****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

Boy's love > คลังกระทู้เก่า

****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

<< < (5/20) > >>

dahlia:
ที่ผ่านมา ผิดเพียบ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนตัวจบภาษาไทยแค่ป. 4  อนาถ....จริงๆ :z3:
ขอบคุณทุกท่านมากนะคะ

[N]€ẃÿ{k}uñĢ:

--- อ้างจาก: manami1155 ที่ 10-09-2009 11:41:45   ---ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามค่า
+1 ให้คุณ [N]€ẃÿ{k}uñĢ
ขอบคุณมากๆค่ะ

ต่อไปก็จะพยายามใช้ นี่ กับ นี้ให้ถูกต้องมากขึ้น

วันนี้ก็ขอถามอีกค่ะว่าคำว่าเขินที่ถูกต้อง ต้องเป็น "เขิน" หรือ "เขิล" ค่ะ
โดยปกติแล้วเราใช้เขิน แต่เห็นคนอื่นใช้เขิลกันเลยชักไม่มั่นใจในตัวเอง แหะๆ ><"

--- ปิดอ้างถึง ---
มาตอบให้จ้ะ คำว่า
"เขิน" และ "เขิล"
คำที่เขียนถูก คือ เขิน หมายถึง รู้สึกกระดากอาย
เวลาใช้ในส่วนของการบรรยายเรื่อง หรือ เขียนตามหลักภาษาก็ควรใช้ เขิน
แต่หากนึกถึงเวลาใช้ภาษาพูด เขิล ก็จัดว่าใช้ได้
นั้นเวลาใช้ เขิล ใช้ใน บทสนทนา ภายใต้ " " ก็ไม่ผิด
เพื่อความสมจริงของการออกเสียง  เช่น "บ้าๆๆๆ เขิลอะอย่าพูดสิ"
เช่นเดียวกับคำว่า
งอน และ งอล ในเวลาใช้พูดจริงๆเราจะพูดด้วยเสียงคล้าย งอล
เช่น "เค้างอลล่ะ ไปไกลๆเลย"
นิว(LOVEis)

imageriz:
ตามมา +1 ให้คุณฟาง น้องนิว และคุณSuMoDevil
อ่านแล้วรู้สึก ว่ามีหลายคำเขียนผิดบ่อยมาก อย่างคำว่า พันธุ์ บางครั้งจะสับสนกับคำว่า พันธ์
ซึ่งความหมายมันต่างกัน  
ถ้าจะพูดตรง ๆ นอกจากคำทั่วไปแล้ว
ยังมีคำราชาศัทพ์ที่เราไม่ค่อยได้ใช้กัน ทำให้ลืมกันไป
ง่าย ๆ เลย อย่างคำว่า "ถวายพระพร" กลายมาเป็น "อวยพร" เฉย ๆ อย่างงั้น
ฟังแล้วมันทำให้รู้สึกไม่ดีเท่าไรเลยค่ะ
 :pig4:ที่มาให้ความรู้ค่ะ

manami1155:

--- อ้างจาก: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 12:59:20   ---
--- อ้างจาก: manami1155 ที่ 10-09-2009 11:41:45   ---ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามค่า
+1 ให้คุณ [N]€ẃÿ{k}uñĢ
ขอบคุณมากๆค่ะ

ต่อไปก็จะพยายามใช้ นี่ กับ นี้ให้ถูกต้องมากขึ้น

วันนี้ก็ขอถามอีกค่ะว่าคำว่าเขินที่ถูกต้อง ต้องเป็น "เขิน" หรือ "เขิล" ค่ะ
โดยปกติแล้วเราใช้เขิน แต่เห็นคนอื่นใช้เขิลกันเลยชักไม่มั่นใจในตัวเอง แหะๆ ><"

--- ปิดอ้างถึง ---
มาตอบให้ครับ คำว่า
"เขิน" และ "เขิล"
คำที่เขียนถูก คือ เขิน หมายถึง รู้สึกกระดากอาย
เวลาใช้ในส่วนของการบรรยายเรื่อง หรือ เขียนตามหลักภาษาก็ควรใช้ เขิน
แต่หากนึกถึงเวลาใช้ภาษาพูด เขิล ก็จัดว่าใช้ได้
นั้นเวลาใช้ เขิล ใช้ใน บทสนทนา ภายใต้ "" ก็ไม่ผิด
เพื่อความสมจริงของการออกเสียง  เช่น "บ้าๆๆๆ เขิลอะอย่าพูดสิ"
เช่นเดียวกับคำว่า
งอน และ งอล ในเวลาใช้พูดจริงๆเราจะพูดด้วยเสียงคล้าย งอล
เช่น "เค้างอลล่ะ ไปไกลๆเลย"
นิว(LOVEis)

--- ปิดอ้างถึง ---

^
^
กระจ่างแจ่มแจ้งเลยทีนี้
ขอบคุณมากๆนะคะ :pig4:[/size]

[N]€ẃÿ{k}uñĢ:
ขอเพิ่มเองสักสามคำ
“โครต” และ “โคตร”
โคตร เป็นอีกคำหนึ่งที่พึ่งจะรู้ว่าเขียนผิดมาตลอด ปกติแล้วจะเขียนเป็นคำว่า โครต
วันนี้เลยได้ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำนี้เพิ่มเติมดู
เพราะลองแอบเปิดพจนานุกรมแล้วผิด ทั้งที่คิดว่าถูก 555+
โคตร มีแม่ตัวสะกดเป็น แม่ กด ซึ่งพิจารณาได้จากเสียง โคด หมายความว่า เสียง /ด/ มาจาก ตร นั่นเอง อิๆ

“ประณีต” และ “ปราณีต”
ประณีต  เขียนผิดเป็น ปราณีต
ประณีต  หมายถึง ละเอียดลออ(มักทำด้วยมือ)
ซึ่ง ปราณีต ไม่มีความหมาย เราจะพบแต่คำว่า ปราษณี แปลว่า ส้นเท้า 555+

“ขยักขย่อน” และ “ขยักขย้อน”
ขยักขย่อน (~ขะหย่อน) หมายถึง ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว
ขยักขย้อน (~ขะย้อน) หมายถึง มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน

หาแหล่งข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ครับเพราะเป็นเรื่องน่ารู้ทั้งสิ้น

คะยั้นคะยอ หมายถึง ชักชวนให้ตกลงใจด้วยการรบเร้า เห็นชอบเขียนเป็น ขยั้นขยอ

หยากไย่ หยักไย่ หมายถึง ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ
มักเขียนผิดเป็น หยากใย่

มนเทียร, มณเฑียร เขียนได้ 2 แบบ
แต่บางคนสะกดผิดเป็น มณเทียร หรือ มนเฑียร

ล่ำลา, ร่ำลา(แต่เดิมใช้คำนี้จึงยังอนุโลมให้ใช้ต่อ) ที่ถูกจริงๆควรใช้คำว่า ล่ำลา

เดียดฉันท์ บางคนสะกดผิดเป็น เดียจฉันท์

เบญจเพส หมายถึง ยี่สิบห้า (เพสหมายถึงยี่สิบ) บางคนสะกดผิดเป็น เบญจเพศ

อุทธรณ์ หมายถึง ศาลชั้นกลาง บางคนสะกดผิดเป็น อุธรณ์

บังสุกุล เห็นหลายๆวัดเขียนว่า"บังสกุล" จริงๆคือ บังสุกุล แปลว่า เปื้อนฝุ่น ผ้า

ปีติ ที่ส่วนใหญ่มักจะเขียนผิดกันเป็น ปิติ

ธนาคารเลือด เป็นคำที่ใช้ผิดความหมายมาก ธนาคาร = ธน + อาคาร (ธน แปลว่า เงิน)
ต้องใช้คำว่า “คลังเลือด” ถึงจะถูกต้อง

ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5110885/K5110885.html

อันสุดท้ายเป็นเรื่องของวิธีการจำคำที่ถูก
คำที่มี  ญ  สะกด  มี  ๔๖ คำ

                      ลำเค็ญครวญเข็ญใจ                    ควาญช้างไปหานงคราญ
             เชิญขวัญเพ็ญสำราญ                            ผลาญรำคาญลาญระทม
                      เผอิญเผชิญหาญ                        เหรียญรำบาญอัญขยม
             รบราญสราญชม                                  ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ  
                      ประจญประจัญบาน                      ผจญการกิจบังเอิญ
             สำคัญหมั่นเจริญ                                  ถือกุญแจรัญจวนใจ
                      รามัญมอญจำเริญ                       เขาสรรเสริญไม่จัญไ-
             ชำนาญชาญเกรียงไกร                           เร่งผจัญตามบัญชา
                      จรูญบำเพ็ญยิ่ง                           บำนาญสิ่งสะคราญตา
             ประมวญชวนกันมา                               สูบกัญชาไม่ดีเลย    

การเขียน  บัน  และ  บรร

              คำไทยที่ใช้  บัน  นำหน้า  คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนนี้ให้ใช้  บรร

                        บันดาลลงบันได                       บันทึกให้ดูจงดี
               รื่นเริงบันเทิงมี                                  เสียงบันลือสนั่นดัง
                        บันโดย บันโหยให้                    บันเหินไปจากรวงรัง
               บันทึงถึงความหลัง                             บันเดินนั่งนอนบันดล  
                        บันกวดเอาลวดรัด                     บันจวบจัดตกแต่งตน
               คำ  บัน  นั้น ฉงน                               ระวังปน  กับ  ร - หัน
              
ตัว  ทร  ที่  ออกเสียง  ซ    มีใช้อยู่  ๑๗  คำ
                      
                        ทรวดทรงทราบทรามทราย          ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
               มัทรี  อินทรีย์มี                                 เทริด  นนทรี  พุทราเพรา
                        ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด             โทรมนัสฉะเชิงเทรา
               ตัว  ทร  เหล่านี้เรา                            ออกสำเนียงเป็นเสียง  ซ  

คำที่ใช้  จ  สะกด

                         ตำรวจตรวจคนเท็จ                  เสร็จสำเร็จระเห็จไป
               สมเด็จเสด็จไหน                              ตรวจตราไวดุจนายงาน
                         อำนาจอาจบำเหน็จ                 จรวดระเห็จเผด็จการ
               ฉกาจรังเกียจวาน                              คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
                         แก้วเก็จทำเก่งกาจ                  ประดุจชาติทรพี
               โสรจสรงลงวารี                                กำเหน็จนี้ใช้ตัว  จ

คำไทยที่ใช้  ตัว  ล  สะกด  

                            ตำบลยุบลสรวล                  ยลสำรวลนวลกำนล
                   บันดาลในบันดล                          ค่ากำนลของกำนัล
                            ระบิลกบิลแบบ                   กลทางแคบเข้าเคียมคัล
                   ดลใจให้รางวัล                            ปีขาลบันเดินเมิลมอง      

ที่มา:
จากหนังสือหลักภาษาไทย ของอาจารย์กำชัย ทองหล่อ กรุงเทพ:อมรการพิมพ์ ๒๕๔๕

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ไปที่เวอร์ชันเต็ม