****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

Boy's love > คลังกระทู้เก่า

****คำที่มักเขียนผิดในภาษาไทย***รู้รักภาษาไทยกันหน่อยจ้า

<< < (8/20) > >>

[N]€ẃÿ{k}uñĢ:
คำพ้องเสียงที่มักใช้ผิด
          คำพ้องเสียง คือ คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่การเขียนและความหมายต่างกัน ดังนั้น ในการใช้จึงต้องนำไปใช้ให้ถูกต้องตามความหมายของคำ
ตัวอย่าง
    * จัน หมายถึง ชื่อผลไม้ที่สุกเหลือง หอมรับประทานได้ เช่น ลูกจัน
    * จันทน์ หมายถึง ชื่อต้นไม้ที่มีเนื้อไม้ ดอกและผลหอม เช่น ต้นจันทร์
    * จันทร์ หมายถึง ดวงเดือน , ชื่อผลไม้ที่มีเนื้อไม้ เช่น ดวงจันทร์ วันจันทร์
    * จรร หมายถึง ความประพฤติ

    * โจษ หมายถึง เล่าลือ , กล่าวขาน เช่น โจษจัน
    * โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้อง , ผู้กล่าวหา เช่น โจทก์ และ จำเลย
    * โจทย์ หมายถึง คำถามในวิชาเลข เช่น โจทย์เลข

    * พัน หมายถึง จำนวน 10 ร้อย , มัดโดยรอบ , เกี่ยวข้องกัน เช่น พันบาท พันเชือก ผูกพัน
    * พันธ์ หมายถึง ผูกมัด , ชื่อเดือนที่ 2 ใน 1 ปี เช่น สัมพันธ์ กุมภาพันธ์
    * พันธุ์ หมายถึง เชื่อสาย , เหล่ากอ เช่น เผ่าพันธุ์ สืบพันธุ์
    * พรรณ หมายถึง สี , ผิว , ชนิด เช่น ผิวพรรณ พรรณไม้
    * ภัณฑ์ หมายถึง สิ่งของ เช่น พัสดุภัณฑ์

    * การ หมายถึง กิจธุระ , งาน เช่น การบ้าน การเมือง
    * กาล หมายถึง เวลา , สถานที่ เช่น กาลครั้งหนึ่ง กาลเทศะ
    * การณ์ หมายถึง มูลเหตุ เช่น เหตุการณ์
    * กาญจน์ หมายถึง ทอง เช่น กาญจนา

นอกจากคำพ้องเสียงข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างคำพ้องเสียงที่น่าสนใจมาให้อ่านกันครับ 
อาจจะมีคำไ่ม่สุภาพหรือเนื้อหาสองแง่สองง่ามบ้าง 
แต่เรามีเจตนาเพื่อการศึกษาให้เข้าใจถึงสิ่งที่ถูกต้องไม่ใช่เพื่อการอื่น
ฉะนั้นในการลงเนื้อความ พิจารณาจากเจตนาเป็นหลัก ดังนี้

1. สำ
    หลายๆ คนคงเคยใช้คำนี้บ่อยแล้ัว คำว่า "สำ" ส่วนใหญ่ใช้นำหน้าพยางค์หลังที่แผลงมาจากภาษาเขมร เช่น สำแดง-แสดง, สำเร็จ - เสร็จ  ฯลฯ 
    แต่รู้หรือไม่ครับ ในคำภาษาเหนือหรือคำเืมืองนั้น คำว่า"สำ" มีความหมายสองแง่สองง่าม แปลว่าการร่วมเพศครับ(เช่นเดีียวกับคำว่าว่าสี่ในภาษาอีสาน) ดังนั้นอย่าพูดคำว่า "สำ" คำเดียวโดดๆ  และอย่าไปพูดคำนี้ต่อหน้าคนเหนือนะครับ  เดี๋ยวเขาจะคิดว่าคุณคิดมิดีมิร้ายกับเขา

2.  เห ี้ย
    คำ นี้ในภาษาไทยของเรา เป็นคำด่า แปลว่า ไม่ดี เลว ชั่ว ฯลฯ และได้ถูกตั้งเป็นชื่อให้สัตว์เลื้อยคลานพวกเดียวกับตะกวด เคยได้ยินมาว่าที่ตั้งชื่อมันว่า"ตัวเห ี้ย"นั้น เพราะมันชอบลากไก่ที่ชาวบ้านเลี้ยงไว้ลงไปกินในน้ำ เลยโดนชาวบ้านรุมด่ามันว่า"เห ี้ย" ปัจจุบันเรียกให้ไพเราะขึ้นว่า "ตัวเงินตัวทอง "
    ในภาษาเหนือ คำว่า "เฮี่ย" ซึ่งออกเสียงเหมือน"เห ี้ย" ก็คือคำว่า"เรี่ย"หรือ "เรี่ยราด" ในภาษาไทย เพียงแต่เปลี่ยนเสียงพยัญชนะจาก "ร" เป็น "ฮ"  แปลว่า กระจัดกระจาย ไม่เป็นระเบียบ รก สกปรก
    เคยได้ยินบ่อยๆ ว่า "บ่ากวาดบ้านกวาดจองเลย  ปล่อยหื้อเห ี้ยจะอั้นนะ"(ไม่กวาดบ้านกวาดเรือนเลย ปล่อยให้สกปรกอย่างนั้นล่ะ)
    อย่าไปพูดคำว่า "เห ี้ย" ต่อหน้าคนเหนือนะครับ เพราะเขาอาจไม่เข้าใจว่าคุณไปด่าเขา  เขาจะเข้าใจว่ามีอะไรสกปรกที่ไหนแทน

3.ว่าว
    คำ นี้โดยปกติความหมายคือของเล่นชนิดหนึ่งที่ทำด้วยกระดาษและไม้  มีสายไว้สำหรับชัก  แต่ปัจจุบันคำนี้ถูกนำมาใช้ในความหมายสองแง่สองง่าม  โดยใส่คำว่า "ชัก" ไว้ข้างหน้า  แปลว่าการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองของเพศชาย  ในภาษาเหนือใช้คำว่า "จั๊กว้อง"  คำนี้ทำผมงงครับ  เพราะแปลว่าชักยางรัด(เหมือนมากเลยนะ  ว่าวกับยางรัด)  "ว้อง"  แปลว่าโค้ง  เป็นวงโค้ง  ใส่ "หนัง" ข้างหน้า แปลว่ายางรัด
    แต่ในภาษาอีสานนั้น คำว่า "เว่า" ซึ่งออกเสียงคล้าย "ว่าว"  แปลว่า พูด ไม่ได้มีความสองแง่สองง่ามแ่ต่อย่างใด

4.อู้
    แน่นอนว่าหลายๆ คนใช้คำนี้ในความหมายว่า ขี้เกียจ แต่ในภาษาเหนือนั้น คำนี้มีความหมายเหมือนคำว่า "เว่า" ในภาษาอีสาน แปลว่า พูด
    ตอน ประถม ผมได้ยินเพื่อนคนหนึ่งโดนครูว่าว่า "อย่าอู้"  มันก็ตอบครูไปว่า "ครูครับผมอยู่บ่าดาย  บ่าได้อู้เลยหนา"(ครูครับผมอยู่เฉยๆ ไม่ได้พูดเลยนะ) กวนจริงๆ ครับ ทั้งๆ ที่มันก็รู้ว่าความหมายภาษาไทยว่าคำว่า "อู้้" แปลว่าอะไร
    ใครมีลูกจ้างเป็นคนเหนือนี่คงลำบากหน่อยครับ  เพราะเขาอาจเข้าใจคำว่า "อู้งาน" ของคุณ เป็น "พูดเรื่องงาน" ก็ได้ครับ

5.เสี่ยว
    คำนี้ในภาษาเหนือและภาษาอีสานแปลว่า เพื่อนสนิท เพื่อนรัก เพื่อนตาย แต่วัยรุ่นเอาคำนี้มาใช้ในความหมายว่า บ้านนอก ตกยุค ล้าสมัย เช่น แต่งตัวเสี่ยว มุกเสี่ยว เล่นเอาคำดีๆ อย่างนี้เสียหมดเลยครับ

6.ป ี้
    คำนี้ในความหมายภาษาไทยแปลว่า ร่วมเพศ  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  ในภาษาลาวแปลว่า ตั๋ว  แต่ในภาษาเหนือคำนี้เป็นคำสุภาพครับ  แปลว่า พี่สาว  เป็นคำเรียกพี่สาวของเราและใช้เพื่อให้เกียรติหญิงที่อายุมากกว่า  เช่นเดียวกับว่า "อี่"  ซึ่งก็คือคำว่า "อี" ในภาษาไทย  ถือเป็นคำไม่สุภาพ  แต่คำว่า "อี่" นี้  ยังใช้ในอีกความหมาย  เป็นการให้เกียรติคนที่ถูกเรียก เช่น อี่ป้อ(คุณพ่อ) อี่แม่(คุณแม่) ลักษณะการใช้เช่นนี้ก็ยังเหมือนคำว่า "ห ำ" ในภาษาอีสาน ซึ่ีงตามปกติแปลว่าลูกอัณฑะของเพศชาย(ในภาษาเหนือใช้คำว่า"ขะหลำ") แต่ในอีกความหมาย ใช้เรียกเด็กที่มีอายุน้อยกว่า เช่น บักห ำน้อย(เด็กน้อย)

7. ไอ้
    คำ นี้เป็นคำหยาบ ใช้เป็นคำเรียกเพื่อดูถูก แต่คำว่า "อ้าย" ที่หลายคนชอบใช้แทนคำ่ว่า
"ไอ้"นั้น ไม่ได้มีความหมายเดียวกัน ในความหมายเดิมแปลว่า หนึ่ง(อ้าย = หนึ่ง, ยี่ = สอง)
หรือ ลูกคนโต ในภาษาเหนือแปลว่า พี่ชาย ใช้เป็นคำเรียกพี่ชายของเราและใช้เรียกเพื่อให้เกียรติผู้ชายที่อายุมากกว่า ไม่ได้เป็นคำหยาบแต่อย่างใด
    คำว่า "ไอ้" ในภาษาเหนือใช้คำว่า "ไอ่" ครับ

8. ฮา
    คำนี้หลายคนคงใช้บ่อยในความหมายตลก ขบขัน แต่รู้หรือเปล่าครับในภาษาเหนือ คำว่า "ฮา" แปลว่า "กู" ครับ เป็นคำแทนตัวที่ปัจจุบันถือกันว่าไม่สุภาพ

นอกจากนั้นแล้วยังมีคำพ้องเสียงภาษา ต่างประเทศที่เราคุ้นหูกันกันดี อย่างคำว่า here ที่แปลว่า ที่นี่ หรือ yet ที่แปลว่า ยัง ยังคง เมื่อพูดในความหมายภาษาไทยแล้ว ความหมายจะเปลี่ยนไปเป็นอีกอย่างที่หลายคนคงรู้ดี
คงจะเห็นแล้วใช่ไหมครับว่าคำพ้องที่ผมหยิบยกมานั้นถ้าใช้ไ่ม่ถูกสถานที่ถูกสถานการณ์แล้วจะเกิดปัญหามากแค่ไหน
ใครมีคำพ้องเสียงภาษาือีสาน  ภาษาใต้  หรือภาษาอื่นๆืื อีกก็โพสต์ไว้ได้นะครับ
ที่มา:http://dek-d.com/board/view.php?id=1390822

นิว(LOVEis)

oaw_eang:

ปลาปักเป้า อ่านว่า "ปลา-ปัก-กะ-เป้า"

ว่าวปักเป้า อ่านว่า "ว่าว-ปัก-เป้า"

ปล. ปกติจะไม่ค่อยใช่คำว่า "ทานข้าว" แทน "รับประทานข้าว"

จะพูดว่า "กินข้าว" ไปเลย  หรืออาจจะพูดในกรณ๊ที่กระแดะขึ้นมาอีกนิดว่า "รับข้าว" อยู่เป็นประจำ

คำพูดทำนองนี้มักพูดกับคนที่บ้านว่า รับ(กิน)ข้าวไหม = กินข้าวไหม?, เลื่อนเครื่องเลยหรือเปล่า = รับของหวานเลยไหม, เก็บสำรับเลยไหม? = อิ่มยัง  อะไรเทือกนี้ อิอิ

กระแดะได้อีกตู

ppangg:
ไม่ได้ตั้งใจผิดอ่ะ
ผิดแบบไม่ได้ตั้งใจ
55555555++
คิดว่าตัวเองเขียนถูกมาตั้งนาน
เหอๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นความรู้เก่า ที่เอามาปรับปรุงใหม่ได้ดีจริงๆ
+1 ให้เลยค่ะ ^-^

M@nfaNG:
ขอบคุณน้องนิวคะ :pig4: มีความรู้มาฝากกันอีกแล้ว  o13
อยากให้คนเข้ามาอ่านกันเยอะๆจัง
เพื่อความสบายตาของเราเวลาอ่านนิยาย :laugh:

tonsai_2520:


ใช้ผิดตรึมเลยกรู . . .


. . .  สงสัยลงเรียนหลักภาษาใหม่

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ไปที่เวอร์ชันเต็ม