาหนังสือ

ก.     ลอกเลียนแบบ, พูดสั้นๆ ว่า ก๊อป. (อ. copy).

กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.

กิ๊บเก๋  ว. ๑. น่ารัก, เท่, เช่น ชุดของเธอกิ๊บเก๋น่าดู.  ๒. แปลกและน่าสนใจ  คมม. กิ๊บเก๋ยูเรก้า.

กิ๊บเก๋ยูเรกา.  ว. แปลกและน่าสนใจ  เช่น ไอเดียของเธอกิ๊บเก๋ยูเรก้าน่าดู.  คมม. กิ๊บเก๋.

เกาะอก  น. เสื้อสตรีไม่มีแขน ขอบบนรัดอยู่ระดับเหนืออก.

โก๊ะ  ก. ๑. ผลุบผลับและขี้หลงขี้ลืม  เช่น แม่คนนี้โก๊ะจริงๆ ตกบันไดได้ทุกวัน.

            ๒. เซ่อๆ, ไม่ทันคำพูดคน เช่น เพื่อนปล่อยมุกตลก เขาหัวเราะกันไปหมดแล้ว เธอยังนั่งไม่รู้

                เรื่องอยู่ได้โก๊ะจริงๆ.


ขำกลิ้ง  ก. ขำมาก.

ขิงแก่  น. ผู้อาวุโสที่มีความสามารถ มีประสบการณ์.(คำนี้เป็นสมญาที่สื่อมวลชนตั้งให้คณะรัฐมนตรี

               ในพ.ศ.๒๕๔๙).

คนพันธุ์อา   น. นักเรียนอาชีวศึกษา. (อา ตัดมาจาก อาชีวศึกษา).

คนมีสี  น.กลุ่มบุคคลที่แต่งเครื่องแบบ  มักหมายถึงทหารหรือตำรวจ.

คาราโอเกะ   น.  ๑. แผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องเพื่อให้ร้องตามได้. คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๒. สถานที่ร้านอาหารที่มีบริการให้ลูกค้าร้องเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                               คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๓. ชุดอุปกรณ์ที่มีทำนองเพลงและมีเนื้อร้องให้ร้องตาม. คมม. เกะ, โอเกะ.

                      ก.  ร้องเพลงตามแผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                          คมม. เกะ, โอเกะ. (อ. Karaoke).

แค็ตว้อล์ก  น. เวทียาวๆ มันยกพื้นระดับสายตา สำหรับให้นายแบบหรือนางแบบเดินแสดงแบบเสื้อผ้า

                       หรือเครื่องประดับเป็นต้น (อ. catwalk).

คิกขุ, คิกขุอาโนเนะ  ก. ๑.ทำเป็นเด็กใสซื่อบริสุทธิ์น่าเอ็นดู เช่น แก่แล้วยังชอบทำตัวคิกขุอาโนเนะ

                                         อีก, คมม. อาโนเนะ   

                                      ๒. น่ารัก, น่าเอ็นดู, เช่น เด็กสาวคนนี้แต่งตัวคิกขุน่ารักจัง, คมม. อาโนเนะ.


พอเห็นคำว่าคิกขุ  จึงอยากทราบความหมายของแอ๊บแบ๊วว่าคล้ายกันหรือไม่..

แอ๊บแบ๊ว  ก.  ๑. แสร้งทำให้ดูเป็นเด็กไร้เดียงสาทั้งหน้าตา  ท่าทาง และคำพูด

                         เช่น แม่คนนี้อายุสามสิบแล้วแต่ชอบทำแอ๊บแบ๊ว,  คมม.  แอ๊บ,  แบ๊ว.

                     ๒. แสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่อง, แกล้งทำโง่, แกล้งทำเป็นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                         เช่น พอถูกถามเรื่องทุจริตการประมูลที่ดิน นักการเมืองคนนี้ก็ทำเป็นแอ๊บแบ๊ว.

                         (คำนี้สันนิษฐานว่ามาจาก ๑. abnormal กับบ้องแบ๊ว   ๒.แอบ กับ บ้องแบ๊ว

                           ๓. act  กับ บ้องแบ๊ว).


โคโยตี้   น.  ๑. ผู้หญิงที่เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

                   ๒. การเต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

               ก. เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์. (อ. Coyote).

จ๊าบ    ก ๑. สีฉูดฉาดสดใส     ๒. สวยและทันสมัย    ๓. เข้าท่า, น่าสนใจ.

เจ๊ดัน  น. ผู้หญิงที่ส่งเสริมผลักดันให้ผู้อ่อนประสบการณ์ประสบความสำเร็จ.

เจ๊าะแจ๊ะ  ก. ชอบพูดคุยไปทั่ว เช่น วันๆ เอาแต่เจ๊าะแจ๊ะไม่ทำการทำงาน.

แจ๋น  ก. เสนอหน้าเข้าไปวุ่นวายและจุ้นจ้าน.

แจม. ก. ร่วมด้วย.

โจ๋  น. วัยรุ่น.

วัยจ๊าบ  น. วัยรุ่นที่ทำตัวเปรี้ยว  เช่น ลูกๆของเรากำลังอยู่ในวัยจ๊าบ พ่อแม่จึงต้องตามลูกให้ทัน.

วัยโจ๋   น. วัยรุ่น เช่น ร้านอาหารร้านนี้ พวกวัยโจ๋ชอบไปนั่งฟังเพลง, คมม. ขาโจ๋.

วัยสะรุ่น  น. ผู้มีพฤติกรรมแบบวัยรุ่น.

ก.     มีลักษณะหรือพฤติกรรมแบบวัยรุ่น  อย่างแต่งตัวตามแฟชั่น  ชอบความสนุกสนาน 

     ชอบอยู่กับเพื่อน คลั่งไคล้ดารานักร้อง เช่น คุณป้ายังวัยสะรุ่นอยู่ อยากไปปาร์ตี้กับหลานๆ.

 

วกมาแถวๆเศรษฐกิจและการเมืองก็มีคำใหม่ๆใช้เช่นกัน บางคำก็ใช้ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ


นอมินี่  น. บุคคลหรือองค์กรที่ถูกใช้ชื่อดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเจ้าของตัวจริง 

                 เช่น ต่างชาติเปิดบริษัทนอมินี่ในประเทศไทยเต็มไปหมด. (อ. Nominee).

อริยะขัดขืน, อารยะขัดขืน  ก. ขัดขืนหรือต่อต้านอย่างคนมีอารยธรรม  เช่น การออกเสียงไม่เลือกใครเป็นผู้แทนราษฎรถือเป็นการต่อต้านแบบอริยะขัดขืน (แปลจาก อ. civil dis0bedience: คำนี้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์  เป็นผู้บัญญัติใช้เป็นคนแรกใน พ.ศ.๒๕๔๘)


 เอ๊สเอ็มแอล  น. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชนที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณโดยตรงเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนนำไปบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเอง  มีทั้งขนาดเล็ก  กลาง และ ใหญ่  (อ. SML ย่อมาจาก small,  middle, large).

เม็กกะโปรเจ็ก  น. โครงการที่ใช้งบประมาณลงทุนสูงมาก  มักเป็นโครงการสร้างระบบสาธารณูปโภค.(อ.megaproject).

ดีเบต  ก. แสดงคารมโต้ตอบกัน, ถกเถียงกันด้วยเหตุผล. (อ.debate)

ที่มา http://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/288810
****************************
เราจะได้ใช้คำพวกนี้ได้อย่างสบายใจนะคะ :really2:

[N]€ẃÿ{k}uñĢ:

--- อ้างจาก: M@nfaNG ที่ 12-09-2009 17:27:30   ---ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)

--- ปิดอ้างถึง ---
คำนี้แต่เดิมใช้ว่า ชิวชิว มานาน จนอ่านนิยายบางเรื่องเห็นมีการใช้คำว่า ชิลชิล
ซึ่งสับสนมานานวันนี้กระจ่างเลย ฮ่าๆ


--- อ้างจาก: M@nfaNG ที่ 12-09-2009 17:27:30   ---แฟกซ์, แฝ็กซ์
--- ปิดอ้างถึง ---
พึ่งรู้ว่า เขียนได้สองแบบ


--- อ้างจาก: M@nfaNG ที่ 12-09-2009 17:27:30   ---กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.
--- ปิดอ้างถึง ---
แสดงว่่าเพื่อนสนิทเพศเดียวกันก็ไม่สามารถใช้คำว่า กิ๊กได้สินะ  :laugh:

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ไปที่เวอร์ชันเต็ม