พิมพ์หน้านี้ - ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

CoMMuNiTY Of ThAiBoYsLoVE

Boy's love => พูดคุยทั่วไป => คลังกระทู้เก่า => ข้อความที่เริ่มโดย: M@nfaNG ที่ 09-09-2009 15:11:31

หัวข้อ: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 09-09-2009 15:11:31
ช่วงที่เขียนนิยายบางครั้งมีปัญหาเรื่องการใช้ภาษาไทย ต้องหาในเน็ตเป็นระยะ
หรือบางครั้งอ่านนิยายก็แอบขัดใจ หรือสงสัยว่ามันใช่เหรอ เขียนถูกเหรอแบบนี้ ซึ่งก็มีทั้งที่เราเข้าใจผิดไปเองก็มาก
เลยไปเจอเวปนี้เข้า เลยอยากเอามาฝากทั้ง นักเขียน และผู้อ่านให้รู้ว่าบางคำที่เราเข้าใจว่าเขียนถูก ก็อาจจะผิดก็ได้
ใช้คำที่ผิดบ่อยๆ อีกหน่อยเราจะติดไปเอง ซึ่งเรื่องนี้เจอกับตัวเองเลยทีเดียว เข้าใจผิดไปหลายคำ ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
ลองอ่านดูค่ะ ได้ความรู้ดี :really2:
**********************
ที่มาจากเวป http://www.sun-tree.net/forum/viewtopic.php?t=78 ขอบคุณด้วยค่ะ :pig4:

กฎ - รวมไปถึงคำอื่น ๆ เช่น กฎเกณฑ์ กฎหมู่ (ผู้คุมกฎ ก็ใช้แบบนี้ครับ) มักสะกดผิดเป็น “ฏ” คงไปนึกเทียบกับคำว่า ปรากฏ กบฏ
*ข้อสังเกต : ถ้าคำพยางค์เดียว ใช้ ฎ ชฎา แต่ถ้าคำสองพยางค์ ลงด้วย ฏ ปฏัก

กะทันหัน - (ไม่ใช้ กระทันหัน นะครับ ส่วน กะทัดรัด ก็เขียนแบบเดียวกัน)

กะพริบ - เช่น กะพริบตา มักเขียนผิดเป็น “กระพริบ” กันมากด้วย

กังวาน (เสียง) - มักเขียนผิดเป็น “กังวาล”

ช็อก - สภาพที่ร่างกายเสียเลือดมาก , สะเทือนใจรุนแรง , ถูกกระแสไฟฟ้า เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า shock

เช็ก - ตรวจสิ่งต่าง ๆ เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า check (ส่วน “เช็ค” หมายความถึงพวกเช็คที่เป็นสมุดครับ อย่างเช่นเขียนเช็คจ่ายสด มาจากคำอังกฤษว่า cheque)

โชก - ในคำว่า เหงื่อโชก ใช้คำว่า เหงื่อโซก หรือเหงื่อโซม ก็ได้ (เอามาใช้บ้างก็ดีนะครับ ผมก็เพิ่งรู้เหมือนกันเพราะได้ยินคำว่า เหงื่อซก ด้วย)

ตงิด - เช่น หิวตงิด ๆ ออกเสียงว่า “ตะหงิด” จึงมักเขียนผิดไปตามเสียงอ่าน

ตึก ๆ , ตึ้ก ๆ , ตึ้กตั้ก - เสียงหัวใจเต้นเวลาเหนื่อยหรือตกใจ

ทะนง หรือ ทระนง - ถือตัว , หยิ่ง เช่น ทะนงตน ทะนงศักดิ์

เท่ - มักเขียนผิดเป็น “เท่ห์” (อย่างหลังนี่จะเขียนเป็น “สนเท่ห์” ที่แปลว่า สงสัย ครับ)

นั่นปะไร - เป็นไปอย่างที่พูด มักเขียนผิดเป็น “นั่นประไร” (ผมว่า ช่างปะไร , ช่างมันปะไร ก็น่าจะใช้แบบเดียวกัน)

นัยน์ตา - (เจอบางคนใช้ นัยตา , นัยย์ตา หรือแม้แต่ นัยต์ตา ก็มี)

ปรานี - เอ็นดูด้วยความสงสาร มักเขียนผิดเป็น “ปราณี” ซึ่งจะผิดความหมายไปเลย เพราะ “ปราณี” หมายถึง ผู้มีชีวิต

ปาฏิหาริย์ - (บางคนใช้ ปาฏิหาร แบบหารเลขมาเลย)

ผล็อย - เช่น หลับผล็อย (หลับโดยเร็ว) ใช้ว่า ผ็อย หรือ ผ็อย ๆ ก็ได้

แผล็บ , แผล็บ ๆ - เช่น แลบลิ้นแผล็บ ๆ (เผลอแผล็บเดียว ก็ใช้ได้ครับ) จะใช้ว่าแพล็บ หรือ แพล็บ ๆ ก็ได้

พรรค์ - เช่น คนพรรค์นั้น (ต้องมี ค์ ด้วยนะครับ)

มนตร์ - เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์ แต่คำว่า “มนต์” จะใช้เกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา เช่น สวดมนต์

มุก - ทำให้ขบขัน เป็นคำเก็บใหม่ มักเขียนผิดเป็น “มุข”

เลือนราง - ไม่ชัดเจน , พอระลึกได้บ้าง

โลกันตร์ - ชื่อขุมนรกที่มีการลงโทษหนักที่สุด ไม่ผุดไม่เกิด มักเขียนผิดเป็น “โลกันต์”

สุ้มเสียง - โบราณเขียนเป็น “ซุ่มเสียง” (จะใช้อย่างหลังนี้ก็ได้ครับ แต่ไม่นิยมกันแล้ว)

หน็อยแน่ - คำเปล่งไม่พอใจหรือผิดหวัง มักเขียนผิดเป็น “หนอยแน่”

หลับใหล - เช่น ในบทโคลงลิลิตพระลอว่า “สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่”

เหงื่อกาฬ - เหงื่อของคนใกล้จะตาย โดยปริยายหมายถึง เหงื่อแตกด้วยความตกใจ

อาถรรพ์ - อำนาจลึกลับที่เชื่อว่าบันดาลให้มีความเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ มีอาถรรพ์ ใช้ว่า อาถรรพณ์ หรือ อาถรรพณะ ก็ได้ แต่นิยมใช้คำแรกมากกว่า เพราะเขียนและอ่านชัดเจนดี

บรรณานุกรม :
ช่วย พูลเพิ่ม. (2547). เขียนให้ถูก ใช้ให้เป็น. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้ากรุ๊ป

ต่อด้วยการเว้นวรรคค่ะ...

- เว้นหน้าหลังเครื่องหมาย : ๆ ฯลฯ
จู่ ๆ ลมก็ไหววูบเข้ามา
เฟริน คิล คาโล โร ฯลฯ ได้มาอยู่ป้อมเดียวกัน

- เว้นหลังเครื่องหมาย : ? ! ฯ
นายอยากตายมากนักใช่ไหม ?
เฟี้ยว ! ฉึก !
มีดสั้นปักเข้าผนังห้อง ฯ

- เว้นแยกประเภทคำ : คำบรรยายกับคำพูด
เฟรินพูดยั่วน้ำแข็งยักษ์เบื้องหน้า “แล้วนายจะทำไม”

ตบท้ายด้วยเรื่องคำลงท้ายของผู้หญิงที่มักเขียนกันผิดอยู่มากทีเดียว เช่น ค่ะ คะ นะคะ จะยกตัวอย่างให้คร่าว ๆ ละกันนะ

ค่ะ – สวัสดีค่ะ , ขอบคุณค่ะ , ลาก่อนค่ะ , ไม่เป็นไรค่ะ
คะ – เหรอคะ , ใช่ไหมคะ
นะคะ – ขอบคุณนะคะ , ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
จ้ะ – สวัสดีจ้ะ , ได้จ้ะ , ขอบใจจ้ะ
จ๊ะ – มีอะไรเหรอจ๊ะ , ไม่สบายหรือเปล่าจ๊ะ
นะจ๊ะ – ฝันดีนะจ๊ะ , เดี๋ยวเจอกันนะจ๊ะ
จ้า – สวัสดีจ้า , บายจ้า
จ๋า – พี่จ๋า , หนูจ๋า  

ต่ออีกหน่อยค่ะ
กรรโชก – (ขู่เอาด้วยกิริยาหรือวาจาให้กลัว) ในคำว่า “ขู่กรรโชก” จะใช้ว่า “ขู่กระโชก” ก็ได้ เทียบกับ กระโชก (กระแทกเสียง) เช่น พูดกระโชก ลมกรรโชกแรง
* ในกรณีที่กล่าวมานี้จะใช้เป็นกรรโชก เช่น พูดกรรโชก ลมกรรโชก ไม่ได้ครับ

กราบ – (ไม้เสริมแคบเรือ) เทียบกับ กาบ (เปลือกหุ้มผลหรือลำต้น) เช่น กาบมะพร้าว กาบกล้วย

กร่ำ – (เมาเรื่อยไป) เช่น เมากร่ำ ถ้าเป็น เมากรึ่ม (เมาตลอดวัน) ความหมายก็พอ ๆ กันครับ เทียบกับ ก่ำ (เข้ม , จัด , สุกใส) เช่น หน้าแดงก่ำ
* คำว่า “กล่ำ” ไม่มีใช้ครับ มีแต่ที่เป็นชื่อเรียกพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งว่า “มะกล่ำ”

กะโหลก – เช่น หุบเขาหัวกะโหลก (ไม่ใช้ผิดเป็น “กระโหลก” .. นึกเอาง่าย ๆ ก็ “กะโหลกกะลา” ละกันครับ)

กำราบ – (ทำให้เข็ดหลาบ) แต่ด้วยความที่อ่านว่า “กำหราบ” จึงทำให้ใช้ผิดตามไปด้วย

กี้ – เช่น เมื่อกี้ เมื่อแต่กี้ เมื่อตะกี้ แต่มีคำว่า กี๊ เก็บเพิ่มมาใหม่อีกคำด้วย เช่น เมื่อกี๊

เกม – ใช้เกี่ยวกับการแข่งขัน เช่น เกมคอมพิวเตอร์ เกมกีฬา ส่วน “เกมส์” ใช้ที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น เอเชียนเกมส์ ซีเกมส์

แก๊ง – (กลุ่มคนเป็นก๊กเป็นเหล่ากระทำการไม่ดี) มาจากภาษาอังกฤษว่า gang เช่น แก๊งโจร แก๊งอันธพาล มีใช้ผิดเป็น แก๊งค์

คณนา – (นับ) เช่น สุดที่จะคณนา หรือ “คณานับ” ก็ได้ เช่น สุดคณานับ

คลุมเครือ – จะใช้เป็น “ครุมเครือ” ก็ได้ครับ แต่นิยมน้อยกว่า

เคร่งเครียด – (สมองไม่ได้พัก) เทียบกับ ตึงเครียด (ใกล้จะถึงขั้นแตกหัก) เช่น สถานการณ์ตึงเครียด

เคียดแค้น – (โกรธแค้น) เทียบกับ ขึ้งเคียด (โกรธอย่างชิงชัง)

จะจะ – (ให้เห็นชัดเจน , กระจ่าง) เช่น เห็นกันจะจะ ซึ่งไม่ใช้ไม้ยมกเป็น “จะ ๆ” ครับ เช่นเดียวกับ ชะชะ (คำเปล่งเวลาโกรธ) ซึ่งจะใช้ว่า “ชะช้า” หรือ “ชัดช้า” ก็ได้ และคำว่า รำรำ , ร่ำร่ำ (คิดหรือตั้งใจซ้ำ ๆ อยู่) เช่น ร่ำร่ำจะไปเที่ยว

ชะมัด – (มาก) เช่น เก่งชะมัด ใช้ “ชะมัดยาด” ก็ได้

ทโมน – เช่น ลิงทโมนป้อมอัศวิน

ปฐพี – (แผ่นดิน) ใช้ว่า “ปถพี” ก็ได้ (แต่คำหลังนี้ผมไม่เคยเห็นใช้กันนะ)

พลิ้ว – (บิด , เบี้ยว , สะบัดไปตามลม) เช่น บิดพลิ้ว ลมพลิ้วไหว ซึ่งคำว่า “พริ้ว” ไม่มีใช้ นอกจากเป็นชื่อเฉพาะที่เรียกมานานแล้ว เช่น น้ำตกพริ้ว จ.จันทบุรี ครับ

พลุ่ง – (ไอน้ำหรือควันหรือสิ่งที่คล้าย ๆ กัน ดันพุ่งตัวออกมาโดยแรง) เช่น ไอน้ำพลุ่งออกมา อารมณ์เดือดพลุ่ง (อารมณ์พลุ่งพล่าน ก็ใช้แบบนี้ครับ) เทียบกับ พุ่ง เช่น พุ่งตัว น้ำพุ่ง พุ่งความสนใจ (มุ่งตรงไป) .. สังเกตกันนิดนึงนะครับ

พิศวาส – (รักใคร่ , สิเนหา) เช่น ไม่น่าพิศวาส มักใช้ผิดเป็น “พิสวาศ”

พิสมัย – (ความรัก , ความชื่นชม) มักใช้ผิดเป็น “พิศมัย” แต่ชื่อเฉพาะต้องคงไว้ (เช่น ชื่อคนครับ)

ไย – ในคำที่ใช้ว่า จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา อย่าไปไยดี มักเขียนผิดเป็น “ใย”

ลออ – (งาม) เช่น นวลลออ , (ถี่ถ้วน , รอบคอบ) เช่น ละเอียดลออ มักใช้ผิดเป็น “ละออ”

ละลวย – (งงงวย , ทำให้หลง) เช่น คาถามหาละลวย เทียบกับ ระรวย (แผ่ว ๆ เบา ๆ) เช่น หายใจระรวย หอมระรวย

ละเหี่ย – (อ่อนใจ , อิดโรย) เช่น อ่อนเพลียละเหี่ยใจ มักใช้ผิดเป็น “ระเหี่ย”

เวท – เข้าคู่กับคำว่า มนตร์ เป็น เวทมนตร์

สรร – เช่น เลือกสรร สรรสร้าง (แกล้งเลือก) สรรหา (เลือกมา)

สรรค์ – (สร้าง) มักเข้าคู่กับ “สร้าง” เป็น สร้างสรรค์ , สรรค์สร้าง เทียบกับ รังสรรค์ , รังสฤษฏ์ ที่หมายถึง สร้าง เหมือนกันครับ

สรรพางค์ – (ทั่วตัว) เข้าคู่กับ “กาย” เป็น สรรพางค์กาย

หลุบ – (ลู่ลงมา) เช่น ผมหลุบหน้า หลุบตา ไม่มีใช้ว่า หรุบ เทียบกับ หรุบ ๆ (สิ่งที่ร่วงพรูลงมา) เช่น ร่วงหรุบ ๆ

เหลอหลา – (มีหน้าตาเซ่อ) เช่น ทำหน้าเหลอหลา

แหยม – (ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุกหรือหนวดไว้สองข้างริมฝีปาก) เช่น หนวดแหยม (เห็นคำนี้แล้วนึกถึงท่านอาเธอร์เลยนะครับ ^^)

แหย็ม – เป็นภาษาปากหมายถึง เข้าไปยุ่ง เช่น อย่าไปแหย็ม

อเปหิ , อัปเปหิ – ภาษาที่ใช้ทั่วไปหมายถึง ขับไล่

อัฒจันทร์ – (ที่นั่งเป็นขั้น ๆ สำหรับดูการแสดงหรือกีฬา เป็นรูปครึ่งวงกลม หรือชั้นที่ตั้งของขายเป็นขั้น ๆ)

อิริยาบถ – มักใช้ผิดเป็น “อิริยาบท” 

- มนตร์ คำศักดิ์สิทธิ์ , คาถา , คำสวด (คำบาลีเขียน มฺนต , สันสกฤตเขียน มนฺตร) ว่าง่าย ๆ ก็คือถ้าเขียนตามคำบาลีก็เป็น มนต์ และถ้าเขียนตามคำสันสกฤตเป็น มนตร์

- มนตรา เป็นคำที่ใช้กับพวกคำกลอนครับ มีความหมายเท่ากับมนตร์

* เพราะฉะนั้นความหมายเดียวกัน ใช้แทนกันได้คร้าบ

"เลือนลาง" ที่เขียนแบบนี้แทน (หมายถึง ไม่แจ่มใส , ไม่ค่อยจะมีความหวัง , มัว ไม่ชัด จาง) คาดว่า ลางเลือน น่าจะเป็นการกลับคำซึ่งเป็นลูกเล่นของผู้เขียนมากกว่า

อนุญาต ที่ถูกต้องไม่มีสระอิค่ะ เครือญาติ เท่านั้นที่จะมีสระอิ (ญาติมิตรก็อยู่ในลักษณะของเครือญาติค่ะ - -//)

เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. (2544). พจนานุกรมไทย ฉบับใหม่. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น (1977).


ใครมีความรู้เรื่องคำไหนอีกก็มาบอกกันนะคะ จะพยายามเตือนตัวเองให้ระมัดระวังในการใช้ภาษาไทย เขียนคำไหนผิดก็บอกกันมานะ :call:

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: mecon ที่ 09-09-2009 15:24:07
ขอบคุณมากๆคะ

ได้ความรู้มากมายคะ o13
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Poes ที่ 09-09-2009 15:42:17
ขอบคุณจ้าฟาง ปกติตอนนี้ชักนิสัยเสีย เขียนติดภาษาเอ็ม  :z3:
แก้งัยดี ภาษาไทยจะเริ่มลงเหว
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: MurasakiLove ที่ 09-09-2009 15:44:56
โอ้ววววววว ดีจังเลยเป็นประโยช์มากเลยค่ะ
มีหลายคำเหมือนกันที่ไม่แน่ใจว่าเขียนยังไงดี ด้วยความที่ไม่ค่อยได้เขียนภาษาไทย
(จริงๆ ภาษาอื่นก็ไม่ได้เขียนด้วยแหละ +555 ชอบอ่านมากกว่า)

ขอบคุณ จขกท.จ้า
:oni1:


หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: WEERACHOT ที่ 09-09-2009 16:06:26
 :a5: ขอบคุณครับ เราก็เขียนผิดบ่อยๆจนเริ่มติดนิสัยแล้ว
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: EoBen ที่ 09-09-2009 16:19:22
บางคำคิดว่าเขียนถูกแล้วยังผิดเลยคะ

เป็นความรู้มากเลย

ปัจจุบัน ยังใช้คำว่า

คะ กับ ค่ะ ไม่ถูกเลยย

งิงิ

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: AidinEiEi ที่ 09-09-2009 21:26:29
ขอบคุณพี่ฟางมากมายค่ะ
อิอิ มีบางคำที่เพิ่งรู้ว่าตัวเองใช้ผิดมาตลอดเลยอ่ะค่ะ
 :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: manami1155 ที่ 09-09-2009 22:35:59
ขอบคุณมากๆเลยค่ะ
สำหรับความรู้ดีๆ :pig4:

อ่านแล้วก็รู้เลยว่าตัวเองใช้ผิดหลายคำเลย
คะ กับ ค่ะ นี้ก็ยังใช้มั่วๆอยู่
ตงิดๆ นี้เราก็เขียนเป็น ตะหงิดๆ

งั้นขอถามหน่อยได้ไหมค่ะว่า นี่ นี้ อะมันใช้ยังงัย
เราใช้สองคำนี้ผิดบ่อยมากๆๆๆ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 09-09-2009 22:48:12
 o13 o13 o13
ของคุณพี่ฟางมากๆนะคราบ
สำหรับความรู้บางคำใช้ผิดมานานพึ่งจะรู้ตัว
อิริยาบถ มุก ... เยอะมากมาย
เลยช่วยหาคำอื่นที่มักใช้ติดมาจากเอ็มให้อ่านกัน
คำที่มักเขียนผิด
1.สำอาง แปลว่า เครื่องแป้งหอม งามสะอาด ที่ทำให้สะอาด มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สำอางค์” ไม่รู้ (ค์) มาจากไหน ?

2.พากย์ แปลว่า คำพูด คำกล่าวเรื่องราว ภาษา มักเขียนผิดเป็นคำว่า “พากษ์” ที่เขียนผิดประจำนี่ คงติดภาพมาจากคำว่า วิพากษ์(วิจารณ์)

3.เท่ แปลว่า เอียงน้อยๆ โก้เก๋ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เท่ห์” ติดมาจากคำว่า “สนเท่ห์” หรือไงนะ?

4.โล่ แปลว่า เครื่องปิดป้องศาสตราวุธ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โล่ห์” สงสัยอยู่ในกรณีเดียวกับคำว่า “เท่”

5.ผูกพัน แปลว่า ติดพัน เอาใจใส่ รักใคร่ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ผูกพันธ์” ไม่ใช่คำว่า “สัมพันธ์” นะ

6.ลายเซ็น แปลว่า ลายมือชื่อ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ลายเซ็นต์” ติดมาจาก “เปอร์เซ็นต์” หรือเปล่า?

7.อีเมล แปลว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อีเมล์” คำนี้เขียนกันผิดบ่อยๆ

8.แก๊ง แปลว่า กลุ่มคนที่ตั้งเป็นพวก(ในทางไม่ดี) มักเขียนผิดเป็นคำว่า “แก๊งค์” เอ่อ...มันมาจากคำภาษาอังกฤษว่า gang นะ การันต์มาจากไหน?

9.อนุญาต แปลว่า ยินยอม ยอมให้ ตกลง มักเขียนผิดเป็นคำว่า “อนุญาติ” ผิดกันเยอะจริงๆ สับสนกับคำว่า “ญาติ” หรือไง?

10.สังเกต แปลว่า กำหนดไว้ หมายไว้ ดูอย่างถ้วยถี่ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “สังเกตุ” นี่ก็ผิดเยอะ คงติดมาจากคำว่า “สาเหตุ” ล่ะมั้ง?

11.ออฟฟิศ แปลว่า สำนักงาน ที่ทำงาน คำนี้มาจากภาษาอังกฤษว่า “office” มักเขียนผิดเป็นคำว่า “ออฟฟิต”

 

12.โคตร แปลว่า วงศ์สกุล เผ่าพันธุ์ ต้นตระกูล มักเขียนผิดเป็นคำว่า “โครต” คำยอดฮิตของวัยรุ่น ไม่รู้เพราะสับสนกับคำว่า “เปรต” หรือเพราะในเกมออนไลน์บางเกมเขาดซ็นเซอร์คำนี้ก็ไม่รู้ เลยดัดแปลงคำซะเลยจะได้พิมพ์ได้ แล้วก็ติดนิสัยเขียนผิดเป็น “โครต” เรื่อยมา

13.ค่ะ แปลว่า คำรับที่ผู้หญิงใช้ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “คะ” ที่จริงคำนี้ไม่ได้เขียนผิดอะไรหรอก แต่ใช้เสียงสูงเสียงต่ำผิด ท้ายประโยคคำถามต้องใช้ “คะ” ก็เป็นใช้ “ค่ะ” ผิดที่ผิดทาง

14.เว็บไซต์ มาจากภาษาอังกฤษคำว่า “wab” แปลว่า ใยแมงมุม ตาข่าย และ “site” แปลว่า กำหนดสถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เว็ปไซด์” คำว่า “เวป” อาจติดมาจาก “WAP” ซึ่งแปลว่าอะไรก็ไม่รู้ แต่คำว่า “ไซด์” ที่เขียนผิดอาจมาจากคำว่า “side” ที่แปลว่า ด้านข้าง เห็นด้วย (อันนี้ จขกท. ยอมรับว่าเขียนผิดเหมือนกัน)

15.เกม แปลว่า การแข่งขัน การละเล่นเพื่อความสนุก ลักษณะนามเรียกการแข่งขันจบลงคราวหนึ่งๆ มักเขียนผิดเป็นคำว่า “เกมส์” อันนี้เราไม่แน่ใจนะ แต่ถ้าจะให้มีความหมายในภาษาไทยต้องใช้ “เกม” เพราะมันมาจากคำว่า “game” ในภาษาอังกฤษ

16.ไหม แปลว่า ชื่อแมลงชนิดหนึ่งมีใยใช้ทอผ้า ในประโยคคำถาม มักเขียนผิดเป็นคำว่า “มั้ย” ที่เปลี่ยนไปอาจเป็นเพราะเพื่อให้เสียงสูงขึ้น แต่ก็ผิดนะขอบอก (คำว่า มั้ย จขกท. ยอมรับเลยว่าเขียนผิดจนติดนิสัยไปแล้ว)

17.ค้อน เขียนผิดเป็น “ฆ้อน” อาจสับสนกับ “ฆ้อง” ที่เป็นเครื่องดนตรี

การ เขียนภาษาไทยผิดๆ ถือเป็นคนละประเด็นกับการ ตั้งใจใช้ภาษาไทยแบบวิบัติ เพราะการเขียนคำผิดนี่เกิดจากความเข้าใจผิด หรือรับรู้มาผิดๆ เท่านั้นเอง แก้ไขได้ไม่ยาก วิธีแก้ก็แค่หัดเขียนบ่อยๆ ให้มั้ยถูก เดี๋ยวก็หาย ส่วนการใช้ภาษาวิบัติที่ใช้กันมากในหมู่วันรุ่น เช่น
            หรอ     มาจากคำว่า     เหรอ
            อารัย    มาจากคำว่า     อะไร
            แร้ว      มาจากคำว่า     แล้ว
            ครัย      มาจากคำว่า     ใคร
            สาด     มาจากคำว่า     สัตว์
ที่มา:http://dek-d.com/board/view.php?id=1375536
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Ak@tsuKII ที่ 09-09-2009 23:14:22
 :pig4: :pig4:

ขอบคุณมากค่ะ

แต่ก่อนก็ใช่ เท่ห์ แบบนี้เหมือนกัน
แล้วมีวันนึงสงสัยงว่าเท่สะกดแบบไหนถึงจะถูก เลยเสิร์ชเปิด พจนานุกรม
จริงๆเลยรู้ว่า ที่ถูกคือ เท่   :z2:   



หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 09-09-2009 23:40:16
ขอบคุณน้องนิวค่ะ สำหรับความรู้เพิ่มเติม
พี่ยอมรับเลยว่าบางคำใช้ผิดมาตลอด
อย่างเช่นคำว่า ไหม ในนิยายจะชอบเขียนไม๊ เพราะติดจากเสียงพูด แต่ก็ยังมีคนบอกว่าให้ใช้ 'มั้ย' ก็พออนุโลมให้ใช้ได้ในช่วงที่เป็นคำพูด
อย่างคำว่า 'ออฟฟิศ'  ก็ใช้ผิดมาตลอด เป็นออฟฟิซ :z3:

สำหรับคำถามของการใช้ นี่ นี้ ไม่กล้าตอบค่ะ กลัวตอบผิด แต่ถ้าใครรู้จะช่วยหามาตอบก็คงจะดี  :pig4:เพราะตัวเองก็ยัง ใช้คำว่า ล่ะ หละ หล่ะ นี่ เนี่ย อย่างไม่มั่นใจ
ตอนนี้ต้องใช้วิธีอ่านหนังสือแล้วคอยสังเกตและจดจำไว้

นิยายในเล้าหลายๆเรื่อง ก็ยังสับสนกับคำว่า หน้าตา ไปใช้เป็น น่าตา
หรือคำว่า ให้ ใช้เป็น หั้ย และอีกหลายๆคำ  ไม่รู้ว่าไม่รู้จริงๆหรือว่าเป็นภาษาวัยรุ่นก็ไม่แน่ใจ
อยากให้ปรับปรุงกันไปเรื่อยๆ เพราะมันเป็นภาษาของเราเอง  ถ้าเราใช้ภาษาที่ถูกต้องคนที่ได้ประโยชน์มากที่สุดก็คือตัวเราเองค่ะ

ถ้าใครไปเจอที่ไหนมาเพิ่มก็ช่วยกันมาลงนะคะ เพื่อให้คนอื่นได้ความรู้ไปด้วย :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 00:44:15
นิยายในเล้ายังมีคำที่ใช้ผิดอยู่หลายคำจริงๆครับพี่ฟางจากที่นิวอ่านๆดู
เช่น   เครียด หลายเรื่องเขียนเป็น เคลียด
       โอกาส เขียนเป็น โอกาศ              
ที่ยกมานี่ คือ ที่เห็นแล้วรู้สึกว่าไม่น่าผิดเลย
จุดผิดอื่นๆดูเหมือนจะเป็นเรื่องของพิมพ์ผิด และความเคยชินจากเอ็ม

การใช้คำว่า นี่ กับ นี้
สองคำนี้จะออกแนวใช้เพื่อชี้เฉพาะ
"นี่"
เราสามารถใช้ได้หลายๆแบบ
ใช้แทนคำเพื่อสื่อว่าอยู่ใกล้ๆน่ะ: นี่หมายความว่าอะไร  นี่ใครกัน นี่คืออะไร
ใช้ขยายคำอื่นๆ: แมวนี่สวยดีครับ  ไข่ไก่นี่ดูสด  อยู่นี่ไง  มานี่เดี๋ยวนี้
ใช้ท้ายคำ(อันนี้น่าสนใจดีชอบๆเปิดเจอในพจนานุกรม): เดี๋ยวเฆี่ยนเสียนี่

นอกจากนี้ยังเห็นใช้อีกหลายคำนะครับไม่ได้ตายตัว เช่น นี่แน่ะ นี่แหละ นี่เอง นี่นั่น
เลยแอบลองเปิดพจนานุกรมดู ปรากฏว่ามีที่น่าสนใจอยู่คำ คือ นี่นัน
นี่นัน ใช้ในความหมายว่า อึกทึก (จริงๆยังไม่เคยเห็นมีใช้ที่ไหนมาก่อนเลย)

"นี้"
นี้เป็นคำที่ใช้ง่าย เท่าที่เห็นคือแบบใช้บอกเล่า กับ ในลักษณะเชิงคำถาม
เช่น ทุกวันนี้ ณ เวลานี้ ผู้หญิงคนนี้ (ลักษณะดูจะชี้เฉพาะ)
      การ์ตูนเล่มนี้วางอยู่ตรงไหน (สังเกตว่าแสดงความเจาะจงแต่ในลักษณะคำถาม)

ล่ะ หล่ะ และ หละ
"ล่ะ"
ใช้เพื่อเน้นเสียงให้ฟังแล้วแบบเหมือนเราจะต้องตอบรับว่างั้น
เช่น จริงหรือเปล่าล่ะ  ตรงนี้ใช่ไหมล่ะ

"หล่ะ"
ไม่รู้วิธีใช้ ลองเปิดพจนานุกรมดูไม่มีความหมายงั้นหมายความว่าอย่าใช้เลยครับ 555+

"หละ"
คำนี้ถ้าในทำนองของการออกเสียง ดูเหมือนกับว่าจะถูกแต่เอาเข้าจริง
หละ เป็น ชื่อโรคอย่างหนึ่งพบในเด็กเล็กเท่านั้น
แต่ก็เห็นมีใช้ แต่คำว่า หละหลวม เท่านั้นครับ

นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: mecon ที่ 10-09-2009 00:49:11
^
^
เก่งที่ซู้ด น้องนิว :จุ๊บๆ: ขอบคุณนะคะ

อ่านแล้วสะท้อนใจติดภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน
ภาษาวิบัติหมด  ข้าน้อยแย่จริงๆ

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: crazykung ที่ 10-09-2009 01:02:32
น้องๆอ่านทีอาจจะทำคะแนนสอบ แอดมินภาษาไทยได้เต็ม

แต่ข้าพเจ้าเกินเยียวยาแล้ว

ภาษาไทยไม่เข้าหัวเลยแงๆๆๆ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 01:41:37
 :z2: :z2: :z2:
เรื่องของคำผิดยิ่งอ่านยิ่งได้ความรู้ บางอย่างที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้มากขึ้น
มีคำอีกจำนวนหนึ่งที่ไปอ่านเจอแล้วคิดว่าน่าสนใจเลยนำมาแปะให้อ่าน
"ราด" กับ "ลาด"
          เคยเห็นป้ายว่า “ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า” บ้าง “ลาดหน้า” บ้าง  ร้านขายก๋วยเตี๋ยวมักจะเห็นเขียนไว้อย่างนั้นจริง ๆ  สิ่งที่จะช่วยให้เราเกิดความมั่นใจได้ ก็คือพจนานุกรม  เพราะเป็นหนังสือที่อ้างอิงที่ถูกต้องที่สุดที่จะอธิบายความหมายของคำได้ ในพจนานุกรมให้ความหมายของคำว่า “ราด” ว่า ถ้าเป็นคำกริยา มีความหมายว่า “เทของเหลว ๆ  เช่นน้ำให้กระจายแผ่ไป หรือเพรื่อเรี่ยรายไปทั่ว"    
          ส่วนคำว่า “ลาด” ถ้าเป็นคำกริยามีความหมายว่า  “ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม,  ถนนลาดยาง, เดินตรวจ (ลาดตระเวณ)  ถ้าเป็นคำวิเศษณ์ มีความหมายว่า  “แผ่แบนลงไป ต่ำลงทีละน้อย ไม่ชัน”  เพราะฉะนั้นการใช้คำนี้กับก๋วยเตี๋ยวจึงต้องใช้ว่า  “ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า” แน่นอน ตัวอย่างข้อความที่ใช้คำว่า  “ราด และ  “ลาด

การใช้คำว่า "เผอเรอ"  ไม่ใช่ "เผลอเรอ"
          ก็มักเป็นคำที่ใช้กันผิด และเวลาเราใช้คำนี้ มักจะมีคนทักท้วงเสมอว่า “เอ๊ะ เราใช้ผิดหรือเปล่า” ตามความหมายในพจนานุกรม  "เผอเรอ" มีความหมายว่า เลินเล่อ ไม่รอบคอบ สุรุ่ยสุร่าย เช่น  "การทำงานที่เกี่ยวกับการเงินต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบมาก จะทำเผอเรอ  ให้ผิดพลาดไม่ได้" หรือตัวอย่างประโยค  "คนทุกคนไม่ควรใช้จ่ายให้เผอเรอ ยุคนี้เป็นยุคที่ต้องประหยัด"        
          ส่วนคำว่า "เผลอ" มีความหมายว่า หลงลืม ไม่ระวังตัว  คำ  "เผอเรอ"  บ่งบอกถึงความหลงลืมหรือไม่ระมัดระวังตัวอย่างมาก จนถึงขั้นเลินเล่อ ไม่รอบคอบ หรือขาดความระมัดระวังตัวไปเลย จึงควรใช้คำนี้อย่างระมัดระวัง  อย่าใช้ เผลอ แทน เผอเรอ หรือ ใช้ เผอเรอ แทน เผลอ หรือไปใช้ผิดเป็น เผอเรอ (ออกมาเพราะกิน,  อิ่มมาก)
        
"เผยแพร่" กับ "เผยแผ่"
          "เผยแพร่"เป็นอีกคำที่มักจะใช้กันผิดอยู่เสมอ เช่น ใช้ว่า "เผยแพร่ศาสนา" ที่ถูกต้อง ต้องใช้ว่า  "เผยแผ่ศาสนา" มักใช้สับสนกับคำว่า "เผยแพร่" มีความหมายว่า การโฆษณาให้แพร่หลาย สิ่งที่โฆษณานั้นจะดี  หรือไม่ดีก็ได้ ผู้เผยแพร่ไม่ได้คำนึงถึงผู้รับ  หวังผลประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว เช่น การโฆษณาเผยแพร่สินค้าต่าง ๆ การเผยแพร่ชื่อเสียงของบริษัท การเผยแพร่ชื่อเสียงของโรงเรียน การเผยแพร่กิจกรรมการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย  เหล่านี้ใช้ เผยแพร่
           ส่วนคำว่า "เผยแผ่" คือการทำให้ขยายออกไป  หรือ การขยายออกไปด้วยการยกเอาความดีเด่นของสิ่งที่จะเผยแผ่มาทำให้ปรากฎแก่ผู้รับ ทำให้ผู้รับได้รู้ ได้ทราบในสิ่งที่ยังไม่รู้ไม่ทราบ  หรือทราบอยู่บ้างแล้ว หรือรู้อยู่บ้างแล้วจะได้รู้และทราบแจ่มแจ้งขึ้น แต่ไม่มีการบังคับให้เชื่อ หรือจำต้องรับเอาแต่ประการใด เป็นการยกเอาความดีเด่นของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีอยู่ในตัวมาตีแผ่ให้ปรากฎ  เช่น  “การเผยแผ่ศาสนา” ได้แก่การเสนอความดีของศาสนาให้ปรากฏแก่ผู้รับ หรือการเผยแผ่ลัทธิ  ก็คือการเสนอให้เห็นว่าลัทธิดังกล่าวนั้นมีดีอย่างไร  

ที่มา:http://poobpab.com/content/lakpasa/wrong_word.htm
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 10-09-2009 07:55:58
^
^
 :z13: น้องนิว

 :pig4: ค่ะ รู้สึกว่าตัวเองก็ใช้หลายคำผิดเหมือนกัน
อย่างคำว่า เกม เมื่อก่อนก็ใช้ เกม แต่ไป ๆ มา ๆ ไม่รู้ไปเห็นจากไหน เลยใช้ เกมส์
 :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 10-09-2009 09:30:12
ขอบคุณน้องนิวค่ะ ที่ช่วยให้ความกระจ่าง คาดว่าต้องกลับไปแก้ที่ตัวเองเขียนผิดมากมาย :z10:

วันนี้มีมาฝากอีก  ที่มาจากเวบนี้ http://www.oknation.net/blog/nana/2007/11/08/entry-1


พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคำเหล่านี้เอาไว้ดังนี้


" พันธุ์   น.พวกพ้อง, พี่น้อง, วงศ์วาน. (ป., ส.) ; เทือกเถา, เหล่ากอ ; พืช. "


" พรรณ์   น.สีของผิว ; ชนิด. "


" พรรค์   น.หมู่คนที่เข้ารวมกันเป็นพวกเป็นฝ่าย. "


ดังนั้น เมื่อเราพูดว่า " คนพันธุ์นั้น " ก็ต้องหมายความว่า คนพวกนั้น


ถ้าเราพูดว่า " ของพรรณ์นี้ " ก็ต้องหมายความว่า ของชนิดนี้


ถ้าบอกว่า " ไอ้พวกพรรค์นี้ " ก็ต้องหมายถึง คนหมู่นี้ หรือฝ่ายนี้


ทั้งสามคำเป็นคำนามเหมือนกัน แต่ต้องใช้ให้ถูกชนิดในความหมายของคำ
................ ไม่อย่างนั้น ก็ถือว่าเขียนผิด ..................
เช่น ถ้าพูดว่า " ของพันธุ์นี้ " อย่างนี้ถือว่าผิด
หรือ " คนพรรณ์นี้ " นี่ก็ผิดอีกเหมือนกัน.

ซักไซ้ กับคำว่า ซักไซร้ คำไหนที่ควรใช้...............  

ดูจากรูปคำทั้งสองนี้แล้ว น่าจะนิยมเขียนคำว่า " ซักไซร้ " กันมากกว่า
เพราะความน่าจะเหมาะน่าจะควรกว่ากัน แต่แม้จะรูปสวยก็ถือว่าเขียนผิด


คำว่า " ไซร้ " คำเดียว เป็นคำวิเศษณ์ใช้เป็นคำสำหรับเน้นความหมายของคำหน้า
มีความหมายไปในทางว่า อย่างนั้น เช่นนั้น ทีเดียว


แต่คำว่า " ซักไซ้ " เป็นคำกริยา หมายถึง การไต่ถามไล่เลียงให้ถี่ถ้วน
เป็นลูกคำของคำว่า " ซัก " อีกทีหนึ่ง


" ซัก " เป็นคำกริยา คือ อาการที่ทำให้สะอาดด้วยน้ำ หรือไล่เลียงให้กระจ่างแจ้ง
มีลูกคำ เช่น " ซักซ้อม " เป็นคำกริยาเช่นกัน หมายถึง สอบให้แม่นยำ หรือ
สอบให้คล่อง หรือแนะกันเอาไว้ล่วงหน้า บางทีก็ใช้คำว่า " ซ้อมซัก " กลับกันก็ได้
ลูกคำอีกคำหนึ่ง คือ " ซักฟอก " ใช้เป็นคำกริยา คือ การชำระให้หมดมลทิน
หรือ ซักถามให้ได้ความจะแจ้ง บางทีก็ใช้กลับคำเป็น " ฟอกซัก " ก็มี
ลูกคำอีกคำคือ " ซักแห้ง " เป็นคำกริยาด้วย คือ การทำความสะอาดเสื้อผ้า
หรือสิ่งทอต่างๆด้วยวิธีพิเศษ เช่น ใช้สารเคมีโรยบนรอยเปื้อนแล้วปัดออก
หรือแช่ลงในสารละลายเคมี


และลูกคำสุดท้าย ก็คือ  " ซักไซ้ " ใช้ ซ.โซ่สองตัวและไม่มี ร.เรือ

ฉับพลัน กับคำว่า เฉียบพลัน ต่างกันอย่างไร  

คำว่า " เฉียบพลัน" เดิมเป็นคำที่ใช้ในวงการแพทย์ มีความหมายว่า แรงมาก
ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Acute มีความรุนแรงยิ่งกว่าฉับพลัน
เนื่องจากเป็นคำใหม่และใช้กันในวงจำกัด พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
พ.ศ. 2493 จึงยังไม่มีการเก็บคำนี้ไว้ ภายหลังเมื่อมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย
จึงได้เก็บคำนี้ไว้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ดังนี้


เฉียบ ว.ยิ่งนัก, จัด เช่น เย็นเฉียบ, คมเฉียบ. เฉียบขาด  ว.เด็ดขาด.
เฉียบพลัน ว.รุนแรงมาก. เฉียบแหลม ก.ฉลาดหลักแหลม.


ส่วนคำว่า " ฉับพลัน " พจนานุกรมให้ความหมายไว้ว่า
ฉับ, ฉับๆ ว.อาการที่พูดหรือฟันอย่างรวดเร็ว เช่น ฟันฉับๆ ; เสียงดัง
เช่นนั้น. ฉับพลันทันทีทันใด ทันทีทันควัน ฉับไว ว.รวดเร็ว

บัณฑิต กับคำว่า บัณฑิตย์
ต่างกันตรง ย.ยักษ์การันต์เท่านั้น และคำทั้งสองก็ใช้เป็นคำนาม
เหมือนกันทั้งสองคำ แต่จะใช้ในความหมายที่ต่างกัน...


"บัณฑิต" อ่านว่า  บัน-ดิด  เป็นคำนามหมายถึง ผู้ทรงความรู้
ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ เรียกผู้สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาซึ่งมี 3 ขั้น คือ
ปริญญาตรี  ว่า  บัณฑิต
ปริญญาโท  ว่า  มหาบัณฑิต
ปริญญาเอก  ว่า  ดุษฎีบัณฑิต
หรือเรียกผู้มีความสามารถเป็นพิเศษโดยกำเนิด
เช่น คนนี้เป็นบัณฑิตในทางเล่นดนตรี...


ส่วนคำว่า "บัณฑิตย์" ซึ่งก็อ่านว่า  บัน-ดิด  เหมือนกัน
เป็นคำนาม หมายถึง ความรอบรู้ การเรียน และความเป็นบัณฑิต...


สังเกตให้ดีว่า ความหมายไม่เหมือนกัน
อันหนึ่งหมายถึง ตัวคน
แต่อีกอันหนึ่งหมายถึง ตัวองค์ความรู้ การเรียนรู้...




 ขอบคุณที่ติดตาม ภาษาไทยวันละนิด ค่ะ :pig4:


หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: SuMoDevil ที่ 10-09-2009 11:29:57

เห็นกระทู้แบบนี้แล้วดีใจจังเลยครับ  อย่างน้อยก็ได้รู้ว่ายังมีคนที่อนุรักษ์ภาษาไทยอยู่เหมือนกัน  ขอบคุณ จขกท. และคนที่เอาความรู้มาให้อ่านกันด้วยครับ

มีคนถามถึงคำว่า เกม หรือ เกมส์  จริงๆแล้วใช้ได้ทั้งคู่นะครับ  แต่ความหมายจะไม่เหมือนกัน  เป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษตรงตัวเลยครับ นั่นคือ game และ games

เกม จะใช้กับ การเล่นที่มีประเภทของการแข่งขันแบบเดียวตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ
เช่น  เล่นวินนิ่ง  เล่นดอทเอ  เล่นฟุตบอล  เล่นบาสเกตบอล  ถึงแม้จะเป็นทัวร์นาเม้นท์  ก็เรียก เกม  เพราะมีเฉพาะบอลหรือบาส อย่างเดียวตั้งแต่ต้นจนจบ

เกมส์  จะใช้กับ  การเล่นที่มีประเภทของการแข่งขันหลายรายการ
ที่ใกล้ตัวเราที่สุดและทุกคนเคยผ่านมาแล้วคือ กีฬาสี  เพราะประกอบไปด้วยกีฬาหลายประเภท เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล วอลเล่ย์บอล ปิงปอง อะไรก็ว่าไป
สังเกตได้ง่ายๆจากชื่อของงานนั่นละครับ  เช่น นิลุบลเกมส์  ราชพฤกษ์เกมส์  จามจุรีเกมส์  เป็นต้น

รวมทั้ง กีฬาระดับชาติ  ที่มีการแข่งขันหลายประเภทก็เช่นเดียวกัน  บางกอกเกมส์  ซีเกมส์ เอเชี่ยนเกมส์ โอลิมปิกเกมส์ o13
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: manami1155 ที่ 10-09-2009 11:41:45
ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามค่า
+1 ให้คุณ [N]€ẃÿ{k}uñĢ
ขอบคุณมากๆค่ะ

ต่อไปก็จะพยายามใช้ นี่ กับ นี้ให้ถูกต้องมากขึ้น

วันนี้ก็ขอถามอีกค่ะว่าคำว่าเขินที่ถูกต้อง ต้องเป็น "เขิน" หรือ "เขิล" ค่ะ
โดยปกติแล้วเราใช้เขิน แต่เห็นคนอื่นใช้เขิลกันเลยชักไม่มั่นใจในตัวเอง แหะๆ ><"
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 11:44:20
+1 ให้พี่ฟาง และรีบน เลยครับ
คำเหล่านี้ใช้ยากทั้งสิ้น
ขอบอกเลยว่า พันธุ์ พรรณ์ และ พรรค์ เกิดมายังไม่เคยใช้ถูกเลยเป็นอะไรที่แปลกดี
คำว่า เกม และ เกมส์ ก็ใช้กันจนติดว่าต้อง เกมส์ ขอบคุณ สำหรับความรู้

“ฉับพลัน” และ “เฉียบพลัน”
นิว ขอพูดตามที่เข้าใจเพิ่มเติมนะครับ
ฉับพลัน หมายถึง ทันทีทันใด หรือ ทันทีทันควัน
ตัวอย่างเช่น
น้ำป่า และน้ำหลาก มีมากกว่าปีก่อนๆ อาจเป็นเหตุให้เกิด น้ำท่วมโดยฉับพลันได้
ผู้ที่จะมาบริหารประเทศ ต้องมีความเข้าใจ ในปัญหา
ตัดสินใจอย่างฉลาด และ ฉับพลัน จึงจะช่วยพยุงประเทศให้ก้าวต่อไปได้

เฉียบพลัน หมายถึง เกิดขึ้นเร็วและรุนแรงมาก มักใช้กับ “โรค” หรือ “อาการเจ็บป่วย”
ลักษณะการใช้มีตัวอย่างที่ใกล้ตัว นิว มาก 555+
คือ นิวมีอาการของโรค ลมพิษ ซึ่งเป็นมาตั้งแต่เด็กเรียกได้ว่า
มีอาการลมพิษแบบเรื้อรัง (ซึ่งคำว่าเรื้อรัง มีความหมายตรงกันข้ามกับ เฉียบพลัน)
เรื้อรัง หมายถึง ช้านาน หรือ นานหาย (ใช้สำหรับโรค)
ในขณะที่บางคนเป็นลมพิษแบบอยู่ๆก็เป็นขึ้นมา ซึ่งอาจเกิดจากการแพ้อาหาร หรือ อื่นใด เรียกว่ามีอาการลมพิษแบบเฉียบพลัน

ขอเพิ่มคำให้ได้อ่านกัน
“ปกติ” และ “ปรกติ”
สองคำนี้มีความหมายเหมือนกัน คือ ธรรมดา เป็นไปตามเคย  ไม่ต่างจากธรรมดา  
ต่างเพียงแต่ที่มา
“ปกติ” มีที่มาจากภาษาบาลี และ
"ปรกติ" มีที่มาจาก ภาษาสันสกฤต
เช่น เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นไปโดยปกติ ไม่มีเรื่องให้น่าวิตก
      วันนี้อากาศกำลังดี ฟังข่าวว่า อากาศแบบนี้น่านอนอบู่บ้าน มันก็เป็นเรื่องปรกติ
นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: dahlia ที่ 10-09-2009 12:37:18
ที่ผ่านมา ผิดเพียบ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนตัวจบภาษาไทยแค่ป. 4  อนาถ....จริงๆ :z3:
ขอบคุณทุกท่านมากนะคะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 12:59:20
ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามค่า
+1 ให้คุณ [N]€ẃÿ{k}uñĢ
ขอบคุณมากๆค่ะ

ต่อไปก็จะพยายามใช้ นี่ กับ นี้ให้ถูกต้องมากขึ้น

วันนี้ก็ขอถามอีกค่ะว่าคำว่าเขินที่ถูกต้อง ต้องเป็น "เขิน" หรือ "เขิล" ค่ะ
โดยปกติแล้วเราใช้เขิน แต่เห็นคนอื่นใช้เขิลกันเลยชักไม่มั่นใจในตัวเอง แหะๆ ><"

มาตอบให้จ้ะ คำว่า
"เขิน" และ "เขิล"
คำที่เขียนถูก คือ เขิน หมายถึง รู้สึกกระดากอาย
เวลาใช้ในส่วนของการบรรยายเรื่อง หรือ เขียนตามหลักภาษาก็ควรใช้ เขิน
แต่หากนึกถึงเวลาใช้ภาษาพูด เขิล ก็จัดว่าใช้ได้
นั้นเวลาใช้ เขิล ใช้ใน บทสนทนา ภายใต้ " " ก็ไม่ผิด
เพื่อความสมจริงของการออกเสียง  เช่น "บ้าๆๆๆ เขิลอะอย่าพูดสิ"
เช่นเดียวกับคำว่า
งอน และ งอล ในเวลาใช้พูดจริงๆเราจะพูดด้วยเสียงคล้าย งอล
เช่น "เค้างอลล่ะ ไปไกลๆเลย"
นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 10-09-2009 13:05:06
ตามมา +1 ให้คุณฟาง น้องนิว และคุณSuMoDevil
อ่านแล้วรู้สึก ว่ามีหลายคำเขียนผิดบ่อยมาก อย่างคำว่า พันธุ์ บางครั้งจะสับสนกับคำว่า พันธ์
ซึ่งความหมายมันต่างกัน  
ถ้าจะพูดตรง ๆ นอกจากคำทั่วไปแล้ว
ยังมีคำราชาศัทพ์ที่เราไม่ค่อยได้ใช้กัน ทำให้ลืมกันไป
ง่าย ๆ เลย อย่างคำว่า "ถวายพระพร" กลายมาเป็น "อวยพร" เฉย ๆ อย่างงั้น
ฟังแล้วมันทำให้รู้สึกไม่ดีเท่าไรเลยค่ะ
 :pig4:ที่มาให้ความรู้ค่ะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: manami1155 ที่ 10-09-2009 16:15:07
ขอบคุณสำหรับการตอบคำถามค่า
+1 ให้คุณ [N]€ẃÿ{k}uñĢ
ขอบคุณมากๆค่ะ

ต่อไปก็จะพยายามใช้ นี่ กับ นี้ให้ถูกต้องมากขึ้น

วันนี้ก็ขอถามอีกค่ะว่าคำว่าเขินที่ถูกต้อง ต้องเป็น "เขิน" หรือ "เขิล" ค่ะ
โดยปกติแล้วเราใช้เขิน แต่เห็นคนอื่นใช้เขิลกันเลยชักไม่มั่นใจในตัวเอง แหะๆ ><"

มาตอบให้ครับ คำว่า
"เขิน" และ "เขิล"
คำที่เขียนถูก คือ เขิน หมายถึง รู้สึกกระดากอาย
เวลาใช้ในส่วนของการบรรยายเรื่อง หรือ เขียนตามหลักภาษาก็ควรใช้ เขิน
แต่หากนึกถึงเวลาใช้ภาษาพูด เขิล ก็จัดว่าใช้ได้
นั้นเวลาใช้ เขิล ใช้ใน บทสนทนา ภายใต้ "" ก็ไม่ผิด
เพื่อความสมจริงของการออกเสียง  เช่น "บ้าๆๆๆ เขิลอะอย่าพูดสิ"
เช่นเดียวกับคำว่า
งอน และ งอล ในเวลาใช้พูดจริงๆเราจะพูดด้วยเสียงคล้าย งอล
เช่น "เค้างอลล่ะ ไปไกลๆเลย"
นิว(LOVEis)

^
^
กระจ่างแจ่มแจ้งเลยทีนี้
ขอบคุณมากๆนะคะ :pig4:[/size]
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 10-09-2009 19:39:20
ขอเพิ่มเองสักสามคำ
“โครต” และ “โคตร”
โคตร เป็นอีกคำหนึ่งที่พึ่งจะรู้ว่าเขียนผิดมาตลอด ปกติแล้วจะเขียนเป็นคำว่า โครต
วันนี้เลยได้ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำนี้เพิ่มเติมดู
เพราะลองแอบเปิดพจนานุกรมแล้วผิด ทั้งที่คิดว่าถูก 555+
โคตร มีแม่ตัวสะกดเป็น แม่ กด ซึ่งพิจารณาได้จากเสียง โคด หมายความว่า เสียง /ด/ มาจาก ตร นั่นเอง อิๆ

“ประณีต” และ “ปราณีต”
ประณีต  เขียนผิดเป็น ปราณีต
ประณีต  หมายถึง ละเอียดลออ(มักทำด้วยมือ)
ซึ่ง ปราณีต ไม่มีความหมาย เราจะพบแต่คำว่า ปราษณี แปลว่า ส้นเท้า 555+

“ขยักขย่อน” และ “ขยักขย้อน”
ขยักขย่อน (~ขะหย่อน) หมายถึง ทำ ๆ หยุด ๆ ไม่ให้เสร็จในรวดเดียว
ขยักขย้อน (~ขะย้อน) หมายถึง มีอาการพะอืดพะอมจวนจะอาเจียน

หาแหล่งข้อมูลมาเพิ่มเติมให้ครับเพราะเป็นเรื่องน่ารู้ทั้งสิ้น

คะยั้นคะยอ
หมายถึง ชักชวนให้ตกลงใจด้วยการรบเร้า เห็นชอบเขียนเป็น ขยั้นขยอ

หยากไย่ หยักไย่ หมายถึง ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ
มักเขียนผิดเป็น หยากใย่

มนเทียร, มณเฑียร เขียนได้ 2 แบบ
แต่บางคนสะกดผิดเป็น มณเทียร หรือ มนเฑียร

ล่ำลา, ร่ำลา(แต่เดิมใช้คำนี้จึงยังอนุโลมให้ใช้ต่อ) ที่ถูกจริงๆควรใช้คำว่า ล่ำลา

เดียดฉันท์ บางคนสะกดผิดเป็น เดียจฉันท์

เบญจเพส หมายถึง ยี่สิบห้า (เพสหมายถึงยี่สิบ) บางคนสะกดผิดเป็น เบญจเพศ

อุทธรณ์ หมายถึง ศาลชั้นกลาง บางคนสะกดผิดเป็น อุธรณ์

บังสุกุล เห็นหลายๆวัดเขียนว่า"บังสกุล" จริงๆคือ บังสุกุล แปลว่า เปื้อนฝุ่น ผ้า

ปีติ ที่ส่วนใหญ่มักจะเขียนผิดกันเป็น ปิติ

ธนาคารเลือด เป็นคำที่ใช้ผิดความหมายมาก ธนาคาร = ธน + อาคาร (ธน แปลว่า เงิน)
ต้องใช้คำว่า “คลังเลือด” ถึงจะถูกต้อง

ที่มา:http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/02/K5110885/K5110885.html

อันสุดท้ายเป็นเรื่องของวิธีการจำคำที่ถูก
คำที่มี  ญ  สะกด  มี  ๔๖ คำ

                      ลำเค็ญครวญเข็ญใจ                    ควาญช้างไปหานงคราญ
             เชิญขวัญเพ็ญสำราญ                            ผลาญรำคาญลาญระทม
                      เผอิญเผชิญหาญ                        เหรียญรำบาญอัญขยม
             รบราญสราญชม                                  ดอกอัญชันอัญเชิญเทอญ  
                      ประจญประจัญบาน                      ผจญการกิจบังเอิญ
             สำคัญหมั่นเจริญ                                  ถือกุญแจรัญจวนใจ
                      รามัญมอญจำเริญ                       เขาสรรเสริญไม่จัญไ-
             ชำนาญชาญเกรียงไกร                           เร่งผจัญตามบัญชา
                      จรูญบำเพ็ญยิ่ง                           บำนาญสิ่งสะคราญตา
             ประมวญชวนกันมา                               สูบกัญชาไม่ดีเลย    

การเขียน  บัน  และ  บรร

              คำไทยที่ใช้  บัน  นำหน้า  คำไทยที่ปรากฏนอกจากกลอนนี้ให้ใช้  บรร

                        บันดาลลงบันได                       บันทึกให้ดูจงดี
               รื่นเริงบันเทิงมี                                  เสียงบันลือสนั่นดัง
                        บันโดย บันโหยให้                    บันเหินไปจากรวงรัง
               บันทึงถึงความหลัง                             บันเดินนั่งนอนบันดล  
                        บันกวดเอาลวดรัด                     บันจวบจัดตกแต่งตน
               คำ  บัน  นั้น ฉงน                               ระวังปน  กับ  ร - หัน
              
ตัว  ทร  ที่  ออกเสียง  ซ    มีใช้อยู่  ๑๗  คำ
                      
                        ทรวดทรงทราบทรามทราย          ทรุดโทรมหมายนกอินทรี
               มัทรี  อินทรีย์มี                                 เทริด  นนทรี  พุทราเพรา
                        ทรวงไทรทรัพย์แทรกวัด             โทรมนัสฉะเชิงเทรา
               ตัว  ทร  เหล่านี้เรา                            ออกสำเนียงเป็นเสียง  ซ  

คำที่ใช้  จ  สะกด

                         ตำรวจตรวจคนเท็จ                  เสร็จสำเร็จระเห็จไป
               สมเด็จเสด็จไหน                              ตรวจตราไวดุจนายงาน
                         อำนาจอาจบำเหน็จ                 จรวดระเห็จเผด็จการ
               ฉกาจรังเกียจวาน                              คนเกียจคร้านไม่สู้ดี
                         แก้วเก็จทำเก่งกาจ                  ประดุจชาติทรพี
               โสรจสรงลงวารี                                กำเหน็จนี้ใช้ตัว  จ

คำไทยที่ใช้  ตัว  ล  สะกด  

                            ตำบลยุบลสรวล                  ยลสำรวลนวลกำนล
                   บันดาลในบันดล                          ค่ากำนลของกำนัล
                            ระบิลกบิลแบบ                   กลทางแคบเข้าเคียมคัล
                   ดลใจให้รางวัล                            ปีขาลบันเดินเมิลมอง      

ที่มา:
จากหนังสือหลักภาษาไทย ของอาจารย์กำชัย ทองหล่อ กรุงเทพ:อมรการพิมพ์ ๒๕๔๕
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Abracadabra ที่ 10-09-2009 21:22:33
 :z13: จิ้มบวกให้พี่ฟาง

ขอบคุณมากๆนะครับ

บางที บางคำก็พอรู้บ้าง แต่ติดที่ภาษาแชทมันเข้ามามีอิทธิพลมากกว่าอ่ะครับ

แต่หลายคำก็เริ่มไม่แน่ใจว่าว่า เอ๊ะ ! ตกลงคำนี้สะกดยังไง
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 10-09-2009 22:06:55
  o13  กลอนที่น้องนิวเอามาลง ดีมากๆเลยวันหลังคำไหนไม่แน่ใจต้องลองมาอ่านดู ขอบคุณนะคะที่ช่วยหามาลง
พี่ก็งูๆปลาๆ  :laugh:ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ
แค่อยากเอามาลงไว้เผื่อเวลาสงสัยจะได้มาหาดูง่ายๆ
วันนี้ไปหาคำว่าซีฟู้ดส์ แต่ไม่เจอ ไปได้พวกนี้มา รู้ไว้ใช่ว่าค่ะ ใช้กันบ่อยๆ

รายการคำทับศัพท์รวบรวมจากการสะกดตามราชบัณฑิตยสถาน

address = แอดเดรส
air = แอร์
alcohol = แอลกอฮอล์
arabic = อารบิก
art = อาร์ต
board = บอร์ด
band = แบนด์
brake = เบรก
bar = บาร์
bank = แบงก์
cake = เค้ก
calorie = แคลอรี
card = การ์ด
catalog = แค็ตตาล็อก
charge = ชาร์จ
chocolate = ช็อกโกแลต, ช็อกโกเลต
concert = คอนเสิร์ต
copy = ก๊อปปี้
counter = เคาน์เตอร์
cookie = คุกกี้
click = คลิก
check = เช็ก
classic = คลาสสิก
disc = ดิสก์
download = ดาวน์โหลด
drive = ไดร์ฟ
down = ดาวน์
email = อีเมล
film = ฟิล์ม
gas = แก๊ส
internet = อินเทอร์เน็ต
jeans = ยีนส์
jackpot = แจ็กพอต
knock = น็อก
lift = ลิฟต์
microphone = ไมโครโฟน
note = โน้ต
notebook = โน้ตบุ๊ก
picnic = ปิกนิก
plug = ปลั๊ก
postcard = โปสต์การ์ด
pump = ปั๊ม
quota = โควตา
shirt = เชิ้ต
shock = ช็อก
script = สคริปต์
software = ซอฟต์แวร์
switch = สวิตช์
steak = สเต๊ก
technique = เทคนิค
vaccine = วัคซีน
vitamin = วิตามิน
web site = เว็บไซต์
x-ray = เอกซเรย์
zigzag = ซิกแซ็ก   :L2:

ที่มา http://www.oknation.net/blog/prapun12/2009/08/03/entry-1/comment
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 11-09-2009 02:21:24
ว้าก  มีเขียนผิดอยู่หลายตัวเลยอะ


**********************

กฎ - รวมไปถึงคำอื่น ๆ เช่น กฎเกณฑ์ กฎหมู่ (ผู้คุมกฎ ก็ใช้แบบนี้ครับ) มักสะกดผิดเป็น “ฏ” คงไปนึกเทียบกับคำว่า ปรากฏ กบฏ  *ข้อสังเกต : ถ้าคำพยางค์เดียว ใช้ ฎ ชฎา แต่ถ้าคำสองพยางค์ ลงด้วย ฏ ปฏัก = อันนี้เข้าใจถูกอยู่แล้ว  :เฮ้อ:

กะพริบ - เช่น กะพริบตา มักเขียนผิดเป็น “กระพริบ” กันมากด้วย  = เหมือนกับ กะเพรา เลย

ช็อก - สภาพที่ร่างกายเสียเลือดมาก , สะเทือนใจรุนแรง , ถูกกระแสไฟฟ้า เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า shock  = ชอบสะกดด้วย ค ตลอดเลย

เช็ก - ตรวจสิ่งต่าง ๆ เป็นคำใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า check (ส่วน “เช็ค” หมายความถึงพวกเช็คที่เป็นสมุดครับ อย่างเช่นเขียนเช็คจ่ายสด มาจากคำอังกฤษว่า cheque)

ตงิด - เช่น หิวตงิด ๆ ออกเสียงว่า “ตะหงิด” จึงมักเขียนผิดไปตามเสียงอ่าน = เขียนผิดเหมือนกัน อิอิ

เท่ - มักเขียนผิดเป็น “เท่ห์” (อย่างหลังนี่จะเขียนเป็น “สนเท่ห์” ที่แปลว่า สงสัย ครับ) = ชอบใส่ ห์ ด้วยอะ แงๆ

นัยน์ตา - (เจอบางคนใช้ นัยตา , นัยย์ตา หรือแม้แต่ นัยต์ตา ก็มี) = ชอบเขียนเป็น นัยตา อยุ๋เรื่อย

ปาฏิหาริย์ - (บางคนใช้ ปาฏิหาร แบบหารเลขมาเลย) = ชอบลืม สระอิ ตลอดเลย

มนตร์ - เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์ แต่คำว่า “มนต์” จะใช้เกี่ยวกับพิธีการทางศาสนา เช่น สวดมนต์ = ความรู้ใหม่

โลกันตร์ - ชื่อขุมนรกที่มีการลงโทษหนักที่สุด ไม่ผุดไม่เกิด มักเขียนผิดเป็น “โลกันต์”  = ชอบเขียนผิดเหมือนกัน

หลับใหล - เช่น ในบทโคลงลิลิตพระลอว่า “สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่” = ยี่สิบไม้ม้วนก็บอกไว้แล้วนิ


ต่ออีกหน่อยค่ะ

ทโมน – เช่น ลิงทโมนป้อมอัศวิน
พิสมัย – (ความรัก , ความชื่นชม) มักใช้ผิดเป็น “พิศมัย” แต่ชื่อเฉพาะต้องคงไว้ (เช่น ชื่อคนครับ)

ไย – ในคำที่ใช้ว่า จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา อย่าไปไยดี มักเขียนผิดเป็น “ใย”

ลออ – (งาม) เช่น นวลลออ , (ถี่ถ้วน , รอบคอบ) เช่น ละเอียดลออ มักใช้ผิดเป็น “ละออ”

ละลวย – (งงงวย , ทำให้หลง) เช่น คาถามหาละลวย เทียบกับ ระรวย (แผ่ว ๆ เบา ๆ) เช่น หายใจระรวย หอมระรวย

เหลอหลา – (มีหน้าตาเซ่อ) เช่น ทำหน้าเหลอหลา

แหยม – (ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุกหรือหนวดไว้สองข้างริมฝีปาก) เช่น หนวดแหยม (เห็นคำนี้แล้วนึกถึงท่านอาเธอร์เลยนะครับ ^^)

แหย็ม – เป็นภาษาปากหมายถึง เข้าไปยุ่ง เช่น อย่าไปแหย็ม

อิริยาบถ – มักใช้ผิดเป็น “อิริยาบท”  =อันนี้ก็ผิดบ่อย

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: namtaan ที่ 11-09-2009 13:55:20
ขอบคุณนะคะที่นำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆ มาแบ่งปันกัน
บวก 1 แต้มให้คุณฟาง และน้องนิวจ้า

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 11-09-2009 23:14:11
วันนี้มีคำที่น่าสนใจมาเพิ่มให้คนที่ต้องการเพิ่มพูนคำให้หัวนะจ๊ะ 555+
บางคำจะเป็นคำที่เคยอ่านเจอในกระทู้นี้ไปแล้วเพียงจะมีวิธีการอธิบายที่ต่างไป
เพื่อความหลายในมุมมองที่ต่างๆกันลองอ่านดูนะ

"กงสุล" กับ "กงศุล"
.....คำนี้มีคนเขียนผิดเป็น "กงศุล" อยู่เสมอ ขณะที่ใช้ไปในความหมายที่เป็นตำแหน่งตัวแทนของประเทศหนึ่งที่ไปอยู่ในอีก ประเทศหนึ่ง หรือสถานที่อันเป็นที่อยู่ของพวกเขา ซึ่งมีเอกสิทธิ์ทางการทูต(ระวังนะครับคำนี้ก็ชอบผิดกัน เขียนเป็น ฑูต) ไม่ต้องขึ้นต่ออำนาจศาลของประเทศนั้นๆ
.....ที่เขียนผิด เข้าใจว่าน่าจะไปหลงติดกับคำว่า "ศุลกากร" ที่เป็นเรื่องของการจัดเก็บภาษี เพราะ "ศุล" ที่มี "ศ ศาลา" ทำให้คุ้นตานั่นเอง ทั้งที่มีความหมายต่างกัน
.....พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายของคำว่า "กงสุล"ไว้ว่า
.....(กฎ) น.ชื่อตำแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้งให้เป็นผู้แทนประจำ อยู่ในเมืองต่างๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง นั้นๆ และเพือดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพานิชย์
.....กงสุลมี ๒ ประเภท คือ
(๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของประเทศผู้แต่งตั้ง และ
(๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้งซึ่งไม่ใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งหรือคนชาติอื่นก็ได้
.....กงสุลที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทนฝ่ายกงสุล
.....ว.เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล พนักงานกงสุล
.....ส่วนคำว่า"ศุลกากร"นั้น ในพจนานุกรมเก็บคำนี้ไว้ในลูกคำของคำว่า "ศุลก-(สุนละกะ) ว.เนื่องด้วยการเก็บอากรจากสินค้าขาเข้าและขาออก ได้แก่ อากรขาเข้า และอากรขาออก ศุลการักษ์ น.เจ้าหน้าที่รักษาศุลกากร"

.....จะ เห็นว่าความหมายของคำว่า "กงสุล" และ "ศุลกากร" นั้นต่างกันและต้องจำไว้ว่า คำว่า "กงศุล" ไม่มีในพจนานุกรม คือเป็นคำที่เขียนผิดและหาความหมายอะไรไม่ได้นั่นเอง

กฎ กับคำว่า กฏ
.....ส่วนใหญ่จะใช้กันผิด บางท่านมีวิธีการจำที่ผิดๆ ยิ่งทำให้เกิดความสับสนเช่น คำว่า "กฎ" ใช้กับคำพวง กฎหมาย กฎกระทรวง หรือกฎอะไรต่างๆที่ออกโดยราชการ ส่วยคำว่า "กฏ" ใช้กับคำประเภท กฏเกณฑ์ กฏกระทรวง ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
.....ความจริงแล้ว ๒ คำนี้มีวิธีจำที่ง่ายๆคือ คำที่ขึ้นต้นด้วยกฎทั้งหมดใช้ กฎ (ฎ ชฎา)
สะกดทั้งสิ้น ส่วน กฏ(ฏ ปฏัก) มีใช้อยู่คำเดียวคือ หลังคำว่า ปรา เช่น ปรากฏ เป็นต้น
.....กฎ ตามพจนานุกรมบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ได้ให้ความหมายว่า เป็นกริยา หมายถึง จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ถ้าเป็นคำนาม หมายถึง กฎหมาย กฎกระทรวง ซึ่งเขาทำเอาไว้แล้ว เป็นระเบียบแบบแผน

"เกม" vs "เกมส์"
      คำนี้เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (GAMES) เมื่อเห็นภาษาอังกฤษมีตัว "S" อยู่ด้วย ภาษาไทยก็เลยใส่ "ส" การันต์เข้าไปเพื่อแสดงความเป็นพหูพจน์ตาม อย่างนี้ถือว่าเข้าใจผิด เนื่อจากภาษาไทยเมื่อยืมคำมาจากต่างประเทศ จะใช้ในรูปเอกพจน์(คำที่กล่าวถึงสิ่งเดียว) เพราะภาษาไทยมีรูปเอกพจน์และพหูพจน์(คำที่กล่าวถึงสิ่งที่มากกว่าสิ่งเดียว )เขียนอย่างเดียวกัน หากต้องการให้คำนั้นเป็นพหูพจน์ต้องใช้คำบริบท(คำแวดล้อม)อื่นเข้าช่วย เพราะเราคงไม่เขียน เด็กส์ แต่เราเขียนเป็น เด็กเหล่านั้น
      เพราะเหตุนี้ ทำให้เกิดคำไทยผิดๆมากมาย เช่น มันส์ ซ่าส์ ยากส์ ฯลฯ หากต้องการให้คนอ่านเห็นว่าสิ่งนั้นมันมีมาก คำไทยที่ถูกก็มี มันมาก มันมากที่สุด มันเหลือเกิน มิหนำซ้ำยังมีคนเขียน มันส์ส์ส์ส์ เพื่อให้เห็นถึงความมันเหลือเกิน

"กรณี" และ "กรณีย์"
เป็นคำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่ความหมายต่างกัน
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒ ให้ความหมายของทั้งสองคำไว้ว่า
กรณี น.คดี, เรื่อง, เหตุ เช่น ในกรณีนี้ = ในเรื่องนี้ ตรงกับคำบาลีและสันสกฤตว่า
กรณี หมายถึง ที่เป็นเหตุกระทำ
กรณีย์ น.กิจ ว.อันควรทำ, อันพึงทำ เช่น กรณียกิจ = หน้าที่อันพึงกระทำ

ดังนั้น ในการใช้ถ้าเรามุ่งไปที่เรื่อง ก็ต้องเขียนว่า "ในกรณีนี้" แต่ถ้ามุ่งไปที่ "กิจธุระนี้" หรือ "กิจอันนี้" ต้องเขียนว่า "ในกรณีย์นี้"

"กรีธา" vs "กรีฑา"
      มีการใช้คำเหล่านี้ผิดอยู่บ่อยๆ ถึงแม้จะเป็นคำพ้องเสียง แต่ความหมายแตกต่างกันมาก
      สรุปง่ายๆ กรีธามีความหมายว่า การยก, เคลื่อน, เดินทางเป็นหมู่เป็นกระบวน
ตัวอย่างเช่น พระองค์ทรงกรีธาทัพหลวงเข้าทำการศึก
ไม่ใช่ พระองค์ทรงกรีฑาทัพหลวงเข้าทำการศึก!
      กรีฑา เป็นภาษาสันสกฤต ภาษาบาลีใช้ว่า กีฬา กรีฑามีความหมายว่ากีฬาประเภทหนึ่ง แบ่งออกเป็นแผนกลู่และแผนกลาน, การเล่นสนุก, การประลองยุทธ
      ดังนั้นกรีธาใช้กับการเคลื่อนย้าย ส่วน กรีฑาใช้กับการแข่งขัน

กระบวนการ (กรรมวิธี) vs ขบวนการ
คำสองคำนี้มีความหมายแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่บางครั้งยังใช้กันผิด หากจะอธิบายความหมายของ"กระบวนการ" คงต้องยกคำว่า"กรรมวิธี" มาอธิบายประกอบ

"กระบวนการ" นั้นเป็นศัพท์บัญญัติ ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนคำว่า "PROCESS" และต่อมามีการบัญญัติศัพท์แทน "PROCESS" นี้อีกคำหนึ่งคือ "กรรมวิธี"

อาจารย์ เจริญ อินทรเกษตร ราชบัณฑิตคนสำคัญซึ่งเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการบัญญัติศัพท์มาตั้งแต่ต้นให้คำ อธิบายไว้ว่า "กระบวนการ"เป็นคำที่ใช้กว้างกว่า "กรรมวิธี" คือหมายถึงกระบวนการตามธรรมชาติที่หมายถึงการผุพังอยู่กับที่ โดยแร่ดูดน้ำไปแล้วขยายตัวทำให้แร่เดิมเปลี่ยนเป็นแร่ชนิดอื่น ลักษณะนี้ใช้คำว่า "กระบวนการ"

ส่วน PROCESS ที่ใช้ศัพท์บัญญัติว่า "กรรมวิธี" นั้น หมายถึงกรรมวิธีที่มนุษย์เข้าไปมีบทบาทเป็นส่วนใหญ่ เช่น หมายถึงกรรมวิธีทางเคมีที่เกี่ยวกับน้ำหรือสารประกอบที่มีน้ำรวมตัวกัน ถ้าอย่างนี้ไม่ควรใช้คำว่า "กระบวนการทางเคมี" แต่ใช้เป็น "กรรมวิธี" แต่กรรมวิธีบางครั้งใช้ในความหมายที่เป็นไปโดยธรรมชาติเหมือนกันเพียงแต่ใช้ กับเรื่องที่มนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องมากกว่า

พจนานุกรม ฉ.บัณฑิตย์ฯ เก็บคำ "กรรมวิธี" เอาไว้เป็นลูกคำของ "กรรม" โดยอธิบายว่า กรรมวิธี (น.)ลักษณะอาการหรือวิธีการที่ผันแปรหรือเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติหรือที่ มนุษย์ทำขึ้น อันดำเนินติดต่อกันเรื่อไปเป็นลำดับ, กระบวนวิธีดำเนินการในประดิษฐกรรม

ส่วน "กระบวนการ" มีความหมายว่า (น.)ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (อ. Process)

ขบวนการ: (น.)กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง (ขอเสริม ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Movement)

ดังนั้นหากเราจะแปลคำว่า PROCESS เป็นไทยก็ควรใช้คำว่า "กระบวนการ" หรือ "กรรมวิธี" (Process ที่เป็นไปตามธรรมชาติควรใช้คำว่า "กระบวนการ" ส่วน Process ที่มนุษย์ทำขึ้นควรใช้คำว่า "กรรมวิธี" แต่ทั้งนี้มิได้ถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัว ข้อสำคัญอยู่ที่ว่า "จะต้องดำเนินติดต่อกันเรื่อยไปเป็นลำดับ)
แต่หากจะแปลคำว่า MOVEMENT เป็นภาษาไทยควรใช้ "ขบวนการ" ไม่ใช่ "กระบวนการ"

"ประดิดประดอย" กับคำว่า "ประดิษฐ์ประดอย"
มีคนใช้ผิดๆเป็น "ประดิษฐ์ประดอย" แล้วอ้างว่า ในพจนานุกรม ฉ.ราชบัณฑิตย์ฯ พ.ศ.๒๔๙๓ ได้อธิบายความหมายของคำว่า "แกล้งเกลา" ซึ่งเป็นลูกคำของ "แกล้ง" โดยเขียนว่า "ว.ประณีต, ประดิษฐ์ประดอย" คือใช้ -ษฐ์

ทั้งที่ตรงคำว่า "ประดิด" พจนานุกรม ฉบับเดียวกันนี้ กลับเก็บเป็น "ประดิดประดอย"

ก็ต้องชี้แจงว่า คำอธิบายความของ "แกล้งเกลา" ที่เขียนเป็นประดิษฐ์ประดอย นั้นผิด ซึ่งทางราชบัณฑิตท่านก็ได้ตรวจพบเมื่อมีการยกร่างพจนานุกรมเล่มเล็ก และมีการแก้ไขจนเมื่อเป็นฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๕ คำอธิบายตรงที่เดิมจึงกลับเป็น "ประดิดประดอย"

พจนานุกรม ฉ.ราชบัณฑิตย์ฯ พ.ศ.๒๕๔๒ ให้มีความหมายว่า
"ประดิดประดอย ก.บรรจงทำให้งามและละเอียดลออยิ่งขึ้น, ใช้ว่าประดอย ก็ได้"

ต้องจำเอาไว้ว่า ถ้าใช้คำเดียวไม่เกี่ยวข้องกับใคร ใช้ "ประดิษฐ์" ได้ แต่ถ้าใช้นำคำอื่นหรือมีสร้อยต่อท้าย จะต้องเป็น "ประดิด" เสมอ

เพิ่มเติมเรื่องการออกเสียง
        ประวัติศาสตร์ [ปฺระหวัด, ปฺระหวัดติ-] ได้มีการจัดเสวนาสารพัดเรื่อง "ประวัติศาสตร์แห่งชาติไทย" วิทยากรทุกท่านออกเสียงว่า "ประ-หวัด-สาด" ทั้งหมด แต่ทางจอทีวี ผู้อ่านข่าวส่วนมากจะออกเสียคำนี้ว่า "ประ-หวัด-ติ-สาด" ควรจะมีคำชี้แจ้งทางสื่อสาธารณะว่า คำนี้ออกเสียงอ่านและพูดได้ทั้ง ๒ แบบ
        คำว่า "ประวัติศาสตร์นี้" เมื่อประมาณ ๔ ปีที่แล้ว นักร้องหญิงไทย คริสติน่า อากิล่า ได้ร้องเพลงเพลงหนึ่งที่มีคำว่า ประวัติศาสตร์ แต่เธอออกเสียงว่า "ประ-หวัด-สาด"..ผลปรากฎว่า มีคนบางกลุ่ม "ติ" เธอว่าเป็นผู้ที่ทำลายภาษาไทย...ดิฉันคิดว่า ทางค่ายเพลงคงจะมีการค้นคว้าจากพจนานุกรม ฉบับฯ แล้วว่าสามารถออกเสียงได้ทั้ง ๒ แบบ เธอจึงร้องเพลงนี้อย่างองอาจและไม่มีคำแก้ตัวจากค่ายเพลงใดๆทั้งสิ้น (อยากให้พวกนักร้องเพลงค่ายออกเสียง "คำควบกล้ำ"และตัว "ร และ ล" ให้ถูกต้องกว่านี้ ถ้าคิดว่าจะยึด "พจนานุกรม ฯ เป็นหลัก วันนี้มันมีอาการ "รกหู" จริงๆ )
       ดังนั้น วันนี้เราต้องยึดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับล่าสุดคือ ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นหลัก ก่อนที่จะวิพากย์วิจารณ์ใคร มิฉะนั้นมันจะเป็นการสับสนของผู้ชม ผู้ฟังและผุ้อ่านทั่วไป
คำว่า "มนุษยศาสตร์ [มะนุดสะยะ-,มะนุด] คำนี้ก็เช่นกันอ่าน พูดออกเสียงได้ทั้ง ๒ แบบ
คำว่า "มกุฎ" [มะกุด] จะได้ยินคนออกเสียงว่า "มงกุด" และ "มกุฎราชกุมาร"[มะกุดราดชะ-]

ที่มา:http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=1252&postdays=0&postorder=asc&start=15&sid=6187b1b97f09bebfd2594b1bef89f520
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: สาวบ้านนอก ที่ 12-09-2009 09:58:16
ภาษาไทยนี่อย่างยากเลยนะ :z3:
เพราะไปเอาภาษาบาลี สันสกฤต อะไรมาใช้ด้วย
แล้วก็ยังดิ้นได้ ดิ้นไปดิ้นมา วันก่อนยังเถียงกันเรื่อง วันอื่น นี่หมายถึง วันหน้าหรือวันหลัง
แล้วก็สรุปกันว่า น่าจะใช้ได้ทั้งสองอย่างคือหมายถึงวันในอนาคต หรือ คราวหน้าหรือครั้งต่อไป
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 12-09-2009 11:23:56
ยิ่งเข้ามาอ่านยิ่งอนาถ ตัวเอง  :z3:
แต่ก็ได้เข้าใจภาษาไทยมากขึ้น (เข้าใจว่ามันยากจัง  :sad4:)

 :pig4: คุณฟางกับน้องนิว
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 12-09-2009 16:45:54
วันนี้แอบเอาคำง่ายๆมาฝากนะจ๊ะ คือ
“ทาน”
ความหมายของคำว่า ทาน ตามพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542
ทาน ๑, ทาน- [ทานะ-, ทานนะ-] น. การให้, มักใช้ประกอบท้ายคำอื่น เช่น ธรรมทาน
           วิทยาทาน; สิ่งที่ให้ มักหมายถึงเงินหรือสิ่งของที่คนให้แก่คนยากจน,
           เป็นธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม. (ดู ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม).(ป.,ส.).

ทาน ๒ ก. ยันหรือรับไว้, มักใช้เข้าคู่กับคํา ต้าน เป็น ต้านทาน.

ทาน ๓ ก. สอบหนังสือให้ตรงกับต้นฉบับ.

ทุกวันนี้หลายๆครั้งเราใช้คำว่าทานแทนคำว่า"รับประทาน"ซึ่งเป็นการใช้คำผิดความหมาย
จริงๆแล้วคำว่า"กิน"ไม่ได้เป็นคำที่ไม่สุภาพอะไรนะอาจจะฟังห้วนๆไปหน่อย(แต่สุภาพ)
คือเราต้องอาศัยบริบทรอบข้างด้วยเวลาใช้คำ  
แต่ถ้าใช้เป็น “ยัด” “แดก” “ซัด” แลดูจะไม่สุภาพของจริง
หากเราไม่อยากจะใช้คำว่า "รับประทาน" ก็หันมาใช้คำว่า "กิน" กันดีกว่าครับ
อย่าใช้คำว่า ทานหรือยังครับ ทานแล้วถูกปากไหมครับ เป็นการใช้คำที่ผิด

รสชาติ “ไม่อร่อย”
พอพูดถึงเรื่องกิน นิว เลยขอแถมอีกคำนึงที่เห็นใช้กันผิดตลอด
เวลาเรากินอาหารแล้วรู้สึกอาหารไม่อร่อย (กระเดือกไม่ลง)
คำว่า “ไม่อร่อย” ใช้คำว่า ไม่เป็นสรรพรส  ไม่ใช่เขียนผิดกันเป็น ไม่เป็นสับปะรด

ไอติม ไอศครีม ไอศกรีม
เห็นมีนิยายเรื่องใหม่ลงแล้วตัวเอกของเรื่อง ชื่อ ไอติม เลยเอามาเขียนอ่านเล่นๆครับ
ทั้งหมดหมายถึงสิ่งเดียวกันครับ แต่
ไอติม เป็นภาษาพูด เขียนเล่นๆได้ แต่ไม่ใช้ในงานเขียนที่เป็นทางการ

ไอศครีม เป็นการกึ่งทางการ เขียนตามการออกเสียงของเจ้าของภาษา จริงๆแล้วไม่ถูกต้องตามหลัก แต่ได้ใช้กันมากจนเป็นที่ยอมรับไปในที่สุด(นิวก็ใช้อยู่ 555+)  

ไอศกรีม เป็นภาษาเขียนอย่างเป็นทางการที่ถูกต้องที่สุดในการแกะคำศัพท์ Ice-cream มาทับศัพท์เป็นภาษาไทยตามหลักราชบัณฑิตยสถาน(ตอนเด็กๆคิดว่าในหนังสือเลขกระทรวงฯประมาณตอน ป.6 ได้มั้ง เห็ยใช้ว่า ไอศกรีม เราก็ขำกับเพื่อน ว่า ขนาดป้าที่ร้านไอติมข้างล่างยังเขียนว่า ไอศครีม เลย 555+ทำไมในหนังสือถึงเขียนผิดนะ ก็เอาไปบอกคุณครู ก็เลยโดนด่าแล้วจำมาจนโตนี่ล่ะครับ)

และมีหามาเพิ่มเติมให้อีกคำครับ
ที่มา: http://www.navy.mi.th/navy_admin/saranaru3.htm
(การใช้ราชาศัพท์ กรมสารบรรณทหารเรือ)
คำว่า หมายกำหนดการ กำหนดการ
คำ ๒ คำนี้ ไม่ใช่ราชาศัพท์ แต่เป็นคำที่เกี่ยวกับประเพณี ในราชสำนัก มักมีผู้นำไปใช้ปะปนกัน โดยเข้าใจว่า หมายกำหนดการ ใช้สำหรับงาน หรือพิธีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระราชวงศ์ชั้นสูง เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นประธานของพิธี หรือมาทรงร่วมงาน ถ้าเป็นงานของบุคคลธรรมดาให้ใช้คำว่า "กำหนดการ" นับว่าเป็น ความเข้าใจที่ยังคลาดเคลื่อน

คำว่า "หมายกำหนดการ"หมายถึง เอกสารกำหนด ขั้นตอนของงานพระราชพิธี งานพระราชกุศล และรัฐพิธี ซึ่งสำนัก พระราชวังจัดทำขึ้นตามพระบรมราชโองการ ในต้นหมายจะระบุไว้แน่ชัดว่า "นายกรัฐมนตรี หรือเลขาธิการพระราชวัง รับพระบรมราชโองการ เหนือเกล้าฯ สั่งว่า ..." เสมอไป และสำนักพระราชวังจะต้องส่งต้นหมายกำหนดการดังกล่าวนี้ เสนอนายกรัฐมนตรีลงนามรับสนอง พระบรมราชโองการ เพื่อให้เป็นพระบรมราชโองการที่ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ เช่น หมายกำหนดการพระราชพิธีสมมงคลพระชนมายุ เท่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระปฐมบรมกษัตริยาธิราชแห่งพระราชวงศ์จักรี หมายกำหนดการพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวันวิสาขบูชา เป็นต้น

ส่วน "กำหนดการ" ใช้สำหรับพระราชวงศ์และบุคคลสามัญทั่วไป เป็นเพียงเอกสารกำหนดขั้นตอนของงานทั่วไปที่ ส่วนราชการหรือเอกชนได้จัดขึ้น โดยเขียนไว้ในบัตรหรือบอกด้วยวาจา ให้ผู้ที่ไปร่วมงานหรือร่วมพิธีได้ทราบว่า มีรายการใด วันเวลาใด สถานที่ใด แม้ว่างานนั้นๆ จะเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเบื้องพระยุคลบาท เช่น เป็นงานที่ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมงาน แต่ถ้างานดังกล่าวนั้นมิใช่งาน พระราชพิธี งานพระราชกุศล หรือรัฐพิธี ซึ่งมีพระบรมราชโองการให้กำหนดขึ้นแล้ว จะเรียกว่าหมายกำหนดการไม่ได้ ต้องเรียกว่า "กำหนดการ" ทั้งสิ้น เช่น พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน มาเป็นองค์ประธานในพิธี แต่งานนี้มิใช่พระราชพิธีที่มีพระบรม-ราชโองการให้จัดขึ้น หากแต่เป็นงานที่ทางราชการทหารจัดขึ้นเพื่อแสดงความสวามิภักดิ์ต่อพระองค์ ท่าน จึงใช้ว่า "กำหนดการ"

นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 12-09-2009 17:27:30
 :pig4: ขอบคุณน้องนิวค่ะที่หมั่นหาความรู้ หรือคำที่น่าสนใจมาให้อ่านกันค่ะ
แล้วก็ +ให้ในความขยัน :3123:
สารภาพว่าชอบใช้คำว่า'ทาน' แทนคำว่า 'กิน' สงสัยต้องสร้างนิสัยในการเขียนใหม่แล้ว  :laugh:
************************************************
วันนี้ก็มีคำที่วัยรุ่นนิยมใช้มาฝากกัน  สามารถใช้คำใหม่เหล่านี้ได้ทั้งการพูดและการเขียน  โดยเฉพาะในงานเขียน
ราชบัณฑิตยสถานได้รวบรวมและจัดทำเป็นพจนานุกรมแล้ว   ลองดูนะคะ..เลือกคำโดนๆ มาฝากค่ะ  ล้วนคุ้นหูคุ้นตาทั้งนั้น

รากแก้ว น. คนที่เป็นรากฐานสำคัญของประเทศ   เช่น  รัฐบาลมีนโยบายปลดหนี้ให้กลุ่มรากแก้ว.

                   (ใช้แทนคำว่ารากหญ้า  ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙)

รากหญ้า น. ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศซึ่งมักมีฐานะยากจนและด้อยโอกาสทางสังคม

                    เช่น ข้าวของแพงขึ้นทุกวันๆแบบนี้ รากหญ้ามีแต่ตายกับตาย.(แปลจาก อ. grass root.)


ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)

กวนโอ๊ย  ก. ชวนให้หมั่นไส้ (โอ๊ย มาจาก จ. ว่า รองเท้า).

เด็กปั้น  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง

                   เช่น  นางเอกละครเรื่องนี้เป็นเด็กปั้นของค่ายละครยักษ์ใหญ่,  คมม. เด็กสร้าง.

เด็กสร้าง  น.  คนที่ถูกฝึกหรือได้รับการอุปถัมภ์จากผู้ใหญ่ที่มีอำนาจหรือชื่อเสียง 

                      เช่น เขาเป็นเด็กสร้างของผู้กำกับชื่อดัง,  คมม. เด็กปั้น.

เหรตติ้ง  น. อัตราความนิยมที่บุคคลหรือรายการวิทยุโทรทัศน์ได้จากประชาชนจากการสำรวจและสรุป

                   ออกมาในรูปสถิติ (อ. Rating).

แฟกซ์, แฝ็กซ์  น.   ๑. เครื่องที่ส่งหรือรับเอกสารด้วยอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า  โดยผู้ส่งต้อง

                                    ระบุหมายเลขปลายทาง. 

                                ๒. เอกสารที่ส่งหรือรับด้วยเครื่องตามข้อ ๑  (อ. fax).

เอ๊สเอ็มเอ๊ส  น. ๑. ข้อความสั้นๆ ที่ส่งทางโทรศัพท์มือถือ เช่น เขาส่งเอ๊สเอ็มเอ๊สไปหาเธอทุกวัน.     

                         ๒. ระบบส่งข้อความสั้นๆ ทางโทรศัพท์มือถือ เช่น หากท่านผู้ชมมีความเห็นเพิ่มเติมก็

                             เอ๊สเอ็มเอ๊สมาคุยกับทางรายการได้. (อ. SMS ย่อมาจาก short message service).

                                 

กูรู  น. ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้รู้, เช่น เขาเป็นกูรูด้านเสริมสวย. (อ. guru).

ฟันธง  ก. พูดให้ชัดเจน, ตัดสินด้วยความเชื่อมั่น.

ชนะบาย  ก. ชนะโดยไม่ต้องแข่งขัน, คมม. ได้บาย. (บาย มาจาก อ. Bye).

กระโปรงบานขาสั้น  น. เด็กในวัยเรียนชั้นมัธยม.

กริ๊ดสลบ  ก. ตื่นเต้นและชื่นชมมาก.

กวนตีน  ก. ชวนให้หมั่นไส้จนอยากทำร้าย (เป็นคำไม่สุภาพ)  คมม.  กวนบาทา.

กอดเก้าอี้  ก.ยึดตำแหน่ง, ไม่ยอมละตำแหน่ง.

ก๊อป  ก. ลอกเลียนแบบ (ตัดมาจาก อ. copy).

ก๊อปปี้  น. ๑. กระดาษที่ใช้สำหรับทำสำเนา. (พจน.)  ๒.ลักษณะนามเรียกสำเนาหนังสือ

ก.     ลอกเลียนแบบ, พูดสั้นๆ ว่า ก๊อป. (อ. copy).

กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.

กิ๊บเก๋  ว. ๑. น่ารัก, เท่, เช่น ชุดของเธอกิ๊บเก๋น่าดู.  ๒. แปลกและน่าสนใจ  คมม. กิ๊บเก๋ยูเรก้า.

กิ๊บเก๋ยูเรกา.  ว. แปลกและน่าสนใจ  เช่น ไอเดียของเธอกิ๊บเก๋ยูเรก้าน่าดู.  คมม. กิ๊บเก๋.

เกาะอก  น. เสื้อสตรีไม่มีแขน ขอบบนรัดอยู่ระดับเหนืออก.

โก๊ะ  ก. ๑. ผลุบผลับและขี้หลงขี้ลืม  เช่น แม่คนนี้โก๊ะจริงๆ ตกบันไดได้ทุกวัน.

            ๒. เซ่อๆ, ไม่ทันคำพูดคน เช่น เพื่อนปล่อยมุกตลก เขาหัวเราะกันไปหมดแล้ว เธอยังนั่งไม่รู้

                เรื่องอยู่ได้โก๊ะจริงๆ.


ขำกลิ้ง  ก. ขำมาก.

ขิงแก่  น. ผู้อาวุโสที่มีความสามารถ มีประสบการณ์.(คำนี้เป็นสมญาที่สื่อมวลชนตั้งให้คณะรัฐมนตรี

               ในพ.ศ.๒๕๔๙).

คนพันธุ์อา   น. นักเรียนอาชีวศึกษา. (อา ตัดมาจาก อาชีวศึกษา).

คนมีสี  น.กลุ่มบุคคลที่แต่งเครื่องแบบ  มักหมายถึงทหารหรือตำรวจ.

คาราโอเกะ   น.  ๑. แผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องเพื่อให้ร้องตามได้. คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๒. สถานที่ร้านอาหารที่มีบริการให้ลูกค้าร้องเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                               คมม. เกะ, โอเกะ.

                           ๓. ชุดอุปกรณ์ที่มีทำนองเพลงและมีเนื้อร้องให้ร้องตาม. คมม. เกะ, โอเกะ.

                      ก.  ร้องเพลงตามแผ่นซีดีบันทึกทำนองเพลงที่มีเนื้อร้องให้ร้องตามได้.

                          คมม. เกะ, โอเกะ. (อ. Karaoke).

แค็ตว้อล์ก  น. เวทียาวๆ มันยกพื้นระดับสายตา สำหรับให้นายแบบหรือนางแบบเดินแสดงแบบเสื้อผ้า

                       หรือเครื่องประดับเป็นต้น (อ. catwalk).

คิกขุ, คิกขุอาโนเนะ  ก. ๑.ทำเป็นเด็กใสซื่อบริสุทธิ์น่าเอ็นดู เช่น แก่แล้วยังชอบทำตัวคิกขุอาโนเนะ

                                         อีก, คมม. อาโนเนะ   

                                      ๒. น่ารัก, น่าเอ็นดู, เช่น เด็กสาวคนนี้แต่งตัวคิกขุน่ารักจัง, คมม. อาโนเนะ.


พอเห็นคำว่าคิกขุ  จึงอยากทราบความหมายของแอ๊บแบ๊วว่าคล้ายกันหรือไม่..

แอ๊บแบ๊ว  ก.  ๑. แสร้งทำให้ดูเป็นเด็กไร้เดียงสาทั้งหน้าตา  ท่าทาง และคำพูด

                         เช่น แม่คนนี้อายุสามสิบแล้วแต่ชอบทำแอ๊บแบ๊ว,  คมม.  แอ๊บ,  แบ๊ว.

                     ๒. แสร้งทำเป็นไม่รู้เรื่อง, แกล้งทำโง่, แกล้งทำเป็นไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

                         เช่น พอถูกถามเรื่องทุจริตการประมูลที่ดิน นักการเมืองคนนี้ก็ทำเป็นแอ๊บแบ๊ว.

                         (คำนี้สันนิษฐานว่ามาจาก ๑. abnormal กับบ้องแบ๊ว   ๒.แอบ กับ บ้องแบ๊ว

                           ๓. act  กับ บ้องแบ๊ว).


โคโยตี้   น.  ๑. ผู้หญิงที่เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

                   ๒. การเต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์.

               ก. เต้นประกอบเพลงด้วยลีลาเย้ายวน  มักเต้นในสถานเริงรมย์. (อ. Coyote).

จ๊าบ    ก ๑. สีฉูดฉาดสดใส     ๒. สวยและทันสมัย    ๓. เข้าท่า, น่าสนใจ.

เจ๊ดัน  น. ผู้หญิงที่ส่งเสริมผลักดันให้ผู้อ่อนประสบการณ์ประสบความสำเร็จ.

เจ๊าะแจ๊ะ  ก. ชอบพูดคุยไปทั่ว เช่น วันๆ เอาแต่เจ๊าะแจ๊ะไม่ทำการทำงาน.

แจ๋น  ก. เสนอหน้าเข้าไปวุ่นวายและจุ้นจ้าน.

แจม. ก. ร่วมด้วย.

โจ๋  น. วัยรุ่น.

วัยจ๊าบ  น. วัยรุ่นที่ทำตัวเปรี้ยว  เช่น ลูกๆของเรากำลังอยู่ในวัยจ๊าบ พ่อแม่จึงต้องตามลูกให้ทัน.

วัยโจ๋   น. วัยรุ่น เช่น ร้านอาหารร้านนี้ พวกวัยโจ๋ชอบไปนั่งฟังเพลง, คมม. ขาโจ๋.

วัยสะรุ่น  น. ผู้มีพฤติกรรมแบบวัยรุ่น.

ก.     มีลักษณะหรือพฤติกรรมแบบวัยรุ่น  อย่างแต่งตัวตามแฟชั่น  ชอบความสนุกสนาน 

     ชอบอยู่กับเพื่อน คลั่งไคล้ดารานักร้อง เช่น คุณป้ายังวัยสะรุ่นอยู่ อยากไปปาร์ตี้กับหลานๆ.

 

วกมาแถวๆเศรษฐกิจและการเมืองก็มีคำใหม่ๆใช้เช่นกัน บางคำก็ใช้ทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ


นอมินี่  น. บุคคลหรือองค์กรที่ถูกใช้ชื่อดำเนินกิจการต่างๆ เพื่อประโยชน์ของเจ้าของตัวจริง 

                 เช่น ต่างชาติเปิดบริษัทนอมินี่ในประเทศไทยเต็มไปหมด. (อ. Nominee).

อริยะขัดขืน, อารยะขัดขืน  ก. ขัดขืนหรือต่อต้านอย่างคนมีอารยธรรม  เช่น การออกเสียงไม่เลือกใครเป็นผู้แทนราษฎรถือเป็นการต่อต้านแบบอริยะขัดขืน (แปลจาก อ. civil dis0bedience: คำนี้ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์  เป็นผู้บัญญัติใช้เป็นคนแรกใน พ.ศ.๒๕๔๘)


 เอ๊สเอ็มแอล  น. โครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านหรือชุมชนที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณโดยตรงเพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านหรือชุมชนนำไปบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาเอง  มีทั้งขนาดเล็ก  กลาง และ ใหญ่  (อ. SML ย่อมาจาก small,  middle, large).

เม็กกะโปรเจ็ก  น. โครงการที่ใช้งบประมาณลงทุนสูงมาก  มักเป็นโครงการสร้างระบบสาธารณูปโภค.(อ.megaproject).

ดีเบต  ก. แสดงคารมโต้ตอบกัน, ถกเถียงกันด้วยเหตุผล. (อ.debate)

ที่มา http://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/288810
****************************
เราจะได้ใช้คำพวกนี้ได้อย่างสบายใจนะคะ :really2:

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 12-09-2009 17:45:43
ชิวชิว  ว. สบายๆ ง่ายๆ, ธรรมดา, (อ. chill, chill out)
คำนี้แต่เดิมใช้ว่า ชิวชิว มานาน จนอ่านนิยายบางเรื่องเห็นมีการใช้คำว่า ชิลชิล
ซึ่งสับสนมานานวันนี้กระจ่างเลย ฮ่าๆ

แฟกซ์, แฝ็กซ์
พึ่งรู้ว่า เขียนได้สองแบบ

กิ๊ก  น. เพื่อนสนิทต่างเพศซึ่งอาจจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาว.
แสดงว่่าเพื่อนสนิทเพศเดียวกันก็ไม่สามารถใช้คำว่า กิ๊กได้สินะ  :laugh:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 13-09-2009 19:19:24
คำพ้องเสียงที่มักใช้ผิด
          คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่การเขียนและความหมายต่างกัน ดังนั้น ในการใช้จึงต้องนำไปใช้ให้ถูกต้องตามความหมายของคำ
ตัวอย่าง
    * จัน หมายถึง ชื่อผลไม้ที่สุกเหลือง หอมรับประทานได้ เช่น ลูกจัน
    * จันทน์ หมายถึง ชื่อต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ ดอกและผลหอม เช่น ต้นจันทร์
    * จันทร์ หมายถึง ดวงเดือน , ชื่อผลไม้ที่มีเนื้อไม้ เช่น ดวงจันทร์ วันจันทร์
    * จรร หมายถึง ความประพฤติ

    * โจษ หมายถึง เล่าลือ , กล่าวขาน เช่น โจษจัน
    * โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้อง , ผู้กล่าวหา เช่น โจทก์ และ จำเลย
    * โจทย์ หมายถึง คำถามในวิชาเลข เช่น โจทย์เลข

    * พัน หมายถึง จำนวน 10 ร้อย , มัดโดยรอบ , เกี่ยวข้องกัน เช่น พันบาท พันเชือก ผูกพัน
    * พันธ์ หมายถึง ผูกมัด , ชื่อเดือนที่ 2 ใน 1 ปี เช่น สัมพันธ์ กุมภาพันธ์
    * พันธุ์ หมายถึง เชื่อสาย , เหล่ากอ เช่น เผ่าพันธุ์ สืบพันธุ์
    * พรรณ หมายถึง สี , ผิว , ชนิด เช่น ผิวพรรณ พรรณไม้
    * ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เช่น พัสดุภัณฑ์

    * การ หมายถึง กิจธุระ , งาน เช่น การบ้าน การเมือง
    * กาล หมายถึง เวลา , สถานที่ เช่น กาลครั้งหนึ่ง กาลเทศะ
    * การณ์ หมายถึง มูลเหตุ เช่น เหตุการณ์
    * กาญจน์ หมายถึง ทอง เช่น กาญจนา

นอกจากคำพ้องเสียงข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างคำพ้องเสียงที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ 
อาจจะมีคำไ่ม่สุภาพหรือเนื้อหาสองแง่สองง่ามบ้าง 
แต่เรามีเจตนาเพื่อการศึกษาให้เข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่เพื่อการอื่น
ฉะนั้นในการลงเนื้อความ พิจารณาจากเจตนาเป็นหลัก ดังนี้

1. สำ
    หลายๆ คนคงเคยใช้คำนี้บ่อยแล้ัว คำว่า "สำ" ส่วนใหญ่ใช้นำหน้าพยางค์หลังที่แผลงมาจากภาษาเขมร เช่น สำแดง-แสดง, สำเร็จ - เสร็จ  ฯลฯ 
    แต่รู้หรือไม่ครับ ในคำภาษาเหนือหรือคำเืมืองนั้น คำว่า"สำ" มีความหมายสองแง่สองง่าม แปลว่าการร่วมเพศครับ(เช่นเดีียวกับคำว่าว่าสี่ในภาษาอีสาน) ดังนั้นอย่าพูดคำว่า "สำ" คำเดียวโดดๆ  และอย่าไปพูดคำนี้ต่อหน้าคนเหนือนะครับ  เดี๋ยวเขาจะคิดว่าคุณคิดมิดีมิร้ายกับเขา

2.  เห ี้ย
    คำ นี้ในภาษาไทยของเรา เป็นคำด่า แปลว่า ไม่ดี เลว ชั่ว ฯลฯ และได้ถูกตั้งเป็นชื่อให้สัตว์เลื้อยคลานพวกเดียวกับตะกวด เคยได้ยินมาว่าที่ตั้งชื่อมันว่า"ตัวเห ี้ย"นั้น เพราะมันชอบลากไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ลงไปกินในน้ำ เลยโดนชาวบ้านรุมด่ามันว่า"เห ี้ย" ปัจจุบันเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "ตัวเงินตัวทอง "
    ในภาษาเหนือ คำว่า "เฮี่ย" ซึ่งออกเสียงเหมือน"เห ี้ย" ก็คือคำว่า"เรี่ย"หรือ "เรี่ยราด" ในภาษาไทย เพียงแต่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะจาก "ร" เป็น "ฮ"  แปลว่า กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ รก สกปรก
    เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า "บ่ากวาดบ้านกวาดจองเลย  ปล่อยหื้อเห ี้ยจะอั้นนะ"(ไม่กวาดบ้านกวาดเรือนเลย ปล่อยให้สกปรกอย่างนั้นล่ะ)
    อย่าไปพูดคำว่า "เห ี้ย" ต่อหน้าคนเหนือนะครับ เพราะเขาอาจไม่เข้าใจว่าคุณไปด่าเขา  เขาจะเข้าใจว่ามีอะไรสกปรกที่ไหนแทน

3.ว่าว
    คำ นี้โดยปกติความหมายคือของเล่นชนิดหนึ่งที่ทำด้วยกระดาษและไม้  มีสายไว้สำหรับชัก  แต่ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้ในความหมายสองแง่สองง่าม  โดยใส่คำว่า "ชัก" ไว้ข้างหน้า  แปลว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของเพศชาย  ในภาษาเหนือใช้คำว่า "จั๊กว้อง"  คำนี้ทำผมงงครับ  เพราะแปลว่าชักยางรัด(เหมือนมากเลยนะ  ว่าวกับยางรัด)  "ว้อง"  แปลว่าโค้ง  เป็นวงโค้ง  ใส่ "หนัง" ข้างหน้า แปลว่ายางรัด
    แต่ในภาษาอีสานนั้น คำว่า "เว่า" ซึ่งออกเสียงคล้าย "ว่าว"  แปลว่า พูด ไม่ได้มีความสองแง่สองง่ามแ่ต่อย่างใด

4.อู้
    แน่นอนว่าหลายๆ คนใช้คำนี้ในความหมายว่า ขี้เกียจ แต่ในภาษาเหนือนั้น คำนี้มีความหมายเหมือนคำว่า "เว่า" ในภาษาอีสาน แปลว่า พูด
    ตอน ประถม ผมได้ยินเพื่อนคนหนึ่งโดนครูว่าว่า "อย่าอู้"  มันก็ตอบครูไปว่า "ครูครับผมอยู่บ่าดาย  บ่าได้อู้เลยหนา"(ครูครับผมอยู่เฉยๆ ไม่ได้พูดเลยนะ) กวนจริงๆ ครับ ทั้งๆ ที่มันก็รู้ว่าความหมายภาษาไทยว่าคำว่า "อู้้" แปลว่าอะไร
    ใครมีลูกจ้างเป็นคนเหนือนี่คงลำบากหน่อยครับ  เพราะเขาอาจเข้าใจคำว่า "อู้งาน" ของคุณ เป็น "พูดเรื่องงาน" ก็ได้ครับ

5.เสี่ยว
    คำนี้ในภาษาเหนือและภาษาอีสานแปลว่า เพื่อนสนิท เพื่อนรัก เพื่อนตาย แต่วัยรุ่นเอาคำนี้มาใช้ในความหมายว่า บ้านนอก ตกยุค ล้าสมัย เช่น แต่งตัวเสี่ยว มุกเสี่ยว เล่นเอาคำดีๆ อย่างนี้เสียหมดเลยครับ

6.ป ี้
    คำนี้ในความหมายภาษาไทยแปลว่า ร่วมเพศ  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  ในภาษาลาวแปลว่า ตั๋ว  แต่ในภาษาเหนือคำนี้เป็นคำสุภาพครับ  แปลว่า พี่สาว  เป็นคำเรียกพี่สาวของเราและใช้เพื่อให้เกียรติหญิงที่อายุมากกว่า  เช่นเดียวกับว่า "อี่"  ซึ่งก็คือคำว่า "อี" ในภาษาไทย  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  แต่คำว่า "อี่" นี้  ยังใช้ในอีกความหมาย  เป็นการให้เกียรติคนที่ถูกเรียก เช่น อี่ป้อ(คุณพ่อ) อี่แม่(คุณแม่) ลักษณะการใช้เช่นนี้ก็ยังเหมือนคำว่า "ห ำ" ในภาษาอีสาน ซึ่ีงตามปกติแปลว่าลูกอัณฑะของเพศชาย(ในภาษาเหนือใช้คำว่า"ขะหลำ") แต่ในอีกความหมาย ใช้เรียกเด็กที่มีอายุน้อยกว่า เช่น บักห ำน้อย(เด็กน้อย)

7. ไอ้
    คำ นี้เป็นคำหยาบ ใช้เป็นคำเรียกเพื่อดูถูก แต่คำว่า "อ้าย" ที่หลายคนชอบใช้แทนคำ่ว่า
"ไอ้"นั้น ไม่ได้มีความหมายเดียวกัน ในความหมายเดิมแปลว่า หนึ่ง(อ้าย = หนึ่ง, ยี่ = สอง)
หรือ ลูกคนโต ในภาษาเหนือแปลว่า พี่ชาย ใช้เป็นคำเรียกพี่ชายของเราและใช้เรียกเพื่อให้เกียรติผู้ชายที่อายุมากกว่า ไม่ได้เป็นคำหยาบแต่อย่างใด
    คำว่า "ไอ้" ในภาษาเหนือใช้คำว่า "ไอ่" ครับ

8. ฮา
    คำนี้หลายคนคงใช้บ่อยในความหมายตลก ขบขัน แต่รู้หรือเปล่าครับในภาษาเหนือ คำว่า "ฮา" แปลว่า "กู" ครับ เป็นคำแทนตัวที่ปัจจุบันถือกันว่าไม่สุภาพ

นอกจากนั้นแล้วยังมีคำพ้องเสียงภาษา ต่างประเทศที่เราคุ้นหูกันกันดี อย่างคำว่า here ที่แปลว่า ที่นี่ หรือ yet ที่แปลว่า ยัง ยังคง เมื่อพูดในความหมายภาษาไทยแล้ว ความหมายจะเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างที่หลายคนคงรู้ดี
คงจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าคำพ้องที่ผมหยิบยกมานั้นถ้าใช้ไ่ม่ถูกสถานที่ถูกสถานการณ์แล้วจะเกิดปัญหามากแค่ไหน
ใครมีคำพ้องเสียงภาษาือีสาน  ภาษาใต้  หรือภาษาอื่นๆืื อีกก็โพสต์ไว้ได้นะครับ
ที่มา:http://dek-d.com/board/view.php?id=1390822

นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 14-09-2009 11:19:01

ปลาปักเป้า อ่านว่า "ปลา-ปัก-กะ-เป้า"

ว่าวปักเป้า อ่านว่า "ว่าว-ปัก-เป้า"

ปล. ปกติจะไม่ค่อยใช่คำว่า "ทานข้าว" แทน "รับประทานข้าว"

จะพูดว่า "กินข้าว" ไปเลย  หรืออาจจะพูดในกรณ๊ที่กระแดะขึ้นมาอีกนิดว่า "รับข้าว" อยู่เป็นประจำ

คำพูดทำนองนี้มักพูดกับคนที่บ้านว่า รับ(กิน)ข้าวไหม = กินข้าวไหม?, เลื่อนเครื่องเลยหรือเปล่า = รับของหวานเลยไหม, เก็บสำรับเลยไหม? = อิ่มยัง  อะไรเทือกนี้ อิอิ

กระแดะได้อีกตู
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: ppangg ที่ 14-09-2009 12:57:02
ไม่ได้ตั้งใจผิดอ่ะ
ผิดแบบไม่ได้ตั้งใจ
55555555++
คิดว่าตัวเองเขียนถูกมาตั้งนาน
เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นความรู้เก่า ที่เอามาปรับปรุงใหม่ได้ดีจริงๆ
+1 ให้เลยค่ะ ^-^
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 14-09-2009 21:33:37
ขอบคุณน้องนิวคะ :pig4: มีความรู้มาฝากกันอีกแล้ว  o13
อยากให้คนเข้ามาอ่านกันเยอะๆจัง
เพื่อความสบายตาของเราเวลาอ่านนิยาย :laugh:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: tonsai_2520 ที่ 14-09-2009 23:33:40


ใช้ผิดตรึมเลยกรู . . .


. . .  สงสัยลงเรียนหลักภาษาใหม่
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 15-09-2009 00:05:03
 :กอด1: ทุกคนที่เข้ามาอ่านนะ ไม่เป็นไรพี่ฟางนิวแอบมีเวลาว่างมาศึกษาเรื่องคำผิดทำให้รู้อะไรเยอะขึ้นด้วย

คำทับศัพท์ และ ศัพท์บัญญัติคอมพิวเตอร์ ... ที่คนไทยชอบเขียนผิด
รุ่งกานต์ มูสโกภาส กล่าวนำไว้ในบทความ  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Internet Magazine ไว้ว่า
"...โลกของวิทยาการและเทคโนโลยีมี การพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีเทคโนโลยีเข้ามาใหม่ตลอดเวลา  ด้วยเหตุนี้จึงมีคำศัพท์ทางด้านเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ออกมามากมาย ขนาดคนอยู่ในวงการคอมพิวเตอร์เองบางทีก็ยังตามกันไม่ทัน
     มีการพบว่า มีการเขียนคำศัพท์เหล่านี้ผิดอยู่จำนวนมาก เรา จะเห็นได้จากสื่อต่าง ๆ ที่เผยแพร่โดยสื่อมวลชน บทความ ผลงานวิชาการตามสถาบันการศึกษาอันเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ความเข้าใจผิด และใช้คำผิด ๆ นั้นจนกลายเป็นเรื่องปกติ กลายเป็นสิ่งที่เคยชินไปแล้วในชีวิตประจำวัน..."

ยกตัวอย่างเช่น ร้านให้บริการ Internet มักจะติดป้ายคัทเอาท์ใหญ่ ๆ ไว้หน้าร้านว่า
"อินเตอร์เน็ต" ซึ่งใช้ ต.เต่า แทนตัวที
แต่คำที่ถูกต้องแล้วต้องใช้ ท.ทหาร คือ "อินเทอร์เน็ต"
ตัวอย่างที่ยกมาดังกล่าวเห็นกันเป็นประจำ จนไม่ทราบว่าจะให้ความรู้เหล่านี้ได้อย่างไร เพราะผิดกันจนเคยชิน หรือ เวลาตรวจงานนักศึกษา ผมก็มักจะพบคำเหล่านี้ผิดเป็นประจำ จะละเลยไม่บอกนักศึกษาให้ทราบ ก็ใช่ที่ ในฐานะเป็นครูของเขา เมื่อพบข้อผิดพลาดก็ต้องแจ้งให้ทราบ และทำการแก้ไขให้ถูกต้อง ครับ
หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงกับการบัญญัติคำศัพท์เหล่านี้ ได้แก่ ราชบัณฑิตยสถาน (http://www.royin.go.th)

ตัวอย่าง ... คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด เช่น
(http://gotoknow.org/file/wasawatdeemarn/ICTWord01_small.jpg)
(http://gotoknow.org/file/wasawatdeemarn/ICTWord02_small.jpg)

ตัวอย่าง ... ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิด เช่น
(http://gotoknow.org/file/wasawatdeemarn/ICTWord03_small.jpg)

และในตอนนี้นี้แอบให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับความน่าสงสัยจากในบทความข้างต้น
คำที่เขียนขัดแย้งกัน (คอมพิวเตอร์ vs อินเทอร์เน็ต)
จากหัวข้อ "คำที่เขียนขัดแย้งกัน"
ปัญหาที่เกิดขึ้นสำหรับความสงสัย
จากคำว่า Computer และ Internet ... ตรงจุด ter ของทั้งสองคำ
Computer มีคำทับศัพท์ว่า คอมพิวเตอร์ ... ter = เตอร์
Internet    มีคำทับศัพท์ว่า อินเทอร์เน็ต ... ter = เทอร์
ทำไม ราชบัณฑิตยสถานจึงเลือกใช้คำทับศัพท์คำแรกเป็น ต.เต่า อีกคำเป็น ท.ทหาร ?
(http://gotoknow.org/file/wasawatdeemarn/ICTWord20_small.jpg)
(http://gotoknow.org/file/wasawatdeemarn/ICTWord21_small.jpg)

วันนี้ขอนำเสนอ คำทับศัพท์ที่มักจะเขียนผิด และ ศัพท์บัญญัติที่มักเขียนผิดนี้ก่อนนะ
หากเราเป็นคนไทย และ เกี่ยวข้องกับคำศัพท์เฉพาะเหล่านี้
ท่านอย่าละเลย เลยนะครับ เรื่องเล็ก ๆ เหล่านี้อาจจะทำให้ประเทศของเราเสื่อมก็เป็นได้

ที่มา และ แหล่งอ้างอิง
- รุ่งกานต์ มูสโกภาส.  "ผิด ๆ ถูก ๆ ใช้ศัพท์คอมพิวเตอร์" , วารสาร Internet Magazine. 8, 86 (กันยายน 2546) : หน้า 77 - 82.
- เอกสารประกอบการอภิปราย เรื่อง การบัญญัติศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ของราชบัณฑิตยสถาน เว็บไซต์ราชบัณฑิตสถาน.  http://www.royin.go.th

นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 15-09-2009 00:21:20
^
^
^
 :z13: แล้ว :กอด1: คนน่ารัก ที่เอาเรื่องดี ๆ ที่ควรรู้มาให้

 :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 15-09-2009 10:45:39
มาช่วยน้องนิวทำงาน :m23:

ปัจจัยที่ช่วยให้เขียนคำได้ถูกต้อง


๑. รู้ความหมายคำ  คำในภาษาไทยมีคำที่ออกเสียงตรงกันแต่เขียนสะกดต่างกัน  จึงทำให้มีความหมายไม่เหมือนกันเรียกว่า คำพ้องเสียง   ถ้ารู้ความหมายของคำ จะทำให้เขียนสะกดคำได้ถูกต้อง  เช่น  

พัน(ผูก)   พันธ์(เกี่ยวข้อง)   พันธุ์(สืบทอด)   ภัณฑ์(สิ่งของ)   พรรณ(ชนิด, ผิว, สี)

โจทก์(ผู้ฟ้อง, ผู้กล่าวหา)   โจทย์(คำถามในวิชาเลข)   โจท(โพนทะนาความผิด)

โจษ(เล่าลือ, พูดเซ็งแซ่)

สรร(เลือก, คัด)   สรรค์(สร้างให้มีให้เป็นขึ้น)

รมย์(น่าบันเทิงใจ, น่าสนุก, พึงใจ, งาม, มักใช้ประกอบคำอื่น เช่น รื่นรมย์, เริงรมย์)

๒. ไม่ใช้แนวเทียบผิด   คำบางคำแม้จะมีเสียงเหมือนกันแต่ความหมายหรือรูปศัพท์  ตลอดจนที่มาต่างกัน  จะใช้แนวเทียบเดียวกันไม่ได้  เช่น

    อานิสงส์ มักเขียนผิดเป็น อานิสงฆ์   เพราะไปเทียบกับคำ   พระสงฆ์
 
    ผาสุก มักเขียนผิดเป็น ผาสุข เพราะไปเทียบกับคำ  ความสุข
 
    แกงบวด มักเขียนผิดเป็น แกงบวช เพราะไปเทียบกับคำ    บวชพระ
 


๓. ต้องออกเสียงให้ถูกต้อง   การออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่ชัดเจนทำให้เขียนผิด เช่น


ผมหยักศก มักเขียนผิดเป็น ผมหยักโศก
  
พรรณนา มักเขียนผิดเป็น พรรณา
 
บังสุกุล มักเขียนผิดเป็น บังสกุล
 
ล่ำลา  มักเขียนผิดเป็น ร่ำลา
 
กรวดน้ำ มักเขียนผิดเป็น  ตรวจน้ำ
 
ประณีต มักเขียนผิดเป็น  ปราณีต
 


๔. แก้ไขประสบการณ์ที่ผิดๆ ให้ถูกต้อง   การเห็นคำที่เขียนผิดบ่อย ๆ เช่น เห็นจากสิ่งพิมพ์  ป้ายโฆษณา  เป็นต้น  ถ้าเห็นบ่อยๆ อาจทำให้เขียนผิดตามไปด้วย  ก่อนจะเขียนคำจึงต้องศึกษาให้ได้คำที่ถูกต้องเสียก่อน เช่น


ทีฆายุโก  มักเขียนผิดเป็น  ฑีฆายุโก
 
อนุญาต มักเขียนผิดเป็น  อนุญาติ
 
โอกาส  มักเขียนผิดเป็น  โอกาศ
 
เกร็ดความรู้ มักเขียนผิดเป็น เกล็ดความรู้
 
เกสร มักเขียนผิดเป็น  เกษร
 
รสชาติ  มักเขียนผิดเป็น  รสชาด
 
กระทะ  มักเขียนผิดเป็น  กะทะ
 


         ..คำสุดท้ายนี่เห็นบ่อยมากนะคะ..ป้ายหน้าร้าน   “หมูกะทะ”  ผิดๆ.. ค่ะ

         ..ยังมีอีกแถวๆเชียงใหม่ “ใส้อั่วป้าอ้วน” ผิดอีกค่ะ ต้อง “ไส้อั่วป้าอ้วน” ค่ะ


๕. ต้องมีความรู้เรื่องหลักภาษา   การเขียนหนังสือได้ถูกต้องจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้หลักภาษาเพื่อเป็นหลักและแนวทางในการใช้ภาษา  หลักภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง

๖. ต้องศึกษาและติดตามเรื่องการเขียนสะกดคำที่เป็นประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี  เช่น ศึกษาหนังสือและเอกสารต่างๆของราชบัณฑิตยสถาน อันได้แก่  พจนานุกรม  สารานุกรม  การใช้เครื่องหมายวรรคตอน  การกำหนดชื่อเมือง จังหวัด  ประเทศ ทวีป  ตลอดจนติดตามประกาศการเขียนและอ่านคำของทางราชการอยู่เสมอ  


ข้อมูลจากhttp://gotoknow.org/blog/pasathaiauon/257465


เอามาลงเรื่อยๆ เวลาเขียนเองนี่คงจะเกร็งน่าดูเลยเรา :z3:


หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 15-09-2009 11:27:26
^
^
^ :z13: คุณฟาง ขยันกันทั้งพี่ทั้งน้อง เอาความรู้มาให้ได้อ่านกันที่เล้า กด + ให้ค่ะ
ตอนนี้ก็เริ่มเกร็งเหมือนคุณฟาง เหมือนกัน ส่วนมากจะผิดกับคำพ้องเสียง บางครั้งพิมพ์ไปก็สับสน

คำว่า เกษร นี่มีความหมายรึเปล่าค่ะ เคยเห็นแต่ไม่รู้ความหมายค่ะ   :really2:

 :pig4:

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 15-09-2009 13:00:23
ขอบคุณค่ะคุณ  imageriz ที่ช่วยบอก แก้แล้วค่ะ  :pig4:
 คำว่าเกษร ลองเข้าเวบราชบัณฑิตยสถาน หาแล้วไม่มีค่ะ เจอแต่คำว่า เกสร

เกสร [-สอน] น. ส่วนในของดอกไม้โดยมากเป็นเส้น ๆ เช่น เกสรบัว,
 เรณูหรือผงเหลืองที่มีอยู่ในดอกไม้ ติดอยู่กับก้านเกสรก็มี
 ติดกับเมล็ดเกาะอยู่กับดอกก็มี, ส่วนสืบพันธุ์ของดอกไม้;
 (แบบ) ขนสร้อยคอสิงโต เช่น เกสรสร้อยศอดังผ้ารัตกัมพล.
 (ม. ร่ายยาว มหาพน). (ป.; ส. เกสร, เกศร).  :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 15-09-2009 17:41:57
 :z13:
จิ้มพี่ฟางแล้ว กด +1 ให้อิๆ
ชอบวิธีการจัดปัจจัยต่างๆทำใำห้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ
ยังอยากเข้ามาย้ำอีกว่า คำที่เขียนผิดบ่อยที่สุดในเล้า คือ "โิอกาส" ผิดกันตลอด
เมื่อวานอ่านไปหลายเรื่องเจอมันเกือบทุกเรื่อง เขียนกันเป็น โอกาศ
สำหรับวันนี้นิวเอาคำมาเพิ่มเติมให้อีก ส่วนใหญ่จะคัดแต่คำที่ไม่มีในนี้มาเพื่อไม่ให้ซ้ำ

"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" คำไทยที่... เหมือนจะถูก (แต่ผิด)
เพิ่งได้มาวันก่อน หนังสือที่มองหามานาน
นั่นคือ "อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถาน
ราคา 20 บาทเท่านั้น ทำไมถูกอย่างนี้ล่ะครับ
มูลค่ารวมกันสองเล่มถึงจะขึ้น (ไปรถติดบน) ทางด่วนได้คราวหนึ่ง
อยากจะฝากเงินเกินไว้ให้อีกซัก 20 บาท ด้วยความ appreciate จัด
มีหลายคำดูแล้วรู้สึกว่า เอ๊ะ ทำไมคำที่ผิดมันดูเหมือนถูก และคำที่ถูก มันดูเหมือนผิด

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กระสัน
(ดูตัวอย่างคำแรกซะก่อน -_-')
อันนี้ลองยืนยันได้ครับเนื่องจากพอพิมพ์คำว่า กระสันต์ ลงไป หาไม่เจอครับ
แต่เมื่อพิมพ์ใหม่โดยสะกดให้ถูก (ทั้งที่หน้าตาไม่คุ้นเลย) ว่า กระสัน
ก็ได้คำแปลออกมาดังต่อไปนี้
lust, See also: feel a sexual desire; crave; hunger for
Example: ความรู้สึกกระสันเกิดขึ้นทันทีเมื่อเขานึกถึงสาวคนรัก,
Thai definition: กระวนกระวายในกาม
ดังนั้น คราวหน้าที่จะเขียนเล่าว่าคุณเกิด "กระวนกระวายในกาม" ขึ้นมานะ
สะกดให้ถูกๆ นะครับพี่น้องเหอะๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กระทันหัน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กะทันหัน (นิวก็ใช้ กระ- มาตลอดเลยล่ะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กาละเทศะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กาลเทศะ
(นี่ก็สับสนบ่อยมาก เพราะผมคิด (ไปเองมั่วๆ) ว่า
เมื่อ เทศะ มันก็ต้อง กาละ ให้มัน balance กันสิ -_-')

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "กิจลักษณะ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า กิจจะลักษณะ
(เอาเข้าไป อันนี้ดันกลับกันกับอันข้างบน
กล่าวคือ ที่ถูกต้อง จะต้อง "-ะ หน้า -ะ หลัง" ครับ)
(ระวัง !อย่าสับสนระหว่าง กาลเทศะ กับ กิจจะลักษณะ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คึ่นช่าย"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ขึ้นฉ่าย อันนี้คนโดยมากเขียนผิดเพราะไปเขียนตามเสียงพูด
เคยคิด (เอาเองอีกแล้ว) ว่า มันไม่น่าจะสะกดว่า "ขึ้น"เพราะมันดูเป็นคำไทยเกินไป

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "คฤหาสถ์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า คฤหาสน์ (อันนี้ผิดเพราะมีตัวอย่างผิดๆ ให้เห็นเยอะเกินไปครับ
ใครๆ ก็เขียนผิดเป็น คฤหาสถ์ ทั้งนั้น เราเลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ดุลย์การค้า"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ดุลการค้า (คำนี้ตามสื่อทั้งหลายก็ผิดให้เห็นเป็นระยะนะครับ)

*** เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตกร่องปล่องชิ้น"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตกล่องปล่องชิ้น
(อันนี้ได้ยินคนอ่าน ตก "ร่อง" ปล่อง ชิ้น มาโดยตลอดเพราะคงคิดว่าเหมือน
 'แผ่นเสียงตกร่อง' นั่นเองก็เลยเอามาเขียนผิดๆ ตามไปด้วย)
จะบอกว่าคำนี้เห็นเขียนผิดในเล้าเป็ดของเราบ่อยมากอิๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ตะกละตะกราม"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ตะกละตะกลาม
(ตะกรุมตะกราม แต่ ตะกละตะกลาม ครับจะ ร.เรือ ก็ต้อง ร.เรือ กันไปทั้งหน้าหลัง
จะ ล.ลิง ก็ต้อง ล.ลิง กันไปทั้งหน้าหลังเหมือนกัน ไม่ต้องมา mix and match)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ทรมานทรกรรม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ทรมาทรกรรม(มันคือ ทอ-ระ-มา-... ครับ ไม่ใช่ ทอ-ระ-มาน-...)
คำนี้ยอมรับเลยว่าไม่เคยอ่านและเขียนถูกมาตลอดชีวิต ฮ่าๆ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ไนท์คลับ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ไนต์คลับ(อันนี้แม้ไม่คุ้นอย่างแรง ก็ต้องเชื่อตามราชบัณฑิตฯ ล่ะครับต้องโทษพวกป้ายทั้งหลายที่ชอบสะกดผิดๆทำให้เราเห็นแล้วจำผิดๆ มาด้วย )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แบหรา / แผ่หรา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แบหลา / แผ่หลา (อ้าว เหรอ -_- อันนี้ผมก็ผิดประจำ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พาลจะเป็นลม"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พานจะเป็นลม (อ้าว ผิดอีกแล้วเหรอ เป็นลมดีกว่า)
หมายเหตุ : พาน แปลว่า เกือบ ครับ

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "พิธีรีตรอง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า พิธีรีตอง
(ผมว่าผมสะกดผิดเพราะดันไปจำสลับกับ ซีตรอง แหงๆ เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เพชรฆาต"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เพชฌฆาต

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "มะล่อกมะแล่ก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ม่อลอกม่อแลก
(เอ่อ คือ ... -_-' ลองอ่านเวอร์ชันที่ถูกออกมาดังๆ แล้วหลอนมากเลยครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ร้างลา / เลิกลา"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ร้างรา / เลิกรา (อันนี้เคยได้ยินแบบที่ผิดบ่อยๆ ในเพลงฮิตๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือนลาง"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือนราง (ผิดเพราะออกเสียงกันไม่ชัดเองครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ฤกษ์ผานาที"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ฤกษ์พานาที (อันนี้เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการที่เขียนผิด
เพราะอ่านผิดครับผมเองยังได้ยินคนอ่าน เริก-ผา อยู่เยอะมาก เลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ลาสิกขาบท"

ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลาสิกขา (แล้ว -บท มาจากไหน? )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "ริดรอน"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า ลิดรอน(คำนี้ผมก็ผิดมาตลอดชีวิตครับ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "เลือดกลบปาก"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า เลือดกบปาก
กบ ๖ ว. เต็มมาก, เต็มแน่น, เช่น ข้าวกบหม้อ มะพร้าวมีลูกกบคอ เลือดกบปาก

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "วาทยากร"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า วาทยกร (เนื่องจากลากเสียงยาวเกินไป เป็น วาทยา~กร
ก็เลยนึกว่าสะกดแบบนี้ไงครับที่จริง -ทะ-ยะ- ออกเพียงครึ่งเสียงเท่านั้น)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สับปรับ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สับปลับ (เป็นเพราะผมเอาไปปนกับคำว่า "จับ-ปรับ" แน่เลย)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สัมนา"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สัมมนา (อย่าไปจำว่า seminar มี m ตัวเดียว สัมนา ก็ต้องมี ม.ม้า ตัวเดียว อย่างนี้ล่ะครับ )

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "สูญญากาศ"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า สุญญากาศ
(สระ อุ เสียงสั้นนะครับ ไม่ใช่สระอูเสียงยาว
คนจะเอาไปปนกับ สูญ ในคำว่า สูญสิ้น กระมังผมว่า เลยจำกันผิดๆ)

เหมือนจะถูก (แต่ผิด) --> "แสบสันต์"
ซึ่งที่จริงต้องสะกดว่า แสบสัน
(เพราะถ้า สันต์ มันต้อง สุขสันต์ แล้ว กระมัง)

ความจริงยังมีอีกเยอะเลยล่ะครับแต่เลือกมาเฉพาะที่ เข้าพวกตามชื่อ Entry นั่นล่ะ คือ
"ไอ้ที่ผิด นะดันหน้าตาเหมือนถูก" นั่นเอง
ขอบคุณอีกครั้งสำหรับอ้างอิงที่ดีเยี่ยมเปี่ยมคุณภาพและสุดคุ้มสตางค์นะครับ
"อ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร" ฉบับราชบัณฑิตยสถานนั่นเอง
โฆษณาให้ฟรีๆ เลย เล่มละ 20 เท่านั้นครับเขาว่าหาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปนะ
ไปด้อมๆ มองๆ หาเองอาจหายากหน่อยลองถามพนักงานดูจะดีกว่าครับ                        
ที่มา http://bickboon.exteen.com/20060506/entry

นิวก็มีซื้อไว้เหมือนกัน มีคำอื่นๆทีน่าสนใจอีกหลายคำ เช่น
ตะราง ที่แปลว่า น. ที่คุมขังนักโทษ. ใช้กันจนติดว่า ตารางซึ่งผิด
ตาราง            น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน,
                       ตาตาราง ก็ว่า;ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน
                       หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยม  
                       จัตุรัส.
แล้วจะหามาให้อ่านอีกน๊า
นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 15-09-2009 21:34:21
 :z3: ใช้ผิดเพียบเลย ทำไมยิ่งอ่านยิ่งเจอผิดๆ กรรมจริงๆ
วันก่อนเขียน สูญญากาศ ในเวิร์ดมันก็ขึ้นเส้นแดง
เราก็สงสัยมันผิดตรงไหน แก้เป็นสูญญากาส ก็ยังแดงอยู่
แล้วก็ไม่รู้ว่าจริงๆมันผิดยังไง (แอบขี้เกียจไม่หา ไม่ตรวจ :m23:)
ในที่สุดก็ได้น้องนิวมาช่วย o13
ไอ้ที่ว่าน่าจะถูกแต่ผิดนี่....เป็นประจำเลย :m29:

ตอนนี้กลัวอย่างเดียว อ่านไปแล้วก็ลืมจะเผลอกลับมาใช้ผิดอีกนะซิ :jul3:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: GajonG ที่ 16-09-2009 01:28:50
 o13
อ่านรีแรกยังไม่จบเลยค่ะ โหะๆ จะค่อยๆดู ถ้าอ่านให้จบวันนี้ก็จำไม่ได้อยู่ดี
เข้าใจผิดหลายคำเหมือนกัน วันก่อนอ่านนิยายเห็นนักเขียนใช้คำว่า'นัยน์ตา' ซึ่งเขาใช้ถูกแล้ว เราดันคิดว่า แหงะเขียนผิดนี่ฝ่า :laugh:(ช่างไม่รู้อะไรบ้างเลย)

ขี้เกียจ บางคนใช้ ขี้เกียด,ขี้เกลียด,ขี้เกรียด,ขี้เกลียจ
รังเกียจ บางคนใช้ รังเกลียด,..(เหมือนข้างบน)
เกลียด บางคนใช้ เกรียด,เกรียจ
เจอบ่อยเข้าทำให้เราสับสนว่าเราใช้ผิดหรือเปล่า
ได้อ่านนิยายที่ใช้ภาษาถูกต้องก็สบายตากว่าจริงๆ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: krappom ที่ 16-09-2009 16:08:28
โอ้
ขนาดระวังตลอดแล้วนะเนี่ย
ยังมีบางคำที่เข้าใจผิดและใช้ผิดอีกตั้งหลายคำ
ขอบคุณพี่ฟางค้าบ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 16-09-2009 16:25:04
me/ขยันหามาลงจริงๆถ้าขยันทำงานแบบนี้แม่ดีใจตาย  :laugh:

วันนี้เอากลอนมาฝากค่ะ เอาไว้ตรวจคำกัน

คำที่ใช้ตัว "ครอ"
กินครองแครง ครามครัน ไม่ครั่นคร้าม
ครูท่านห้าม ครูดตัว แม่ครัวหนี
เคราะห์นงคราญ คร่ำครวญ ครุ่นฤดี
ครั้นจะดี ครุฑคร่า พาครึกโครม

ใครครอบครอง อย่าคร้าม ครุยจะคราก
ครึกครื้นมาก คราวใคร่ ดังไฟโหม
ครางฮือฮือ ครือครืน ครื้นเครงโครม
ครึ้มพโยม ครึมเครือ เหลือประมาณ

ครีบเป็นคราม ครึจริง ยิ่งกว่าครึ่ง
เอาครึนขึง ตึงเครียด เรียดขนาน
ดึงครุครืด แคร่พัง นั่งนอกชาน
คร่อมสะพาน ครบครั้ง นั่งครู่ครก

เอาไม้คราด เคร่งครัด ปัดคร่าวคร่าว
เสือโคร่งก้าว เท้าไป ใครพลัดตก
ดังโครกคราก คร่ำคร่ำ เครื่องสาธก
ไม้คร่าวตก เคราหล่น ปนน้ำครำ

เห็นหอยแครง ตัวครั่ง ปลาชักครอก
ตะไคร้ออก ดอกชุก ทุกฉนำ
ตะไคร่น้ำ เคร่าท่า คราประจำ
ทุกทุกคำ นี้ไซร้ ใช้ตัว "ครอ"ฯ

ที่มักใช้ผิดมากๆก็เห็นจะมีคำว่า ครอก (ฝูงลูกสัตว์ที่เกิดร่วมกันในคราวเดียว) และ คลอก (ถูกไฟล้อมเผา)
ครอบคลุม ต้องมี ล
คริสตกาล ไม่มีการันต์ด้วยหลักทางภาษาไทย
คริสต์ศตวรรษ คริสต์ศาสนา คริสต์ศาสนิกชน ล้วนต้องมีการันต์
คฤหาสน์ ไม่ใช่ ถ์
คลาคล่ำ ไม่ใช้ ร

คำที่ต้องอ่านออกเสียงตัวสะกด

จักจั่นจักแหล่นแล่นไป ตั๊กแตนตาไว ตุ๊กต่ำตุ๊กตุ่นจุนสี
สมุลแว้งอุตลุดราวี อัตคัดชุกชี สกปรกสัปหงกงงงวย
ลักเพศทักทินสิ้นสวย พิศดูสำรวย อุตพิดพิศวงสัตวา
ลักปิดลักเปิดตุ๊กตา ลักจันจำลา โสกโดกสัปดนฤาดี
สักหลาดสักวาพาที สัปเหร่อเจอผี ดุจดังสัพยอกสัปทน
อลหม่านอลเวงอลวน รอมร่อเลิศล้น จุกผามจุกชีชันโรง
ชันสูตรสักเท้าเฝ้าโยง ทุนทรัพย์ส่อโกง กลเม็ดจุกโรหินี
พัลวันอึกทึกธานี จักเดียมจักจี้ ชันกาดชักเย่อชุลมุนฯ

คำที่ใช้ไม้ม้วน ๒๐ คำ (มีหลายบทท่องจำ)
บ้าใบ้ หลงใหลใหญ่ ให้สะใภ้ ใช้น้ำใส
มิใช่ อยู่ใกล้ใคร ในจิตใจ ใฝ่แต่ดี
ผู้ใด ใส่เสื้อใหม่ ใยบัวใต้ ใบดีปลี
จะใคร่ เรียนเขียนดี ยี่สิบม้วน ควรจดจำฯ

เสียง "ชะ" ที่ไม่ประวิสรรชนีย์ (เขียนไม่มีสระอะ)

ชนวน ชวนชนาง ชนะข้าง เคียงชบา
ชมดชม้อยตา มองชม้าย ชไมเหมือน
ชนิดชิดชนัก ชอุ่มหนัก ชอ่ำเตือน
ชอื้อ ชวาเยือน ชโลงใจ ให้ชโลมฯ

โดย อาจารย์พลเรือโทสุธน หิญชีระนันทน์ ส.ก.2486 และทรงวุฒิ อภิรักษ์ขิต ส.ก.2529 (OSK110-4=106, skfanclub)

ที่มาจาก http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=print&sid=375





หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 16-09-2009 17:25:41
:กอด1:พี่ฟาง ขยันมาลงพอกัน 555+
วันนี้นิวก็หาคำมาให้อ่านเพื่อสะสมคำกัน
และทำความเข้าใจกับความหมายเวลาใช้จะได้ใช้ถูก
แต่อย่าไปซีเรียสมากครับมันเป็นเรื่องที่ดิ้นได้ (จริงหรือ?) เป็นบางคำ
ก่อนลงขอพล่ามอะไรที่มันดูเป็นการเป็นงานเสียหน่อย
วันก่อนไปอ่านและศึกษาถึงคำว่า รสชาติ ในเว็บบอร์ดแห่งหนึ่ง
เถียงกันจะเป็นจะตายยกอ้างพจนานุกรมหลายๆปีมาสู้กัน ทั้งที่เป็นคำง่ายๆ
คือ รสชาติ//รสชาด ,ลคร//ละคอน//ละคร , ...
ซึ่งล้วนแล้วแต่จะเห็นว่าในพจนานุกรมมีความต่างกันทั้งที่เป็นพจนานุกรม ฉบับฯ ทั้งสิ้น
แม้มันจะเป็นคนละฉบับกัน (แต่ในความเห็นส่วนตัวฉบับ พ.ศ.2542 มีบางคำที่ใช้เปลี่ยนไปด้วยเหตุผลที่ว่าตามสมัยนิยม ทำให้เวลาใช้คนที่ใช้แบบเดิมจะรู้สึกแปลกๆ นั้นหมายความว่าถ้าต้องการจะศึกษาภาษาไทยให้ชัดเจนนิวแนะนำว่าควรใช้ฉบับ พ.ศ.2525 หรือจะเอาโบราณไปเลยก็ได้คือฉบับ พ.ศ. 2493 ฮ่าๆ) หมายความว่าบางครั้งเราใช้ๆกันไปอาจจะรู้สึกว่ามันไม่น่าจะเป็นอย่างนี้นะคำนี้ผิดหรือเปล่าอะไรประมาณนั้น ก็ด้วยเหตุว่า ในฉบับปัจจุบันไม่ได้เน้นความถูกต้องของที่มา และลักษณะการใช้ หรือ การออกเสียงเช่นสมัยก่อน แต่เน้นเอาว่าข้าถูกเสมอ หรือ คิดเองว่าคนใช้ผิดกันมาจะทั้งประเทศก็จับมันผิดตามไปด้วยโดยไม่มีการแจ้งแถลงต่อที่ใดทั้งสิ้นว่ามันเป็นอย่างไร อย่างคำว่า มุก เป็นคำที่รู้สึกแปลกๆเช่นกัน เพราะตั้งแต่เด็กเคยชินกับการใช้ มุข แทนในหลายๆอย่าง ทั้งไข่มุข มุขตลก ประมุข ... เท่าที่รู้มาคือประมาณว่าฉบับปีไหนไม่แน่ใจนะครับ อยู่ๆก็เปลี่ยนให้มาใช้เป็น ไข่มุก มุกตลก ... แทนซึ่งไปถามมามีคนที่รู้ก็บอกว่า มีคนเคยพูดให้ว่ามันผิดกันเยอะ คนไทยมักง่าย เลยทำให้ภาษามันดิ้นไป จริงๆแล้วมันเริ่มมีพจนานุกรมฉบับหนึ่งที่สร้างความแตกตื่นมาก เพราะเขียนคำผิดแล้วนำออกมาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน คือ ฉบับพิเศษรู้สึกจะฉลองครองราชย์ครบ 60 ปี ทำให้หลังจากนั้นภาษาก็เริ่มมีการใช้ผิดตามกันมา... ทำให้ที่มาของคำที่นำมาลงในพจนานุกรมไม่ได้มาจากภูมิหลังของคำ หรือลักษณะของการออกเสียง แต่มาจาก คำที่เป็นที่นิยมของตลาด อย่างฉบับล่าสุดที่ออกมาเพิ่มศัพท์ใหม่ลงไปกว่าพันคำซึ่งล้วนแต่เป็นศัพท์ที่มัน ไม่ใช่ศัพท์ออกจะเป็นคำพูดติดปากของวัยรุ่น ชาวบ้าน คนทำงานเสียมากกว่า ฉะนั้นตั้งใจจะบอกว่าพจนานุกรมทำให้เราสับสนครับ ด้วยหลายๆอย่างอย่างที่บอกไปด้วยและรวมถึงบางคำที่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำ และไม่ได้มีการแจ้งผ่านทางใดถึงการแก้ไข
รสชาติ//รสชาด ,ลคร//ละคอน//ละคร เป็นตัวอย่างที่ดีว่าทำไมบางคนยังใช้ไม่เหมือนกัน
พล่ามมามากความแล้ววันนี้ขอแทรกคำที่น่าสนใจไว้คำเดียวพอแล้วกันเพื่อไม่ให้จุดประสงค์ของกระทู้เปลี่ยนไป จริงๆคำนี้เป็นคำที่ไม่ได้ใช้ผิดกันหรอกครับแต่ส่วนมากใช้กันจนเคยปากทั้งๆที่ไม่รู้ความหมาย ต้องบอกว่าเกิดสนใจคำนี้ขึ้นมาเพราะ เมื่อวานอ่านโน้ตเล็คเชอร์ของรุ่นพี่แล้วเจอข้อความที่มันทำให้ชวนฉงนน่ะ

(นิยม)นิยาย
อีกหนึ่งความหมายของคำว่านิยาย
ทุกคนน่าจะเคยอ่านหนังสือ นิยาย หรืออื่นใดแล้วเจอข้อความประมาณว่า
"อย่าไปเอานิยายอะไรกับเขาเลย"
"เธอเป็นของเธอแบบนั้นเอง เอานิยายอะไรกับเธอไม่ได้"
คำว่านิยายที่ปรากฏให้เห็นนั้นคนละความหมายกับที่เราๆใช้กันโดยทั่วไป
มันมีรูปเต็มจากคำว่า “นิยมนิยาย”
นิยมนิยาย  (ปาก) น. ความแน่นอน, ใช้ในความปฏิเสธว่า เอานิยมนิยายไม่ได้ แปลว่า หาความแน่
                         นอนจริงจังอะไรไม่ได้(จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ พ.ศ.2542)
แต่ถ้าเอาเข้าจริงแล้ว คำว่านิยายที่ว่าน่าจะ มีที่มาจากคำว่า
เอาเรื่องเอาราว “เรื่อง” หมายถึง นิยาย
ทำให้เกิดเป็น นิยมนิยาย เป็นคำสร้อยหลังใช้นิยายแล้ว

นิว(LOVEis)
  
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 16-09-2009 18:13:21
ใจคนว่าอ่านยากแล้ว แต่ภาษาไทยยากกว่าอีก  :z3:
 :really2: เมา ๆ มึน ๆ งง ๆ  :bye2:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: wisper ที่ 16-09-2009 22:05:30
ขอบคุณจริงๆ

สำหรับกระทู้ดีๆแบบนี้

อยากให้การเขียนอย่างถูกต้อง

กลายเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมของเลาเป็ดนะ

เพราะวอนก็ใช้ภาษาอย่างถูกต้องที่สุดในนิยายทุกเรื่อง

และมันก็ทำให้วอนได้ดี  จนเป็นนักเขียนกับเขาได้แบบตอนนี้

แต่ก็ได้ทุกคนแนะนำ ให้ข้อมูลป้อนกลับด้วยแหละ

/ วอน
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 17-09-2009 13:19:39
 :z13:
จิ้มพี่วอน อิๆ
คำที่มักสะกดผิด กร้าม, กล้าม   
คำที่ถูกต้อง คือ ก้าม สำหรับแทนความหมายอวัยวะที่ใช้ในการหนีบของกุ้ง

กุ้ง Bright  Orange และ กุ้ง Snow
ถ้าหาก ต้องการใช้แทนคำในภาษาไทย ควรสะกดว่า ไบร์ท และ สโนว์ ตามลำดับ
ซึ่งจะใกล้เคียงคำภาษาอังกฤษมากที่สุด ส่วนใหญ่ที่พบสะกดผิด จะเป็นคำว่า ไบ ,ไบร ,ไบร์,
ไบรท์ ซึ่งตามรูปไวยากรณ์แล้วอ่าน ออกเสียงเป็นคำว่า bi ( ไบ ) ที่แปลว่า สอง เช่น bi-sexual

คาบ, คลาบ
เป็นอีกคำหนึ่งที่พบบ่อย คือ ลอกคราบ
คำที่มักสะกดไม่ถูกต้องจะเป็น คาบ( คาบเรียน , ปากคาบสิ่งของ ฯลฯ )
คลาบ( ไม่มีความหมายที่ถูกต้อง )

คอก ที่ถูกต้อง คือ ครอก
คอก     - น. ที่ล้อมขังสัตว์บางชนิด เช่น วัว ควาย ม้า หมู, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่คล้ายคลึง
                เช่นนั้น เช่น คอกพยาน;(ถิ่น-พายัพ) คุก,
เรือนจํา    ว. ลักษณะ ของแขนที่พิการเหยียดตรงไม่ได้ เรียกว่า แขนคอก.
ครอก    - น. ลูกสัตว์หลายตัวที่เกิดพร้อมกันคราวเดียว เช่น ลูกครอกปลาช่อน,
                ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราวหนึ่ง ๆ เช่น
                ปีนี้แมวออกลูก ๒ ครอก; (โบ) ลูกของทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย เรียกว่า ลูกครอก.

รานเร่ สะกดให้ถูกว่า ลานเร่
ลาน      - น. บริเวณที่ว่าง, สนาม, เช่น ลานจอดรถ, ที่สําหรับนวดข้าว
เร่           ก. เที่ยวไปไม่ประจําเป็นตําแหน่งแห่งที่
                 (ใช้แก่การค้าย่อย หรือรับจ้างขนส่งซึ่งไม่ประจําที่) เช่น เร่ขายของ,เตร่,
                 เดินไปเดินมาอย่างไม่มีจุดหมาย, เช่น เร่ไปคุยที่โต๊ะโน้นบ้างโต๊ะนี้บ้าง,
                 อาการที่หันเห และเวียนเคลื่อนที่จากจุดเดิมไปสู่อีกที่หนึ่ง เช่น
                 เดินกลับบ้านเห็นคนด้วย. ว. ที่ไม่อยู่ประจำเป็นตำแหน่งแห่งที่ เช่น พ่อค้าเร่,
                 เรียกละครที่มิได้อยู่แสดงประจำที่ว่า ละครเร่,
                 เรียกเรือที่ตระเวนขายของต่าง ๆ ไปตามแม่น้ำลำคลองว่า เรือเร่,
                 เรียกพ่อค้าแม่ค้าที่หาบของขายไปเรื่อย ๆ ไม่อยู่ประจำที่ว่า
                 พ่อค้าหาบเร่ แม่ค้าหาบเร่, เรียกสั้น ๆ ว่า หาบเร่.
ส่วนคำว่า ราน
ราน         ก. ตัดหรือฟันกิ่งไม้ออก ในคําว่า รานกิ่ง. ว. มีรอยปริตื้นๆทั่วไปบนพื้นผิว
                 ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หม้อราน ผนังราน กระเบื้องราน, แตกลายงา ก็ว่า.

ที่มา: http://aqua.c1ub.net/forum/index.php?topic=45403.0;wap2
นิว(LOVEis)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: ltahset ที่ 18-09-2009 20:56:13
ขอบคุณมากนะคะ
รู้สึกว่าบางคำพายยังใช้ผิดอยู่เลย :m17:

^^
ขอบคุณมากค่ะ

(แอบ +1 ให้)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 19-09-2009 16:55:37
วันนี้มีประมวลเนื้อหาที่น่าสนใจเกี่ยวกับ คำวิสรรชนีย์  และ อีกนิดหน่อย มาให้อ่านกัน

ขึ้นด้วย ช
ชนวนชวนชนาง      ชนะข้างเคียงชบา
ชมดชม้อยตา         มองชม้ายชไมเหมือน
ชนิดชิดชนัก          ชอุ่มหนักชอ่ำเตือน
ชอื้อชวาเยือน        ชโลงใจให้ชโลม      (กลอนที่ขึ้นด้วย ช จะซ้ำกับที่พี่ฟางเคยนำมาลงไปแล้ว)

ขึ้นด้วย ท
ทโมนทมอทแยง     ทเมินแย้งทยอยทนาย
ทบวงห่วงทลาย      พวกทวายร้องทวอย

ขึ้นด้วย ส
สบงแลสไบ           สราญใจสบายสดับ
สบู่สกัดจับ            สกาวหลับสกาสดำ

ขึ้นด้วย พ

พม่าพนายทัก         อิงพนักกับพยาน
พเยียพยุงหลาน      ทำพยักพเยิดยอม
พยับกับพบู           พนมคู่กับพนอม
พนันพญาตอม        พนังคร่อมข้างพาชี

 ศ                               ส                                 ษ
พิศดู                          พิสดาร                           พิษร้าย
พิศวง                         พิสมัย                            พิษงู
พิศวาส                       พิสมร                             พิษฐาน
พัศดี                          พัสดุ                              พิษณุ
                               พัสถาน
                               ภัสดา
นิว(งามอย่างผู้ดี)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 20-09-2009 01:17:22
มาอีกรอบวันนี้อ่านๆไปเจอป้ายรณรงค์การใช้คำให้ถูกต้องในการเขียนของบล็อก
เลยอยากนำมาลงแปะไว้ในเล้าเพื่อรณรงค์ให้ใช้คำถูกในการเขียนนิยาย เรื่องเล่า
หรือ ใครจะนำไปใช้ก็ได้นะครับเอาไปแปะเวลาที่มีคำที่ผิดเกิดขึ้น
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/OKlovethai3.gif)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/19free.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/Btourfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/airfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/robotfree3.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/bookfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freebord5.GIF)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freeboard6.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freeboard5.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freeboard4.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freeboard2.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/freeboard1.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/legfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/readfree.GIF)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/robofree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/robofree27.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/davidfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/tagfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/teacfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/thaifree1.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/vitaminfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/tagfree2.GIF)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/childenfree.GIF)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/talkfree.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/thaifree2.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/thaifree3.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/thaifree4.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/thaifree5.JPG)(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/free.JPG)
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/788/3788/images/pfree.JPG)
ที่มา: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=113795

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 21-09-2009 09:59:36
เข้ามาจัด+ให้น้องนิวไปในฐานะคนขยันช่างสรรหาสิ่งที่เป็นประโยชน์มาฝากชาวเราและชาวเล้า  o13
กลับไปอ่านนิยายของตัวเองผิดตรึม..ยังไม่มีเวลาไปแก้เลย :z3:

อยากให้คนมาอ่านทู้นี้เยอะๆจังเนอะ :call:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: imageriz ที่ 21-09-2009 19:09:52
อยากให้หลาย ๆ คนเข้ามาอ่านให้รู้จักคุณค่าของภาษาไทย
ว่าภาษาไทยมีคุณค่าในเองอย่างไร ช่วยกันรักและรักษ์ภาษาไทยกันนะคะ  :L2:
เอาบทกลอนมาฝากค่ะ

                         โปรดคำนึง ถึงคุณค่า ภาษาไทย
คือวิญญาณ งดงาม ความเป็นชาติ       คือเอกราช เสรีสิทธิ์ ความคิดฝัน
คือสายใย ร้อยรวมใจ ไว้ด้วยกัน         ความสำคัญ และคุณค่า ภาษาไทย
หากภาษา โทรมทรุด ถึงจุดอับ          ย่อยยับกับ มือเรา น่าเศร้าไหม
ศิลปะ ศิลปิน คงสิ้นไป                    อยู่อย่างไร้ ศักดิ์ศรี ในชีวิต
เราเข่นฆ่า ภาษา มานานนัก              แม้ไม่รัก ก็อย่าชัง โปรดชั่งจิต
เพียงพลาดหน่อย บ่อยครั้ง ไม่ยั้งคิด    คือยาพิษ ปลิดวิญญาณ ความเป็นไทย

  ...อ.ญาดา อรุณเวช   


ที่มา http://www.yupparaj.ac.th/thaitip/thaivalue.htm :pig4:


หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 25-09-2009 09:02:06
เข้ามาดันกระทู้อยากให้คนมาอ่าน จริงๆ :L2:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 07-10-2009 14:23:02
แวะเข้ามาช่วยดันกระทู้ อยากให้คนเข้ามาอ่านกันเยอะๆ เพราะคำผิดยังคงมีให้เห็นอยู่
วันนี้เลยขอนำสรุปคำที่ผิดบ่อยๆทั้งหมดมาเสนอโดยจะมีเฉพาะที่เขียนถูกแล้ว
คำที่มักเขียนผิด

อักษร ก
    กะลาสี กฎหมาย กฎเกณฑ์ กบฎ กำเนิด แกงบวด กล้วยบวชชี กะทัดรัด กะทันหัน กะทิ กะเทาะ กะรัต กะลา กะโหลก กระตือรือร้น กระทะ กระบวน กระเพาะ กระสัน กระแสน้ำ กรรมพันธุ์ กระยาสารท กราฟ การบูร ก๋วยเตี๋ยว กังวล กังวาน กรรเชียง เกียจคร้าน กรีฑา กามารมณ์ กาลเทศะ การเวก การะเกด กัลยา กันยา กัญญา กิตติกรรมประกาศ กิตติมศักดิ์ กิเลส แก๊ส ก๊าส(อากาศ) ก๊าด(น้ำมัน) เกร็ดความรู้ เกร็ดพงศาวดาร เกล็ดปลา กลยุทธ์ กระษาปณ์(เงินทำด้วยโลหะ) กษาปณ์ กอล์ฟ การ์ตูน กีตาร์ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เกศา เกษียณอายุ เกษียนหนังสือ เกษียรสมุทร เกสร

อักษร ข
    ขบวน ขมวด ขมุกขมัว ขะมักเขม้น ขโมย ไข่มุก ขัณฑสกร ขากรรไตร ข้าวโพด ข้าวบิณฑ์ ขี้เถ้า เข็ญใจ ขบถ ขยักขย่อน ขยุกขยิก ขวักไขว่ ขะเย้อแขย่ง เขบ็ต โขมด

อักษร ค
    ครรลอง ครองราชย์ ครุฑ ค้อน(เครื่องมือ) คอนกรีต คอนเสิร์ต ครหา คอลัมน์ คะนอง คะยั้นคะยอ คั่นกลาง คำนวณ คะเน คณนา คะนึง คริสต์ศาสนา โครงการ คุดทะราด คนธรรพ์ คฤหัสถ์ คัมภีร์ คาร์บอลิก เครื่องยนต์ เคาน์เตอร์ ครองแครง ใคร่ครวญ เครดิต เค้าโครง เค้ก คาราเต้ คลินิก เคี่ยวเข็ญ

อักษร ฆ
    ฆราวาส ฆ้อง ฆาตกร โฆษณา โฆษก

อักษร ง
    เงินสเตอร์ลิง เงินดาวน์ งบดุล งึมงำ งูสวัด โง่เง่า

อักษร จ
    จลาจล จักร จัดสรร เจียระไน จาระไน จตุสดมภ์ จักรพรรดิ จะละเม็ด จักรวาล โจษจัน จำนง จันทรคราส จัณฑาล จินต์จล จุนสี เจตจำนง โจทเจ้า โจทก์จำเลย โจทย์เลข จักรยานยนต์ จาบัลย์ เจตนารมณ์

อักษร ฉ
    ฉะนั้น ฉะนี้ เฉพาะ ฉบับ ฉวัดเฉวียน ฉัททันต์ ฉันมิตร ฉายาลักษณ์ เฉิดฉัน เฉลิมพระชนมพรรษา ฉ้อราษฎร์บังหลวง

อักษร ช
    ชนิด ชนะ ชนวน ชนัก ชบา ชมดชม้อย ชม้าย ช้อนส้อม ชอ่ำ ชอุ่ม ชะนี ชมพู ชลมารค ชโลม ชะมด ชะงัก ชะงัด ชะตา ชะรอย ชะลอ เช็ค เชิ้ต ชัชวาล โชคชะตา ชันโรง ชันโรง ชันสูตร ชัยพฤกษ์ ชอล์ก ช็อกโกแลต ชักเย่อ

อักษร ซ
    ซวดเซ ซากศพ เซ็นชื่อ ซีเมนต์ เซลล์ ซึมทราบ(รู้) ซึมซาบ ซ่าหริ่ม ซ่อนเร้น เซนติเมตร เซ่นสรวง ไซยาไนด์ เซลลูลอยด์ เซลเซียส ซาบซ่าน ซิกแซ็ก

อักษร ญ
    ญาติสาโลหิต ญาณศาสตร์ ญี่ปุ่น

อักษร ด
    ดำรง ดำริ ดุริยางค์ ดาดฟ้า ดาษดา ดึกดำบรรพ์ ดราฟต์ ดอลลาร์ ดอกไม้จันทน์ ดอกจัน ดาวดึงส์ ดุลการค้า ดุลอำนาจ เดินเหิน เดียดฉันท์ เดรัจฉาน เดนมาร์ก ไดโนเสาร์

อักษร ต
    ตานขโมย ต่าง ๆ นานา ตรวจการณ์ ไตรยางศ์ ตลบตะแลง ตาลโตนด ตะกุกตะกัก ตะลุมบอน ตักบาตร ตะลึง เตร็ดเตร่ เต็นท์ ไต้ฝุ่น ตำรับ

อักษร ถ
    ถ่วงดุล แถลงการณ์ เถาวัลย์ เถลไถล เถมิน เถรตรง เถ้าแก่ ถนนราดยาง

อักษร ท
    ทนทายาด ทโมน ทยอย ทรวดทรง ทะลาย(หมาก,มะพร้าว) ทดรองจ่าย ทะนง ทรุดโทรม ท้องมาน ทแกล้วทหาร ทแยงมุม ทองบรอนซ์ ทัณฑ์บน ทรัมเป็ต ทรานซิสเตอร์ ทะนุถนอม ทะเลสาบ ทะลึ่ง ทาส ทีฆายุโก ทูต ทูนหัว ทูลกระหม่อม ทูลเกล้าฯ เทเวศร์ แทรกแซง เทิดทูน เทคโนโลยี เท่ห์ แท็กซี่ เท้าแขน แท็งก์น้ำ เทพนม ทักษิณ ทำนองคลองธรรม

อักษร ธ
    ธำรง ธุดงค์ ธุรการ ธุรกิจ ธัญพืช ธนาณัติ ธนบัตร ธำมรงค์ ธรรมาสน์ ธรรมยุทธ์ ธรรมารมณ์

อักษร น
    นพรัตน์ นภดล นฤมิต นลาฎ นวยนาด โน้ต นัยน์ตา นาที น้ำมันก๊าด เนตบอล นอนแบ็บ นวลลออ นักขัตฤกษ์ นาฏศิลป์ นานัปการ นิจศีล นิเทศ นิมนต์ ไนต์คลับ นกพิราบ นกอินทรี

อักษร บ
    บรรทุก บรรลุ บรรเลง บังสุกุล บังเอิญ บาดทะยัก บิณฑบาต บาทหลวง บรรยเวกษก์ บันเทิง บันได บันทึก บันลือ บัลลังก์ บันดาล บางลำพู บาตร บำเหน็จ เบญจเพส บรรทัด บรั่นดี บล็อก บาทบงสุ์ บัตรสนเท่ห์ บิดพลิ้ว บุคลากร บุคลิกภาพ บูรณปฏิสังขรณ์ บ่วงบาศ บุษราคัม เบนซิน

อักษร ป
    ปรนนิบัติ ปฏิสังขรณ์ ปฏิพัทธ์ ปรองดอง ประณีต ประกายพรึก ปฐมนิเทศ ประดิดประดอย ประนีประนอม ประกาศิต ประจัญบาน ประจันหน้า ประจันห้อง ประณต ประณาม(กล่าวร้าย) ประสบการณ์ ปล้นสะดม ปิกนิก ปักษิน ประณิธาน ประสูตร ประสูติการ(การคลอด) ประสูติกาล(เวลาที่คลอด) ประหัตประหาร ประหลาด ปราณี ปะแล่ม ปราณีปราศรัย ปรัมปรา เปอร์เซ็นต์ ปวารณา ปุโรหิต

อักษร ผ
    ผดุง ผอบ ผรุสวาท ผลลัพธ์ ผลานิสงส์ เผลอไผล เผอเรอ ผลัดเปลี่ยน ผลัดผ้า ผลัดเวร ผัดหนี้ ผัดผ่อน ผัดวันประกันพรุ่ง ผาสุก ผุดลุกผุดนั่ง เผ่าพันธุ์ ไผท แผนการ ผูกพัน เผอิญ แผ่ซ่าน ผู้เยาว์ แผลงฤทธิ์

อักษร ฝ
    ฝีดาษ ฝรั่งเศส ไฝ ฝากครรภ์ ฝักฝ่าย ฝักใฝ่ ฝึกปรือ

อักษร พ
    พงศ์พันธุ์ พาณิชย์ พยัคฆ์ พยาบาท พราหมณ์ พุทธชาด เพชรฆาต พรหมจรรย์ พึมพำ พัสดุ พลาสติก พิศวง พิศวาส พิสมัย พรรณนา พร่ำพลอด พละกำลัง พหูสูต พังทลายพันทาง พุดตาน พิลาป โพนทะนา พยัก พยักพเยิด พยาน พยุง พเยีย พะแนง พะยอม พะวักพะวน พัศดี พาหุรัด พิบูล พิสดาร โพชฌงค์ โพทะเล ไพฑูรย์ พู่ระหง พู่กัน พิณพาทย์ เพริศพริ้ง เพิ่มพูน เพียบพร้อม

อักษร ฟ
    ฟรีบาร์ ฟิล์ม เฟิน ฟุลสแก๊ป ฟุตบอล แฟชั่น ไฟแช็ก ฟังก์ชัน ฟาทอม ฟ้งซ่าน

อักษร ภ
    ภคินี ภวังค์ ภัณฑารักษ์ ภาคภูมิ ภาคทัณฑ์ ภูมิใจ ภูมิลำเนา ภาพยนตร์ เภตรา ภุชงค์ ภาวการณ์

อักษร ม
    มงกุฎ มณฑป มนเทียร มรณภาพ มหรสพ มหาหิงคุ์ มัธยัสถ์ มฤตยู มเหสี มหัสจรรย์ มหรรณพ มะหะหมัด มัคคุเทศก์ มัณฑนศิลป์ มัสมั่น มัศยา มาตรการ ม่าย มืดมน แมลงภู่ ไมล์ ไมยราบ มัสตาร์ด

อักษร ย
    ยานัตถุ์ ยีราฟ ย่อมเยา ยาเกร็ด(ตำรา) เยาว์วัย ไยดี ไยไพ ใยแมงมุม

อักษร ร
    รกชัฏ รณรงค์ รมณีย์ ระเบงเซ็งแซ่ ระเห็จ รสชาติ รหัส รหัสลับ รักษาการ(ในตำแหน่ง) รักษาการณ์(เหตุการณ์) รัญจวน รังสี รัศมี รากเหง้า ราดหน้า ราพณาสูร รื่นรมย์ แร็กเกต ริบบิ้น เรี่ยไร โรมันคาทอลิก

อักษร ล
    ลดาวัลย์ ลมปราณ ลมหวน ล็อกเกต ละคร ลองไน ละเมียดละไม ละเอียดลออ ละโมบ ลักเพศ ลังถึง ลาดตระเวน ลายเซ็น ลาวัณย์ ลิปต์ ลิปสติก ลำไย ลิดรอนสิทธิ์ ลุกลี้ลุกลน ลูกเกด เล่นพิเรนทร์ ลูกนิมิต ลูกบาศก์ เล่ห์กระเท่ห์ เลือกสรร โล่

อักษร ว
    วงศ์วาน วณิพก วนิพก วัคซีน วัณโรค วันทยาหัตถ์ วายชนม์ วารดิถี วิ่งเปี้ยว วิ่งผลัด วินาที วิตถาร วิตามิน วินาศกรรม วิสาขบูชา วิหารคด เวนคืน เวียดนาม เวทมนตร์

อักษร ศ
    ศศิธร ศิลปะ ศิลปกรรม ศิลปวัฒนธรรม ศิลปวัตถุ ศิลปะและวัฒนธรรม ศึกษานิเทศก์ ศัตรู โศกเศร้า โศกศัลย์ โศกนาฏกรรม ไศล ศีรษะ ศรัทธา

อักษร ส
    สกัด สกาว สดับ สถานการณ์ สรรหา สรรแสร้ง สะดวก สะพาน สบาย สบู่ สไบ สบง สมดุล สถิต สิงโต สับปะรด สัมมนา สะอาด สังเกต สังวร สังวาล สังสรรค์ สันโดษ สร้างสรรค์ สวมกอด สอบเชาวน์ สัปเหร่อ สาบาน สัพยอก สัญลักษณ์ สะกิด สะกด สะคราญ สะพรึงกลัว สักการบูชา สรรหา สายสิญจน์ สรรเพชญ สับปลับ สัมภาษณ์ สาธารณชน สาธารณประโยชน์ สาธารณสถาน สาธารณสุข สาบสูญ สาปแช่ง สาปสรร สาร สารประโยชน์ สาระสังเขป สาระสำคัญ สารัตถประโยชน์ สารัตถะสำคัญ สำอาง สีสัน เสบียง สูติบัตร โสฬส

อักษร ห
    หกคะเมน หงส์ หน็อยแน่ หยักศก หลักการ หวนคะนึง หอมหวน หย่าร้าง หน้าปัดนาฬิกา โหระพา หึงหวง หมามุ่ย หมามุ้ย หยากไย่ ห่วงใย หยิบหย่ง หมาใน เหม็นสาบ แหลกลาญ เหล็กใน โหยหวน ไหหลำ

อักษร อ
    อนุญาต อวสาน อะไหล่ อเนจอนาถ อภิเษก อะลุ่มอล่วย,อะลุ้มอล่วย อัฒจันทร์ อัธยาศัย อัมพาต อัตคัด อนุกาชาด อนาทร อนุสาวรีย์ อมรินทร์ อุปัชฌาย์ เอกเขนก เอกฉันท์ ไอศกรีม อาเจียน อาวรณ์ อานิสงส์ อาเพศ อาสน์สงฆ์ อำนาจบาตรใหญ่ อำมหิต อินทรียวัตถุ อิริยาบถ อิสรภาพ อิสรเสรี อุปโลกน์ อุปการคุณ โอกาส อากาศ อีสาน อุโมงค์ อุบาทว์ อภิรมย์ อเนก อลักเอลื่อ อหิวาตกโรค ออฟฟิศ อุทาหรณ์
ที่มา:http://www.yupparaj.ac.th/thaitip/mistake.htm
นิว(รักภาษาบ้านเรา)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 07-10-2009 21:52:03
 o13 เริ่ดค่ะ ตาลาย แต่เป็นประโยชน์มากจริงๆ
ขอบคุณค่ะน้องนิว วันนี้+ไปแล้วเดี๋ยวรอบหน้าจัดไปค่ะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 07-10-2009 22:33:21

เข้ามาเสอนหน้าบ้างนะคะ

มัคคุเทศก์ --> มัค(มรรค=ทาง)+เทศ(=สถานที่) = คนบอกทาง-สถานที่

เทศน์ = สอน

ประเทศ

เทศาภิบาล --> เทศ(=สถานที่)+อภิ(=ใหญ่,มาก)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลสถานที่ขนาดใหญ่

เทศบาล --> เทศ(=สถานที่)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลสถานที่

สุขาภิบาล  --> สุข(=ความสุข)+อภิ(=ใหญ่,มาก)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลความสุขจำนวนมาก

พยาบาล --> พย(=วิ = พิเศษ)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลเป็นพิเศษ

สัตวบาล --> สัต(=สัตว์)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลสัตว์ --> เรียนจบสัตวศาสตร์  ถ้าจบสัตววิทยา จะเรียกว่า นักสัตววิทยา

ทวารบาล--> ทวาร(=ทางเข้า-ออก,ประตู)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลทางเข้า-ออก,ประตู

อภิบาล -->อภิ(=ใหญ่,มาก)+บาล(=ผู้ดูแล) = ผู้ดูแลให้เติบโต = พี่เลี้ยง

อาจไม่ถูกต้องมากนัก  แต่คงพอเป็นแนวทางให้ค้นคว้าเพิ่มเติมได้นะคะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: konbah ที่ 11-10-2009 11:22:03
ได้ความรู้เพิ่มเติมเยอะเรยคับ :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Saint De Jupiter ที่ 20-10-2009 07:02:36
ขอขอบคุณจากใจจริงครับ... ขอบคุณมากๆที่ช่วยโพสต์ให้ความรู้เป็นวิทยาทาน

ขอให้ได้บุญกุศลเยอะๆนะครับ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 24-10-2009 11:10:24
พอดีกำลังรีไรท์นิยายอยู่แอบปวดใจเล็กน้อยที่ตัวเองเขียนผิดมากมายเลยเอาที่เจอกับตัวเองมาบอกกัน

คำที่ผิดบ่อยๆนะคะ ตามนี้เลย อาจเป็นประโยชน์สำหรับคนอื่นบ้าง

brake = เบรก ติดใช่ค.ประจำเลย
check = เช็ก  cheque = เช็ค  ชอบสับสนระหว่าง ก.กับค.
shock = ช็อก  อันนี้ชอบใช้ ค.
steak = สเต๊ก  อันนี้ชอบใช้ ค.
web = เว็บ ตัวนี้ติดป.
โควตา  ออกเสียง คว ควบกล้ำ และออกเสียง ต้า โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์
ไซ้ขน ตัวนี้ติดคำว่าไซร้ ซึ่งจริงๆแล้วต้องไม่มีร.

ทยอย บางทีเผลอใส่สระ อะเข้าไปเป็นทะยอย ซึ่งผิด
ทลาย=พังทลาย  ทะลาย=ช่อผลของมะพร้าว
บิดพลิ้ว ไม่ใช่ บิดพริ้ว
ลิฟต์ มาจากคำภาษาอังกฤษ lift  ต้องเป็นต.ไม่ใช่ท.
พยักพเยิด ชอบเขียนผิดเป็น พยักเพยิด หรือพะยักพะเยิด ซึ่งผิด
ที่มาข้อมูล วิกิพีเดีย:รายชื่อคำในภาษาไทยที่มักเขียนผิด
และ http://www.kroobannok.com/view.php?article_id=1818


แค่นี้ก่อนแล้วกันค่ะ ขอบคุณเจ๊สองและน้องนิวหรือคนอื่นๆที่เอาความรู้มาลงด้วยค่ะ เพื่อให้เราไม่ติดภาษาที่ผิดๆไปใช้
 :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: BeeRY ที่ 26-10-2009 02:55:41
ขอบคุณค่ะ ทั้งพี่นิวและพี่ฟางเลย เหมือนคุณครูภาษาไทยกันเลยนะคะ ^___^
ตอนเรียนมัธยมต้น เรียนแผนไทยสังคมมาค่ะ จำได้ว่าไม่เคยเขียนหนังสือผิดเลย
แต่พอเริ่มอ่านนิยายวัยรุ่น ก็ชอบติดพวกคำสแลงมากเลย  (สแลงเขียนอย่างนี้หรือเปล่าคะ ไม่แน่ใจ แหะๆ)
เล่น msn ยิ่งไปใหญ่ เวลาเขียนงานส่งอาจารย์ทีไรโดนประจำค่ะ
"นิสิตใช้ภาษาเขียนสิคะ อย่าใช้ภาษาพูด เขียนก็ผิด แย่ๆ"
มาอ่านกระทู้นี้แล้วเพิ่งรู้ค่ะ ว่าตัวเองใช้ภาษาไทยได้แย่มาก ถึงมากที่สุด
จะพยายามปรับปรุงค่ะ -//-
ขอบคุณอีกครั้งนะคะ :man1:

 
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 29-10-2009 09:23:37
พอดีไปเช็กคำมาเลยไปเจอเวปนี้เข้าอ่านแล้วก็เห็นว่ามีประโยชน์ทั้งนักเขียนนักอ่าน  เลยเอามาฝากกันค่ะ


เพื่อให้การจัดพิมพ์หนังสือของนักเขียนทุกท่านเผยแพร่ออกไปอย่างสมบูรณ์และถูกต้อง  กองบรรณาธิการขอเสนอข้อพึงปฏิบัติในการจัดทำต้นฉบับดังนี้ค่ะ

1. ก่อนส่งต้นฉบับ ขอให้ตรวจตัวสะกดอย่างละเอียดรอบคอบ โดยยึดพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานเป็นหลัก    คำผิดที่พบมีสองลักษณะ   

ลักษณะแรก คือ พิมพ์ผิด เช่น  ฟากฝั่ง พิมพ์เป็น ฝากฝั่ง, สมทบ พิมพ์เป็น สบทบ
ลักษณะที่สอง คือ สะกดผิด ส่วนใหญ่เป็นคำมักเขียนผิด เช่น กะพริบ (มักสะกดเป็น กระพริบ), พลิ้ว (มักสะกดเป็น พริ้ว), เลือดกบปาก (มักสะกดเป็น เลือดกลบปาก) ขอให้ศึกษาจากหนังสือ “อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  หมายเหตุ : ดูตัวอย่างเพิ่มเติมท้ายกระทู้

นอกจากนี้ยังมีคำตกหล่น หรือคำเกิน หรือใช้คำผิดความหมาย ซึ่งพบอยู่บ่อย ๆ

2. เขียนรูปประโยคให้ถูกต้อง  หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งที่ไม่สามารถกระทำอาการต่าง ๆ ได้เป็นประธาน

ตัวอย่าง

- น้ำเสียงหวานเดินเข้ามา (ควรแก้เป็น คนเสียงหวานเดินเข้ามา)
- เสียงแหบพร่าเหนื่อยอ่อนของหนุ่มใหญ่เอ่ยกับหลานชาย (ควรแก้เป็น หนุ่มใหญ่เอ่ยกับหลานชายด้วยเสียงแหบพร่า)
เสียงไม่สามารถกระทำหรือพูดได้ เพราะเสียงไม่ใช่สิ่งมีชีวิต

3. ไม่ควรใช้คำเยิ่นเย้อ เช่น “เขารู้สึกวิตกกังวล” ไม่จำเป็นต้องมีคำว่ารู้สึก เพราะวิตกกังวลก็เป็นความรู้สึกอยู่แล้ว

“เขาเลิกคิ้วของตัวเองพลางถามต่ออย่างเร่งเร้า” ไม่จำเป็นต้องบอกว่าคิ้วของตัวเอง  เพราะเราจะใช้คิ้วของคนอื่นอย่างไรได้  กรณีนี้ควรเป็น “เขาเลิกคิ้วพลางถามต่ออย่างเร่งเร้า”   

4. การใช้ราชาศัพท์ ต้องศึกษาให้ถ่องแท้ก่อนเขียน  สิ่งที่มักเขียนผิดกันบ่อย ๆ คือ ใช้คำว่าทรงนำหน้าคำราชาศัพท์  เช่น พระองค์ทรงทอดพระเนตร, พระองค์ทรงตรัสว่า   ที่ถูกต้องคือ  พระองค์ตรัสว่า, พระองค์ทอดพระเนตร โดยไม่ต้องมี ทรง นำหน้าอีก   

คำราชาศัพท์ที่ใช้ผิดต่อ ๆ กันมา เช่น ประทับนั่ง ประทับยืน  ที่ถูกต้องคือ ประทับ, ทรงยืน

5. คำอุทานหรือเสียงร้องต่าง ๆ เช่น อ๊าก โอ๊ย ว้าย ไม่ควรเบิ้ลตัวสะกดตัวท้าย เพราะจะทำให้ดูสับสน เช่น อ๊ากกกกกกก โอ๊ยยยยยยย ว้ายยยยยย ควรใส่แค่ตัวสะกดเพียงตัวเดียว ถ้าจำเป็นต้องใส่เพื่อเน้นอารมณ์ก็ไม่ควรใส่เกิน 3 ตัว เช่น อ๊ากกก !

6. การใช้เครื่องหมายตกใจ (!) ขอให้ดูความเหมาะสมของอารมณ์ตัวละครด้วย ถ้าอารมณ์ตัวละครไม่ได้อยู่ในภาวะตกใจสุดขีด ใส่ (!) แค่ 1 ตัวก็พอ เช่น ว้าย!

7. คำว่า "อ่ะ" ไม่ต้องใส่ไม้เอก เพราะผิดหลักไวยกรณ์และ "อะ" ก็เป็นเสียงเอกอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกรณี ตัวละครยื่นของให้กันแล้วพูด ให้ใช้ "อ้ะ" ซึ่งเป็นเสียงที่เราพูดกัน เช่น ดารินส่งสมุดให้เขาแล้วพูดขึ้น "อ้ะ... เอาของคุณไป"

8. การใช้จุด (...) ควรใช้แค่ 3 จุด

9. ไม่ควรนำบทสนทนาของตัวละครสองตัวมารวมอยู่ในย่อหน้าเดียวกัน เพราะบางกรณีทำให้สับสนว่าใครเป็นคนพูด

10. หลังจบหนึ่งย่อหน้าไม่ต้องเว้นบรรทัด ถ้าเนื้อเรื่องยังต่อเนื่องกัน และไม่มีการขึ้นฉากใหม่ (กรณีที่เว้น 1 บรรทัด คือการขึ้นฉากใหม่เท่านั้น)

ตัวอย่าง
       ..................................
...........................................
...........................................
...........................................
       ..................................
...........................................
ถ้าต้องการขึ้นฉากใหม่ ให้เว้น 1 บรรทัด
ตัวอย่าง
       ..................................
...........................................
...........................................

       ..................................
...........................................

11. เวลาย่อหน้า กรุณาอย่าเคาะแป้น Spacebar ให้เคาะ Tab เพียง 1 ครั้งเท่านั้น

12. ปัญหาในการผันวรรณยุกต์   
     -อักษรต่ำ เสียงตรี ต้องใช้ไม้โท เช่น ว้าย, มั้ย (มักเขียนผิดเป็น ว๊าย, มั๊ย)
     -จ้ะ, จ๊ะ, คะ, ค่ะ  (ต้องใช้ให้ถูกต้องตามการออกเสียงจริง)

ตัวอย่างคำมักเขียนผิด   
คำที่ถูกต้อง                                                    มักเขียนผิดเป็น
นิทรารมณ์                                                       นิทรารมย์
พยักพเยิด                                                       พยักเพยิด
ผัดวันประกันพรุ่ง                                               ผลัดวันประกันพรุ่ง
ริอ่าน                                                              ริอาจ
โดยดุษณี                                                        โดยดุษฎี
เหงื่อโซมกาย                                                   เหงื่อโทรมกาย
อ้อยส้อย                                                         อ้อยสร้อย
ดำฤษณา                                                         ดำกฤษณา
แผ่หลา                                                           แผ่หรา
สุนัขพันทาง                                                     สุนัขพันธุ์ทาง
รักสามเส้า                                                       รักสามเศร้า
สัมฤทธิผล                                                       สัมฤทธิ์ผล
คุกกี้                                                               คุ้กกี้
หมูหย็อง                                                         หมูหยอง
กะหนุงกะหนิง                                                   กระหนุงกระหนิง
ตกรางวัล                                                         ตบรางวัล
หร็อมแหร็ม                                                      หรอมแหรม
ไม่มีปี่มีขลุ่ย                                                     ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย
ทโมน                                                              ทะโมน
พ่ะย่ะค่ะ                                                           พะย่ะค่ะ
ตงิด                                                                ตะหงิด
ปลก                                                                ประหลก
ดวงสมพงศ์                                                       ดวงสมพงษ์



ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.satapornbooks.com/Webboard/WebboardDetail.aspx?id=43261
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: krappom ที่ 29-10-2009 10:24:43

7. คำว่า "อ่ะ" ไม่ต้องใส่ไม้เอก เพราะผิดหลักไวยกรณ์และ "อะ" ก็เป็นเสียงเอกอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกรณี ตัวละครยื่นของให้กันแล้วพูด ให้ใช้ "อ้ะ" ซึ่งเป็นเสียงที่เราพูดกัน เช่น ดารินส่งสมุดให้เขาแล้วพูดขึ้น "อ้ะ... เอาของคุณไป"


อันนี้เลยที่ตัวเองใช้ผิดมาตลอด
อายจัง
 :-[
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 17-11-2009 16:48:29
รวมพลคนผิดคำไทย (๑)
เรื่องการเขียนคำไทยผิดนั้นเป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่พบเห็นกันอยู่ทุกวัน ครูภาษาไทยก็ช่วยกันพูด สอน และวิจารณ์จนขี้เกียจจะพูดกันแล้ว แต่ก็ยังอยากจะพูดอีกอยู่ดี เพราะอยากจะเห็นผู้ใช้ภาษาไทยใช้ภาษาไทยกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพกันบ้าง

ที่บอกว่าผิดในที่นี้มิได้หมายความถึงการเลือกใช้คำต่างกัน หรือการใช้หลักการทับศัพท์ต่างกัน แต่จะเป็นเรื่องของความผิด ๒ ประการคือ

ประการแรก การใช้รูปวรรณยุกต์ผิด

ประการที่สอง การสะกดคำ (ยกเว้นชื่อเฉพาะ) ต่างจากที่ได้กำหนดไว้ในพจนานุกรม

การเขียนคำผิดประการแรกนั้นเป็นเรื่องที่น่าเบื่อมาก คำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเสียงต่ำหรืออักษรต่ำเมื่อเป็นเสียงตรี ก็ยังคงมีไม้ตรีประดับอยู่อย่างเหนียวแน่น มิใยที่ครูภาษาไทยหลายสำนักจะได้ช่วยกันคิดคำคล้องจองออกมาช่วยจำก็ตาม

คำประเภทนี้หาได้ไม่ยากนัก ป้ายประกาศตามถนนหนทางและตามสื่อต่างๆ ก็ยังมีให้เห็นกันเกลื่อนกลาด เช่น

ค๊อกเทล คุ๊กกี้ เค๊ก ช๊อก ช๊อกโกแล๊ต ช๊อปปิ้ง ชู๊ต ซีฟู๊ด ท๊อป น๊อก โน๊ต นู๊ด ฟลุ๊ก ฟ๊าสต์ฟู๊ด มั๊ย ร๊อก ล๊อก ว๊าก สนุ๊กเกอร์ ฯลฯ

ตัวอย่างคำผิดข้างต้นนั้นส่วนใหญ่เป็นคำทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ ซึ่งคนไทยนิยมออกเสียงตรี ในที่นี้ใส่รูปวรรณยุกต์ไปตามเสียงที่ต้องการ ส่วนตัวสะกดนั้นใช้ตามหลักของราชบัณฑิตยสถาน สำหรับผู้ที่ใช้กฎอื่นก็อาจจะเขียนว่า ช๊อค ช๊อคโกแล๊ต น๊อค ฟลุ๊ค ร๊อค ล๊อค แต่ไม่ว่าจะใช้ตัวสะกดอย่างไร ที่ผิดเหมือนกันก็คือ ใช้ไม้ตรี แทนไม้โท หรือในที่ซึ่งไม่ต้องใช้ เพราะเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว ตัวอย่างข้างต้นถ้าจะเขียนให้ถูกต้องเขียนดังนี้คือ

ค็อกเทล คุกกี้ เค้ก ช็อก ช็อกโกแล็ต ช็อปปิ้ง ชู้ต ซีฟู้ด ท็อป น็อก โน้ต นู้ด ฟลุก ฟ้าสต์ฟู้ด มั้ย ร็อก ล็อก ว้าก สนุกเกอร์ ฯลฯ
ขอให้สังเกตว่า ไม้ไต่คู้ก็เข้ามาแทนเสียงสั้นในระดับเสียงตรีได้

คำผิดประเภทนี้ถ้าเกิดจากคนไม่มีความรู้หรือยังไม่ได้เรียนก็แล้วไป แต่ที่เป็นชื่อสินค้าหรือชื่อเพลง (ซึ่งก็นับว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง) ก็ไม่น่าจะทำ เพราะเป็นชื่อที่ติดตาคน จะพลอยให้คนจดจำคิดว่าเป็นคำที่ถูกได้ เช่น ชื่อเพลง "ร็อคเอ๊าะเย๊าะ" กับสินค้าที่ชื่อว่า "ไวท๊อป"

ชื่อของผู้มีชื่อเสียงก็ไม่ควรจะเขียนให้ผิดอย่าง "น้องนุ๊ก" และ "อันโทน ชู๊ตสเลอร์"

ยิ่งเป็นรายการที่เกี่ยวกับการศึกษายิ่งไม่ควรเขียนให้ผิด

ผู้เขียน รศ. ดร.นิตยา กาญจนะวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน
 
 ที่มา:http://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=1939

เขียนผิดมาแล้วทั้งนั้น 555+จะบ้าตาย
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 17-11-2009 21:29:40

ทำไมมันยากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก ขนาดเน่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

ยอมรับตามตรงนะ  ไอ้คำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศเนี้ย กลุ้มอยู่ไม่น้อยเหมือนกันในเวลาที่ต้องใช้
 :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: MaIOcEaN ที่ 19-11-2009 23:56:13
โห สุดยอดมาก  อ่านกระทู้นี้แล้วกระจ่าง(เยอะมาก) เพิ่งรู้ตัว ทุกวันนี้ภาษาไทยเราติดลบมาตลอด :a5: o22
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: [N]€ẃÿ{k}uñĢ ที่ 05-02-2010 23:48:46
วันนี้เข้าไปอ่านนิยายเจอคำที่น่าสนใจ และไม่ค่อยได้เห็นนักเขียนใช้สักเท่าไหร่
ด้วยว่ามันเขียนยากพอควร และลักษณะของการออกเสียงและการสะกดทำให้เกิดความ
ไม่แน่ใจว่าควรจะเขียนเช่นไรจึงจะถูก คำๆนี้ คือ คำว่า "เลิ่กลั่ก"
สังเกตว่า แค่คิดจะอ่านยังอ่านยากเลยต้องอาศัยเราคุ้นกับการออกเสียงยังไง
แล้วจึงค่อยเดาว่าน่าจะออกเสียงอย่างนั้น
โดยปกติแล้ว คำนี้มักจะถูกเขียนผิดเป็น เลิกลัก ซึ่งในนิยายที่อ่านไปวันนี้ก็เช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีคำเพิ่มเติมที่น่าสนใจ และมีความสับสนในการเขียนคล้ายคลึงกับ เลิ่กลั่ก
คำต่อไปนี้ จะเขียนในลักษณะของการเปรียบเทียบ แล้วจะบอกว่าคำใดถูก
ให้ลองเดากันไปว่าควรจะเขียนอย่างไรจึงถูกต้อง
จะเฉลยด้านล่างเพื่อให้สามารถที่จะจดจำได้ว่าแบบใดถูกต้อง
ลอกแลก หรือ ล่อกแล่ก
ทะยอย หรือ ทยอย
ตะหง่าน หรือ ตระหง่าน
รอดไรฟัน หรือ ลอดไรฟัน
กรอกตา หรือ กลอกตา
กะบึงกะบอน หรือ กระบึงกระบอน
ลมกระโชกแรง หรือ ลมกรรโชกแรง
สกัดดาวรุ่ง หรือ สะกัดดาวรุ่ง
จริตจกร้าน หรือ จริตจะก้าน

เฉลย
ลอกแลก
ทยอย
ตระหง่าน
ลอดไรฟัน
กลอกตา
กะบึงกะบอน
ลมกระโชกแรง

ที่มา: http://www.dtawanbooks.com/webboard.php?frm=topic_post&id=177
หวังว่าจะเป็นประโยชน์ขึ้นมาบ้างไม่มากก็ไม่น้อย
นิว(ยิ้มๆ)
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 10-02-2010 13:04:08
เข้ามาบวกให้น้องนิว :pig4:
เลยเอาบทความที่น่าสนใจสำหรับนักเขียนมาฝาก

ความแตกต่างระหว่าง "..." กับ '...'  

เครื่องหมาย "...." เรียกว่า อัญประกาศคู่ ส่วนเครื่องหมาย '.....' เรียกว่า อัญประกาศเดี่ยว
หนังสือหลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ ฯลฯ ของราชบัณฑิตยสถาน กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ไว้ดังนี้
อัญประกาศคู่
 1. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นคำพูด บทสนทนา หรือความนึกคิด
2. ใช้เพื่อแสดงว่าคำหรือข้อความนั้นคัดมาจากที่อื่น
3. ใช้เพื่อเน้นความให้ชัดเจนขึ้น
4. ใช้เพื่อเน้นคำหรือข้อความเพื่อให้รู้ว่าคำหรือข้อความนั้นเป็นสำนวนหรือภาษาปาก ซึ่งมีความหมายผิดไปจากความหมายปรกติ
5. ถ้าข้อความในเครื่องหมายอัญประกาศมีความยาวหลายย่อหน้า ให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิดไว้ข้างหน้าแต่ละย่อหน้า ส่วนเครื่องหมายอัญประกาศปิดให้ใส่ไว้เฉพาะท้ายย่อหน้าสุดท้ายเท่านั้น

ส่วน อัญประกาศเดี่ยว ใช้แทนเครื่องหมายอัญประกาศคู่ในข้อความที่มีการใช้เครื่องหมายอัญประกาศคู่อยู่แล้ว

(ผู้ตอบ : ดร.ชลธิชา สุดมุข)  

คำที่แสดงจำนวน ควรเขียนเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร  

ไม่มีหลักเกณฑ์กำหนดตายตัวว่าเมื่อใดควรเขียนเป็นตัวเลขหรือตัวอักษร ขึ้นอยู่กับแต่ละวงการและผู้เขียนแต่ละคนนิยมใช้อย่างไร เช่น ทางกฎหมาย มักใช้ตัวหนังสือ วงการธุรกิจอาจเขียนตัวเลข แล้วมีตัวหนังสือกำกับ

แต่ในการจัดทำคำอธิบายหรือตรวจบรรณาธิกรบทความของราชบัณฑิตยสถาน โดยทั่วไปถ้ามีลักษณนามตามท้ายมักใช้ตัวเลข เช่น ไก่ ๒ ตัว ถ้าเขียนจำนวนตามหลังลำดับที่หรือคำที่แสดงลำดับที่ก็ใช้ตัวเลข เช่น กฎข้อที่ ๑

แต่ถ้าบอกว่า ทั้งสอง เราสอง ... โดยไม่มีลักษณนามตามท้ายก็จะใช้ตัวหนังสือ

ที่สำคัญคือ ถ้ากำหนดว่าจะใช้แบบใดก็ต้องใช้ให้เหมือนกัน (ผู้ตอบ : นัยนา วราอัศวปติ)

เช็ค กับ เช็ก แตกต่างกันอย่างไร  
เช็ค เป็นคำทับศัพท์ของ cheque เช่น เช็คธนาคาร ส่วน เช็ก เป็นคำทับศัพท์ของ ckeck หรือแปลเป็นไทยว่า ตรวจสอบ (ผู้ตอบ : นัยนา วราอัศวปติ)  

มัน หรือ มันส์ เกม หรือ เกมส์ 
มัน มีความหมายหนึ่งว่า เพลิน ถูกอกถูกใจ ออกรสออกชาติ เช่น เกาเสียมัน คำว่า มันส์ ที่เขียนกันนั้น ไม่ใช่ภาษาที่ถูกต้องเป็นทางการ แต่เป็นภาษาที่ถูกใจเฉพาะกลุ่ม

ส่วน เกม มีความหมายว่า การแข่งขันที่มีกติกากำหนด เช่น เกมกีฬา การเล่นเพื่อความสนุก เช่น เกมคอมพิวเตอร์ ... คำว่า เกม เป็นการรับคำต่างประเทศมาใช้นานแล้วจนถือเป็นคำไทย จึงมีเก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และให้ใช้ตามนั้น แต่กรณีที่เป็นการทับศํพท์ทั้งคำ เช่น เอเชียนเกมส์ ถือเป็นชื่อเฉพาะ เป็นการถอดรูปศัพท์อังกฤษเป็นไทยทั้งศัพท์ ให้ถอดเรียงตัวตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ ถ้าในภาษาอังกฤษมี s ภาษาไทยก็มี ส์ ได้ (ผู้ตอบ : นัยนา วราอัศวปติ)  
สิทธิ สิทธิ์  
๒ คำนี้ความหมายเหมือนกัน จากพจนานุกรม "สิทธิ สิทธิ์ [สิดทิ สิด] น. อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้. (ป. ส.); (กฎ) อํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย. (อ. right)." อยู่ที่การนำไปใช้ว่าจะให้อ่านอย่างไรจึงจะราบรื่นไพเราะ ถ้เขียน สิทธิ อ่านว่า สิดทิ แต่ถ้าเขียน สิทธิ์ อ่านว่า สิด (ผู้ตอบ : นัยนา วราอัศวปติ)

 ที่มาข้อมูล http://www.royin.go.th/th/faq/index.php?GroupID=&SystemModuleKey=110&PageShow=5&TopView= :pig4:

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: StopLove ที่ 20-03-2010 02:31:14
อ่านเเล้วรู้สึกเหมือนตัวเองจะผิดไปเยอะเหมือนกันเห้อ

คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ไว้นะครับ^^ :mc4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Ak@tsuKII ที่ 01-04-2010 00:20:53
ขอเสริมตัวนี้ด้วยคนค่ะ ไม่รู้มีพูดถึงยัง


 [ไม้ ยมก(ๆ)] เห็นใช้ผิดกันเยอะ

ที่ถูกหลักเกณฑ์คือ ต้องเว้นวรรคค่ะ ไม่ใช่พิมพ์ไปติด ๆ
อ้างถึง
    * ไม่เว้นวรรคเลย เช่น "ต่างๆกัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
    * เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "ต่าง ๆ กัน" ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และ
    * เขียนไม้ยมกติดคำหน้า แต่เว้นวรรคด้านหลัง เช่น "ต่างๆ กัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์

อ้างอิง (http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81)



หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 03-04-2010 15:47:58
ปกติมักเขียน ต่างๆ-กัน

ไม่เคยเขียน ต่าง-ๆ-กัน เลยอะ

ความรู้ใหม่นะเนี้ย  แต่ส่วนตัวก็ยังชอบแบบ ต่างๆ-กัน อยุ่ดี เพราะเห็นว่าใช่กันมาแบบนี้ตั้งแต่เด็กแล้ว  คุณครูก็สอนมาแบบนี้ด้วย  แต่จะได้รู้ไว้ว่า เขียนผิดและเข้าใจผิดๆ มาตลอด
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: SweetSacrifice ที่ 03-04-2010 18:10:27
คะค่ะ/นะน่ะ ผิดบ่อยมาก บางครั้งอ่านแล้วรู้สึกรำคาญเหมือนกัน
รักกระทู้แบบนี้จัง

(http://img514.imageshack.us/img514/2572/a90383022.jpg)

หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: fc_uk ที่ 22-04-2010 19:53:01
 :mc4: :mc4: :mc4: :mc4: :mc4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: i-tatae ที่ 23-04-2010 11:40:30
อะเห้ยยยย ลุงฟ๊อกกกกกกก  o22
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: fc_uk ที่ 23-04-2010 12:46:57
หวัดดีครับ :D ยังไม่เลิกเรียกกุลุงอีก สัด
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 23-04-2010 18:37:51
^
^
^
มาแล้วยังเขียนผิดอีกนะลุง  :jul3:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: fc_uk ที่ 23-04-2010 20:09:46
 :z1: :z1: :z1: :z1: :z1: :z1:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: i-tatae ที่ 26-04-2010 14:43:58
ต้อง(ซื่อ)สัตย์ กับอายุนะครับ ลุงฟ๊อก  :z1:

รู้ว่าลุงยังหายใจอยู่ก็สบายใจละ  o18

ยิ่งหายใจ แล้วยังกัดได้อยู่ก็ยิ่งสบายใจเข้าไปอีก  :laugh:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: M@nfaNG ที่ 26-07-2010 13:27:54
มาดันเฉยๆ ไม่มีอะไรมาเพิ่มค่ะ  :jul3:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Ak@tsuKII ที่ 26-07-2010 15:31:42
อ้างถึง
7. คำว่า "อ่ะ" ไม่ต้องใส่ไม้เอก เพราะผิดหลักไวยกรณ์และ "อะ" ก็เป็นเสียงเอกอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นกรณี ตัวละครยื่นของให้กันแล้วพูด ให้ใช้ "อ้ะ" ซึ่งเป็นเสียงที่เราพูดกัน เช่น ดารินส่งสมุดให้เขาแล้วพูดขึ้น "อ้ะ... เอาของคุณไป"

คำว่า "ป่ะ" ด้วย ควรพิมพ์ "ปะ" เหตุผลเดียวกัีบ "อะ"  จ้า
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: mamotic ที่ 28-07-2010 10:46:32
อื้ม..ได้ความรู้ดีๆในเช้านี้

ชีวิตสดใส  :a2:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: kyoya11 ที่ 07-04-2011 17:33:31
เขียนผิดเยอะพอสมควรเลย
แต่ที่มึนก็คำว่า มุก ไข่มุข หรือ ไข่มุก
มุกตลก หรือ มุขตลก
นี่ทำเอางงเลย ตอนแรกเราจำเป็นไข่มุก มุขตลก แต่มันผิดใช่มั้ย??
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: NewYearzz ที่ 07-04-2011 17:59:09
เหอะ ๆ อ่านแล้วรู้สึกเหมือนไม่ใช่คนไทยเลยครับ
จากที่อ่านดูเลยรู้ว่าตัวเองใช้ผิดแทบหมด น่าขายหน้าจังครับ
ยังไงก็ต้องของคุณ จขกท และทุก ๆ คนที่มาให้ความรู้นะครับ  :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: nataxiah ที่ 07-04-2011 18:00:52
ได้ประโยชน์มากมาย

กำลังแก้คำผิดพอดี +1 ให้เลยคร้าบ  :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: insunhwen ที่ 07-04-2011 21:10:11
โอ้ เราก็ใช้ผิดไปหลายคำเลยนะเนี่ย
อย่างนี้ต้องจำแล้วนำไปแก้ไขในจุดที่ผิด  :a2:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: lovelogically ที่ 10-04-2011 02:07:56
ตกลง "มุขตลก" นี่สะกดผิดใช่ป่ะ

โห

เห็นสื่อต่างๆใช้ มุข ขอไข่ ทั้งนั้นเลย เพิ่งรู้
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Saint De Jupiter ที่ 07-05-2011 01:30:10
ดันๆๆๆๆ กระทู้ดีมีสาระ   ^___^

 :L2: :3123: :pig4:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: POPEA ที่ 14-08-2011 12:15:12
มีหลายคำเลยนะเนี่ย
ที่เราเขียนผิดมาตลอด
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: oaw_eang ที่ 14-08-2011 17:24:57

เวลาหน้าน้ำท่วม มักได้ยินผู้รายงานข่าวพูดว่า  "มวลน้ำก้อนใหญ่กำลังมา..."

ก็เลยสงสัยว่า  จบวิทยาศาสตร์มาจากโรงเรียนไหน? เพิ่งรู้ว่า "น้ำ" มี "ลักษณะนาม" เป็น  ก้อน

ทั้งๆ ที่น้ำเป็นของเหลว

ทำไมไม่พูดว่า  "น้ำปริมาณมากกำลังไหลจาก......"  ก็เลยเพลียๆ 

ทีอย่างนี้  กระทรวงวัฒนธรรมกลับนิ่งดูดาย

แล้วมาตระเวนห้ามคนเป้นเกย์ออกสื่อ  เจริญดีไหมล่ะประเทศชาติ?
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: FlapJack ที่ 16-08-2011 07:23:41
ขอบคุณครับ เขียนผิดมาตั้งนานอยู่หลายคำเหมือนกัน  :m23:
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: nco1236 ที่ 16-08-2011 12:40:37
ขอบคุณมาก ๆ ครับ o13

ผมด็มักจะเขียนผิดบ่อย  ๆ สับสน
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: chibichan ที่ 18-12-2011 15:42:29
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับความรู้ที่นำมาฝาก  o13
จะระมัดระวังในการใช้ภาษามากมากขึ้นค่ะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: TiiTa ที่ 18-12-2011 18:32:58
คือรู้แทบทุกตัวนะคะว่าเขียนอย่างไรถึงบางตัวจะไม่ค่อยได้ใช้ แพรเป็นคนชอบอ่านพจนานุกรม(ดูบ้าๆไหม)
แต่ว่าบาง(หลาย)ครั้งก็ติดที่จะพิมพ์ตามเสียงที่พูดเพราะว่าเวลาพิมพ์ให้ถูกต้องตามอักขระมันรู้สึกแปลกๆ ก็เวลาพูดเราไม่ออกเสียงอย่างนั้น แต่ที่แพรมักจะใช้ผิดจริงๆ บางครั้งก็ไม่ถูกเลยคือพวกคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศน่ะค่ะ
หัวข้อ: Re: ****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า
เริ่มหัวข้อโดย: Wordslinger ที่ 27-02-2016 02:04:07
เป็นกระทู้เลอค่า ต้องหมั่นเข้ามาอ่านเพื่อการเขียนที่ถูกต้องตามหลักภาษาไทยค่ะ กด bookmark ไว้